Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557   นับตั้งแต่ที่เข้ารับตำแหน่ง นากยกรัฐมนตรีได้พูดคุยกับประชาชนผ่านรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ซึ่งเกือบทุกครั้งจะมีการกล่าวถึงนโยบาย และมุมมองของนายกรัฐมนตรีที่มีต่อ เกษตรกร-ชาวนาไทย ด้วยความเป็นห่วงเป็นใย รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ และแนวนโยบายของรัฐบาลนี้ในการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร-ชาวนา คำพูดเหล่านี้มีสาระสำคัญที่น่าสนใจอย่างมาก สำหรับการศึกษาวาทกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง และในฐานะที่ผู้เขียนเป็นอาจารย์สอนด้านชนบทศึกษาและการพัฒนา การวิเคราะห์คำพูดของนายกรัฐมนตรีซึ่งถือเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศ ถือได้ว่ามีผลสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ

ประการแรก คำพูดของนายกรัฐมนตรีมีสถานะเป็น วัจนกรรม (speech acts) เป็นเป็นคำพูดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติตามมาจากคำพูดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดนโยบาย และมาตรการปฏิบัติให้กับหน่วยงานของรัฐที่จะนำไปดำเนินการต่อกับพี่น้องเกษตรกร

ประการที่สอง คำพูดของบุคคลสำคัญอย่างนายกรัฐมนตรีย่อมมีผลสะเทือนในวงกว้างต่อสังคม โดยเฉพาะการออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง มีผู้ติดตามรับชมทั่วประเทศ ทั้งยังมีการนำคำพูดเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของรัฐบาลไทย ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ผลสะเทือนในวงกว้างดังกล่าวจึงมีความสำคัญมากในฐานะการผลิตสร้าง แบบความประพฤติปฏิบัติให้กับคนในสังคม (social practice) 

เมื่อได้ติดตามคำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรี มาระยะเวลาหนึ่ง มีความเห็นว่าคำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรี ได้สร้างมายาคติต่อเกษตรกร ชาวนา ของไทย ในหลายประการด้วยกัน ในฐานะผู้เขียนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ติดตาม และให้ความสนใจกับนโยบายการพัฒนาชนบท จึงขอแลกเปลี่ยน และแสดงความคิดเห็นในฐานะพลเมืองไทย ที่มีต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ผ่านรายการ คืนความสุขให้คนในชาติ ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม  – วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ดังต่อไปนี้

เกษตรกร-ชาวนา คือผู้ไม่รู้ ไม่เท่าทัน

ไม่เพียงแต่ปรากฏในคำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรี หากแต่เป็นบรรทัดฐานของการปฏิบัติที่สังคมไทยมีต่อเกษตรกร-ชาวนา มาเป็นเวลาช้านานว่า เกษตรกร ชาวนา เป็นผู้เรียนหนังสือน้อย ไม่เท่าทัน และมักจะถูกหลอกจากนายทุน นักการเมือง และข้าราชการ  ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นย้ำให้ความคิด ความเชื่อนี้ฝังแน่นในสังคมไทยเพิ่มขึ้น

ในวาระแรกที่ได้กล่าวกับประชาชนในรายการคืนความสุขให้คนในชาติหลังจากเข้ารับตำแหน่งนากยกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2557 ท่านนายกฯ กล่าวถึงปัญหาสำคัญด้านเศรษฐกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขประการหนึ่งคือ ปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและประชาชนผู้มีรายได้น้อย”  จากนั้นในสัปดาห์ถัดมา (วันที่ 5 กันยายน 2557) ท่านได้ยืนยันความให้เชื่อมั่นว่า เกษตรกร ชาวนา เป็นผู้มีรายได้น้อย และเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องเร่งแก้ไข ซึ่งท่านได้เสนอรูปธรรมของการแก้ไขปัญหาด้านรายได้แก่เกษตรกร โดยต้องแก้ที่ตัวเกษตรกรเองก่อน

ให้หลุดพ้นจากความยากจน ด้วยความพอเพียง... จากนั้นค่อยขยับขยายลงทุนขยายกิจการ เกษตรกรก็ต้องลดรายจ่าย ทำบัญชีครัวเรือน... ลูกหลานสำคัญต้องสอนให้เขารู้จักฐานะตนเอง ลูกต้องไปรบกวนพ่อแม่จนเกินไป จนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน... ไปหลงติดการพนัน สุรา ยาเสพติด ใช้ของราคาแพงเกินตัว พ่อแม่ก็จะไม่เกิดหนี้สินนอกระบบ ต้องกู้เงินมาให้ลูกใช้เรียนหนังสือด้วย ซื้อรถ ซื้อมอไซค์ ซื้ออะไรต่างๆ …” (5 กันยายน 2557)

การลดค่าใช้จ่ายและให้อยู่ภายใต้ความพอเพียง ตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่า เกษตรกรเหล่านี้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกินฐานะของตนเอง ทั้งลูกหลานของเกษตรกรก็ยังเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้พ่อแม่ การแก้ปัญหาจึงอยู่ภายใต้หลักการ “พึ่งตนเอง” กล่าวคือ ให้หันมาทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย  ดังนั้นเกษตรกรจึงเป็นผู้ไม่รู้ ไม่รู้ฐานะทางเศรษฐกิจของตนเอง ไม่รู้จักการเลือกที่จะบริโภคในสิ่งที่จำเป็น ที่สำคัญไม่มีความรู้ในอาชีพของตนเอง จึงต้องสร้างศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกรได้เรียนรู้

วันนี้สั่งการลงไปแล้วสามารถตั้งได้ 882 ศูนย์ระดับอำเภอ จริงๆ มีอีกมาก กำลังพัฒนาเพื่อให้ครบทุกอำเภอ ครอบทุกพื้นที่ จะทำให้มากขึ้นโดยเร็ว” ศูนย์เรียนรู้นี้จะมีข้อมูลด้านการเกษตรว่า ควรจะปลูกอะไร  ทั้งยังกล่าวด้วยว่าจะให้มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร…” (5 กันยายน 2557)

ประเภทของพืชที่จะต้องเพาะปลูก ต้องให้เหมาะสมกับพืชเกษตรแต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ลุ่มนํ้า จะเหมาะแก่การปลูกข้าวพันธุ์ดี เช่นแถว อยุธยา ปทุมธานี วันนี้ผมได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมไป ทบทวนดู ไปดูแลว่าพื้นที่ใดเหมาะสมในการปลูกข้าว หรือปลูกพืชการเกษตรที่มีราคาเหล่านี้ ไม่ให้มีการตั้งโรงงานขึ้นอี...”  (10 ตุลาคม 2557)

ความไม่รู้ของเกษตรกร-ชาวนารุ่นปัจจุบันดูจะฝังรากลึกในมุมมองของท่านนายก จึงต้องไปหวังที่รุ่นลูกหลานเกษตรกรแทน

วันนี้ถ้าเราไม่ผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่จะเป็นปัญหาในอนาคต รัฐบาลไม่สามารถดูแลตลอดไป ต้องผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่ชาวนารุ่นใหม่ที่เรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี วันนี้ผมได้สั่งไปแล้วว่าให้ทุนการศึกษาให้กับลูกชาวนา ลูกชาวไร่ ลูกเกษตรกรทุกประเภท ลองดูสิว่าจะทำได้อย่างไร ถ้าลงทุกพื้นที่ได้ทุกอำเภอ ทุกตำบล ทุกหมู่บ้าน ในอนาคตเราก็จะมีเกษตรกรยุคใหม่ที่เรียนรู้ต่อเทคโนโลยี ใช้เครื่องไม้ เครื่องมือเป็น บริหารจัดการของตัวเองเป็นและได้เร่งขับเคลื่อนชุมชนของตัวเอง ผมไม่ได้หมายความว่าให้กระทรวงศึกษาธิการไปให้เรียนจบปริญญาตรี โท เอกเป็น Doctor แล้วไปเป็นนักวิชาการผมไม่ต้องการ ให้จบภาคการเกษตรนี่แหละครับ วิชาทางการเกษตรได้รู้ทั้งระบบ จะได้ยั่งยืนสักที”   (10 ตุลาคม 2557)

ข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ตัวเกษตรกรเองเป็นปัญหาอยู่มาก เพราะรู้ไม่เท่าทัน  ทั้งยังมีแนวโน้มจะสืบทอดความไม่รู้นี้ต่อถึงลูกหลานถ้าหากไม่เร่งแก้ไข  วิธีคิดแบบนี้เคยมีนักมานุษยวิทยาเสนอไว้ตั้งแต่ปี 1966  (Oscar Lewis) ว่าเป็นวัฒนธรรมความยากจน (culture of poverty)  ความไม่รู้ ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจความก้าวหน้าและการรวมกลุ่มทางสังคม  กลายเป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งทำให้สืบทอดความยากจนจากรุ่นพ่อแม่ ไปสู่ลูกหลาน

ตำแหน่งแห่งที่ในสังคมของเกษตรกร-ชาวนาไทย

สิ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้จัดวางตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมให้กับเกษตรกร-ชาวนา ก็คือ ชาวนาเป็นผู้น่าสงสาร น่าเห็นใจ ใช้แรงงานหนัก ลำบาก และยากจน มีคำพูดหลายครั้งที่แสดงความเป็นห่วงชาวนา

ในเรื่องของข้าวผมถือว่าเกษตรกรชาวนาเป็นบุคลากร หรือเป็นประชาชนที่น่าเป็นห่วง และเป็นหลักให้กับประเทศไทย เพราะเราเป็นประเทศที่มีการผลิตข้าว และกว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเมล็ดผมว่าใช้แรงใช้ความตั้งใจ ใช้ความเอาใจใส่มหาศาล กว่าจะได้ข้าวมาให้เรารับประทานกัน ผมถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณค่ากับประเทศไทย เราจะดูแลให้ดีที่สุด(26 กันยายน 2557)

สำหรับชาวนา และวันนี้ท่านก็ยังมีรายได้ที่น้อยมากอยู่ เราต้องแก้ไขทั้งระบบชาวนา ต่อไปก็เป็นเรื่องของชาวสวน ชาวไร่ต่าง ๆ อีก... การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาผู้มีรายได้น้อย คือมีเกษตรกรหลายอย่าง หลายประเภท วันนี้ที่เดือดร้อนมากที่สุดวันนี้ก็คือชาวนา... วันนี้ในส่วนของชาวนา เราถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ของประเทศมีเป็นจำนวนมาก และก็เข้าไม่ถึง ไม่มีรายได้ที่เพียงพอ”  (26 กันยายน 2557)

วันนี้ลูกหลานต้องไม่กินทิ้งกินขว้าง กินข้าวให้หมดจาน กินทุกเมล็ดต้องหมดต้องให้นึกถึงว่ากว่าจะเป็นเม็ดข้าวให้เรากินได้เขาเหนื่อยมาเท่าไร ใช้เวลาเป็นหลายเดือนกว่าจะผลิตออกมา ผ่านขั้นตอนมากมายหยาดเหงื่อแรงงานความยากลำบากต้องรู้คุณค่าของข้าว วันนี้อยากจะส่งเสริมให้คนไทยกินข้าว และคนทั้งโลกกิน”  (10 ตุลาคม 2557)

การผลิตสร้างตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมให้กับชาวนา ลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฝังลึกในวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่ออดีตเป็นเสียงก้องกังวานทางวัฒนธรรม (cultural resonance) ที่มองว่า ชาวนาไทยเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นผู้เสียสละ เป็นกระดูกสันหลังของชาติที่ปลูกข้าวเลี้ยงคนไทย การกล่าวถึงชาวนาในทำนองนี้จึงตรงใจผู้คนในสังคม และผลิตซ้ำความเชื่อดั้งเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในสังคม ตอกย้ำให้ชาวนาดูเป็นผู้น่าสงสารน่าเห็นใจ ยิ่งการที่เป็นผู้มีความรู้น้อยและมักจะถูกหลอกให้หลงฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยได้ง่ายด้วยแล้ว ชาวนาจึงอยู่ในสภาพช่วยตนเองไม่ได้  ทำให้มีสถานะต้องรับความช่วยเหลืออยู่ร่ำไป แต่การช่วยเหลือเกษตรกร-ชาวนา ที่ทำมาในทุกยุคทุกสมัยนั้น เป็นสิ่งที่ท่านนายกเห็นว่าเป็นเรื่องที่ “ไม่ยั่งยืน”

ท่านนายกพูดหลายครั้งว่า ต้องเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยปรากฏคำว่า “ยั่งยืน” ในการพูดเกือบจะทุกครั้ง เช่น  “ให้การปลูกข้าวของไทยให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืน”  (26 กันยายน 2557) “พออะไรราคาดีก็ไปปลูกตามกันมา ๆ เรื่อย ๆ และก็มากขึ้น ๆ พอไม่ได้ผลก็ต้องชดเชย ต้องเยียวยา เสียเงินไปหลาย ๆ ทาง ส่งเสริมให้ยั่งยืนสักที”  (10 ตุลาคม 2557) “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราต้องการให้เกิดความยั่งยืน”  (17 ตุลาคม 2557)  “ผมได้สั่งการให้หน่วยงานเกี่ยวข้องให้เตรียมดำเนินมาตรการในระยะยาวที่จะช่วยให้การปลูกข้าวเป็นไปอย่างยั่งยืน”  (31 ตุลาคม 2557)

เมื่อพิจารณาว่าความไม่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ทำนา ปลูกข้าว คืออะไร ดูเหมือนว่าสิ่งที่ถูกเน้นย้ำเสมอคือ การต้องให้ความช่วยเหลือ โดยไม่เพียงพอเสียที เช่น

วันนี้ถ้าเราไม่ผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่จะเป็นปัญหาในอนาคต รัฐบาลไม่สามารถดูแลตลอดไป ต้องผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่…    รัฐบาลก็จะเดินหน้าวางรากฐานระบบเกษตรกรของไทยให้พัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่มาแก้ปลายเหตุ ไม่มา Subsidize ราคา ไม่มาจำนำหรือประกันอะไรก็แล้วแต่ ทำอย่างไรจะยั่งยืน ทำอย่างไรรัฐบาลต้องไม่ไปช่วย”  (10 ตุลาคม 2557)

 “...สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องเงินอุดหนุน หรือสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าต่างๆ นั้น เป็นการแก้ไขปัญหาเพียงชั่วคราว ยังไม่ยั่งยืน”  (21 พฤศจิกายน 2557)

จากคำให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมของ ครม. เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2558 ว่า “ถ้าแก้ปัญหาด้วยการซับสิไดซ์ ไปตลอด มันก็คือความไม่ยั่งยืนนะ คงแก้ได้เพียงปีเดียวแหละ การจ่ายเงินก็จ่ายได้ครั้งเดียว พอครั้งต่อไปก็จ่ายยากแล้วนะ มันจะกลายเป็นการเพาะนิสัย” 

เกษตรกร-ชาวนาจึงถูกจัดวางตำแหน่งแห่งที่ทางสังคม ให้มีสถานะเป็นผู้น่าสงสาร ช่วยตนเองไม่ได้ และต้องรอรับความช่วยเหลือ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องมีมาตรการสนับสนุนด้านราคาอยู่เสมอมาและนี่คือความไม่ยั่งยืนในสายตาของท่านนายกฯ

แบบความประพฤติ และแบบแผนการปฏิบัติต่อเกษตรกรชาวนา

การจัดวางแบบแผนการปฏิบัติทางสังคมให้กับเกษตรกร-ชาวนาไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในสายตาของท่านนายกรัฐมนตรี มี 3 ประการ ได้แก่

1. ความพอเพียง และดำเนินรอยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการสอนลูกหลานให้พอเพียง มีค่านิยม 12 ประการ  

ก็ได้พยายามขับเคลื่อนในการสร้างความตระหนักให้กับคนในชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมสัปดาห์การสร้างค่านิยมหลัก 12 ประการในห้วงวันที่ 22 – 26 กันยายน 2557 โดยให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอ เขต ทุกจังหวัด รวม 928 แห่ง กิจกรรม ให้ข้าราชการ บุคลการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมกันสร้างค่านิยม 12 ประการ ให้ทั่วถึง ทั้งนี้เพื่อจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง มีจิตสำนึกในความรักชาติ ความรัก ความสามัคคี และเพื่อจะขยายไปสู่คนรุ่นหลัง ๆ”  (10 ตุลาคม 2557)

ดูเหมือนว่าท่านนายกฯ จะเชื่อมั่นว่าค่านิยม 12 ประการนี้จะเป็นทางออกสำหรับอนาคตในการแก้ปัญหาความยากจน ความไม่รู้จักพอเพียงดังที่ได้กล่าวไว้ว่า “ผมก็หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า ค่านิยม 12 ประการนี้ น่าจะเป็นแรงผลักดัน ให้กับการปฏิรูปประเทศไทย การสร้างอนาคตให้คนในชาติต่อไป ให้กับลูกหลานของเรา เป็นการสร้างอนาคตให้กับลูกเรา หลานเราต่อไป ซึ่งอาจจะต้องชี้แจงความหมาย กับอธิบายในข้อปฏิบัติให้เด็กเล็กเข้าใจด้วย บางที่เขาท่องอย่างเดียว ไม่รู้ว่า 12 อย่างทำอะไร ความหมายว่าอะไร พ่อแม่ช่วยสอน ช่วยทำความเข้าใจด้วย ไม่ยากเลย”  (10 ตุลาคม 2557)

สังคมอาจต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมว่า ค่านิยม 12 ประการดังกล่าว จะสามารถแก้ไขปัญหาและสร้างอนาคตให้กับคนในชาติต่อไปได้อย่างไร เพราะทั้ง 12 ข้อ คือข้อปฏิบัติที่คนในชาติพึงกระทำ แต่ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลนี้ทำอะไร อย่างไรให้กับคนในชาติ ที่เป็นเรื่องใหม่แตกต่างจากรัฐบาลที่ผ่านๆ มาบ้าง

2 เกษตรกร-ชาวนา ต้องพัฒนาตนเอง เรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต

...ทุกกระทรวงต้องรับผิดชอบด้วย การให้ความรู้เกษตรกร ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ว่าควรจะปลูกพืชแบบไหน เวลาไหนที่จะเป็นการเพิ่มช่วยมูลค่า...    “วันนี้อยากจะให้ส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไปด้วย ให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เข้ามาได้รู้วิธีการทำนา ดำนา ปลูกข้าวเกี่ยวข้าว ตำข้าวอะไรก็แล้วแต่ ให้เขาลองมาอยู่ไร่นาสวนผสมเหล่านี้ สวนผลไม้เก็บเกี่ยวเองกินเอง รับประทานหรืออะไรก็แล้วแต่ ให้เขาคุ้นเคย โดยมาอยู่อาศัยในบ้านแบบ Homestay หรือโรงแรมใกล้ ๆ ก็ได้ จะได้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน”  (10 ตุลาคม 2557)

การปลูกข้าวและวิถีชีวิตของชาวนาไทยผลผลิตที่ได้ทางโรงเรียนก็รับซื้อจากชาวนาที่รับจ้างปลูกและดูแลนาข้าวมาทั้งหมด โดยนำมาขายที่สหกรณ์ของโรงเรียน โครงการผูกปิ่นโตข้าวนี้จะจับคู่ระหว่างครอบครัวคนในเมืองกับครอบครัวชาวนาที่ปลูกข้าวอินทรีย์ หรือข้าวปลอดสารโดยตรง โดยมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้มีคนปลูกและกินข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ชาวนาไทยและคนกินข้าวไทยได้มีคุณภาพชีวิต และสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นในอนาคต” (17 ตุลาคม 2557)

เกษตรกรที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องปรับวิถีการผลิตมาสู่การบริการมากขึ้น คือ การให้บริการ “ปลูกข้าวเกี่ยวข้าว ตำข้าว” เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชม หรือการ “รับจ้างปลูกและดูแลนาข้าว”   ซึ่งมีลักษณะที่สอดคล้องกับการทำการเกษตรแบบ “พันธสัญญา” คือการประกันรายได้ที่แน่นอนจากการปลูกข้าว ที่ได้มาตรฐาน และเป็นที่ต้องการของตลาด โดยการลงทุน และให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งนโยบายแบบนี้โฉมหน้าเกษตรกรอาจเปลี่ยนไปกลายเป็นลูกจ้างแรงงานภาคเกษตรแทน

3 ลดการพึ่งพารัฐ และเชื่อฟังรัฐให้มากขึ้น

หลายครั้งที่ท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการพึ่งพารัฐซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน และมีแนวโน้มว่าต่อไปรัฐบาลนี้จะลดความช่วยเหลือเกษตรกร-ชาวนาลง โดยให้หันมาพึ่งตนเองให้มากขึ้น ทางออกของเรื่องนี้นอกจากจะต้องพัฒนาตนเอง กินอยู่อย่างพอเพียงแล้ว จะต้องมีการเรียนรู้ให้มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเรียนรู้จากรัฐ เชื่อฟังรัฐให้มากขึ้น

จะต้องแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนใน 2 เรื่อง ก็คือในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทางการเกษตร พื้นที่ใด มีสภาพแวดล้อม ดิน นํ้า เหมาะสมกับพืชชนิดใด หน่วยงานของรัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ให้ความรู้ และการฝึกอบรม อย่ารอให้เกิดปัญหา สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดขณะนี้ก็คือพื้นที่ที่แล้งซํ้าซาก นํ้าก็น้อยดินก็ไม่ดี แต่ก็ยังคงต้องเพาะปลูกพื้นที่ทางการเกษตร เช่น ข้าว ก็ไม่ได้ผลทุกปี ฉะนั้นต้องเร่งเข้าไปดำเนินการ... กรณีที่เปลี่ยนเป็นพืชอย่างอื่น และเราก็ไม่ได้บังคับใครทั้งสิ้น เราเป็นห่วง” ... (24 ตุลาคม 2557)

โครงการนำร่องโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร เพื่อให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ปริมาณนํ้าและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้จะต้องขอความร่วมมือจากภาคเอกชน ภาคธุรกิจต่าง ๆ ด้วยประชาชนทุก ๆ คนก็ต้องร่วมมือ เกษตรกรทุกคนต้องให้ความร่วมมือกับรัฐด้วย” (3 ตุลาคม 2557)

สำหรับเรื่องการประกันภัยข้าวนาปี การผลิต 2557 ที่ทาง คสช. ได้มีมติอนุมัติ และทาง ธ.ก.ส. ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ก็อยากให้พี่น้องชาวนาได้มาเข้าร่วมโครงการกันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงลง... ปีการผลิต 2557 ซึ่งจะช่วยให้พี่น้องชาวนาได้รับเงินคุ้มครองถึง 1,111 บาทต่อไร่หากเกิดภัยพิบัติ โดยพี่น้องชาวนาจ่ายค่าเบี้ยประกันเพียง 60 - 100 บาทต่อไร่”  (26 กันยายน 2557)

แม้ว่าท่านนายกฯ จะกล่าวว่าจะไม่บังคับใครทั้งสิ้น แต่การกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องรับไปดำเนินการ จะมีผลอย่างสำคัญในการเข้าไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อชาวบ้าน  เกษตรกร-ชาวนา  โดยเฉพาะการใช้กำลังของฝ่ายความมั่นคง ไปพูดคุยเจรจากับชาวบ้าน ซึ่งเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศขณะนี้  “เกษตรกรทุกคนต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาล” อย่างแน่นอน แม้ว่าจะไม่ได้บังคับ แต่ต้องลงนามยอมรับในเอกสารด้วยความสมัครใจ  เกษตรกร-ชาวนาเหล่านี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเลือกได้ด้วยตนเองอยู่ดี

สำหรับโครงการประกันภัยข้าวนาปีสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดแบบ “เสรีนิยมใหม่” (neoliberalism)  ที่ต่อไปนี้อาจไม่มีการสนับสนุนแบบให้เปล่า แต่จะต้องเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้รับประโยชน์เอง แม้ในปี 2557 จะเป็นโครงการนำร่องแต่มีแนวโน้มว่าระบบการต้องจ่ายต้นทุนการผลิต และรับภาระความเสี่ยงด้วยตนเองจะถูกนำมาใช้มากขึ้น  ฉะนั้นทางออกสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จะต้องแบกรับต้นทุนลักษณะนี้มีเพียงทางเลือกอยู่ไม่กี่ทางกล่าวคือ ไม่เลิกอาชีพเกษตรกร ก็จะต้องไปเป็นลูกจ้าง ในระบบเกษตรพันธสัญญา

มายาคติและความหมายของเกษตรกร ชาวนาไทย ที่ถูกผลิตสร้าง

สิ่งที่ท่านนายกฯ อาจได้ข้อมูลมาคลาดเคลื่อนจากหน่วยงานราชการ ที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลกับท่านซึ่งสำคัญมากได้แก่ การที่ยังคงเข้าใจว่า สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม และเกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ จะเห็นได้ว่าท่านกล่าวถึงเกษตรกร ชาวนา ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศหลายครั้ง เช่น

“ในส่วนของชาวนา เราถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ของประเทศมีเป็นจำนวนมาก และก็เข้าไม่ถึง ไม่มีรายได้ที่เพียงพอ” (3 ตุลาคม 2557) “ส่วนใหญ่เราเป็นเกษตรกรรม ในส่วนใหญ่คนมีรายได้น้อยมากมาย” (7 พฤศจิกายน 2557)  “วันนี้ก็มีความขัดแย้งในหลายพื้นที่หากทำให้เกษตรกรหรือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้ที่เพียงพอ”  (14 พฤศจิกายน 2557)

จากการสัมมโนประชากรภาคเกษตรของไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 ประเทศไทยมีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียง 5.8 ล้านคน เมื่อเทียบกับประชากรที่มีงานทำอยู่ในปี 2551 มีจำนวน 35.7 ล้านคน  ดังนั้นประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมของไทยจึงมีอยู่เพียง ร้อยละ 16.24 ของประชากรทั้งประเทศที่มีงานทำเท่านั้น  นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทยภาคเกษตรก็ต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมและการบริการมาต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีแล้ว ในปี 2556 สัดส่วนภาคเกษตรอยู่ที่ร้อยละ8.3 อัตราการส่งออกสินค้าภาคเกษตรของไทยอยู่ที่ร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับสินค้าส่งออกประเภทอื่น  ดังนั้นประเทศไทยจึงไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรม และคนส่วนใหญ่ในประเทศไม่ได้มีอาชีพเป็นเกษตรกร-ชาวนาอีกต่อไป

เกษตรกร-ชาวนา ที่ท่านนายกกล่าวถึงว่าจำเป็นต้องเรียนรู้ ต้องพัฒนา ปรับปรุงเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงการทำนา มาสู่การให้บริการทำนาแทนนั้น มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า เกษตรกร ชาวนาเหล่านี้ ไม่ได้มีรายได้หลักมาจากการทำนาอีกต่อไป แต่มีรายได้หลักมาจากการปลูกพืชชนิดใหม่ๆ  และหมุนเวียนเปลี่ยนอาชีพไปมาตลอดเวลา นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรียกว่าเป็น “ชาวนาผู้ยืดหยุ่น”  ตามภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของราคา และความต้องการของตลาด ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนบริษัทข้ามชาติ (ของไทย) เข้าไปส่งเสริมให้ปลูก เช่น  ยางพารา  ข้าวโพด ต้นกระดาษ  รวมไปถึงพืชไร่ เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง  

ชาวนาผู้ยากจนไม่ได้มีรายได้หลักจากการทำนา แต่เป็นการทำนาเพื่อบริโภคในพื้นที่นาขนาดเล็ก ชาวนาที่ต้องเช่าที่ดิน มีที่นาจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทั้งรับจ้างในภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และรับจ้างในภาคเกษตร  ส่วนการทำนาเป็นอาชีพนั้น จะเห็นว่าปัจจุบันบริษัทเอกชนเข้าไปลงทุนทำนาขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะเป็นเกษตรพันธสัญญา เช่น ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวนาเป็นลูกจ้างในนาของตัวเองผลิตข้าวส่งบริษัทข้ามชาติ หรือการทำนา แถบภาคกลาง ปทุมธานี สุพรรณบุรี เป็นการทำนาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ชาวนากล่าวว่าพวกเขา “ทำนาด้วยโทรศัพท์มือถือ”  หมายถึงการโทรศัพท์นัดหมาย กับผู้ให้บริการ เป็นระบบการแบ่งงานกันทำ (division of labour) ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่  นับตั้งแต่ การไถ การหว่าน การฉีดยา รวมถึงการเก็บเกี่ยวซึ่งล้วนใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน  ซึ่งท่านนายกพึงทราบดีว่า แรงงานภาคการเกษตรขาดแคลนอย่างมากในปัจจุบัน จนต้องอาศัยแรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นกำลังแรงงานแทน   

ส่วนชาวนาในภาคอีสานซึ่งขาดแคลนน้ำไม่มีระบบชลประทานส่วนใหญ่ทำนาได้เพียงครั้งเดียว เป็นการทำนาเก็บไว้เพื่อการบริโภค อาชีพหลักไม่ใช่การทำนาอีกแต่เป็นการรับจ้าง และได้รับรายได้เป็นเงินที่ลูกหลานส่งกลับมาให้   ชาวนาที่จังหวัดอำนาจเจริญใช้ครีมกันแดดทาหน้าก่อนลงนา ฉลองการเกี่ยวข้าวเสร็จร่วมกับเพื่อนบ้านที่มา “เอามื้อ เอาแรง” ช่วยกัน ด้วยการสั่งหมูย่างเกาหลีมากินที่เถียงนา เช่นเดียวกับภาคเหนือ ที่ทำนาสลับกับการทำไร่ ประกอบอาชีพที่หลากหลายใน 1 ฤดูกาลผลิต  รวมทั้งเริ่มมีการขายที่นาให้คนเมืองเข้าไปทำนาเป็นงานอดิเรกเรียกว่า “ชาวนาวันหยุด”

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปมากแล้ว และอย่างน้อยก็เกือบทศวรรษ นับแต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการบริการแซงหน้าภาคการเกษตร ทำให้ชาวนาที่เปลี่ยนอาชีพไปเหล่านี้ มีวิถีชีวิตไม่ต่างจากคนเมือง เพราะเขาและเธอ ใช้ชีวิตทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง งานวิจัยมีทั้งของนักวิชาการไทย และต่างประเทศที่ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกร-ชาวนาที่ไม่ได้เป็นดังเช่นในอดีต นิธิ เอียวศรีวงษ์ กล่าวว่า คนชนบทเข้ามาสู่เมืองและมีความสัมพันธ์กับเมืองอย่างแนบแน่น  ชาร์ลส์ คายส์ เรียกชาวชนบทที่เข้าร่วมขบวนเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมานี้ว่าเป็น "กลุ่มคนชนบทผู้เห็นโลกกว้าง" (cosmopolitan villagers) ขณะที่ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี  มองคนชนบทว่าเป็น "ตัวตนใหม่ของพลเมืองเสรีนิยม" นักวิชาการต่างประเทศ แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ เรียก “ชาวนาชนชั้นกลาง” (middle class peasants) หรืองานของนฤมน ทับจุมพล กับดัลแคน แมคคาโก เรียกว่า คนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ซึ่งชาญวิทย์ เกษตรศิริ เสนอว่าเป็น “ชาวบ้านเมืองกรุง”  (rubans)  จะเห็นได้ว่าเกษตรกร-ชาวนา ผู้ไม่รู้ ล้าหลัง ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องเล่าในวรรณกรรมที่ท่านนายกฯ หยิบมาพูดใหม่ในบริบทใหม่ (recontexulize) ของการปฏิรูปประเทศไทยด้วยการรัฐประหาร

การปลูกพืชปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ เกษตรพันธสัญญาเป็นสิ่งที่มาควบคู่กัน เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนในการดูแล เฝ้าระวัง และมีมาตรฐานควบคุมเข้มงวด การที่ชาวนาที่เคยปลูกข้าวแบบเดิมจะก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการปฏิบัติตามกำหนดมาตรฐานเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะ ธุรกิจเอกชนจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมมาตรฐานอย่างใกล้ชิด  ตลาดจำกัดอยู่เฉพาะคนเมืองผู้มีฐานะดี  รวมทั้งเกษตรอินทรีย์ต้องใช้แรงงานเข้มข้น และต้นทุนค่าแรงงานสูงมากเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าปุ๋ย สารเคมี ในเกษตรเคมี (ดูงานวิจัยเรื่องนี้ได้ จาก เนตรดาว เถาถวิล, 2554; 2556; 2557)    การเปลี่ยนรูปแบบการปลูกมาสู่เกษตรอินทรีย์จะนำไปสู่ภาระการพึ่งพิงให้กับเกษตรกรเปลี่ยนการพึ่งพิงจากภาครัฐมาสู่การพึ่งพิงแบบพันธสัญญาต่อธุรกิจเอกชนแทน และเป็นช่องทางสู่การเปลี่ยนมือการครอบครองทรัพยากรภาคชนบท จากคนท้องถิ่นมาสู่นายทุนในธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่

ประการต่อมา ในแวดวงการพัฒนาชนบท ยอมรับมานานแล้วว่า เกษตรกรไม่ใช่ผู้ไม่รู้ บรรดากระทรวง ทบวงกรมต่างๆ ไปเรียนรู้จากเกษตรกร ตั้งให้เป็นปราชญ์  ศูนย์เรียนรู้ทั่วประเทศที่ตั้งขึ้น ไม่ได้เป็นศูนย์เรียนรู้ในความหมายที่ท่านนายกฯ ต้องการจะให้เป็น แต่เป็นศูนย์เรียนรู้ที่พัฒนามาจากพื้นที่ ไร่นาสวนผสมของเกษตรกร ที่มีความรู้ มีความชำนาญการพิเศษในด้านการเกษตร ทำหน้าที่เป็นวิทยากร เป็นครูภูมิปัญญา เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ให้กับนักท่องเที่ยวภายนอกได้มาเยี่ยมชม ผู้มาเยี่ยมชมส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเกษตรกร ชาวนา เพราะเรื่องราวที่เสนอในศูนย์เรียนรู้เป็นเรื่องที่ชาวบ้านรับรู้กันอยู่แล้ว  คนที่มาเยี่ยมชมส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มศึกษาดูงาน เป็นคนเมือง เป็นหัวคะแนน เป็นสมาชิก อบต. อบจ. ศูนย์เรียนรู้ที่มีอยู่ทั่วประเทศให้ความรู้ในเรื่องซ้ำๆ กัน  ได้แก่ การทำน้ำยาอเนกประสงค์ น้ำหมักชีวภาพ เผาถ่าน การทำน้ำส้มควันไม้ การเคี่ยวน้ำตาลอ้อย และสวนเกษตรผสมผสาน ที่มีการให้บริการอาหารที่ผลิตจากพืชผักปลอดสารเคมี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคนเมืองมากกว่าเกษตรกร-ชาวนา  ศูนย์เรียนรู้ที่จะให้ความรู้แก่เกษตรกรว่าจะปลูกอะไร ปลูกอย่างไร จึงดูจะห่างไกลจากความจริง เพราะเกษตรกรเองคือผู้ที่รู้ดีว่า ควรจะปลูกอะไร อย่างไร   อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า "คุยกับฝ่ายการเมืองทุกคนก็จะบอก มีนโยบายต่อเกษตรกร แต่ไม่มีนโยบายเกษตรกรรม และไม่เคยคิดจะมี ...รัฐบาลควรมีนโยบายเกษตรกรรม ควรมี ควรลงมือลงไม้ทำให้ภาคเกษตรของไทยแข็งแกร่ง  "ไม่ใช่การไปจ้างให้หยุดผลิต”  “... อย่าไปโซนนิ่ง  เพราะเขาจะรู้ดีว่าจะใช้ที่ดินเพื่อปลูกอะไรดีกว่า"

ดังนั้นความยั่งยืน ไม่ใช่การพึ่งตนเอง หรือสั่งสอนลูกหลานให้ประหยัด ภาครัฐควรต้องเข้าใจได้แล้วว่า เกษตรกร-ชาวนา สามารถคิดด้วยเหตุด้วยผล รู้จักคำนวณผลกำไร ขาดทุน ความคุ้มค่า ระหว่างต้นทุนการผลิต และเวลาที่เสียไป มิฉะนั้นเกษตรกรเหล่านี้คงไม่เปลี่ยนแปลงอาชีพ เคลื่อนย้ายแรงงานตลอดเวลา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้น เท่าทัน  ปะทะประสานกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาภายใต้ระบบทุนนิยมเสรี ที่เกษตรกร-ชาวนา ได้เข้าสู่วิถีการผลิตเพื่อการค้าเต็มตัว

การช่วยเหลือเกษตรกร ในฐานะแรงงานนอกระบบเป็นสิ่งจำเป็น ในฐานะโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (social safety net) ประเทศทุกประเทศมีนโยบายด้านนี้ ต่างกันที่ประเทศไทยเรียกโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมว่าเป็น “ประชานิยม”  โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยมีปัญหามาก เพราะไม่มีระบบสวัสดิการคุ้มครอง และรัฐบาลไทยไม่เคยให้การดูแลอย่างเป็นระบบ ต่างจากแรงงานที่มีระบบประกันสังคม และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดังนั้นระบบสวัสดิการแรงงานภาคเกษตรจึงมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่พึงจะพิจารณาในฐานะเป็นโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม แทนที่จะปรับลดการให้ความช่วยเหลือควรอย่างยิ่งที่จะพิจารณารูปแบบความช่วยเหลือให้เพิ่มมากขึ้น เรื่องนี้เกี่ยวพันธ์กับความมั่นคงทางอาหาร (food security) ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีก็ดูจะเป็นห่วงต่อเรื่องนี้ ดังที่ท่านกล่าวเรื่อง พันธุ์ข้าวที่สูญหายไป ราคาอาหารที่แพงขึ้น ตลอดจนการเข้าถึงอาหารท้องถิ่นทำได้ยากขึ้น ทั้งหมดนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ที่มีส่วนทำลายพันธุ์พืช สัตว์ท้องถิ่น การผูกขาดตลาด และผลิตอาหารสังเคราะห์

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า การให้การช่วยเหลือภาคการเกษตรเป็นสิ่งจำเป็น ในภาวะที่โลกเผชิญกับปัญหาอาหาร อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (climate change) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (natural resources degradation) การสูญเสียความหลากหลายของอาหารและการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภค (food losses and changes in food consumption patterns)  การรวมตลาดอาหารเข้าด้วยกัน (market integration) ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น ในภาวะเช่นนี้ FAO ยืนยันว่าจะต้องมีการลงทุนสาธารณะ (public investment) ในด้าน การวิจัยและพัฒนาการเกษตร โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร และโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมให้กับเกษตรกร 

การลดต้นทุนการผลิต ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง การจัดสรรที่ดิน โดยเฉพาะการจัดวางระบบชลประทาน ตามที่ท่านนายกฯ กล่าวเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งหมด 149.2 ลานไร อยูในเขตชลประทาน 29.3 ลานไร คิดเปนรอยละ 19.6 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด  และในจำนวนนี้ไม่ใช่ทั้งหมดที่ได้ประโยชน์เต็มที่จากระบบชลประทาน   เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกขณะนี้ มีพื้นที่ชลประทานคิดเป็นร้อยละ 38 ต่อพื้นที่เพาะปลูก ผลผลิตต่อไร่จึงไม่อาจมองว่าชาวนาไม่ได้ปรับปรุงกระบวนการผลิต แต่ภาครัฐต่างหากที่ควรมองระบบโครงสร้างพื้นที่ในการสนับสนุนภาคการเกษตรว่าทำได้เพียงพอแล้วหรือยัง

ที่น่าเป็นห่วงมากคือ ข่าวที่ว่า  ได้มีกองกำลังได้เข้าไปในพื้นที่  ตำบลเขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย และมีการใช้กำลังกับชาวบ้านที่คัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำ เพื่อให้ชาวบ้านยอมเปิดทางให้บริษัทขนแร่ออกจากพื้นที่ จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 40 ราย  รวมทั้งกรณีผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายแผนแม่บทป่าไม้ และคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 ในพื้นที่ภาคอีสาน เหนือ และภาคใต้ รวมกว่า 21 พื้นที่ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้าไปจับกุม ไล่ รื้อ ที่อยู่อาศัย และตัดฟันพืชไร่ พืชสวนในที่ทำกินของชาวบ้าน ซึ่งสร้างความหวาดผวา และอาจเป็นชนวนสำคัญจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายต่อไปในสังคม  ฝ่ายความมั่นคงน่าจะทราบดีว่า ความขัดแย้ง แตกแยกของคนในชาติที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาถึงภัยคอมมิวนิสต์  จนถึงความขัดแย้งระหว่างสีเสื้อที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากชาวนา ชาวไร่ คนชนบท ถูกกระทำ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานของรัฐ  

การจำกัดสิทธิทางเศรษฐกิจ  ทางการเมืองโดยอ้างความไม่รู้ของเกษตรกร ชาวนา เป็นวัฒนธรรมที่ฝังแน่นในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน  วัฒนธรรมแห่งความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกัน (culture of inequality) นี้สร้างเรื่องเล่าของการต้องพึ่งพิง และรับความช่วยเหลือของเกษตรกร-ชาวนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  ทำให้คนไทยมองไม่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ของคนไทยด้วยกันว่าเท่าเทียมกัน เรื่องสำคัญเช่นนี้ควรอย่างยิ่งที่จะบรรจุเข้าไว้ใน “ค่านิยม 12 ประการ” ของท่านนายก คือ การที่คนไทยทุกคนควร มองคนให้เท่าเทียมกัน มีศักยภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับตนเอง ยิ่งการจะเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยแล้ว การมองคนทุกเชื้อชาติ ภาษา กลุ่มชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียมกันยิ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ท้ายที่สุดวิธีการที่จะทำให้เกษตรกร-ชาวนา คนชนบท ลดการรับความช่วยเหลือ และไม่ต้องพึ่งพิงงบประมาณจากส่วนกลางมากดังที่เป็นอยู่ ที่ท่านและรัฐบาลของท่านมีความเห็นไม่ตรงกับประชาชนก็คือสิทธิการเลือกตั้ง และสิทธิการเข้าถึงทรัพยากร   ผ่านการกระจายอำนาจให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นทุกระดับ และส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและผู้ปกครองเป็นตัวแทนของเกษตรกร-ชาวนาอย่างแท้จริง สิ่งนี้จะเป็นการลดการพึ่งพาและสามารถทำให้เกษตรกร-ชาวนา พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน และผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ลง 

สิทธิเลือกตั้ง และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจึงเป็นความสุขที่แท้ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557   นับตั้งแต่ที่เข้ารับตำแหน่ง นากยกรัฐมนตรีได้พูดคุยกับประชาชนผ่านรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ซึ่งเกือบทุกครั้งจะมีการกล่าวถึงนโยบาย และมุมมองของนายกรัฐมนตรีที่มีต่อ เกษตรกร-ชาวนาไทย ด้วยความเป็นห่วงเป็นใย รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ และแนวนโยบายของรัฐบาลนี้ในการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร-ชาวนา คำพูดเหล่านี้มีสาระสำคัญที่น่าสนใจอย่างมาก สำหรับการศึกษาวาทกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง และในฐานะที่ผู้เขียนเป็นอาจารย์สอนด้านชนบทศึกษาและการพัฒนา การวิเคราะห์คำพูดของนายกรัฐมนตรีซึ่งถือเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศ ถือได้ว่ามีผลสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ

ประการแรก คำพูดของนายกรัฐมนตรีมีสถานะเป็น วัจนกรรม (speech acts) เป็นเป็นคำพูดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติตามมาจากคำพูดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดนโยบาย และมาตรการปฏิบัติให้กับหน่วยงานของรัฐที่จะนำไปดำเนินการต่อกับพี่น้องเกษตรกร

ประการที่สอง คำพูดของบุคคลสำคัญอย่างนายกรัฐมนตรีย่อมมีผลสะเทือนในวงกว้างต่อสังคม โดยเฉพาะการออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง มีผู้ติดตามรับชมทั่วประเทศ ทั้งยังมีการนำคำพูดเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของรัฐบาลไทย ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ผลสะเทือนในวงกว้างดังกล่าวจึงมีความสำคัญมากในฐานะการผลิตสร้าง แบบความประพฤติปฏิบัติให้กับคนในสังคม (social practice) 

เมื่อได้ติดตามคำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรี มาระยะเวลาหนึ่ง มีความเห็นว่าคำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรี ได้สร้างมายาคติต่อเกษตรกร ชาวนา ของไทย ในหลายประการด้วยกัน ในฐานะผู้เขียนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ติดตาม และให้ความสนใจกับนโยบายการพัฒนาชนบท จึงขอแลกเปลี่ยน และแสดงความคิดเห็นในฐานะพลเมืองไทย ที่มีต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ผ่านรายการ คืนความสุขให้คนในชาติ ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม  – วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ดังต่อไปนี้

เกษตรกร-ชาวนา คือผู้ไม่รู้ ไม่เท่าทัน

ไม่เพียงแต่ปรากฏในคำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรี หากแต่เป็นบรรทัดฐานของการปฏิบัติที่สังคมไทยมีต่อเกษตรกร-ชาวนา มาเป็นเวลาช้านานว่า เกษตรกร ชาวนา เป็นผู้เรียนหนังสือน้อย ไม่เท่าทัน และมักจะถูกหลอกจากนายทุน นักการเมือง และข้าราชการ  ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นย้ำให้ความคิด ความเชื่อนี้ฝังแน่นในสังคมไทยเพิ่มขึ้น

ในวาระแรกที่ได้กล่าวกับประชาชนในรายการคืนความสุขให้คนในชาติหลังจากเข้ารับตำแหน่งนากยกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2557 ท่านนายกฯ กล่าวถึงปัญหาสำคัญด้านเศรษฐกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขประการหนึ่งคือ ปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและประชาชนผู้มีรายได้น้อย”  จากนั้นในสัปดาห์ถัดมา (วันที่ 5 กันยายน 2557) ท่านได้ยืนยันความให้เชื่อมั่นว่า เกษตรกร ชาวนา เป็นผู้มีรายได้น้อย และเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องเร่งแก้ไข ซึ่งท่านได้เสนอรูปธรรมของการแก้ไขปัญหาด้านรายได้แก่เกษตรกร โดยต้องแก้ที่ตัวเกษตรกรเองก่อน

ให้หลุดพ้นจากความยากจน ด้วยความพอเพียง... จากนั้นค่อยขยับขยายลงทุนขยายกิจการ เกษตรกรก็ต้องลดรายจ่าย ทำบัญชีครัวเรือน... ลูกหลานสำคัญต้องสอนให้เขารู้จักฐานะตนเอง ลูกต้องไปรบกวนพ่อแม่จนเกินไป จนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน... ไปหลงติดการพนัน สุรา ยาเสพติด ใช้ของราคาแพงเกินตัว พ่อแม่ก็จะไม่เกิดหนี้สินนอกระบบ ต้องกู้เงินมาให้ลูกใช้เรียนหนังสือด้วย ซื้อรถ ซื้อมอไซค์ ซื้ออะไรต่างๆ …” (5 กันยายน 2557)

การลดค่าใช้จ่ายและให้อยู่ภายใต้ความพอเพียง ตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่า เกษตรกรเหล่านี้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกินฐานะของตนเอง ทั้งลูกหลานของเกษตรกรก็ยังเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้พ่อแม่ การแก้ปัญหาจึงอยู่ภายใต้หลักการ “พึ่งตนเอง” กล่าวคือ ให้หันมาทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย  ดังนั้นเกษตรกรจึงเป็นผู้ไม่รู้ ไม่รู้ฐานะทางเศรษฐกิจของตนเอง ไม่รู้จักการเลือกที่จะบริโภคในสิ่งที่จำเป็น ที่สำคัญไม่มีความรู้ในอาชีพของตนเอง จึงต้องสร้างศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกรได้เรียนรู้

วันนี้สั่งการลงไปแล้วสามารถตั้งได้ 882 ศูนย์ระดับอำเภอ จริงๆ มีอีกมาก กำลังพัฒนาเพื่อให้ครบทุกอำเภอ ครอบทุกพื้นที่ จะทำให้มากขึ้นโดยเร็ว” ศูนย์เรียนรู้นี้จะมีข้อมูลด้านการเกษตรว่า ควรจะปลูกอะไร  ทั้งยังกล่าวด้วยว่าจะให้มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร…” (5 กันยายน 2557)

ประเภทของพืชที่จะต้องเพาะปลูก ต้องให้เหมาะสมกับพืชเกษตรแต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ลุ่มนํ้า จะเหมาะแก่การปลูกข้าวพันธุ์ดี เช่นแถว อยุธยา ปทุมธานี วันนี้ผมได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมไป ทบทวนดู ไปดูแลว่าพื้นที่ใดเหมาะสมในการปลูกข้าว หรือปลูกพืชการเกษตรที่มีราคาเหล่านี้ ไม่ให้มีการตั้งโรงงานขึ้นอี...”  (10 ตุลาคม 2557)

ความไม่รู้ของเกษตรกร-ชาวนารุ่นปัจจุบันดูจะฝังรากลึกในมุมมองของท่านนายก จึงต้องไปหวังที่รุ่นลูกหลานเกษตรกรแทน

"วันนี้ถ้าเราไม่ผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่จะเป็นปัญหาในอนาคต รัฐบาลไม่สามารถดูแลตลอดไป ต้องผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่ชาวนารุ่นใหม่ที่เรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี วันนี้ผมได้สั่งไปแล้วว่าให้ทุนการศึกษาให้กับลูกชาวนา ลูกชาวไร่ ลูกเกษตรกรทุกประเภท ลองดูสิว่าจะทำได้อย่างไร ถ้าลงทุกพื้นที่ได้ทุกอำเภอ ทุกตำบล ทุกหมู่บ้าน ในอนาคตเราก็จะมีเกษตรกรยุคใหม่ที่เรียนรู้ต่อเทคโนโลยี ใช้เครื่องไม้ เครื่องมือเป็น บริหารจัดการของตัวเองเป็นและได้เร่งขับเคลื่อนชุมชนของตัวเอง ผมไม่ได้หมายความว่าให้กระทรวงศึกษาธิการไปให้เรียนจบปริญญาตรี โท เอกเป็น Doctor แล้วไปเป็นนักวิชาการผมไม่ต้องการ ให้จบภาคการเกษตรนี่แหละครับ วิชาทางการเกษตรได้รู้ทั้งระบบ จะได้ยั่งยืนสักที”   (10 ตุลาคม 2557)

ข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ตัวเกษตรกรเองเป็นปัญหาอยู่มาก เพราะรู้ไม่เท่าทัน  ทั้งยังมีแนวโน้มจะสืบทอดความไม่รู้นี้ต่อถึงลูกหลานถ้าหากไม่เร่งแก้ไข  วิธีคิดแบบนี้เคยมีนักมานุษยวิทยาเสนอไว้ตั้งแต่ปี 1966  (Oscar Lewis) ว่าเป็นวัฒนธรรมความยากจน (culture of poverty)  ความไม่รู้ ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจความก้าวหน้าและการรวมกลุ่มทางสังคม  กลายเป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งทำให้สืบทอดความยากจนจากรุ่นพ่อแม่ ไปสู่ลูกหลาน

ตำแหน่งแห่งที่ในสังคมของเกษตรกร-ชาวนาไทย

สิ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้จัดวางตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมให้กับเกษตรกร-ชาวนา ก็คือ ชาวนาเป็นผู้น่าสงสาร น่าเห็นใจ ใช้แรงงานหนัก ลำบาก และยากจน มีคำพูดหลายครั้งที่แสดงความเป็นห่วงชาวนา

ในเรื่องของข้าวผมถือว่าเกษตรกรชาวนาเป็นบุคลากร หรือเป็นประชาชนที่น่าเป็นห่วง และเป็นหลักให้กับประเทศไทย เพราะเราเป็นประเทศที่มีการผลิตข้าว และกว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเมล็ดผมว่าใช้แรงใช้ความตั้งใจ ใช้ความเอาใจใส่มหาศาล กว่าจะได้ข้าวมาให้เรารับประทานกัน ผมถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณค่ากับประเทศไทย เราจะดูแลให้ดีที่สุด(26 กันยายน 2557)

สำหรับชาวนา และวันนี้ท่านก็ยังมีรายได้ที่น้อยมากอยู่ เราต้องแก้ไขทั้งระบบชาวนา ต่อไปก็เป็นเรื่องของชาวสวน ชาวไร่ต่าง ๆ อีก... การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาผู้มีรายได้น้อย คือมีเกษตรกรหลายอย่าง หลายประเภท วันนี้ที่เดือดร้อนมากที่สุดวันนี้ก็คือชาวนา... วันนี้ในส่วนของชาวนา เราถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ของประเทศมีเป็นจำนวนมาก และก็เข้าไม่ถึง ไม่มีรายได้ที่เพียงพอ”  (26 กันยายน 2557)

วันนี้ลูกหลานต้องไม่กินทิ้งกินขว้าง กินข้าวให้หมดจาน กินทุกเมล็ดต้องหมดต้องให้นึกถึงว่ากว่าจะเป็นเม็ดข้าวให้เรากินได้เขาเหนื่อยมาเท่าไร ใช้เวลาเป็นหลายเดือนกว่าจะผลิตออกมา ผ่านขั้นตอนมากมายหยาดเหงื่อแรงงานความยากลำบากต้องรู้คุณค่าของข้าว วันนี้อยากจะส่งเสริมให้คนไทยกินข้าว และคนทั้งโลกกิน”  (10 ตุลาคม 2557)

การผลิตสร้างตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมให้กับชาวนา ลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฝังลึกในวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่ออดีตเป็นเสียงก้องกังวานทางวัฒนธรรม (cultural resonance) ที่มองว่า ชาวนาไทยเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นผู้เสียสละ เป็นกระดูกสันหลังของชาติที่ปลูกข้าวเลี้ยงคนไทย การกล่าวถึงชาวนาในทำนองนี้จึงตรงใจผู้คนในสังคม และผลิตซ้ำความเชื่อดั้งเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในสังคม ตอกย้ำให้ชาวนาดูเป็นผู้น่าสงสารน่าเห็นใจ ยิ่งการที่เป็นผู้มีความรู้น้อยและมักจะถูกหลอกให้หลงฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยได้ง่ายด้วยแล้ว ชาวนาจึงอยู่ในสภาพช่วยตนเองไม่ได้  ทำให้มีสถานะต้องรับความช่วยเหลืออยู่ร่ำไป แต่การช่วยเหลือเกษตรกร-ชาวนา ที่ทำมาในทุกยุคทุกสมัยนั้น เป็นสิ่งที่ท่านนายกเห็นว่าเป็นเรื่องที่ “ไม่ยั่งยืน”

ท่านนายกพูดหลายครั้งว่า ต้องเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยปรากฏคำว่า “ยั่งยืน” ในการพูดเกือบจะทุกครั้ง เช่น  “ให้การปลูกข้าวของไทยให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืน”  (26 กันยายน 2557) “พออะไรราคาดีก็ไปปลูกตามกันมา ๆ เรื่อย ๆ และก็มากขึ้น ๆ พอไม่ได้ผลก็ต้องชดเชย ต้องเยียวยา เสียเงินไปหลาย ๆ ทาง ส่งเสริมให้ยั่งยืนสักที”  (10 ตุลาคม 2557) “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราต้องการให้เกิดความยั่งยืน”  (17 ตุลาคม 2557)  “ผมได้สั่งการให้หน่วยงานเกี่ยวข้องให้เตรียมดำเนินมาตรการในระยะยาวที่จะช่วยให้การปลูกข้าวเป็นไปอย่างยั่งยืน”  (31 ตุลาคม 2557)

เมื่อพิจารณาว่าความไม่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ทำนา ปลูกข้าว คืออะไร ดูเหมือนว่าสิ่งที่ถูกเน้นย้ำเสมอคือ การต้องให้ความช่วยเหลือ โดยไม่เพียงพอเสียที เช่น

วันนี้ถ้าเราไม่ผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่จะเป็นปัญหาในอนาคต รัฐบาลไม่สามารถดูแลตลอดไป ต้องผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่…    รัฐบาลก็จะเดินหน้าวางรากฐานระบบเกษตรกรของไทยให้พัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่มาแก้ปลายเหตุ ไม่มา Subsidize ราคา ไม่มาจำนำหรือประกันอะไรก็แล้วแต่ ทำอย่างไรจะยั่งยืน ทำอย่างไรรัฐบาลต้องไม่ไปช่วย”  (10 ตุลาคม 2557)

“...สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องเงินอุดหนุน หรือสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าต่างๆ นั้น เป็นการแก้ไขปัญหาเพียงชั่วคราว ยังไม่ยั่งยืน”  (21 พฤศจิกายน 2557)

จากคำให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมของ ครม. เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2558 ว่า “ถ้าแก้ปัญหาด้วยการซับสิไดซ์ ไปตลอด มันก็คือความไม่ยั่งยืนนะ คงแก้ได้เพียงปีเดียวแหละ การจ่ายเงินก็จ่ายได้ครั้งเดียว พอครั้งต่อไปก็จ่ายยากแล้วนะ มันจะกลายเป็นการเพาะนิสัย” 

เกษตรกร-ชาวนาจึงถูกจัดวางตำแหน่งแห่งที่ทางสังคม ให้มีสถานะเป็นผู้น่าสงสาร ช่วยตนเองไม่ได้ และต้องรอรับความช่วยเหลือ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องมีมาตรการสนับสนุนด้านราคาอยู่เสมอมาและนี่คือความไม่ยั่งยืนในสายตาของท่านนายกฯ

แบบความประพฤติ และแบบแผนการปฏิบัติต่อเกษตรกรชาวนา

การจัดวางแบบแผนการปฏิบัติทางสังคมให้กับเกษตรกร-ชาวนาไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในสายตาของท่านนายกรัฐมนตรี มี 3 ประการ ได้แก่

1. ความพอเพียง และดำเนินรอยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการสอนลูกหลานให้พอเพียง มีค่านิยม 12 ประการ  

ก็ได้พยายามขับเคลื่อนในการสร้างความตระหนักให้กับคนในชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมสัปดาห์การสร้างค่านิยมหลัก 12 ประการในห้วงวันที่ 22 – 26 กันยายน 2557 โดยให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอ เขต ทุกจังหวัด รวม 928 แห่ง กิจกรรม ให้ข้าราชการ บุคลการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมกันสร้างค่านิยม 12 ประการ ให้ทั่วถึง ทั้งนี้เพื่อจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง มีจิตสำนึกในความรักชาติ ความรัก ความสามัคคี และเพื่อจะขยายไปสู่คนรุ่นหลัง ๆ”  (10 ตุลาคม 2557)

ดูเหมือนว่าท่านนายกฯ จะเชื่อมั่นว่าค่านิยม 12 ประการนี้จะเป็นทางออกสำหรับอนาคตในการแก้ปัญหาความยากจน ความไม่รู้จักพอเพียงดังที่ได้กล่าวไว้ว่า “ผมก็หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า ค่านิยม 12 ประการนี้ น่าจะเป็นแรงผลักดัน ให้กับการปฏิรูปประเทศไทย การสร้างอนาคตให้คนในชาติต่อไป ให้กับลูกหลานของเรา เป็นการสร้างอนาคตให้กับลูกเรา หลานเราต่อไป ซึ่งอาจจะต้องชี้แจงความหมาย กับอธิบายในข้อปฏิบัติให้เด็กเล็กเข้าใจด้วย บางที่เขาท่องอย่างเดียว ไม่รู้ว่า 12 อย่างทำอะไร ความหมายว่าอะไร พ่อแม่ช่วยสอน ช่วยทำความเข้าใจด้วย ไม่ยากเลย”  (10 ตุลาคม 2557)

สังคมอาจต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมว่า ค่านิยม 12 ประการดังกล่าว จะสามารถแก้ไขปัญหาและสร้างอนาคตให้กับคนในชาติต่อไปได้อย่างไร เพราะทั้ง 12 ข้อ คือข้อปฏิบัติที่คนในชาติพึงกระทำ แต่ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลนี้ทำอะไร อย่างไรให้กับคนในชาติ ที่เป็นเรื่องใหม่แตกต่างจากรัฐบาลที่ผ่านๆ มาบ้าง

2 เกษตรกร-ชาวนา ต้องพัฒนาตนเอง เรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต

...ทุกกระทรวงต้องรับผิดชอบด้วย การให้ความรู้เกษตรกร ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ว่าควรจะปลูกพืชแบบไหน เวลาไหนที่จะเป็นการเพิ่มช่วยมูลค่า...    “วันนี้อยากจะให้ส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไปด้วย ให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เข้ามาได้รู้วิธีการทำนา ดำนา ปลูกข้าวเกี่ยวข้าว ตำข้าวอะไรก็แล้วแต่ ให้เขาลองมาอยู่ไร่นาสวนผสมเหล่านี้ สวนผลไม้เก็บเกี่ยวเองกินเอง รับประทานหรืออะไรก็แล้วแต่ ให้เขาคุ้นเคย โดยมาอยู่อาศัยในบ้านแบบ Homestay หรือโรงแรมใกล้ ๆ ก็ได้ จะได้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน”  (10 ตุลาคม 2557)

การปลูกข้าวและวิถีชีวิตของชาวนาไทยผลผลิตที่ได้ทางโรงเรียนก็รับซื้อจากชาวนาที่รับจ้างปลูกและดูแลนาข้าวมาทั้งหมด โดยนำมาขายที่สหกรณ์ของโรงเรียน โครงการผูกปิ่นโตข้าวนี้จะจับคู่ระหว่างครอบครัวคนในเมืองกับครอบครัวชาวนาที่ปลูกข้าวอินทรีย์ หรือข้าวปลอดสารโดยตรง โดยมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้มีคนปลูกและกินข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ชาวนาไทยและคนกินข้าวไทยได้มีคุณภาพชีวิต และสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นในอนาคต” (17 ตุลาคม 2557)

เกษตรกรที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องปรับวิถีการผลิตมาสู่การบริการมากขึ้น คือ การให้บริการ “ปลูกข้าวเกี่ยวข้าว ตำข้าว” เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชม หรือการ “รับจ้างปลูกและดูแลนาข้าว”   ซึ่งมีลักษณะที่สอดคล้องกับการทำการเกษตรแบบ “พันธสัญญา” คือการประกันรายได้ที่แน่นอนจากการปลูกข้าว ที่ได้มาตรฐาน และเป็นที่ต้องการของตลาด โดยการลงทุน และให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งนโยบายแบบนี้โฉมหน้าเกษตรกรอาจเปลี่ยนไปกลายเป็นลูกจ้างแรงงานภาคเกษตรแทน

3 ลดการพึ่งพารัฐ และเชื่อฟังรัฐให้มากขึ้น

หลายครั้งที่ท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการพึ่งพารัฐซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน และมีแนวโน้มว่าต่อไปรัฐบาลนี้จะลดความช่วยเหลือเกษตรกร-ชาวนาลง โดยให้หันมาพึ่งตนเองให้มากขึ้น ทางออกของเรื่องนี้นอกจากจะต้องพัฒนาตนเอง กินอยู่อย่างพอเพียงแล้ว จะต้องมีการเรียนรู้ให้มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเรียนรู้จากรัฐ เชื่อฟังรัฐให้มากขึ้น

จะต้องแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนใน 2 เรื่อง ก็คือในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทางการเกษตร พื้นที่ใด มีสภาพแวดล้อม ดิน นํ้า เหมาะสมกับพืชชนิดใด หน่วยงานของรัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ให้ความรู้ และการฝึกอบรม อย่ารอให้เกิดปัญหา สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดขณะนี้ก็คือพื้นที่ที่แล้งซํ้าซาก นํ้าก็น้อยดินก็ไม่ดี แต่ก็ยังคงต้องเพาะปลูกพื้นที่ทางการเกษตร เช่น ข้าว ก็ไม่ได้ผลทุกปี ฉะนั้นต้องเร่งเข้าไปดำเนินการ... กรณีที่เปลี่ยนเป็นพืชอย่างอื่น และเราก็ไม่ได้บังคับใครทั้งสิ้น เราเป็นห่วง” ... (24 ตุลาคม 2557)

โครงการนำร่องโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร เพื่อให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ปริมาณนํ้าและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้จะต้องขอความร่วมมือจากภาคเอกชน ภาคธุรกิจต่าง ๆ ด้วยประชาชนทุก ๆ คนก็ต้องร่วมมือ เกษตรกรทุกคนต้องให้ความร่วมมือกับรัฐด้วย” (3 ตุลาคม 2557)

สำหรับเรื่องการประกันภัยข้าวนาปี การผลิต 2557 ที่ทาง คสช. ได้มีมติอนุมัติ และทาง ธ.ก.ส. ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ก็อยากให้พี่น้องชาวนาได้มาเข้าร่วมโครงการกันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงลง... ปีการผลิต 2557 ซึ่งจะช่วยให้พี่น้องชาวนาได้รับเงินคุ้มครองถึง 1,111 บาทต่อไร่หากเกิดภัยพิบัติ โดยพี่น้องชาวนาจ่ายค่าเบี้ยประกันเพียง 60 - 100 บาทต่อไร่”  (26 กันยายน 2557)

แม้ว่าท่านนายกฯ จะกล่าวว่าจะไม่บังคับใครทั้งสิ้น แต่การกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องรับไปดำเนินการ จะมีผลอย่างสำคัญในการเข้าไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อชาวบ้าน  เกษตรกร-ชาวนา  โดยเฉพาะการใช้กำลังของฝ่ายความมั่นคง ไปพูดคุยเจรจากับชาวบ้าน ซึ่งเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศขณะนี้  “เกษตรกรทุกคนต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาล” อย่างแน่นอน แม้ว่าจะไม่ได้บังคับ แต่ต้องลงนามยอมรับในเอกสารด้วยความสมัครใจ  เกษตรกร-ชาวนาเหล่านี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเลือกได้ด้วยตนเองอยู่ดี

สำหรับโครงการประกันภัยข้าวนาปีสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดแบบ “เสรีนิยมใหม่” (neoliberalism)  ที่ต่อไปนี้อาจไม่มีการสนับสนุนแบบให้เปล่า แต่จะต้องเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้รับประโยชน์เอง แม้ในปี 2557 จะเป็นโครงการนำร่องแต่มีแนวโน้มว่าระบบการต้องจ่ายต้นทุนการผลิต และรับภาระความเสี่ยงด้วยตนเองจะถูกนำมาใช้มากขึ้น  ฉะนั้นทางออกสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จะต้องแบกรับต้นทุนลักษณะนี้มีเพียงทางเลือกอยู่ไม่กี่ทางกล่าวคือ ไม่เลิกอาชีพเกษตรกร ก็จะต้องไปเป็นลูกจ้าง ในระบบเกษตรพันธสัญญา

มายาคติและความหมายของเกษตรกร ชาวนาไทย ที่ถูกผลิตสร้าง

สิ่งที่ท่านนายกฯ อาจได้ข้อมูลมาคลาดเคลื่อนจากหน่วยงานราชการ ที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลกับท่านซึ่งสำคัญมากได้แก่ การที่ยังคงเข้าใจว่า สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม และเกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ จะเห็นได้ว่าท่านกล่าวถึงเกษตรกร ชาวนา ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศหลายครั้ง เช่น

“ในส่วนของชาวนา เราถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ของประเทศมีเป็นจำนวนมาก และก็เข้าไม่ถึง ไม่มีรายได้ที่เพียงพอ” (3 ตุลาคม 2557) “ส่วนใหญ่เราเป็นเกษตรกรรม ในส่วนใหญ่คนมีรายได้น้อยมากมาย” (7 พฤศจิกายน 2557)  “วันนี้ก็มีความขัดแย้งในหลายพื้นที่หากทำให้เกษตรกรหรือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้ที่เพียงพอ”  (14 พฤศจิกายน 2557)

จากการสัมมโนประชากรภาคเกษตรของไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 ประเทศไทยมีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียง 5.8 ล้านคน เมื่อเทียบกับประชากรที่มีงานทำอยู่ในปี 2551 มีจำนวน 35.7 ล้านคน  ดังนั้นประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมของไทยจึงมีอยู่เพียง ร้อยละ 16.24 ของประชากรทั้งประเทศที่มีงานทำเท่านั้น  นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทยภาคเกษตรก็ต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมและการบริการมาต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีแล้ว ในปี 2556 สัดส่วนภาคเกษตรอยู่ที่ร้อยละ8.3 อัตราการส่งออกสินค้าภาคเกษตรของไทยอยู่ที่ร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับสินค้าส่งออกประเภทอื่น  ดังนั้นประเทศไทยจึงไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรม และคนส่วนใหญ่ในประเทศไม่ได้มีอาชีพเป็นเกษตรกร-ชาวนาอีกต่อไป

เกษตรกร-ชาวนา ที่ท่านนายกกล่าวถึงว่าจำเป็นต้องเรียนรู้ ต้องพัฒนา ปรับปรุงเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงการทำนา มาสู่การให้บริการทำนาแทนนั้น มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า เกษตรกร ชาวนาเหล่านี้ ไม่ได้มีรายได้หลักมาจากการทำนาอีกต่อไป แต่มีรายได้หลักมาจากการปลูกพืชชนิดใหม่ๆ  และหมุนเวียนเปลี่ยนอาชีพไปมาตลอดเวลา นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรียกว่าเป็น “ชาวนาผู้ยืดหยุ่น”  ตามภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของราคา และความต้องการของตลาด ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนบริษัทข้ามชาติ (ของไทย) เข้าไปส่งเสริมให้ปลูก เช่น  ยางพารา  ข้าวโพด ต้นกระดาษ  รวมไปถึงพืชไร่ เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง  

ชาวนาผู้ยากจนไม่ได้มีรายได้หลักจากการทำนา แต่เป็นการทำนาเพื่อบริโภคในพื้นที่นาขนาดเล็ก ชาวนาที่ต้องเช่าที่ดิน มีที่นาจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทั้งรับจ้างในภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และรับจ้างในภาคเกษตร  ส่วนการทำนาเป็นอาชีพนั้น จะเห็นว่าปัจจุบันบริษัทเอกชนเข้าไปลงทุนทำนาขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะเป็นเกษตรพันธสัญญา เช่น ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวนาเป็นลูกจ้างในนาของตัวเองผลิตข้าวส่งบริษัทข้ามชาติ หรือการทำนา แถบภาคกลาง ปทุมธานี สุพรรณบุรี เป็นการทำนาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ชาวนากล่าวว่าพวกเขา “ทำนาด้วยโทรศัพท์มือถือ”  หมายถึงการโทรศัพท์นัดหมาย กับผู้ให้บริการ เป็นระบบการแบ่งงานกันทำ (division of labour) ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่  นับตั้งแต่ การไถ การหว่าน การฉีดยา รวมถึงการเก็บเกี่ยวซึ่งล้วนใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน  ซึ่งท่านนายกพึงทราบดีว่า แรงงานภาคการเกษตรขาดแคลนอย่างมากในปัจจุบัน จนต้องอาศัยแรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นกำลังแรงงานแทน   

ส่วนชาวนาในภาคอีสานซึ่งขาดแคลนน้ำไม่มีระบบชลประทานส่วนใหญ่ทำนาได้เพียงครั้งเดียว เป็นการทำนาเก็บไว้เพื่อการบริโภค อาชีพหลักไม่ใช่การทำนาอีกแต่เป็นการรับจ้าง และได้รับรายได้เป็นเงินที่ลูกหลานส่งกลับมาให้   ชาวนาที่จังหวัดอำนาจเจริญใช้ครีมกันแดดทาหน้าก่อนลงนา ฉลองการเกี่ยวข้าวเสร็จร่วมกับเพื่อนบ้านที่มา “เอามื้อ เอาแรง” ช่วยกัน ด้วยการสั่งหมูย่างเกาหลีมากินที่เถียงนา เช่นเดียวกับภาคเหนือ ที่ทำนาสลับกับการทำไร่ ประกอบอาชีพที่หลากหลายใน 1 ฤดูกาลผลิต  รวมทั้งเริ่มมีการขายที่นาให้คนเมืองเข้าไปทำนาเป็นงานอดิเรกเรียกว่า “ชาวนาวันหยุด”

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปมากแล้ว และอย่างน้อยก็เกือบทศวรรษ นับแต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการบริการแซงหน้าภาคการเกษตร ทำให้ชาวนาที่เปลี่ยนอาชีพไปเหล่านี้ มีวิถีชีวิตไม่ต่างจากคนเมือง เพราะเขาและเธอ ใช้ชีวิตทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง งานวิจัยมีทั้งของนักวิชาการไทย และต่างประเทศที่ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกร-ชาวนาที่ไม่ได้เป็นดังเช่นในอดีต นิธิ เอียวศรีวงษ์ กล่าวว่า คนชนบทเข้ามาสู่เมืองและมีความสัมพันธ์กับเมืองอย่างแนบแน่น  ชาร์ลส์ คายส์ เรียกชาวชนบทที่เข้าร่วมขบวนเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมานี้ว่าเป็น "กลุ่มคนชนบทผู้เห็นโลกกว้าง" (cosmopolitan villagers) ขณะที่ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี  มองคนชนบทว่าเป็น "ตัวตนใหม่ของพลเมืองเสรีนิยม" นักวิชาการต่างประเทศ แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ เรียก “ชาวนาชนชั้นกลาง” (middle class peasants) หรืองานของนฤมน ทับจุมพล กับดัลแคน แมคคาโก เรียกว่า คนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ซึ่งชาญวิทย์ เกษตรศิริ เสนอว่าเป็น “ชาวบ้านเมืองกรุง”  (rubans)  จะเห็นได้ว่าเกษตรกร-ชาวนา ผู้ไม่รู้ ล้าหลัง ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องเล่าในวรรณกรรมที่ท่านนายกฯ หยิบมาพูดใหม่ในบริบทใหม่ (recontexulize) ของการปฏิรูปประเทศไทยด้วยการรัฐประหาร

การปลูกพืชปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ เกษตรพันธสัญญาเป็นสิ่งที่มาควบคู่กัน เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนในการดูแล เฝ้าระวัง และมีมาตรฐานควบคุมเข้มงวด การที่ชาวนาที่เคยปลูกข้าวแบบเดิมจะก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการปฏิบัติตามกำหนดมาตรฐานเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะ ธุรกิจเอกชนจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมมาตรฐานอย่างใกล้ชิด  ตลาดจำกัดอยู่เฉพาะคนเมืองผู้มีฐานะดี  รวมทั้งเกษตรอินทรีย์ต้องใช้แรงงานเข้มข้น และต้นทุนค่าแรงงานสูงมากเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าปุ๋ย สารเคมี ในเกษตรเคมี (ดูงานวิจัยเรื่องนี้ได้ จาก เนตรดาว เถาถวิล, 2554; 2556; 2557)    การเปลี่ยนรูปแบบการปลูกมาสู่เกษตรอินทรีย์จะนำไปสู่ภาระการพึ่งพิงให้กับเกษตรกรเปลี่ยนการพึ่งพิงจากภาครัฐมาสู่การพึ่งพิงแบบพันธสัญญาต่อธุรกิจเอกชนแทน และเป็นช่องทางสู่การเปลี่ยนมือการครอบครองทรัพยากรภาคชนบท จากคนท้องถิ่นมาสู่นายทุนในธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่

ประการต่อมา ในแวดวงการพัฒนาชนบท ยอมรับมานานแล้วว่า เกษตรกรไม่ใช่ผู้ไม่รู้ บรรดากระทรวง ทบวงกรมต่างๆ ไปเรียนรู้จากเกษตรกร ตั้งให้เป็นปราชญ์  ศูนย์เรียนรู้ทั่วประเทศที่ตั้งขึ้น ไม่ได้เป็นศูนย์เรียนรู้ในความหมายที่ท่านนายกฯ ต้องการจะให้เป็น แต่เป็นศูนย์เรียนรู้ที่พัฒนามาจากพื้นที่ ไร่นาสวนผสมของเกษตรกร ที่มีความรู้ มีความชำนาญการพิเศษในด้านการเกษตร ทำหน้าที่เป็นวิทยากร เป็นครูภูมิปัญญา เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ให้กับนักท่องเที่ยวภายนอกได้มาเยี่ยมชม ผู้มาเยี่ยมชมส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเกษตรกร ชาวนา เพราะเรื่องราวที่เสนอในศูนย์เรียนรู้เป็นเรื่องที่ชาวบ้านรับรู้กันอยู่แล้ว  คนที่มาเยี่ยมชมส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มศึกษาดูงาน เป็นคนเมือง เป็นหัวคะแนน เป็นสมาชิก อบต. อบจ. ศูนย์เรียนรู้ที่มีอยู่ทั่วประเทศให้ความรู้ในเรื่องซ้ำๆ กัน  ได้แก่ การทำน้ำยาอเนกประสงค์ น้ำหมักชีวภาพ เผาถ่าน การทำน้ำส้มควันไม้ การเคี่ยวน้ำตาลอ้อย และสวนเกษตรผสมผสาน ที่มีการให้บริการอาหารที่ผลิตจากพืชผักปลอดสารเคมี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคนเมืองมากกว่าเกษตรกร-ชาวนา  ศูนย์เรียนรู้ที่จะให้ความรู้แก่เกษตรกรว่าจะปลูกอะไร ปลูกอย่างไร จึงดูจะห่างไกลจากความจริง เพราะเกษตรกรเองคือผู้ที่รู้ดีว่า ควรจะปลูกอะไร อย่างไร   อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า "คุยกับฝ่ายการเมืองทุกคนก็จะบอก มีนโยบายต่อเกษตรกร แต่ไม่มีนโยบายเกษตรกรรม และไม่เคยคิดจะมี ...รัฐบาลควรมีนโยบายเกษตรกรรม ควรมี ควรลงมือลงไม้ทำให้ภาคเกษตรของไทยแข็งแกร่ง  "ไม่ใช่การไปจ้างให้หยุดผลิต”  “... อย่าไปโซนนิ่ง  เพราะเขาจะรู้ดีว่าจะใช้ที่ดินเพื่อปลูกอะไรดีกว่า"

ดังนั้นความยั่งยืน ไม่ใช่การพึ่งตนเอง หรือสั่งสอนลูกหลานให้ประหยัด ภาครัฐควรต้องเข้าใจได้แล้วว่า เกษตรกร-ชาวนา สามารถคิดด้วยเหตุด้วยผล รู้จักคำนวณผลกำไร ขาดทุน ความคุ้มค่า ระหว่างต้นทุนการผลิต และเวลาที่เสียไป มิฉะนั้นเกษตรกรเหล่านี้คงไม่เปลี่ยนแปลงอาชีพ เคลื่อนย้ายแรงงานตลอดเวลา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้น เท่าทัน  ปะทะประสานกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาภายใต้ระบบทุนนิยมเสรี ที่เกษตรกร-ชาวนา ได้เข้าสู่วิถีการผลิตเพื่อการค้าเต็มตัว

การช่วยเหลือเกษตรกร ในฐานะแรงงานนอกระบบเป็นสิ่งจำเป็น ในฐานะโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (social safety net) ประเทศทุกประเทศมีนโยบายด้านนี้ ต่างกันที่ประเทศไทยเรียกโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมว่าเป็น “ประชานิยม”  โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยมีปัญหามาก เพราะไม่มีระบบสวัสดิการคุ้มครอง และรัฐบาลไทยไม่เคยให้การดูแลอย่างเป็นระบบ ต่างจากแรงงานที่มีระบบประกันสังคม และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดังนั้นระบบสวัสดิการแรงงานภาคเกษตรจึงมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่พึงจะพิจารณาในฐานะเป็นโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม แทนที่จะปรับลดการให้ความช่วยเหลือควรอย่างยิ่งที่จะพิจารณารูปแบบความช่วยเหลือให้เพิ่มมากขึ้น เรื่องนี้เกี่ยวพันธ์กับความมั่นคงทางอาหาร (food security) ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีก็ดูจะเป็นห่วงต่อเรื่องนี้ ดังที่ท่านกล่าวเรื่อง พันธุ์ข้าวที่สูญหายไป ราคาอาหารที่แพงขึ้น ตลอดจนการเข้าถึงอาหารท้องถิ่นทำได้ยากขึ้น ทั้งหมดนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ที่มีส่วนทำลายพันธุ์พืช สัตว์ท้องถิ่น การผูกขาดตลาด และผลิตอาหารสังเคราะห์

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า การให้การช่วยเหลือภาคการเกษตรเป็นสิ่งจำเป็น ในภาวะที่โลกเผชิญกับปัญหาอาหาร อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (climate change) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (natural resources degradation) การสูญเสียความหลากหลายของอาหารและการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภค (food losses and changes in food consumption patterns)  การรวมตลาดอาหารเข้าด้วยกัน (market integration) ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น ในภาวะเช่นนี้ FAO ยืนยันว่าจะต้องมีการลงทุนสาธารณะ (public investment) ในด้าน การวิจัยและพัฒนาการเกษตร โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร และโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมให้กับเกษตรกร 

การลดต้นทุนการผลิต ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง การจัดสรรที่ดิน โดยเฉพาะการจัดวางระบบชลประทาน ตามที่ท่านนายกฯ กล่าวเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งหมด 149.2 ลานไร อยูในเขตชลประทาน 29.3 ลานไร คิดเปนรอยละ 19.6 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด  และในจำนวนนี้ไม่ใช่ทั้งหมดที่ได้ประโยชน์เต็มที่จากระบบชลประทาน   เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกขณะนี้ มีพื้นที่ชลประทานคิดเป็นร้อยละ 38 ต่อพื้นที่เพาะปลูก ผลผลิตต่อไร่จึงไม่อาจมองว่าชาวนาไม่ได้ปรับปรุงกระบวนการผลิต แต่ภาครัฐต่างหากที่ควรมองระบบโครงสร้างพื้นที่ในการสนับสนุนภาคการเกษตรว่าทำได้เพียงพอแล้วหรือยัง

ที่น่าเป็นห่วงมากคือ ข่าวที่ว่า  ได้มีกองกำลังได้เข้าไปในพื้นที่  ตำบลเขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย และมีการใช้กำลังกับชาวบ้านที่คัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำ เพื่อให้ชาวบ้านยอมเปิดทางให้บริษัทขนแร่ออกจากพื้นที่ จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 40 ราย  รวมทั้งกรณีผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายแผนแม่บทป่าไม้ และคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 ในพื้นที่ภาคอีสาน เหนือ และภาคใต้ รวมกว่า 21 พื้นที่ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้าไปจับกุม ไล่ รื้อ ที่อยู่อาศัย และตัดฟันพืชไร่ พืชสวนในที่ทำกินของชาวบ้าน ซึ่งสร้างความหวาดผวา และอาจเป็นชนวนสำคัญจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายต่อไปในสังคม  ฝ่ายความมั่นคงน่าจะทราบดีว่า ความขัดแย้ง แตกแยกของคนในชาติที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาถึงภัยคอมมิวนิสต์  จนถึงความขัดแย้งระหว่างสีเสื้อที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากชาวนา ชาวไร่ คนชนบท ถูกกระทำ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานของรัฐ  

การจำกัดสิทธิทางเศรษฐกิจ  ทางการเมืองโดยอ้างความไม่รู้ของเกษตรกร ชาวนา เป็นวัฒนธรรมที่ฝังแน่นในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน  วัฒนธรรมแห่งความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกัน (culture of inequality) นี้สร้างเรื่องเล่าของการต้องพึ่งพิง และรับความช่วยเหลือของเกษตรกร-ชาวนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  ทำให้คนไทยมองไม่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ของคนไทยด้วยกันว่าเท่าเทียมกัน เรื่องสำคัญเช่นนี้ควรอย่างยิ่งที่จะบรรจุเข้าไว้ใน “ค่านิยม 12 ประการ” ของท่านนายก คือ การที่คนไทยทุกคนควร มองคนให้เท่าเทียมกัน มีศักยภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับตนเอง ยิ่งการจะเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยแล้ว การมองคนทุกเชื้อชาติ ภาษา กลุ่มชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียมกันยิ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ท้ายที่สุดวิธีการที่จะทำให้เกษตรกร-ชาวนา คนชนบท ลดการรับความช่วยเหลือ และไม่ต้องพึ่งพิงงบประมาณจากส่วนกลางมากดังที่เป็นอยู่ ที่ท่านและรัฐบาลของท่านมีความเห็นไม่ตรงกับประชาชนก็คือสิทธิการเลือกตั้ง และสิทธิการเข้าถึงทรัพยากร   ผ่านการกระจายอำนาจให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นทุกระดับ และส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและผู้ปกครองเป็นตัวแทนของเกษตรกร-ชาวนาอย่างแท้จริง สิ่งนี้จะเป็นการลดการพึ่งพาและสามารถทำให้เกษตรกร-ชาวนา พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน และผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ลง 

สิทธิเลือกตั้ง และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจึงเป็นความสุขที่แท้จริงและยั่งยืนสำหรับประชาชนคนไทยในวันนี้   จริงและยั่งยืนสำหรับประชาชนคนไทยในวันนี้   

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net