Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

หลักการสำคัญในการนับคะแนนเลือกตั้งคือการนับผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง มิใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอันเกิดจากการต่อต้านความพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556

แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคอันดับ 2 ได้ บอยคอตเลือกตั้ง ขณะเดียวกันก็มีคนของพรรคประชาธิปัตย์ขับเคลื่อนการเมืองนอกสภาในนาม “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (กปปส.) เพื่อ “ล้ม” การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการใช้ความรุนแรง และใช้กระบวนการ ตุลาการภิวัตน์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองให้จงได้

โดยหน้าฉาก พรรคประชาธิปัตย์ และ กปปส. พยายามชูเลือก “การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” เป็นข้ออ้างในการ มีการล้มล้างการเลือกตั้ง รวมทั้งรณรงค์ให้คนที่เชื่อแนวทางตน “ไม่ไปเลือกตั้ง” ขณะที่คนที่ไม่เห็นด้วยกับ พรรคประชาธิปัตย์ และ กปปส. ก็รณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อแสดงตัวตน

การเลือกตั้ง 2 กุมภา 2557 เกิดด้วยความทุลักทุเล มีการขัดขางการเลือกตั้งตั้งแต่วันรับสมัคร จนเป็นเห็นให้มีการเสียชีวิต, ความรุนแรงในการขัดขวางการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า, การปิดหน่วยเลือกตั้ง การขโมยบัตรเลือกตั้ง ฯลฯ

การเลือกตั้ง 2 กุมภา 2557 จึงมิใช่การเลือกตั้งเพื่อสรรหาผู้มากำหนดทิศทางการบริหารประเทศเท่านั้น

แต่การเลือกตั้ง 2 กุมภา 2557 เป็นการ “ลงประชามติ” สำหรับผู้ที่ต้องการการเลือกตั้งเพราะคิดว่าเป็นหนทางสันติในการแก้ปัญหาทางการเมือง ด้วยการออกมาเลือกตั้ง กับผู้ที่ไม่เชื่อในแนวทางดังกล่าวว่าจะแก้ปัญหาได้ จนทำให้ต้องขัดขวางทุกวิถีทาง

แต่กระนั้นก็ยังมีผู้มาใช้สิทธิ 20,468,646 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 44,649,742 คน คิดเป็น 45.84 %ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้ก็ต้องบันทึกไว้ด้วยว่า มีหน่วยเลือกตั้ง 94,454 หน่วย เปิดได้ 84,325 คิดเป็น 89.28 % หรือมีหน่วยเลือกตั้งอีก 10.72 % ที่ถูกปิดโดย กปปส.

มีความพยายามจากผู้ที่ต้องการล้มการเลือกตั้งบอกว่า ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 20,468,646 คน เป็นเพียง 45.84 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มิได้เป็นเสียงส่วนใหญ่

แท้จริงแล้วเป็นการพยายามบิดผันตัวเลข เพื่อที่จะเข้าขางฝ่ายตนโดยแท้

ไม่เคยมีการเลือกตั้งระดับประเทศครั้งไหนในโลกที่เป็นประชาธิปไตย ที่มีประชาชนมาใช้สิทธ์ 100 %

การเลือกตั้ง 5 ครั้งหลังสุดของประเทศไทยประกฏดังนี้

- การเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 46,921,682 คน

ผู้มาใช้สิทธิ 34,707186

คิดเป็น 75.03%

 

- การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 44,002,593 คน

ผู้มาใช้สิทธิ 32,792,246 คน

คิดเป็น 74.52%

 

- การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 44,909,562 คน

ผู้มาใช้สิทธิ 29,088,209 คน

คิดเป็น 64.77%

 

- การเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 44,572,101

ผู้มาใช้สิทธิ 32,341,330 คน

คิดเป็น 72.56 %

 

- การเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้ง 42,759,001 คน

มาใช้สิทธิ 29,904,940 คน

คิดเป็น 69.94 %

 

จะเห็นว่าอัตราเฉลี่ยของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ในรอบ 10 ปี (2544-2554) คือ 71.36 %

และถ้าใช้จำนวนดังกล่าวมามาเทียบกับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จำนวน 44,649,742 คน แล้วก็จะเทียบได้กับ 31,862,055 คน

เมื่อเทียบกับผู้มาใช้สิทธิจริงในการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จำนวน 20,468,646 คน ก็จะมีอัตราส่วนถึง 64.24 % โดยไม่ต้องรวมกับหน่วยการเลือกตั้งอีก 10,129 หน่วย จาก 94,454 หน่วย หรือ10.72 % ที่ถูกขัดขวางการเลือกตั้ง และผู้สนับสนุน กปปส. ที่ไม่ไปใช้สิทธิ รวมทั้งผู้ที่เชื่อในแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์และกปปส. ที่ปฏิเสธการเลือกตั้งครั้งนี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net