พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: “กล” ของใบขับขี่แคลิฟอร์เนีย

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
 
 
หลังจากรัฐสภาของรัฐแคลิฟอร์เนียผ่านร่างกฎหมายที่เรียกว่า เอบี-60 ซึ่งเป็นร่างกฎหมายอนุญาตให้ผู้อยู่อย่างผิดกฎหมาย หรือที่คนไทยในอเมริการู้จักกันดีในชื่อ “โรบินฮู้ด” ในรัฐแคลิฟอร์เนียสามารถยื่นขอใบขับขี่ได้ไปแล้วนั้น ปรากฎการณ์ดังกล่าวได้ถูกนำเสนอค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในบรรดาสื่อของชนกลุ่มน้อย (Minority group) ที่มีกระจายอยู่ทั่วในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเฉพาะใน 3 เมืองใหญ่ คือ ลอสแองเจลิส (แอล.เอ.) ซานฟรานซิสโก และซานดิเอโก
 
เนื่องเพราะรัฐแคลิฟอร์เนียได้ชื่อว่า เป็นรัฐหรือพื้นที่ที่มีต่างด้าวอาศัยอยู่มากที่สุดในอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายฮีสแปนิก (Hispanic) หรือพวกเชื้อสายวัฒนธรรม (ภาษา) สเปน ซึ่งมาจากเม็กซิโก ประเทศที่มีพรมแดนติดกับอเมริกา และกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ดังนั้น ภาษาสเปนจึงเป็นภาษาที่สองที่ใช้กันในอเมริกา
 
ว่าไปแล้วการผ่านร่างกฎหมายใบขับขี่ของรัฐแคลิฟอร์เนียครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมามีความพยายามของประชาชนในหลายรัฐรณรงค์ (แคมเปญ) กระตุ้นให้รัฐสภาของแต่ละรัฐคำนึงถึงความเป็นอยู่ของต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในอเมริกาอย่างผิดกฎหมาย โดยที่พวกเขาเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสถานการณ์ด้านความปลอดภัย และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจอย่างมาก เฉพาะประเด็นหลังมีการประเมินกันว่าหากปราศจากแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเสียแล้วเศรษฐกิจของอเมริกาจะถึงขั้นมีปัญหาเลยทีเดียว เนื่องจากต่างด้าวเหล่านี้เป็นกลไกสำคัญในระบบแรงงานอเมริกัน อย่างเช่น ในภาคเกษตร ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม
 
พูดง่ายๆ คือ เศรษฐกิจของอเมริกันผูกติดอยู่กับแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว ยิ่งแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย(illegal worker) ด้วยแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจอเมริกันชอบมาก เพราะจ่ายค่าแรงถูกกว่าแรงงานที่อยู่อย่างถูกกฎหมาย
 
และหนึ่งในผู้ประกอบการเหล่านั้นก็รวมผู้ประกอบ การที่เป็นคนไทยอยู่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ธุรกิจร้านอาหาร
 
ความจริงการเอาเปรียบแรงงานผิดกฎหมายในอเมริกามีอยู่ทั่วไป ผู้ประกอบการต้องการลดต้นทุน ให้มากที่สุด สองพรรคการเมืองใหญ่ของอเมริกันต่างเข้าใจดีถึงปัญหานี้ แม้ปากของสมาชิกคองเกรส หลายคนจะเรียกร้องให้มีการ นิรโทษกรรมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แต่ในด้านการปฏิบัติจริงหรือการออกกฎหมายกลับล่าช้ามาจนถึงบัดนี้ กฎหมายปฏิรูปแรงงานผิดกฎหมายก็ยังไม่ถือกำเนิดเสียที
 
นายบารัก โอบามาเองพยายามผลักดันร่างกฎหมายตามที่เคยให้สัญญากับประชาคมไว้ตอน เลือกตั้ง แต่ก็ดูเหมือนการผลักดันดังกล่าวไม่ได้เป็นไปอย่างเต็มที่ ตัวนายโอบามาเองก็มีปัญหาอื่นที่สำคัญ กว่าการช่วยเหลือต่างด้าว นอกเหนือไปจากปัญหาความยุติธรรมหรือสองมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบ ผู้ที่เข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมายและผู้ที่อยู่นอกประเทศที่กำลังรอผลการยื่นเรื่อง (apply) เพื่อขอเป็นผู้มีถิ่นฐานถาวร (permanent resident) ในอเมริกาอีกจำนวนมาก
 
การปล่อยให้ต่างด้าวผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายได้รับสิทธิ์นิรโทษกรรมจึงเป็นเรื่องที่มีผู้เห็นแย้ง จำนวนมาก โดยเฉพาะในฟากของสมาชิกคองเกรสพรรครีพับลิกัน แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนัก “gang of eight” ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 8 คน ประกอบไปด้วย สว. Lindsey Graham (รีพับลิกัน) , สว. Marco Rubio (รีพับลิกัน)สว. Jeff Flake ( รีพับลิกัน) สว. John McCain (รีพับลิกัน) สว. Chuck Schumer(เดโมแครต) สว. Michael Bennet (เดโมแครต), สว. Dick Durbin (เดโมแครต) และ สว. Robert Menendez (เดโมแครต) นำเสนอการปฏิรูปกฎหมายต่างด้าวไปแล้วก็ตาม แต่เรื่องก็ยังค้างเติ่งอยู่ที่สภา
 
สถานการณ์ทำนองนี้ได้สร้างแรงกดดันให้กับกลุ่มที่ทำแคมเปญต่างด้าวอย่างมาก เพราะทุกปี (นับตั้งแต่ปี 1998) กลุ่มคนเหล่านี้ในเมืองต่างๆก็ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลอเมริกัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเปิดเผยอยู่แล้ว และหากจะว่าไป ปัญหาต่างด้าวผิดกฎหมายกว่า 11 ล้านคนก็เป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งของสังคมอเมริกันในเวลานี้เสียด้วย
 
เมื่อมีแรงกดดันมาก แต่รัฐบาลกลางและสถานการณ์ในคองเกรสไม่เปลี่ยนแปลง กลุ่มผู้ทำแคมเปญช่วยเหลือต่างด้าวผิดกฎหมายก็หันมาใช้เป้า คือ รัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งก็คือการผลักดันในระดับมลรัฐแทน เพราะเชื่อว่าอย่างน้อยๆ การทำแคมเปญดังกล่าวก็มีผลอยู่บ้าง แม้รัฐบาลท้องถิ่นจะทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการอนุญาตให้ต่างด้าวผิดกฎหมายมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
 
และแม้ว่าการกระทำของรัฐดังกล่าว ทางกลุ่มผู้ทำแคมเปญทราบดีว่า การออกกฎหมายใดๆของ รัฐบาลท้องถิ่น จำต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายกลาง (federal law)
 
การออกกฎหมายให้ต่างด้าวผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายมีใบอนุญาตขับขี่ จึงเป็นการย้อนแย้ง ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของมลรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลาง ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนใหญ่หมายถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจประเภทต่างๆที่อยู่ภายในรัฐ และในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลาง หมายถึง เจ้าหน้าที่ของกระทรวงความมั่นคงภายใน (Department of Homeland Security) หรือที่รู้จักกันดี ในชื่อว่า “อิมมิเกรชั่น” นั่นเอง
 
ขณะที่ต้องไม่ลืมว่า ส่วนมากของผู้ทำแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญเรื่องใดก็ตาม จะต้องมีเรื่องทุนสนับสนุนมาเกี่ยวข้อง ซึ่งทุนเหล่านี้จะมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์โดยตรงกับกิจกรรมที่ กลุ่มทำแคมเปญต้องดำเนินการหรือกำลังดำเนินการ เหตุผลดังกล่าวได้ส่งผลให้มีการผลักดันชาวโรบินฮู้ด เพื่อให้ออกมาสู่ระบบ “ถูกกฎหมาย” มากขึ้น ทั้งส่วนหนึ่งโดยการผลักดันของตัวแทนหรือสมาชิกสภาประจำรัฐ (สส.มลรัฐ) ในฐานะของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับแรงกดดันต่อจากพวกเอกชนที่ทำแคมเปญ เช่นเดียวกัน
 
เหตุผลของการผลักดัน ก็ดังที่กล่าวไป คือ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ นอกเหนือไปจากเหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ เหตุผลทางด้านสิทธิมนุษยชน เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าแรงงานผิดกฎหมายเหล่านี้ถูกละเมิดจากนายจ้างจำนวนมาก อย่างไม่จำกัดว่า นายจ้างเหล่านี้จะเป็นคนเชื้อชาติเดียวกันกับแรงงานผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นไปได้มากด้วยซ้ำว่า นายจ้างเชื้อชาติเดียวกัน ภาษาเดียวกันมักกระทำการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานกดขี่แรงงานมากกว่านายจ้างที่เป็นคนต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา
 
นอกจากนี้ยังมีประเด็นให้ต้องคิดว่า การออกมาสู่ระบบ “ถูกกฎหมาย”ในระดับมลรัฐ ของแรงงานต่างด้าวผ่านวิธีการอนุญาตให้ทำใบขับขี่ (อย่างเช่นกรณีของรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐอริโซน่า) จะเป็นวิธีการที่มั่นคงปลอดภัยต่อสถานะของแรงงานเหล่านี้มากน้อยขนาดไหน เพราะการออกกฎหมายในระดับมลรัฐนี้ ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าเหล่าต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย จะไม่โดนเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง คือ อิมมิเกรชั่น เล่นงานเอา
 
เพราะใบขับขี่ ที่ต่างด้าวผู้อยู่อย่างผิดกฎหมายจะได้รับภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้เรียกว่า DL (Driver’s License) แต่กลับเรียกว่า DP (Driver’s Privilege) หรือ สิทธิพิเศษสำหรับการขับขี่รถยนต์ ซึ่งมลรัฐอาจพิมพ์ข้อความ “Driver’s Privilege” ไว้อย่างชัดเจนบนบัตรด้วย
 
การพิมพ์หรือการแสดงสัญลักษณ์บนใบขับขี่ดังกล่าว น่าจะเป็นปัญหาสำคัญของต่างด้าวที่อยู่อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะยังต้องการปิดบังอำพรางตนเอง ขณะที่การแสดงสัญลักษณ์บนบัตรกลับระบุอย่างชัดเจนในเชิงเป็นที่รู้ๆกันว่า พวกเขาอยู่อย่างผิดกฎหมาย
           
เรื่องดังกล่าวแม้ไม่เป็นปัญหาระหว่างต่างด้าวที่อยู่ผิดกฎหมายกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ก็ “หวานหมู”สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลาง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่น เพราะกฎหมายกลางยัง เหมือนเดิม ไม่ได้สอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่นที่มลรัฐออกมาแต่ประการใด
           
ที่สำคัญก็คือ องค์กรสมาพันธ์ของเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นทั่วอเมริกา (AFGE National ICE Council) ที่มีนาย Chris Crane เป็นประธาน ไม่เคยแสดงอาการว่า เห็นด้วยกับการดำเนินการของรัฐที่ปล่อยให้กฎหมายใบขับขี่ออกมา เหมือนกับที่องค์กรเดียวกันนี้ไม่เคยแสดงอาการว่า เห็นด้วยกับร่างกฎหมายปฏิรูประบบต่างด้าวที่อยู่ ระหว่างการพิจารณาของสภาในเวลานี้ (แม้ว่าหัวหน้ารัฐบาล คือ นายโอบามา จะออกโรงสนับสนุนร่าง กฎหมายนี้สักเพียงใดก็ตาม)
           
หากเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นเหล่านี้ ยังคงพร้อมลุยปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด และมากขึ้นเรื่อยๆ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท