Skip to main content
sharethis

<--break- />

 

คลิกดูภาพขนาดเต็มที่นี่

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เผยถึง หลักการใหม่เกี่ยวกับระบอบการเมือง นักการเมือง และสถาบันการเมือง โดยจะเป็นแนวทางสำหรับการร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ซึ่งได้ดำเนินการร่างแล้วตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.  2558 ที่ผ่านมา

กระนั้นก็ตาม บวรคักดิ์กล่าวว่าหลักการนี้เป็นเพียงหลักการเบื้องต้น และยังสามารถปรับแก้ไขได้จนถึงวันที่ 23 ก.ค. 2558 ประชาไทสรุปหลักการดังกล่าวมานำเสนอ

1. การเลือกตั้งระบบผสมแบบอิงสัดส่วน(Mixed Member Proportional - MMP)

  • จะมีการเลือกตั้งทั้ง แบบแบ่งเขต / แบบบัญชีรายชื่อ
  • แต่ว่าจะมีการนับรวมกันระหว่าง แบ่งเขต / บัญชีรายใหม่ แบบใหม่ จากเดิมที่เคยนับรวมกัน เช่น พรรค ก ได้แบ่งเขต 70 ที่นั่ง ได้บัญชีรายชื่อ 85 ถ้านับเป็นการเลือกตั้งแบบเดิมระบบ MMM พรรค ก จะได้จำนวนที่นั่งในสภาทั้งหมด

70(ที่นั่งแบ่งเขต) + 85(ที่นั่งบัญชีรายชื่อ) = 155(ที่นั่งทั้งหมด) ที่นั่ง

แต่ถ้านับแบบ MMP พรรค ก จะได้ที่นั่งทั้งหมด 

70(ที่นั่งแบ่งเขต)+ X(ที่นั่งที่จะได้เพิ่มโดยเป็นที่นั่งจากบัญชีรายชื่อ) = 85(ที่นั่งบัญชีรายชื่อ=ที่นั่งรวมทั้งหมด) ที่นั่ง

  • ถ้าในกรณีที่ พรรค ข ได้ที่นั่งแบบแบ่งเขตมากกว่าที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจะไม่มีการตัดที่นั่งแบบแบ่งออก เช่น ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ 4 ที่นั่ง แต่ได้ที่นั่งแบ่งเขต 16 พรรค ข จะมีที่นั่งทั้งหมด 16 ที่นั่ง โดยเป็นที่จากระบบแบ่งเขตทั้งหมด
  • กำหนดให้มี ส.ส. ทั้งหมดไม่เกิน 480 คน แบ่งสัดส่วนเป็นระบบแบ่งเขต 250 คน และระบบบัญชีรายชื่อ 200 คน
  • การเลือกตั้งในระบบนี้ จะทำให้ความห่างของจำนวนที่นั่งระหว่างพรรครัฐบาลกับ พรรคฝ่ายค้านลดน้อยลง เพื่อควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภา ถึงที่สุดอาจทำให้เกิดรัฐบาลผสม
  • ปัจจุบันมี 9 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ คือ เยอรมนี แอลเบเนีย เลโซโท โบลิเวีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เวเนซุเอลา อิตาลี ฮังการี

2. ข้อเสนอเรื่องที่มานายกรัฐมนตรี ในสภาวะปกติ นายกมาจากการโหวตของ ส.ส. แต่ในสภาวะวิกฤตสามารถนำ “คนกลาง” ที่ไม่ใช่ ส.ส. เข้ามาเป็นนายกได้ ผ่านการโหวตของ ส.ส.

3.ที่มาและอำนาจของ ส.ว.

  • เดิม ส.ว. มี 150 คน แต่จะเพิ่มเป็น 200 คน
  • เดิม ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง 76  และแต่งตั้ง 74 แต่จะเปลี่ยนเป็นแต่งตั้ง 4 ส่วน และเลือกตั้งทางอ้อม 1 ส่วน
  • เดิม ส.ว. มีอำนาจแค่ พิจารณากฏหมาย  ควบคุมการบริหารราชการผ่นดิน แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมกำหนด และถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง แต่จะเพิ่มอำนาจให้ ส.ว. ร่วมกับ ส.ส. ให้ความเห็นชอบวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ และแผนสำคัญประเทศให้ฝ่ายบริหารนำไปปฏิบัติ และมีอำนาจตรวจสอบรายชื่อคณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี ต้องส่งรายชื่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีให้ ส.ว. ตรวจสอบก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ

4.การกำหนดวันเลือกตั้ง เดิมเป็นอำนาจของรัฐบาล แต่เปลี่ยนเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

5.เสนอให้มีการตั้งสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ

  • ให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มีหน้าที่ส่งเสริมและพิทักษ์คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชนทุกระดับ มีหน้าที่ตรวจสอบ ไต่สวนการละเมิดจริยธรรมของบุคคลสาธารณะ และประกาศผลให้สาธารณชนทราบ พร้อมส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจถอดถอนต่อไป

6.ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลภายในรัฐสภา

  • พรรคที่ได้คะแนนอันดับที่ 2 และ 3 ในเลือกการประธานสภาผู้แทนฯ เป็นรองประธานสภาผู้แทน เพื่อให้พรรคฝ่ายค้านได้เป็นมีตำแหน่งด้วย
  • ให้ฝ่ายค้านเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการชุดตรวจสอบที่สำคัญ
  • ครม.สามารถส่งเรื่องให้สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ตรวจสอบจริยธรรมองค์กรอิสระ ส.ส. ส.ว. ได้หากพบว่ามีความผิดทางจริยธรรม เสนอให้ถอดถอนได้

7.มาตราการป้องกัน นายทุนพรรคการเมือง

  • กำหนดให้ผู้ซึ่งมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ นำชัก หรือสั่งการให้พรรคการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง หรือข้าราชการกระทำการใด ๆ ต้องมีความรับผิดทางอาญา ทางวินัย การเงินการคลัง และงบประมาณ และความรับผิดอื่น เช่นเดียวกับผู้ที่ตนสั่ง ครอบงำ หรือนำชัก

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net