Skip to main content
sharethis

นักสหภาพแรงงานและเครือข่ายสลัม 4 ภาค ประท้วงสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา หลังปราบปรามคนงานที่ออกมาเรียกร้องปรับขึ้นค่าแรงและสิทธิแรงงาน จนมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและถูกจับกุมจำนวนมาก

12 ม.ค.2557 เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ถนนประชาอุทิศ(ห้วยขวาง) นักกิจกรรม นักสหภาพแรงงานและเครือข่ายสลัม 4 ภาค ประมาณ 50 คน เดินทางมาเพื่อยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชา ยุติการใช้ความรุนแรงปราบปรามคนงานในอุตสาหกรรมรมเสื้อผ้าสิ่งทอ สหภาพแรงงานรวมทั้งประชาสังคมอื่นๆ เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมจากการใช้สิทธิที่ชอบธรรมในการชุมนุมโดยทันทีอย่าง ไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งหามาตรการเพื่อความรับผิดทางกฎหมายและความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ที่ใช้ความรุนแรงรวมถึงผู้ออกคําสั่งให้ใช้ความรุนแรงต่อคนงานและผู้ชุมนุมอื่นๆ เนื่องจากในช่วงระหว่างวันที่ 2-4 ม.ค. ที่ผ่านมาแรงงานที่ทํางานในอุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่มโรงงานสิ่งทอรองเท้า กลุ่มเกษตรชาวนาได้ทําการชุมนุมสาธารณะ และการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้น แต่การชุมนุมตามสิทธิพื้นฐานดังกล่าวกลับได้รับการ ตอบรับจากรัฐบาลกัมพูชาด้วยกําลัง ตํารวจทหารพร้อมอาวุธเข้าจัดการและสลายการชุมนุม

โดยกลุ่มดังกล่าวระบุด้วยว่า องค์กรสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาบอกว่าเจ้าหน้าที่ตํารวจหันปากกระบอกปืนยิงตรงเข้าใสผู้ชุมนุมเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตรวมอย่างน้อย 5 ราย นอกจากนี้มีผู้บาดเจ็บสาหัสอีกอยางน้อย 40 รายผู้ชุมนุมกว่า 23 รายถูกจับกุมภาย ใต้การคุมขังของตํารวจและทหารที่จังหวัดกัมปงจาม(KampongCham) ทางตะวันออกของประเทศกัมพูชา นับเป็นเหตุการณ์ประทวงที่มีการใช้ความ รุนแรงจากรัฐที่รุนแรงที่สุดในรอบ15 ปี

ทั้งนี้ทางสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาได้ส่งตัวแทนออกมารับหนังสือผู้ชุมนุมด้านนอก พร้อมรับปากด้วยว่าจะส่งหนังสือไปยังทางการกัมพูชาโดยเร็วที่สุด

สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาส่งตัวแทนออกมารับหนังสือโดยมี นุชนารถ แท่นทอง ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาคและจิตรา คชเดช เป็นตัวแทนยื่น

ปรานม สมวงศ์ นักกิจกรรมด้านแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าทั้งในประเทศไทยและลุ่มแม่น้ำโขง ผู้ร่วมกิจกรรม กล่าวถึงเหตุผลที่เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องกับเอกอัครราชทูตกัมพูชาว่า เนื่องจากมีคนงานที่ทำงานในโรงงานสิ่งทอฯ ประมาณ 500,000 คน ที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสร้างคุณูปการมหาศาลให้กับประเทศกัมพูชา เขาเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำมากว่า 2 ปี แล้ว ซึ่งเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มจาก 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ประมาณ 2,400 บาท เป็น 160 เหรียญ ประมาณ 4,800 บาท และที่นั่นทำงาน 10-12 ชั่วโมงต่อวันด้วย โดยผู้อื่นอาจจะมองว่าเป็นการขอแบบก้าวกระโดน แต่ความจริงแล้วค่าจ้างเขาถูกแช่แข็งมานานแล้ว ขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นตลอด นอกจากนั้นยังมีการออกมาต่อต้านกระบวนการทำลายสหภาพแรงงานด้วย

ปรานม กล่าวต่อว่า การที่รัฐบาลกัมพูชาใช้ใช้กองกำลังสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุโดยไม่มีการสอบสวน ทั้งที่การชุมนุมโดยสันติเป็นสิทธิพื้นฐาน ดังนั้นเมื่อไม่สามารถให้คนงานใช้กระบวนการนี้ได้ก็จะไม่มีช่องทางในการเข้าถึงความยุติธรรม แต่เมื่อคนงานใช้ช่องทางนี้กลับถูกปราบปรามด้วยความรุนแรงจากรัฐ การสร้างมาตรฐานเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้สิทธิในอนาคต เพราะหากคนงาน ประชาชน ออกมาใช่สิทธิชุมนุมก็มีแนวโน้มที่จะถูกปราบปรามอีก 

ปรานม กล่าวถึงข้อวิจารณ์ถึงข้อเรียกร้องและการเคลื่อนไหวของคนงานถูกประเด็นของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชาที่เคลื่อนไหวร่วมกันกลบไปนั้นว่า การเคลื่อนไหวของคนงานและองค์กรสิทธิมนุษยชนในกัมพูชานั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่แล้ว คือการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและการเคารพสิทธิในการรวมตัว ดังนั้นไม่ว่าใครที่มาสนับสนุนเป้าหมายในการต่อสู้ของเขาก็สามารถสนับสนุนได้ จึงไม่แปลกที่นักการเมืองจะมาสนับสนุน แต่คำถามคือทำไมรัฐบาลไม่สนับสนุนในเมืองคนงานออกมาใช้สิทธิอันชอบธรรมนี้ ถ้ารัฐบาลต้องการทำให้ดีกว่าฝ่ายค้าน 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net