Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

หลายคนคงแปลกใจว่าม็อบมวลมหาประชาชนของคุณสุเทพ เป็นใครมาจากและรวมตัวกันได้อย่างไร บทความที่อธิบาย ที่มาและความเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชนของคุณสุเทพได้อย่างน่าสนใจและทำให้มีการหยิบยกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ หรือขยายความต่อได้ดี คือบทความของ อาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในชื่อเรื่อง มวลมหาประชาชน

เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเชื่อมต่อกับข้อคิดของผู้เขียน จึงขอยกบางส่วนของบทความที่ลงพิมพ์ในมติชนมากล่าวซ้ำ

...ปัญหาที่ผม(อ.นิธิ)สนใจไม่ได้อยู่ที่ว่า คุณสุเทพมีใครหนุนหลังอยู่บ้าง แต่อยู่ที่ว่า เหตุใดคนจำนวนมาก (แม้ตัดพวกที่ขนมาจากภาคใต้ออกไปแล้ว ก็ยังถือว่ามากอยู่ดี) จึงเข้าร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาล....

... "มวลมหาประชาชน" ของคุณสุเทพ ประกอบด้วยอณู เพราะหากไม่เป็นอณูคนจะกลายเป็น "มนุษย์มวลชน" (ตามคำของ Arendt) ไม่ได้ และเพราะเป็นอณูจึงหลอมรวมเป็น "มวลมหาประชาชน" ได้ ไม่ใช่ถูกคุณสุเทพหลอมรวมนะครับ แต่เขาหลอมรวมกันเอง และหลอมรวมคุณสุเทพเข้าไปด้วย ทั้งหมดได้ค้นพบเป้าหมายแห่งชีวิตที่อ้างว้างเปล่าเปลี่ยวคือ การเป็นส่วนหนึ่งของ "มวลมหาประชาชน" ...

...แม้แต่นาซีซึ่งได้เสียงข้างมากในสภา ก็เริ่มจากแก๊งอันธพาลข้างถนน รวบรวมกลุ่มคนที่ล้มเหลวในชีวิตทุกด้านไว้ด้วยกัน....

คุณช่อ(พรรณิการ์ วาณิช)พิธิกร รายการดีว่า คาเฟ่ ของว๊อยทีวี  ได้วิจารณ์เมื่อวันที่31 ธันวาคม 2556ว่าม็อบชนชั้นกลางในกรุงเทพ เป็นวิกฤตหาตนเองไม่เจอของชนชั้นกลาง  ซึ่งเป็นปัญหาทำนองเดียวกับคนที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งไม่รู้ว่าตนเองอยากเป็นอะไร ชอบอะไร คนชั้นกลางในกรุงเทพ ว้าเหว่ อยากมีอุดมการณ์ มีกระแสพยายามให้ดูมีอุดมการณ์ เช่นเข้าร่วมประท้วงเขาพระวิหาร  การเรียนรำไทย เขื่อนแม่วงศ์ เมื่อกระแสเงียบก็เงียบ ตอนนี้ก็ไปกับกระแสม็อบเป่านกหวีด

ผู้เขียนขอเสนอข้อสันนิษฐาน มูลเหตุทางเศรษฐกิจและสังคม ต่อม็อบชนชั้นกลางในกรุงเทพฯที่เข้าไปร่วมมวลมหาประชาชนของคุณสุเทพ

                 ช่วงปี                                      2523-27         2528-32         2533-37        2538-39

      อัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจ                5.4                9.2                 8.8               7.1

                ช่วงปี                                       2540-44         2545-49           2550-54            2555-56

     อัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจ                -0.5                 5.7               2.6                   4.7     

 ทีมา-world Bank –annual GDP growth rate (ปี2556ให้เติบโต 2.9%)       

ในวันที่ 30พฤศจิกายน 2556 มูลนิธิเอเซีย ได้ไปทำการสำรวจผู้มาร่วมชุมนุมเสื้อแดงที่สนามราชมังคลา จำนวน161 รายและผู้ชุมนุม กปปส ตามจุดต่างๆในกรุงเทพ 154 ราย ได้ข้อสรุปว่า  ระดับการศึกษาของผู้ชุมนุม กปปสสูงกว่าของเสื้อแดง แต่ระดับการศึกษาของทั้งสองกลุ่มก็สูงกว่าระดับเฉลี่ยของชาติ  อาชีพ เสื้อแดงส่วนใหญ่มีอาชีพ ค้าขาย แรงงานและ ชาวไร่ชาวนา ขณะที่ กลุ่ม กปปส  รับราชการ  พนักงานบริษัทและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก รายได้ต่อครัวเรือนเกิน ร้อยละ 32 กลุ่ม กปปส สูงกว่า 60000 บาท แต่เสื้อแดงที่สูงกว่ามีเพียง ร้อยละ สี่ อย่างไรก็ดีหากทำการถ่วงน้ำหนักรายได้ครัวเรือน ของ กปปส ประมาณ 42000 บาทและของ เสื้อแดงจะอยู่ที่19000 บาท

โครงสร้างอายุ ผู้ชุมนุมทั้งสองกลุ่มใกล้เคียงกันมาก พวกวัยหนุ่มสาวต่ำกว่า25 ปีมีน้อย  เมือคำนวณเป็นอายุเฉลี่ยของผู้ชุมนุม เลื้อแดงจะอยู่ที่ 46 ปี และ กปปส อยู่ที่ 43ปี

ดังนั้นเมื่อดูอายุเฉลี่ยของผู้ชุมนุม คนกรุงเทพ หากมีอายุ 43 ปีในปี 2556 ย้อนหลังไป ประมาณ 17 ปี ในปี 2540 คนกลุ่มนี้ จะมีอายุ 26ปี ซึ่งจากช่วงปี 2540-2556 การเติบโตทางเศรษฐกิจจัดว่าซบเชาหรือผู้ชุมนุมที่มีอายุ 30ถึง40ปี ก็จะเป็นช่วงทีมีชีวิตอยู่ในช่วงเศรษฐกิจเติบโตระดับต่ำ  แต่ถ้าอายุ 25 ปีปัจจุบันก็ไม่เกี่ยวข้องเพราะไม่ได้ไปชุมนุม ประสบการณ์นี้จะต่างจากคนในยุค เบบี้บูม ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 60กว่าปี คนในวัยนี้ หากปัจจุบันอายุ 60 ปีย้อนไป 34 ปี ก็จะมีอายุ 26 ปีในปี 2522 จากปี 2523-2539 เป็นช่วงเศรษฐกิจเพื่องฟู ช่วง 17 ปีเท่ากันคนในยุคนั้นอาจมีชีวิตเริ่มต้น ที่ไม่สะดวกสะบายเท่ากับคนในวัยไปชุมนุม กปปส แต่จะสร้างดัวด้วยลำแข้งตนเองได้ดีกว่าเลื่อนฐานะทางสังคมได้ชัดเจน  จากมือเปล่า สามารถเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดิน100ตารางวากลางเมืองหลวงได้จำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จในการอพยพไปหากินในสหรัฐ ขณะที่คนในวัย 40ในกรุงเทพฯ ราคาที่อยู่อาศัยพูดเป็นตารางเมตร หากขนาดห้อง30 ตารางเมตรๆละ เจ็ดหมื่นบาทก็ต้องใช้เงินมากกว่าสองล้านบาท และราคานี้ก็ไม่ได้อยู่ในเขตกลางเมือง มีขนาดอยู่ได้กับครอบครัวลูกหนี่งคน คนกลุ่มนี้อาจเริ่มชีวิตด้วยการเป็นคนชั้นกลางแต่ดูยากเย็นที่จะเลื่อนฐานะตนเอง

คนในวัย60 ต้นๆในกรุงเทพ จากวัยจบการศีกษาและเริ่มทำงานจนถึงอายุ40 ปีอาจกล่าวได้ว่า ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม สูงกว่าความคาดหมาย ขณะที่ คนกรุงเทพฯจากวัยเดียวกันทำงานจนถึงอายุ 40 ปีแม้สภาพความเป็นอยู่ดีกว่าคนรุ่นก่อน  แต่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าความคาดหมายของตนเอง และนี้คือเหตุผลของความหงุดหงิด และสับสนในฃีวิต  

อาจสรุปได้ว่าคนกลุ่มนี้ไม่ใช่ทั้งแดงและเหลือง มาร่วมชุมนุมเพราะความผิดหวังทางเศรษฐกิจแต่สะดวกใจมากกว่าในการร่วมกลับกลุ่ม กปปส เนื่องจากพื้นฐานอาชีพ และ การศึกษา ดูเทห์ ดูดีกว่าหากจะมาประท้วงกับกลุ่มรากหญ้า ถามว่าจะหยุดประท้วงเมื่อไรคำตอบคือไม่ชัดเจน กลุ่มเสื้อแดงประท้วงเพราะเป้าหมายผูกพันกับข้อเรียกร้องทางเศรษฐกิจชัดเจน เพราะพื้นฐานอาชีพ เป็นชาวไร่นา หรือขายแรงงาน จึงต้องการให้ปรับราคาข้าว ขึ้นค่าแรง ในปี 2549 รัฐบาลฝรั่งเศส อยากให้นายจ้าง จ้างงานมากขึ้น จึงเสนอกฎหมายให้นายจ้างสามารถปลดคนงานที่อายุไม่ถึง 26 ปีและอายุงานไม่ถึง 2ปีได้ แต่นักศึกษาและคนหนุ่มสาวไม่คิดเช่นนั้น ทำการประท้วงครั้งใหญ่นับล้านคนจนรัฐบาลถอนร่างกฎหมายผู้ประท้วงก็เลิกประท้วง  นี้คือตัวอย่างการประท้วงด้วยเหตุผลเศรษฐกิจ เมื่อได้รับการตอบสนองก็เลิกกันไป

อาจารย์นิธิ บอก คนกลุ่มนี้เป็นอณูที่หลอมตัวกันเพื่อหาจุดยึดเหนี่ยว คุณช่อบอก สับสนหาตนเองไม่พบ สำหรับผู้เชียนเชื่อว่า เพราะหงุดหงิดในชีวิต  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าความคาดหวัง

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน โลกวันนี้วันสุขฉบับ 11-17 มกราคม 2557

              

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net