เปิดรายงานศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 1 เดือนหลังรัฐประหาร


(แฟ้มภาพ) 23 พ.ค.2557 หนึ่งวันหลังรัฐประหาร

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for Human Rights) ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มทนายความ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และนักกิจกรรมทางสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

จากการติดตามสถานการณ์และรวบรวมข้อมูลของศูนย์ฯ พบว่า ในระยะ 1 เดือนหลังการรัฐประหาร มีประเด็นเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนที่สาคัญ ดังนี้

 

ประกาศ/คำสั่งของ คสช.

นับตั้งแต่ คสช. ทำการรัฐประหาร (จนถึงวันที่ 20 มิ.ย.) ได้มีการออกประกาศและคำสั่ง รวม 70 ฉบับ โดยมีฉบับที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่สาคัญๆ คือ

1. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 2/2557 การประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร

2. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน และกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

3. มีคำสั่ง คสช. หลายฉบับที่เรียกบุคคลมา “รายงานตัว”

4. มีประกาศ คสช. ที่กระทบต่อเสรีภาพสื่อมวลชน ได้แก่ ฉบับที่ 12/2557 เรื่อง ขอความร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์, ฉบับที่ 14/2557 เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, ฉบับที่ 15/2557 เรื่อง ขอให้ระงับการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอล และสถานีวิทยุชุมชน, ฉบับที่ 17/2557 เรื่อง การเผยแพร่ช่องทางอินเตอร์เน็ต, ฉบับที่ 18/2557 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ, ฉบับที่ 23/2557 เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียง, ฉบับที่ 27/2557 เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอลและสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต สัญญา หรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐ, ฉบับที่ 32/2557 เรื่อง การระงับออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและสถานีวิทยุกระจายเสียง

5. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 เรื่องความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร

 

สถานการณ์การเรียกบุคคลให้มารายงานตัวและการจับกุมประชาชนหลังรัฐประหาร

จากสถิติเท่าที่เก็บรวบรวมได้ (ถึง ณ วันที่ 20 มิ.ย.) พบว่า คสช. ได้ประกาศเรียกบุคคลให้มารายงานตัวอย่างน้อย 454 คน มากไปกว่านั้นยังมีคนที่ถูกเรียกให้มารายงานตัวในต่างจังหวัด ซึ่งไม่ได้ประกาศให้รับรู้โดยทั่วไปอีกอย่างน้อย 57 คน

นอกจากการควบคุมตัวบุคคลจากการเรียกให้มารายงานตัวแล้ว ยังมีการจับกุมตัวบุคคลอีกอย่างน้อย 178 คน แบ่งเป็น (1) การจับกุมบุคคลโดยไม่เคยประกาศเรียกมาก่อน 113 คน (2) การจับกุมบุคคลที่แสดงออกทางการเมืองในที่สาธารณะ 55 คน และ (3) การจับกุมบุคคลที่ถูกเรียกแต่ไม่ไปรายงานตัว 10 คน

จากข้อมูลของบุคคลที่ถูกควบคุมตัว ซึ่งยืนยันวันที่ถูกควบคุมตัวและวันปล่อยตัวได้ จำนวน 214 คน พบว่า มีคนถูกควบคุมตัวและปล่อยตัวภายในหนึ่งวัน 25 คน ถูกควบคุมตัวสองวัน 18 คน ถูกควบคุมตัวสามวัน 35 คน ถูกควบคุมตัวสี่วัน 28 คน ถูกควบคุมตัวห้าวัน 19 คน ถูกควบคุมตัวหกวัน 28 คน ถูกควบคุมตัวเจ็ดวัน 53 คน และถูกควบคุมตัวแปดวัน 1 คน ในจำนวนดังกล่าวมีคนที่ถูกตั้งข้อหาเพื่อดำเนินคดีหลังถูกควบคุมตัวอย่างน้อย 55 คน และมีกรณีที่ควบคุมตัวเกินเจ็ดวันแต่ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวอย่างน้อย 1 คน

1. การเรียกรายงานตัว

พบว่าผู้ที่ถูกเรียกตัวมีหลายหลากกลุ่ม ทั้งนักการเมือง แกนนาการชุมนุม นักธุรกิจ นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม และอื่นๆ

เมื่อไปรายงานตัวแล้ว ผู้ไปรายงานตัวไม่สามารถติดต่อบุคคลอื่นได้ บางรายจะได้รับการปล่อยตัวในวันเดียวกัน แต่บางรายจะมีการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ แม้บางกรณีจะมีผู้ติดตามไปด้วย แต่ผู้ติดตามต้องอยู่ในห้องรับรองแยกต่างหาก ไม่สามารถติดต่อผู้อื่นได้ เว้นแต่ขออนุญาตทหารซึ่งทหารจะฟังอยู่ด้วย หากผู้ถูกเรียกรายงานตัวถูกควบคุมตัวต่อ ผู้ติดตามไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ถูกเรียกรายงานตัวถูกนาตัวไปที่ไหน โดยจะได้รับแจ้งเพียงว่าเจ้าหน้าที่ได้พาตัวผู้ถูกรายงานตัวออกไปแล้ว และไม่สามารถติดต่อผู้ถูกเรียกรายงานตัวได้อีก

สำหรับพฤติการณ์ในการควบคุมตัว ขณะที่นาตัวผู้ถูกเรียกรายงานตัวไปพบว่า มีกรณีที่ถูกปิดตาหรือคลุมศีรษะด้วยถุงพลาสติกสีดาเพื่อไม่ให้รู้ว่านาตัวไปที่ไหน รวมทั้งขับรถวนไปวนมาเพื่อให้ไม่รู้เส้นทางที่จะไปยังสถานที่คุมตัว สถานที่คุมตัวมีลักษณะเป็นสถานที่กักกัน บางแห่งมีการรับรองที่ดี ให้อยู่อาศัยในบ้านพักรับรองของทหาร สามารถติดต่อญาติได้โดยมีทหารเข้าร่วมฟัง แต่บางค่ายทหาร ที่พักดัดแปลงมาจากห้องอื่นๆ หรือเป็นห้องที่มิดชิด ป้องกันการมองเห็นสู่ภายนอก บางที่มีการล็อคประตูจากด้านนอก

ระหว่างถูกคุมตัวมีการสอบถาม โดยเจ้าหน้าที่ประสงค์จะเรียกว่า “การแลกเปลี่ยนทัศนคติ” หรือ “การปรับทัศนะคติ” โดยเป็นการสอบถามเพื่อให้ได้ทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลของบุคคลอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง ซึ่งรายละเอียดคำถามมาจากแฟ้มประวัติส่วนบุคคลที่เจ้าหน้าที่ทาเตรียมไว้แล้ว บางกรณีมีการให้ชี้ตัวบุคคลอื่นจากภาพ และพยายามเชื่อมโยงให้ผู้ถูกควบคุมตัวเข้ากับบุคคลอื่น มีการสอบถามแหล่งที่มาของเงินทุน ถามถึงกิจกรรมทางการเมือง ทัศนคติทางการเมือง เมื่อสอบปากคำเสร็จแล้วต้องรับเงื่อนไขว่าจะไม่เคลื่อนไหวทางการเมืองอีก ไม่ออกนอกประเทศ

ในการปล่อยตัว เราพบว่ามีกรณีที่นาตัวมาปล่อยที่สถานีรถไฟ ค่ายทหาร หรือที่บ้าน ในเวลากลางคืน แต่มีบางกรณีที่บุคคลที่เข้าไปรายงานตัวไม่ได้รับการปล่อยตัว เพราะมีกรณีที่มีการดำเนินคดีต่อ เช่น ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

สำหรับในต่างจังหวัด จะไม่มีการออกเป็นคำสั่งเรียกตัวอย่างเป็นทางการ แต่จะเป็นการโทรศัพท์เรียกให้ไปรายงานตัว (เช่น นักกิจกรรมและนักวิชาการที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น) รวมถึงการติดตามหาตัวตามสถานที่ต่างๆ


(แฟ้มภาพ) 3 มิ.ย.2557 ผู้ถูกเรียกตัวตามคำสั่ง คสช.44/2557 รายงานตัวที่สโมสรกองทัพบก เทเวศร์

2. กรณีการจับกุมและควบคุมตัว 

มีลักษณะสำคัญ ได้แก่ (1) การควบคุมตัวผู้ที่ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น คนที่ชูสัญลักษณ์สามนิ้วตามสถานที่ต่างๆ หรือโพสต์ภาพบน facebook หรือถือป้ายที่มีข้อความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร (2) การจับหรือควบคุมผู้ที่ไปรวมตัวชุมนุมคัดค้านการรัฐประหาร แม้บางกรณีจะไปคนเดียวโดยไม่ได้นัดหมายกับผู้อื่น หรือไม่ได้ชุมนุมเกิน 5 คน (มีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่า บุคคลบางคนที่ถูกจับเพราะการแสดงออกนั้นมีการกำหนดตัวไว้อยู่แล้วว่ามีความเกี่ยวข้องกับความผิดตามมาตรา 112 หรือเป็นคนเสื้อแดงที่มีชื่อเสียง) และ (3) การควบคุมตัวผู้ที่ไม่ได้ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.

 

พฤติการณ์การควบคุมตัว

มีพัฒนาการของขั้นตอนการควบคุมตัวดังนี้ ในช่วงแรกการควบคุมตัวผู้ที่ออกมาคัดค้านการรัฐประหารจะเกิดขึ้นระหว่างการชุมนุม ทว่าต่อมามีการถ่ายรูปผู้ชุมนุมแล้วตามเข้าควบคุมตัวในภายหลัง มีทั้งควบคุมระหว่างเดินทางกลับจากการชุมนุม ระหว่างทากิจวัตรประจาวันอยู่ หรือตามไปควบคุมที่บ้าน ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกปราศจากหมายเรียกหรือหมายจับ ทั้งนี้มีกรณีที่ควบคุมโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหาหรือเหตุแห่งการจับกุมด้วย โดยเจ้าหน้าที่อ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก บางรายมีการจับที่ต่างจังหวัดและพาขึ้นเฮลิคอปเตอร์มาที่กรุงเทพหรือที่อื่น แต่บางกรณีมีการแจ้งข้อกล่าวหาและควบคุมตัวที่สถานีตำรวจ ส่วนกรณีผู้ที่มีชื่อให้ไปรายงานตัวแต่ไม่ไปรายงานตัว จะมีการควบคุมตัวทันทีที่พบเห็น จากนั้นอาจมีการปล่อยตัวหรือส่งตัวไปที่ศาลทหารต่อไป

 

พฤติการณ์ระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ ณ กองบังคับการปราบปราม และสถานีตำรวจ

ในกรณีการควบคุมตัวพบว่า ผู้ถูกควบคุมตัวได้รับการปฏิบัติต่างกัน ในช่วงแรกๆ หลังการรัฐประหาร ผู้ถูกควบคุมตัวจะยังไม่ถูกนาตัวไปไว้ในห้องขัง แต่ภายหลังมีกรณีที่ให้อยู่ในห้องขังทั้งที่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาแต่อย่างใด ผู้ที่จับกุมเนื่องจากฝ่าฝืน คำสั่งประกาศของ คสช. บางส่วนจะได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ขณะที่บางส่วนจะถูกดำเนินคดีต่อ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับท่าที การปฏิบัติตน และการแสดงทัศนคติของผู้ถูกคุมขัง ว่ายอมปรับเปลี่ยนตามที่เจ้าหน้าที่ต้องการหรือให้ความร่วมมือกับทหารหรือไม่อย่างไร หากไม่แสดงท่าทีหรือทัศนคติดังกล่าว หรือมีภาพเป็นแกนนาคัดค้านรัฐประหาร เจ้าหน้าที่อาจดำเนินคดีขยายผลต่อจากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่มีอยู่แล้ว หรือข้อมูลที่ได้มาจาก Facebook หรือ e-mail ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ขอรหัสผ่านไประหว่างการควบคุมตัว

ในส่วนสภาพความเป็นอยู่ ในวันแรกๆ ผู้ถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกยังคงอยู่ภายนอกเรือนจา แต่การควบคุมตัวในวันหลังๆ จะย้ายผู้ถูกควบคุมตัวเข้าไปในห้องขังหรือเรือนจา อย่างไรก็ดี มีหลายกรณีที่เป็นการควบคุมโดยไม่แจ้งสถานที่คุมขัง สาหรับรายที่อยู่ภายนอกเรือนจา มีทั้งกรณีที่อยู่ในห้องพักรับรองทหาร แต่บางส่วนก็ใช้ต้องชีวิตในห้องขัง ซึ่ง

ขาดแคลนเครื่องดื่มหรือที่นอน บางกรณีถูกขังในห้องมืดช่วงเวลาหนึ่ง บางกรณีต้องอยู่ในเรือนจาทหาร ซึ่งขาดแคลนที่นอนและห้องน้า ถูกขังในห้องเดี่ยว และถูกเจ้าหน้าที่พูดว่าอาจมีการย้ายไปขังเดี่ยวหรือห้องมืดหากปฏิบัติตัวไม่ดี โดยหลักแล้วในชั้นกฎอัยการศึกผู้ถูกควบคุมตัวไม่ได้รับสิทธิพบทนายความ ไม่ได้รับสิทธิในการเปิดเผยสถานที่ควบคุมตัว ไม่มีสิทธิติดต่อญาติ ไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอก รวมทั้งอ่านหนังสือพิมพ์หรือดูโทรทัศน์ด้วย ต้องให้ทนายความไปต่อรองจึงจะติดต่อญาติได้ในบางกรณี ในเรื่องการรักษาพยาบาล แม้ญาติจะสามารถฝากยาให้ได้ แต่ผู้ถูกจับกุมก็ไม่ได้พบแพทย์ จนกระทั่งอาการร้ายแรงแล้วถึงได้เข้าโรงพยาบาล ส่วนกรณีผู้ที่ถูกทาร้ายร่างกาย มีเจ้าหน้าที่พยาบาลเบื้องต้นให้ แต่มีการตั้งขอสังเกตว่าเป็นการกระทาเพื่อลบรอยบาดแผล

การสอบสวน มีทั้งกรณีการจับกุมตามหมายจับ โดยวิธีการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามปกติคือมีการแจ้งข้อกล่าวหา ให้ปรึกษาทนายความ และการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ที่ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ไม่ให้มีทนายความ ในห้องสอบสวนจะมีเจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจจำนวนมากเข้ามาสังเกตการณ์ ผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมจะถูกซักถามทัศนคติทางการเมือง และมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาพยายามทาให้เข้าใจเหตุผลของการทารัฐประหาร พยายามให้ผู้ถูกจับกุมเข้าใจว่าการทารัฐประหารเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งอาจมีการให้ผู้ถูกจับสื่อสารผ่านช่องทางอื่นใดต่อทหารและประชาชนว่าผู้ถูกจับหรือควบคุมตัวเห็นด้วยกับรัฐประหารแล้ว ในระหว่างการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่จะยึดอุปกรณ์สื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ เพื่อนาไปตรวจสอบว่ามีการกระทาอะไรที่อาจผิดกฎหมาย (โดยเฉพาะมาตรา 112) หรือขัดต่อประกาศ คสช. หรือไม่ ซึ่งก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่เจ้าหน้าที่อาจนาไปพิจารณาในการดำเนินคดีต่อ

การปล่อยตัว หากไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ถูกควบคุมตัว การปล่อยตัวจะอยู่ในช่วง 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วันหลังจากถูกควบคุมตัว โดยจะปล่อยตัว ณ สถานีตำรวจ อย่างไรก็ดี อาจยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเจ้าหน้าที่ในการนับวันในการปล่อยตัวทาให้บางรายถูกคุมตัวเกิน 7 วัน แต่ก็ยังมีกรณีที่เป็นการควบคุมตัวเกิน 7 วันและไม่มีการปล่อยตัวมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ก่อนปล่อยตัว ผู้ถูกควบคุมตัวจะถูกบังคับให้เซ็นเอกสารยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ที่ทหารเป็นฝ่ายกำหนด เช่น จะยุติกิจกรรมหรือการแสดงออกทางการเมือง

การดำเนินคดี จากข้อมูล ณ ปัจจุบันพบว่า ข้อหาที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินคดี ได้แก่ ฝ่าฝืนประกาศห้ามชุมนุม ชุมนุมมั่วสุมเพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นแกนนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ไม่ยอมเลิกการชุมนุมเมื่อเจ้าหน้าที่สั่งให้เลิก ตามมาตรา 216 หากมีพฤติการณ์ในการชักชวนบุคคลอาจถูกดำเนินคดีข้อหายุยง ปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 หากไม่มารายงานตัวจะมีความผิดในข้อหาขัดคำสั่งของเจ้าหน้าที่ และผู้ถูกควบคุมตัวหรือถูกเรียกอาจมีความเสี่ยงที่จะโดนดำเนินคดีจากการกระทาในอดีต เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้ถูกควบคุมตัวหรือผู้รายงานตัวด้วย โดยให้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในแบบประวัติผู้ต้องหา

ศาลทหาร จากคดีที่ผ่านมา หากผู้ถูกจับฝ่าฝืนคำสั่งของ คสช. หลังวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม อาจมีการส่งตัวไปที่ศาลทหาร ซึ่งไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวครบ 7 วันก็สามารถนาไปที่ศาลทหารได้ทันที และหากศาลอนุญาตให้ประกันตัวพบว่า ผู้ต้องหาจะต้องถูกส่งตัวไปภายในเรือนจา บริเวณเรือนนอนเสียก่อน แล้วจึงสามารถปล่อยตัวได้

ศาลพลเรือน จากคดีที่ผ่านมา หากมีการกระทาที่ขัดต่อกฎหมายหรือฝ่าฝืนคำสั่งของ คสช. ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 จะมีการพิจารณาคดีที่ศาลพลเรือน ซึ่งผู้ถูกจับหรือควบคุมจะมีสิทธิตามกฎหมายปกติ

ผลกระทบหลังการปล่อยตัว เนื่องจากพบว่ามีการขอรหัส e-mail หรือ facebook และขอเบอร์โทรศัพท์ ทาให้ผู้ถูกจับหรือผู้รายงานตัวขาดอิสระในความเป็นส่วนตัว, บางกรณีชีวิตประจาวันเปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อคนรอบข้าง อาทิเพื่อนร่วมงาน รู้ว่าผู้ถูกจับหรือผู้รายงานมีทัศนคติทางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ไม่เหมือนกับตน ก็อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในองค์กร, ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวไม่สามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้อย่างเสรี ทั้งการแสดงความเห็นผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์คหรือเข้าร่วมชุมนุม, ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศไทยได้โดยไม่ได้รับอนุญาต, หากฝ่าฝืนอาจโดนอายัดทรัพย์ โดยก่อนปล่อยตัวต้องเซ็นยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ในแบบฟอร์มของทหาร

การค้น พบว่า มีกรณีที่ทหารได้เข้าไปค้นบ้านและพาตัวบุคคลไปโดยไม่มีหมายค้น หรือพยายามที่จะเข้าไปค้นบ้าน ซึ่งการค้นดังกล่าวอาจนาไปสู่การแจ้งข้อกล่าวหา ทาให้ประชาชนมีความกังวลต่อท่าทีของทหารว่าจะใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายหรือไม่

การประกันตัว จากกรณีที่เกิดขึ้น มีเพียงกรณีเดียวที่ได้รับการประกันตัวในชั้นตำรวจ ซึ่งเป็นสถานีตำรวจทั่วไป แต่สาหรับกรณีที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาที่กองปราบ ไม่มีกรณีใดเลยที่ได้รับการประกันตัว ในชั้นศาลทหาร พบว่ามีการให้ประกันตัวอยู่บ้าง แต่มีขั้นตอนที่นานกว่าศาลปกติ โดยหลักทรัพย์จะอยู่ที่ตั้งแต่ 10,000 – 40,000 บาท สูงสุดอยู่ที่ 400,000 บาท และมีบางกรณีที่ศาลทหารไม่ให้ประกันตัว เช่นกรณีมีอาวุธสงคราม หรือข้อหาตามมาตรา 112 โดยให้เหตุผลว่า เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี ซึ่งกรณีที่มีข้อหามาตรา 112 ศาลยังไม่เคยให้การประกันตัว ส่วนการประกันตัวในศาลพลเรือน พบว่าหากเป็นคดีฝ่าฝืนคำสั่งประกาศห้ามชุมนุมหรือขัดต่อกฎหมายทั่วไป ผู้ถูกจับหรือควบคุมตัวมีสิทธิได้รับการประกันตัว แต่กรณีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ยังไม่มีการให้การประกันตัว

 

ผลกระทบต่อประชาชนโดยทั่วไป 

เห็นได้ว่าประชาชนโดยทั่วไปมีความกังวลใจจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยเฉพาะเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกของตนเอง การแสดงสัญลักษณ์หรือการแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับคณะรัฐประหาร วิตกเมื่อพบเจ้าหน้าที่ทหารผ่านมาในบริเวณที่อยู่อาศัย หรือกังวลด้วยความที่ตนเองหรือญาติมีความเกี่ยวข้องกับเสื้อแดง รวมทั้งกังวลเกี่ยวกับเพื่อนหรือญาติของตนที่ถูกเรียกตัว เมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเกิดขึ้นจะวิตกว่าเป็นผลกระทบจากการดำเนินการของทหาร

ผลกระทบต่อสื่อ 

พบว่านับตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก มีการปิดกั้นสื่อทั้งควบคุมหรือระงับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ทั้งฟรีทีวีและช่องดาวเทียม วิทยุชุมชน มีการปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงเว็บไซต์เป็นจำนวนมากทั้งของไทยและต่างประเทศ รวมทั้งมีการสั่งเก็บหนังสือ จนนาไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองของสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และแม้กระทั่งร้านหนังสือ

 

ความเห็นทางกฎหมายต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน

1. การประกาศใช้อำนาจกฎอัยการศึกทั่วประเทศ

ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศฉบับที่ 2/2557 เรื่องประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย

เนื่องจากมาตรการตามกฎอัยการศึกเป็นมาตรการที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่และจากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง จึงจำเป็นต้องใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์รุนแรงที่จาต้องต้องคงไว้ซึ่งการประกาศกฎอัยการศึกอีกต่อไป สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มาตรการตามกฎหมายปกติก็สามารถดำเนินการกับผู้กระทาความผิดได้

2. การปิดกั้นและควบคุมสื่อทุกชนิด

ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่ ตลอดจนมีการริเริ่มและดำเนินนโยบายสาธารณะจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วไป เสรีภาพของสื่อในการนาเสนอข้อมูลและความคิดเห็นจากทุกแนวคิดมุมมองนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่ประชาชนจะได้รับทราบถึงประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับความเป็นอยู่ของพวกเขา

เสรีภาพของสื่อถือเป็นเสรีภาพที่สาคัญชนิดหนึ่งในสังคมเสรีประชาธิปไตย โดยสื่อเป็นผู้ตรวจสอบการทางานของรัฐ สภาพความเป็นอยู่โดยแท้จริงของประชาชน โดยทาหน้าที่ด้วยความเป็นกลางเพื่อนาเสนอความจริงต่อประชาชน ซึ่งไม่เพียงแต่สื่อในความหมายทั่วไป แต่รวมถึงสื่อออนไลน์ หนังสือ ความเห็นทางวิชาการต่างๆด้วย

การระงับหรือควบคุมการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ การห้ามมิให้รายการโทรทัศน์เชิญนักวิชาการหรือผู้มีประสบการณ์ความรู้ในเรื่องหนึ่งๆ มาออกรายการ และการสั่งเก็บหนังสือวิชาการออกจากร้านหนังสือ รวมถึงการปิดกั้นเว็บไซต์ การควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เหล่านี้ทาให้ทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนหดแคบลง จนไม่สามารถตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลและมุมมองที่รอบด้านและทันท่วงทีได้ ดังนั้น จึงสมควรยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสื่อทั้งหมด

3. การควบคุมตัวและการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมโดยสงบและผู้ที่แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต

เสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองต่อสาธารณะเป็นสิ่งที่มีความสาคัญและขาดเสียมิได้ในสังคมประชาธิปไตย เพราะการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเป็นเงื่อนไขพื้นฐานเพื่อนามาซึ่งการแก้ไขปัญหาหรือยุติข้อขัดแย้งของสังคม ดังนั้น การประกาศห้ามชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองโดยสงบ การควบคุมตัวและการดำเนินคดีผู้ชุมนุมหรือผู้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรง จึงควรยกเลิกประกาศดังกล่าว

4. การบังคับให้บุคคลมารายงานตัว และการกำหนดเงื่อนไขเมื่อปล่อยตัวบุคคลที่ไปรายงานตัวหรือถูกกักตัว

ตามที่ คสช. ได้มีคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัว และรายงานตัวเพิ่มเติม นับแต่มีประกาศยึดอำนาจจนถึงปัจจุบัน จำนวนกว่า 500 คน เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลโดยอาเภอใจ เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนหรือเงื่อนไขที่กากับการใช้อำนาจของฝ่ายทหารที่เรียกตัวบุคคล ว่าเรียกตัวไปเพราะเหตุใด ด้วยเงื่อนไขอะไร เพื่ออะไร อีกทั้งยังได้มีการกำหนดโทษทางอาญาสาหรับผู้ฝ่าฝืนคำสั่งเรียกรายงานตัว อันเป็นการกำหนดโทษที่ไม่เป็นธรรม  

นอกจากนี้ การบังคับให้บุคคลต้องยอมรับเงื่อนไขที่มีลักษณะเป็นการจากัดสิทธิเสรีภาพที่สาคัญหลายประการ ก่อนมีการปล่อยตัวบุคคลที่ไปรายงานตัวหรือถูกกักตัว เป็นการบังคับให้บุคคลต้องยอมรับเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมอย่างไม่มีทางเลือก

5. มาตรการในการจับกุมและควบคุมบุคคล

การจับกุมและควบคุมตัวบุคคลเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายอย่างร้ายแรง รัฐควรใช้มาตรการนี้ให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนน้อยที่สุด ดังนั้น การจับกุมตามอาเภอใจ โดยไม่มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขและมูลเหตุที่ชัดเจน การจับกุมและควบคุมตัวบุคคลเพียงแค่มีการกระทาการแสดงออกทางสัญลักษณ์โดยสงบ และการควบคุมตัวบุคคลที่เรียกไปรายงานตัว จึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนอย่างร้ายแรงและเกินความจำเป็น

นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกนั้น ก็ไม่มีหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่แน่นอน โดยเจ้าหน้าที่ได้จับกุมบุคคลโดยไม่แจ้งสถานที่ควบคุมตัวให้ญาติของผู้ถูกควบคุมตัวทราบ ไม่ให้สิทธิญาติได้เข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวในระหว่างการควบคุมของฝ่ายทหาร ไม่ได้ปล่อยตัวโดยทันทีเมื่อสอบถามข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว ไม่มีการทาบันทึกการจับกุมและการปล่อยตัวตามกฎอัยการศึก และมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมกับผู้ถูกควบคุมตัว เช่น การปิดตา การควบคุมตัวไว้ในห้องขังดังเช่นเป็นผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิด ตัวอย่างเช่น กรณี น.ส. กริชสุดามีการควบคุมตัวเกินกว่า 7 วันตามกฎอัยการศึก โดยที่ญาติไม่ทราบว่าควบคุมตัวอยู่ที่ไหน ปลอดภัยหรือไม่อย่างไร และไม่สามารถติดต่อได้เป็นระยะเวลานาน การปฏิบัติดังกล่าวล้วนแต่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน

6. การดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหารตามประกาศเรื่องความผิดที่อยู่ในอำนาจดำเนินคดีของศาลทหาร 

ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ให้แบ่งอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการออกจากกัน เพื่อให้มีการถ่วงดุลตรวจสอบอำนาจของกันและกัน และไม่ให้มีอำนาจใดมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การนาคดีขึ้นศาลทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ผู้ปกครองประเทศเป็นฝ่ายทหารที่มาจากการยึดอำนาจ ซึ่งใช้อำนาจออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย และพิพากษาตัดสินคดี จึงเป็นการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ปลอดจากการตรวจสอบทั้งปวง และไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ เนื่องจากไม่มีตุลาการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง (ตุลาการศาลทหารมีที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้บังคับชาของฝ่ายทหาร และในการปฏิบัติก็เป็นการพิจารณาคดีที่พลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดทางอาญาบางข้อหาและการกระทาที่ขัดต่อประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ตามประกาศของหัวหน้า คสช. ที่เป็นฝ่ายทหาร ตุลาการศาลทหารจึงไม่มีความเป็นอิสระ ทั้งในแง่ของที่มาและในแง่ของการปฏิบัติหน้าที่) และคำพิพากษาไม่สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณะชนและศาลที่สูงขึ้นไป ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกา ดังนั้น พลเรือนไม่ควรอยู่ภายใต้อานาจศาลทหารไม่ว่ากรณีใดๆ

 

ข้อเสนอของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

1. ให้ยุติการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก โดยยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีเหตุให้ใช้กฎอัยการศึกอีกต่อไปแล้ว และให้ใช้กฎหมายตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ

2. ให้ยกเลิกมาตรการปิดกั้นและควบคุมสื่อทุกชนิด

3. ให้ยุติการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกและยุติการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมโดยสงบหรือแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต รวมทั้งให้ยกเลิกประกาศห้ามชุมนุม

4. ให้ยกเลิกการบังคับให้บุคคลมารายงานตัว

5. ในระหว่างนี้ สาหรับกรณีของผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ให้ยกเลิกการกำหนดเงื่อนไขเมื่อปล่อยตัวบุคคลที่ไปรายงานตัวหรือถูกกักตัว รวมทั้งควรใช้มาตรการในการจับกุมและควบคุมตัวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรกำหนดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวที่ชัดเจนและเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน เช่น ควรกำหนดให้บุคคลที่ถูกจับกุมและควบคุมตัวมีสิทธิที่จะได้รับแจ้งเหตุที่ถูกจับกุม ได้รับทราบสถานที่ควบคุมตัว ได้แจ้งญาติ และให้ญาติเยี่ยม นับแต่โอกาสแรกที่มีการจับกุมและควบคุมตัว เป็นต้น

6. ให้ยกเลิกการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหารตามประกาศเรื่องความผิดที่อยู่ในอานาจดำเนินคดีของศาลทหาร

7. ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และถูกดำเนินคดีข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ถือเป็นนักโทษทางการเมือง ควรคุมขังในสถานที่ที่เหมาะสม และแยกออกจากผู้ต้องขังความผิดอื่นๆ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท