Skip to main content
sharethis

2 ต.ค.2557 ในโอกาสที่วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุสากล องค์การเฮลป์เอจ อินเตอร์เนชั่นแนล (HelpAge International) รวบรวมและจัดอันดับความอยู่ดีกินดีของผู้สูงอายุในประเทศต่างๆ 91 ประเทศ ครอบคลุมประชากรสูงอายุถึงร้อยละ 89 ของประชากรสูงอายุทั้งโลก โดยมีเกณฑ์พิจารณา 4 ด้าน ดังนี้ 1. ความมั่นคงทางรายได้ 2. สถานะทางสุขภาพ 3. การจ้างงานและการศึกษา และ 4. สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

สำหรับภาพรวมการถูกจัดอันดับของประเทศไทยในปี 2557 ประกอบด้วย

เกณฑ์ที่ 1: ความมั่นคงทางรายได้
ประเทศไทยอยู่ในครึ่งบนของตารางที่อันดับ 36 ขยับขึ้น 6 อันดับจากปีก่อน ในประเทศเอเชียด้วยกันจัดอยู่ในอันดับที่ 3 โดยมีญี่ปุ่นมีอันดับสูงสุด ที่อันดับ 9 ตามมาด้วยไซปรัสที่อันดับ 34 โดยได้อันดับด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในอันดับ 2 แต่อันดับที่ต่ำมากในด้านการจ้างงานและการศึกษาที่อันดับ 73 ประเทศไทยเผชิญกับภาวะการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุ ที่ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ในเวลาอีกไม่ถึง 3 ทศวรรษ ภาวะการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุนี้ ได้รับความใส่ใจจากผู้กำหนดนโยบาย โดยสะท้อนให้เห็นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2556 - 2560)

เกณฑ์ด้านความคุ้มครองทางสังคมได้รับการปรับปรุงขึ้นเล็กน้อย 1 อันดับจากปี 2556 แต่ยังคงอยู่ในครึ่งล่างของตางรางที่อันดับ 58

ในขณะที่ความครอบคลุมของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่ใช่ปัญหาหลักอีกต่อไป แต่ความเพียงพอในระยะยาวคือปัญหาหลัก จำนวนของเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีจำนวนเพียง 1 ใน 3 ของเส้นความยากจนของประเทศ ความมั่นคงทางรายได้ของผู้สูงอายุผ่านการปรับปรุงเบี้ยยังชีพ เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของกิจกรรมเสียงสะท้อนของผู้สูงอายุ (ADA) ในประเทศที่มีเครือข่ายการทำงานของเฮลป์เอจ

เกณฑ์ที่ 2: สถานะทางสุขภาพ
เกณฑ์ด้านสุขภาพค่อนข้างได้รับการปรับปรุงโดยขยับขึ้น 5 อันดับจากปี 2556 และอยู่ในครึ่งตารางบนที่อันดับ 41 การดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าช่วยให้ประชาชน รวมไปถึงผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ ส่งผลถึงการยกระดับสุขภาพ และอายุขัยเฉลี่ย สำนักงานปลักประกันสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุขเอาใจใส่มากขึ้นกับการดูแลสุขภาพและการสนับสนุนผู้สูงอายุ และการเตรียมตัวเพื่อการมีสุขภาพดีในยามชราภาพ

การเพิ่มขึ้นของการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยผู้สูงอายุส่งเสริมให้ภาวะทางอารมณ์และร่างกายดีขึ้น ผู้สูงอายุสามารถติดต่อกับลูกหลานที่ย้ายบ้านเพื่อไปหางานทำได้

เกณฑ์ที่ 3: การจ้างงาน และการศึกษา
ถึงแม้ว่าอันดับจะต่ำจนเกือบสุดท้ายที่ 73 แต่ก็คล้ายกับเกณฑ์ทางด้านสุขภาพ โดยเกณฑ์ด้านการเข้าถึงการจ้างงาน และการศึกษาขยับขึ้น 5 อันดับ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ปี 2546 และ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2545 - 2564) และการสนับสนุนผู้สูงอายุในกิจกรรมสร้างรายได้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการแนะนำจากนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้สูงอายุได้เป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงแรงงาน (การมีงานทำ/การจ้างงานในวัยสูงอายุ) และกระทรวงการศึกษา (การฝึกอาชีพ) ปัจจุบันผู้สูงอายุประมาณ 1 ใน 3 ยังคงทำงานอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งประสบปัญหาทัศนคติทางลบต่อผู้สูงอายุ ตำแหน่งไม่มั่นคงและงานที่มีรายได้ต่ำ เนื่องจากขาดกลไกความคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้ใช้แรงงานสูงอายุ

ในภาพรวมแล้วการปรับปรุงด้านระดับการศึกษาของประชากรจะพัฒนาไปในด้านบวก เนื่องจากประชากรที่อายุน้อยกว่าและมีการศึกษาสูงกว่าจะเข้าสู่วัยสูงอายุในอนาคต

เกณฑ์ที่ 4: สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
ในปี 2556 ประเทศไทยได้อันดับต้นๆ ของทวีปเอเชียในเกณฑ์ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ด้วยอันดับที่ 8 มาในปีนี้อันดับได้ตกลงไป 4 อันดับเป็นรองประเทศอินโดนีเซีย ด้วยระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของสังคมไทย โดยเฉพาะในชนบทที่มีจำนวนผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาศัยอยู่ รัฐบาลและสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ได้สนับสนุนให้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุและเครือข่าย อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่เปราะบางก็ได้ก่อตั้งและสนับสนุนเช่นกัน โครงสร้างในระดับชุมชนนี้สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และทำให้ผู้สูงอายุที่เข้มแข้งกับผู้สูงอายุที่เปราะบางได้มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ทั้งยังขยายวงกว้างออกไปยังกลุ่มประชากรอื่นอีกด้วย

การลดราคา หรือให้เปล่ากับผู้สูงอายุเมื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะ ภายใต้พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ทำให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้ สภาพถนนที่ดีขึ้นทั่วประเทศก็ทำให้เกิดผลในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยทางร่างกาย ที่เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองเป็นปัจจัยที่ทำให้ถูกลดอันดับลง

สำหรับดัชนีความกินดีอยู่ดีของผู้สูงอายุสากล (Global AgeWatch Index) ได้รับการพัฒนาและสร้างขึ้นโดย องค์การเฮลป์เอจ อินเตอร์เนชั่นแนล โดยใช้ข้อมูลของประเทศต่างๆ จาก กรมเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA), ธนาคารโลก (Wolrd Bank), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ Gallup World Poll

เกณฑ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและจัดอันดับ มีดังนี้
เกณฑ์ที่ 1: ความมั่นคงทางรายได้
1.1 การมีเบี้ยยังชีพ และความครอบคลุม
1.2 อัตราความยากจนในวัยสูงอายุ โดยใช้เกณฑ์ของธนาคารโลก
1.3 สวัสดิการอื่นๆ ของผู้สูงอายุโดยดูจาก รายรับ/รายจ่าย ของผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับกลุ่มประชากรอื่น
1.4 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

เกณฑ์ที่ 2: สถานะทางสุขภาพ
2.1 อายุคาดเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี หมายถึง (Life expectancy at 60) เมื่อมีอายุได้ 60 ปีแล้ว คาดว่าจะมีอายุต่อไปได้อีกกี่ปีจึงจะเสียชีวิต
2.2 อายุคาดหวังที่มีสุขภาพดีเมื่ออายุ 60 ปี (Healthy life expectancy at 60) หมายถึง เมื่ออายุ 60 ปีแล้ว คาดว่าจะมีสุขภาพดีไปได้อีกกี่ปี
2.3 สุขภาวะทางจิต ในที่นี้ทำการเปรียบเทียบสัดส่วนผู้สูงอายุที่คิดว่าชีวิตตนเองมีความหมาย เทียบกับประชากรอายุ 35-49 ปี ที่คิดเหมือนกัน

เกณฑ์ที่ 3: การจ้างงาน และการศึกษา
3.1 การจ้างงานในผู้สูงอายุ สัดส่วนของประชาการอายุ 55 - 64 ที่ได้รับการจ้างงาน
3.2 การได้รับการศึกษาของผู้สูงอายุ สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับการศึกษาระดับมัธยม หรือสูงกว่า

เกณฑ์ที่ 4: สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
4.1 ความสัมพันธ์กับชุมชน สัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่มีญาติหรือเพื่อนที่สามารถพึ่งพาได้เมื่อเกิดปัญหา
4.2 ความปลอดภัยทางร่างกาย สัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 50 ปี ที่คิดว่าตนเองปลอดภัยหากเดินคนเดียวในเมือง หรือย่านที่ตนเองอาศัย
4.3 อิสรภาพ สัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่พอใจกับอิสรภาพในชีวิตของตน
4.4 การเข้าถึงขนส่งสาธารณะ สัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่พอใจกับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ


ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.helpage.org/global-agewatch/
http://ageingasia.org/


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net