Skip to main content
sharethis

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ผ่านมา ที่โรงแรม Swissotel Le Concorde รัชดา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดการนำเสนอบทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเรื่อง “การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรอิสระเพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน” โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ ซึ่งเป็นการนำเสนอรายงานการประเมินองค์กรอิสระ 3 องค์กร ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน

โดย เดือนเด่น กล่าวว่า ขณะนี้มีการเสนอยุบ รวมหรือเลิกองค์กรอิสระอยู่จำนวนมาก แต่ในฐานที่ตนเป็นนักวิจัยก็เกิดข้อสงสัยว่ามีการนำหลักฐานหรือข้อมูลอะไรมาสนับสนุน ซึ่งก็มีเพียงการกล่าวกว้างๆ ว่าไม่มีผลงานบ้าง อะไรบ้าง ก็ไม่ทราบว่ามันมีเอกสารอะไรที่เป็นเรื่องเป็รราวไหมเพื่อยืนยันว่าหน่วยงานนั้นนี้ไม่มีผลงาน  แต่งานวิจัยเราได้พยายามไปขุดค้นข้อมูลที่แท้จริงว่าที่ผ่านมา องค์กรเหล่านั้นมีปัญหาและอุปสรรค์ในการทำงานอย่างไรบ้าง

ภาพกว้างของการตั้งองค์กรอิสระต่างๆ ตั้งแต่ปี 40 แล้วนั้น คำถามคือว่าเมื่อตั้งองค์กรเหล่านี้ขึ้นมาแล้วทำให้การทุจริตคอรัปชั่นลดลงหรือไม่ คำตอบตั้งแต่ตั้งมา 2540 Corruption Perceptions Index (CPI Index) ของเรา ที่จัดโดย Transparency International ไม่เคยลดลงลงเลย แปลว่า 40-50 นั้นไม่ลดลง และยิ่งหลังจาก 50 ยิ่งหนักขึ้น แรงกิ้งพุ่งไปเรื่อยๆ จนถึงร้อยกว่า และมาลดลงเมื่อล่าสุดในปีสุดท้าย เป็นหลักฐานที่เราต้องนั่งพิจารณาแล้วว่าองค์กรทั้งหมดทำไมยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

โจทย์วิจัยของเราคือองค์กรทั้งหมดที่เป็นโมเดลจากรัฐธรรมนูญสร้าง Watchdog Organizations  ขึ้นมาเยอะแยะนั้น มันเวิร์คจริงหรือเปล่า คำถามคือว่าองค์กรที่จะสำเร็จในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นมันมีองค์กรกอบที่สำคัญ ในต่างประเทศให้ความสำคัญกับ ความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร เพราะเรากำลังจะตรวจสอบรัฐบาล เพราะฉะนั้นหัวใจของมันคือความเป็นอิสระ และนอกจากความเป็นอิสระแล้ว ผลการดำเนินงานและวิธีการดำเนินงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่ดูหมดทั้ง 3 ส่วน

ป.ป.ช. ถือเป็นใจกลางของหน่วยงานที่ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น เพราะกรณีหน่วยงานต่างๆ ที่พบเจอก็จะเทมาที่ ป.ป.ช. เพื่อจะให้ไปฟ้อง ดูเรื่องความเชื่อมั่นของประชาชนต่อองค์กรอิสระซึ่งมีการสำรวจจากสำนักวิจัยสถาบันพระปกเกล้า ปรากฏว่าระบบความเชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระนั้นลดลงทั้ง 3 องค์กร

ความเป็นอิสระของหน่วยงานมี 3 เรื่อง ทางด้านการเงิน การบริหารจัดการ และเชิงโครงสร้างอำนาจที่อิสระจากฝ่ายการเมือง เทียบกับมาตรฐานสากล ทั้ง สตง. ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ ป.ป.ช. เป็นองค์กรที่ทุกประเทศมีไม่เฉพาะประเทศไทย และมี Association ขององค์กรเหล่านี้ที่เป็นสากล ซึ่งมีมาตรฐานว่าหน่วยงานในลักษณะนี้จะต้องมีมาตรฐานอะไรบ้าง จึงเอามาตรฐานเหล่านี้มาเทียบกับประเทศไทย ซึ่งดูทั้งตามกฏหมายและตามข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติด้วย และดูด้วยว่าองค์กรเหล่านั้นมีผลการดำเนินงานอย่างไร

เดือนเด่น และคณะผู้ศึกษา

เดือนเด่น และทีมคณะผู้ศึกษาสรุปจากการประเมินโดยโครงสร้างทั้ง 3 องค์กร ว่าในภาพรวมเรื่องความเป็นอิสระนั้นถือว่าผ่านเกณฑ์ แต่เรื่องงบประมาณนั้นยังมีปัญหา การสรรหายังเน้นตุลาการ ซึงคิดว่าเป็นสิ่งที่จะมีการแก้ไขกันอยู่ ตัวกรรมการเองก็ไม่มีความหลากหลาย แต่ตอนนี้มีการแก้

ส่วนเรื่องการดำเนินงานนั้นที่มีปัญหาเรื่องแหล่งงบประมาณ เรื่องของบุคลากรทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันว่าหน่วยงานเหล่านี้ไม่ติดกับระบบราชการ เพราะแก้ปัญหาด้วยเงินทั้งหมดไม่พอ ตอนนี้เอาเงินมาให้ทั้ง 3 หน่วยงานก็ไม่คิดว่าจะมีผลงานอะไร ดังนั้นระบบที่อยู่ภายในต้งมีการปรับปรุงแก้ไขด้วย ถึงจะออกเงินบวกกับระบบการทำงาน

เรื่องความความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ในเรื่องความรับผิดชอบต่อประชาชนยังอ่อน มีแต่รายงานรัฐสภา นี่เป็นกลไกที่เราคิดว่ารับผิดชอบแล้ว ที่ทำอะไรก็รายงานรัฐสภา แต่รัฐสภาดองไว้ ดังนั้นตรงนี้เป็นหัวใจที่ต้องแก้ ที่รายงานขององค์กรอิสระต้องรายงานต่อประชาชนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ผลงานและรายละเอียดขององค์กรเหล่านี้มากขึ้น

เดือนเด่น และทีมคณะผู้ศึกษา เสนอแนะด้วยว่า ในส่วนของโครงสร้างองค์กร ต้องการเห็นความหลากหลายของทั้งกรรมการสรรหาและกรรมการองค์กรอิสระ ให้มีการกำหนดวงเงินงบประมาณต่อรายหัวประชากร ตอนนี้มีโมเดลหลายโมเดลที่จะให้มีแหล่งเงินที่ชัดเจน เช่น โมเดลขององค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภคตามมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญ ที่มีโมเดลการใช้งบประมาณต่อหัวอยู่ที่ 3 บาท เช่น มีประชากร 65 ล้านคน ก็จะมีงบประมาณปีละ 195 ล้านบาท หรือถ้าเป็น ThaiPBS ก็เป็นเปอร์เซ็นของภาษีเหล้าและบุหรี่ แต่เมื่อมีงบประมาณแล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะถูกวิจารณ์ว่ามีเงินแล้วก็ไม่ทำอะไร ต้องมีผลงานที่ชัดเจนและมีการตรวจสอบ

ในส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ การปรับค่าตอบแทนของกรรมการองค์กรอิสระให้ไม่น้อยกว่ากรรมการของหน่วยงานที่ต้องตรวจสอบ องค์กรอิสระควรออกระเบียบเพื่อกำหนดค่าตอแทนที่จูงใจเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะที่ต้องการ กระจายอำนาจให้ สตง. สามารถดำเนินคดีได้เอง และมีอำนาจในการสั่งการยังยั้งการเบิกจ่ายกรณีที่มีการกระทำที่ส่อทุจริต

ในส่วนของความรับผิดชอบ มีกำหนดระยะเวลาที่วุฒิสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติต้องรับรองรายงานขององค์กรอิสระ มีข้อกำหนดให้องค์กรอิสระต้องเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลของกรณีที่มีการสืบสวน สอบสวนทั้งในอดีตและปัจจุบันเท่าที่ไม่ขัดกับกฏหมายแก่สาธารณะชน

ดูภาพขนาดใหญ่

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net