Skip to main content
sharethis

 

‘คุยหนังอาเซียนกับฟิล์มกาวัน’ เทปนี้พบกับ ‘จริง’ จิรัชฌา อ่อนโอภาส มาแนะนำภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง ‘The Railway Man’ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างขึ้นจากบันทึกของ ‘Eric Lomax’ นายทหารอังกฤษที่ถูกกองทัพญี่ปุ่นจับเป็นเชลยสงครามขณะยาตราทัพเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้ายึดสิงคโปร์

Lomax และเชลยทหารฝ่ายสัมพันธมิตรถูกกองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์ไปใช้แรงงานอย่างทารุณในการสร้างทางรถไฟสายมรณะที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางที่กองทัพญี่ปุ่นจะใช้ลำเลียงกองกำลังจากไทยไปพม่า ภายหลังสิ้นสุดสงคราม Lomax และเพื่อนๆ ทหารกลับสู่บ้านเกิดที่อังกฤษในสภาพบอบช้ำ บาดแผลที่ฝังลึกในใจจากการถูกทารุณในช่วงที่เป็นเชลยสงครามคอยรบกวนจิตใจของเขาอย่างหนัก จนเขาตัดสินใจเดินทางกลับมาที่กาญจนบุรีอีกครั้งหนึ่งเพื่อพบกับนากาเสะ นายทหารญี่ปุ่นที่เคยมีส่วนในการทรมานเขาในช่วงที่เป็นเชลยสร้างทางรถไฟ เกือบทั้งหมดของภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในสถานที่จริงที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแควในประเทศไทย

ช่วงที่สอง สนทนากับ ศ.(พิเศษ) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการประวัติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ก่อให้เกิดบาดแผลร้าวลึกต่อหลายประเทศ โดยเฉพาะกับเชลยสงครามที่ถูกทารุณกรรมในระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะ และอะไรคือปัจจัยที่นำไปสู่การคลี่คลายของความเจ็บปวดและการให้อภัยต่อกัน


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net