Skip to main content
sharethis

 

เดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวาระรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองที่สำคัญ ทั้ง 14 ตุลา (2516) และ 6 ตุลา ( 2519)

ในปีนี้ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 40 ปีเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก็เช่นกัน มีกิจกรรมมากมายที่จะถูกจัดขึ้นโดยหลากเจ้าภาพ ทั้งงานของคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ งานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ของสถาบันปรีดี พนมยงค์ งานของมูลนิธิ 14 ตุลาฯ งานของ สนนท. งานของไทยพีบีเอส  (รายละเอียดกำหนดการงานต่างๆ ดูด้างล่าง) ในหลากหลายรูปแบบทั้งเวทีเสวนา ละครเวที ภาพยนตร์สั้น และศิลปะแขนงต่างๆ อีกมากมาย

สำหรับมนุษย์พันธุ์บันเทิงอาจไม่ชอบงานประวัติศาสตร์ฮาร์ดทอล์ก วันนี้จึงขอนำเสนองานบันเทิงอย่างน้อย 3 งานที่น่าสนใจในเทศกาลตุลาปีนี้ ...

1      

ละครเวทีคณะศิลปกรรม ‘ไต้ฝุ่น’ มองตุลาจากสายตาคนรุ่นใหม่

 

“นี่เป็นการทดลองการทำงานที่น่าสนใจของบีฟลอร์ ที่เป็นกลุ่มละครอิสระไม่กี่กลุ่มในเมืองไทย

ซึ่งทำงานร่วมกับนักศึกษาการละครของธรรมศาสตร์

 ... เป็นการใช้รูปแบบศิลปะที่หลากหลายมากขึ้นในการพูดถึง 14 ตุลา

งานนี้ถือว่าทำได้ลงตัวระหว่างการเต้นที่เป็นนามธรรม

กับสารเรื่อง 14 ตุลาที่เป็นสูตรสำเร็จ ให้ออกมาไม่เป็นสูตรสำเร็จเกินไป และไม่เป็นนามธรรมมากเกินไป”

 

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

 

ไต้ฝุ่น เป็นละครที่ ‘คาเงะ’ หรือ ธีระวัฒน์ มุลวิไล ผู้ก่อตั้งกลุ่มละคร B-Floor Theatre ทำงานในฐานะผู้กำกับร่วมกับนักศึกษาสาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลายสิบชีวิต

เป็นงานที่เล่าเรื่องราว 14 ตุลา จากมุมมองของคนรุ่นใหม่ และใช้ศิลปะการเคลื่อนไหวแนว Physical Theatre ผสมผสานกับสื่ออื่นๆ

“ปกติคนจะใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่อง แต่เราใช้การเคลื่อนไหว แสง เสียง ฉาก สัญลักษณ์มาขับเคลื่อน แต่ก็มีบทพูดบ้างเมื่อการเคลื่อนไหวร่างกายมันไปสุดเพดานของมัน” คาเงะกล่าว

คาเงะเล่าว่า ทีมงานและนักแสดงทั้งหมดใช้เวลาฝึกซ้อมร่วมกันนานถึง 5 เดือนก่อนจะออกมาเป็นการแสดงชุดนี้ ที่สำคัญคือการชวนพูดคุย ตั้งคำถามด้านการเมืองกับคนรุ่นใหม่ที่ร่วมแสดง ซึ่งหลายคนไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์การเมืองมาก่อนหน้านี้ ถึงกับมีการบ้านให้กลับไปสืบค้นประวัติศาสตร์กันตั้งแต่สมัย รศ.130 จอมพล ป. เรื่อยมาจน 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 จนกระทั่ง พฤษภา 53

กระทั่งในที่สุดบทสนทนากับคนุร่นใหม่เหล่านี้ได้กลายมาเป็นแรงบัลดาลใจของผู้กำกับในการสร้างพล็อตเรื่องส่วนหนึ่งของไต้ฝุ่น

“น้องๆ ก็ไม่ค่อยรู้จักประวัติศาสตร์ช่วงนี้ รู้จักอีกทีก็สมัยนเรศวรนู่นเลย”

“บางคนก็ไปค้นจากวิกิพีเดียได้ข้อมูลแปลกๆ มา (หัวเราะ) บทมันเกิดจากตัวน้องๆ เอง”

“เป็นละครที่ถือว่าดูง่ายสำหรับผม เพราะต้องเป็นสาธารณะ พยายามเข้าหาคนรุ่นใหม่และคนที่ไม่เคยดู ทำงานกับน้องๆ ก็สนุก บางคนเริ่มจากศูนย์เพราะรู้แต่ละครพูด แล้วต้องกระโดดมาทาง movement และ abstract เลย แต่น้องๆ ก็พยายามมากแม้มีงานเยอะกันอยู่แล้วก็ขวนขวายและตั้งใจ”

“เราพูดถึงความทรงจำค่อนข้างเยอะ เพราะมันคลาดเคลื่อน ผสมปนเปจนคนเลิกสนใจ คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ประวัติศาสตร์หลายอย่างคือรากเหง้าของตัวเราเอง บางอย่างใกล้แค่ 10 ปี แต่มันกระทบต่อเราทั้งหมด การศึกษาประวัติศาสตร์จะสร้างภูมิคุ้มกันให้เราเองด้วย เวลาจะไปร่วมอะไรกับใคร ถ้าเรารู้ระดับโครงสร้างเราจะรู้ที่มาของแต่ละฝ่าย แม้แต่การมาร่วมรำลึก 14 ตุลา มันเป็นประวัติศาสตร์ที่สะอาดแล้วเคลียร์แล้วหรือ หรือเหตุการณ์ 53 เราจดจำมันอย่างไร” คาเงะกล่าว

ไต้ฝุ่นเพิ่งเปิดแสดงรอบภายในมหาวิทยาลัยไปเมื่อวันที่ 21-22 ก.ย.ที่ผ่านมา และกำลังจะเปิดการแสดงอีกครั้งในวันที่ 12-14 ตุลาคมนี้ เวลา 20.00 น. ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ  บัตรราคา 350 บาท (นักศึกษา) 450 บาท (ทั่วไป)จองบัตร 089 970 1319

 

2    

‘เจ้าสาวหมาป่า’ เมื่อเด็กประถมยันเกษตรกรร่วมแสดง และความฝันคนรุ่นใหม่


 

ละครเรื่องเจ้าสาวหมาป่า น่าจะเป็นเรื่องแรกๆ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนประถม มัธยม อดีตนักศึกษา คนทำงาน เกษตรกร มาเจอกัน

เป็นฝีมือของกลุ่ม ประกายไฟการละคร ซึ่งเป็นคนหนุ่มสาว 4-5 คนรวมตัวกันทำละครการเมืองอย่างเป็นเรื่องเป็นราวภายหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 นับเป็นการแตกตัวมาจากกลุ่มประกายไฟซึ่งเป็นกลุ่มศึกษาการเมืองดั้งเดิม

ภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือ กอล์ฟ เป็นผู้บุกเบิกโครงการนี้ เธอมีความใฝ่ฝันในการขยายงานด้านวัฒนธรรมไปสู่คนกลุ่มต่างๆ ที่อยากใช้ทักษะนี้ในการผลักดันงานงานของตน

กอล์ฟเล่าว่า ผู้แสดงของงานนี้มีตั้งแต่นักเรียนระดับประถมที่จังหวัดมุกดาหาร เด็กๆ ในชุมชนคลองเตย นักเรียนมัธยมในกรุงเทพฯ เด็กๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตนักศึกษาจากจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างประหลาด และทั้งหมดไม่มีพื้นฐานด้านละคร จุดร่วมเดียวคือ สนใจศิลปะด้านนี้

“เราต้องเดินทางไปเวิร์คชอปในแต่ละพื้นที่ ทำทั้งการทำกลุ่มศึกษาย่อยๆ และการเวิร์คชอปละคร บทละครเรื่องนี้เกิดจากกระบวนการในค่าย ซึ่งมีกระบวนการคิดร่วมกัน แล้วหยิบในส่วนที่แต่ละคนสนใจและทำได้มาปรับ เช่น เด็กๆ จำบทยาวๆ ไม่ได้แต่เขาเล่นละครใบ้ได้ ส่วนภาคอีสานร้องเพลงเก่งก็ทำละครเพลง ภาคเหนือขอสวยๆ เน้น movement”

งานนี้จึงมีทั้งละครสนทนา ระบำพม่า ระบำแขก ละครใบ้ ละครวิทยุ เต้น ฯ

“เรามีกระบวนการที่ครูจากศิลปากรมาช่วยถอดสภาวะภายในของแต่ละคนออกมาด้วย ซึ่งทุกคนมีปมที่โคตรน่าสนใจ เช่น เด็กคลองเตยก็จะเติบโตมากับความรุนแรง ครูให้ทุกคนเอาปมตัวเองมาแทนการสื่อสาร ถ่ายทอดเป็นตัวละครตัวอื่นๆ ที่เขาไม่สามารถทำได้ในโลกจริง”

นอกจากนี้ในกระบวนการทำงานยังมีการจัดกลุ่มศึกษา timeline ประวัติศาสตร์ และถามความสนใจของแต่ละกลุ่ม น่าแปลกที่ทุกกลุ่มลงมติว่าสนใจและสงสัยในเหตุการณ์ 6 ตุลามากที่สุด ซึ่งกอล์ฟก็ยอมรับว่าค่อนข้างล้มหลวกับโจทย์งาน 14 ตุลา

“เราเองก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนอินกับ 14 ตุลาได้ อาจเป็นเพราะคนทำละครเองก็รู้สึกอคติ การสื่อสารเรื่อง 14 ตุลามักมีด้านเดียว ด้านของความโรแมนติก สวยงาม ในขณะที่เหตุการณ์ 6 ตุลาแม้เราไม่ได้นำภาพความรุนแรงมาให้ดู แต่พวกเด็กๆ มันก็ไปหาข้อมูลกันเอง ไม่เคยเห็นก็ไปหาคลิปมาดู เราก็ลืมไปว่าเด็กเดี๋ยวนี้มีสมาร์ทโฟน”

ไม่ว่าจะเป็น 14  หรือ 6 ตุลา เรื่องราวประวัติศาสตร์ก็เป็นสายธารเดียวกัน แต่ที่น่าลุ้นคือ สายธารของนักแสดงเหล่านี้ที่มาจากคนละทิศคนละทาง ต่างคนต่างซ้อม จะออกมาหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวได้แค่ไหน ละคร ‘ประชาชน’ ที่ไม่ใช่นักแสดงอาชีพนี้จะเป็นอย่างไร ยังคงเป็นปริศนาให้ผู้สนใจไปชม ในวันที่ 6   และ 13 ตุลาคมนี้ ที่หอประชุมใหญ่ เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป (ฟรี)

“สำหรับผู้ใหญ่อาจมองว่ามันเป็นแค่การทำละคร แต่สำหรับเรา มันคือการทำขบวนใหม่ สร้างงานวัฒนธรรมเพิ่ม เราอยากกระจายแนวรบด้านนี้ให้ไกลกว่าเดิม อยากไปสอนเขาให้หมดเลย ให้เขาเอาทักษะพวกนี้ไปใช้ในสิ่งที่เขาคิดเขาเชื่อ” กอล์ฟกล่าว

 

3    

งิ้วธรรมศาสตร์ 91 เปาบุ้นจิ้น ตอนสะสางคดี 6 ศพ (วัดปทุม)

 


ที่ผ่านมาเราอาจได้ชมหรือได้ยินชื่อ งิ้วการเมือง งิ้วธรรมศาสตร์ จากหลากหลายกลุ่ม แต่งิ้วการเมือง งิ้วธรรมศาสตร์ที่จะแสดงในงาน 14 ตุลาปีนี้ คือ กลุ่มศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่มารวมกันในนาม ‘คณะงิ้วธรรมศาสตร์ 19’ โดยมีผู้กำกับและเขียนบท คือ สุขุม เลาหะพูนรังษี

สุขุมเล่าว่า โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงงิ้วการเมืองแล้วมักจะเป็นการล้อเลียนรัฐบาลที่มีอำนาจอยู่ในขณะนั้นๆ แต่ปีนี้จะแปลกกว่าทุกครั้ง เพราะจะมองให้ลึกมากกว่านั้น ....และจะเจาะไปที่เหตุการณ์  6 ศพวัดปทุม โดยไม่เน้นเรื่องความสะใจ การด่าทอด้วยถ้อยคำอันรุนแรง แต่จะเน้นความสะเทือนอารมณ์ และพยายามคงขนบอันงดงามของศิลปะการแสดงของงิ้วไว้ให้มากที่สุด

“มันน่าสะเทือนใจมากที่คน 6 คนถูกยิงตายในเขตวัด โดยที่คนในสังคมโดยรวมแทบไม่มีปฏิกิริยาในเรื่องเหล่านี้เลย” สุขุมเล่าถึงแรงบันดาลใจที่เลือกนำเรื่องนี้มาแสดง

งานนี้มีการเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมเป็นนักแสดงรับเชิญด้วย อาทิ อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากคณะอักษรศาสตร์จุฬา อาจารย์สุดา รังกุพันธุ์ จากรั้วจามจุรีเช่นเดียวกัน รวมถึง ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล อดีตผู้ต้องขังในคดีการเมือง

“เราไม่อยากจำกัดตัวเองว่าต้องเป็นคนในสถาบันแคบๆ ของเราเท่านั้น”

“นี่จะเป็นมิติใหม่ของงิ้วการเมือง เมื่อก่อนงิ้วการเมืองเป็นแค่คนมาแต่งตัวชุดงิ้วแล้วเล่นจำอวดกัน มีกลองแค่ตัวเดียวก็เล่นได้ แต่เราจะพยายามให้มากที่สุดในการรักษาศิลปะดั้งเดิม แม้จะเล่าเรื่องทางการเมืองก็ตาม เราจะทำให้เห็นว่า งิ้วจริงๆ เขาเล่นยังไง” สุขุมกล่าว

งิ้วมิติใหม่นี้จัดแสดงที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลา 20.00 น. วันที่ 6 และ 13 ตุลา (ฟรี)

 

==================================================

งานที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 6,13 ตุลาคม  
(โดยคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์)

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2556

ภาคเช้า พิธีกรรมรำลึกและสดุดีวีรชน

7.00-8.00 น. พิธีตักบาตรพระสงฆ์ 19 รูป ณ สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์

8.00-9.30 น. อธิการบดีมธ. กล่าวต้อนรับ

ประธานคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์กล่าวเปิดงาน

พิธีวางพวงมาลา ณ ประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519

กล่าวสดุดีและประกาศเจตนารมณ์ โดยตัวแทนฝ่ายต่างๆ

09.30-10.00 น. บทกวีรำลึกวีรชน 6 ตุลา

10.00-12.00 น. สหปาฐกถา ในโอกาส 37 ปี 6 ตุลา ส่งทอดอุดมการณ์จากรุ่นสู่รุ่น

โดย วัฒน์ วรรลยางกูร เลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา และ สุพัฒน์ อาษาศรี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย

 

งานบ่ายและค่ำ ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15.00 น. บทกวี สลับ ดนตรี

17.00 น. ละคร "เจ้าสาวหมาป่า" โดย ประกายไฟการละคร

18.00-19.30 น. ลิเกกายกรรมเรื่อง "บัลลังก์เลือด" โดยมะขามป้อม

19.30-20.00 น. ดนตรีวงไฟเย็น

20.00-21.30 น. "งิ้วธรรมศาสตร์ 19" เรื่อง เปาบุ้นจิ้น ตอนสะสางคดี 6 ศพ

 

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2556

ภาคเช้า พิธีกรรมรำลึกและสดุดีวีรชน

7.00-8.00 น. พิธีตักบาตรพระสงฆ์ 40 รูป

8.00-9.00 น. พิธีวางพวงมาลาไว้อาลัยแด่วีรชนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ณ ฐานอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน โดย

ผู้แทนญาติวีรชน 14 ตุลา

ผู้แทนฝ่ายประชาธิปไตย กรรมกรและชาวนา

ผู้แทนเยาวชน/นิสิต-นักศึกษา

09.00-10.30 น. เคลื่อนขบวนประชาชนผ่านถนนราชดำเนินสู่หอประชุมใหญ่ มธ.

10.30-10.45 น. ประธานคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์กล่าวเปิดงาน

10.45-12.00 น. การแสดงปาฐถาในวาระ 40 ปี 14 ตุลา หัวข้อ "อดีต ปัจจุบัน อนาคตประชาธิปไตย"

โดย จาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ

 

งานบ่ายและค่ำ ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13.30-14.30 น.  ปาฐกถา เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หัวข้อ "เจตนารมณ์ 14 ตุลา"

14.30-15.10 น. พบญาติและวีรชน 14 ตุลา

15.10-16.00 น. ทอล์กโชว์ ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ

16.00-17.00 น. ดนตรี และ บทกวี

17.00-18.00 น. ละคร "เจ้าสาวหมาป่า โดย ประกายไฟการละคร

18.00-19.30 น. ลิเกกายกรรมเรื่อง "บัลลังก์เลือด" โดย มะขามป้อม

19.30-20.00 น. ดนตรีวงไฟเย็น

20.00-21.30 น. "งิ้วธรรมศาสตร์19" เรื่อง เปาบุ้นจิ้น ตอน สะสางคดี 6 ศพ

 

งานที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ “ศิลปะนานาพันธุ์6”

สถาบันปรีดี พนมยงค์ มีความยินดีขอเชิญร่วมงาน ศิลปกับสังคม ครั้งที่ 18 
เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ 6 : 40 ปี 14 ตุลา 2516
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ 

ตื่นตาตื่นใจกับการเขียนภาพสด 40 ปี 14 ตุลา โดย ศิลปินเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ พิทักษ์ ปิยะพงษ์ สุรพล ปัญญาวชิระ สมชาย วัชระสมบัติ ไมตรี หอมทอง 

เวลา 15.00 น. ลงทะเบียน 
• ชมภาพยนตร์เรื่อง “เงาประวัติศาสตร์” โดย ภาณุ อารี 

• พิธีประกาศเชิดชูเกียรติและมอบรางวัลปีติศิลป์สันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2556 

• การแสดงปาฐกถาศิลปกับสังคม 2556 เรื่อง “กรรมกรวรรณกรรม” โดย ศรีดาวเรือง 

• ชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ดุจดั่งจะคายคืน” / “มัทรี” โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร 

• พิธีเปิดงานศิลปกับสังคม ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2556 เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ 6 : 40 ปี 14 ตุลาคม 2516 20 ปี สายใยมิตรภาพ (เปิดใช้สถาบันอย่างไม่เป็นทางการ) การแสดงสด-ร่ายบทกวี 

• ชมการแสดงสิ่งละอันพันละน้อย โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร บลูด้า-ต่อเวตาล่า แม่จำปา แสนพรม เบบี้ไมม์โชว์ บีฟลอร์เธียเตอร์ ฯลฯ

พิธีกร : ดุจดาว วัฒนปกรณ์ บุญใหญ่ เกรียงไกร ฟูเกษม 
สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย 

กิจกรรมตลอดการจัดงาน
• 25-28 ก.ย. 2556 เขียนภาพสดโดย ศิลปินเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ ณ โถงนิทรรศการสถาบันปรีดี พนมยงค์ 

• 29 ก.ย. 2556 เวลา 15.00 น. การแสดงละครเรื่อง “Fireflies in the garbage room” โดย คานธี วสุวิชย์กิต 
• 29 ก.ย.-1 ต.ค. 2556 เวลา 19.30 น. อ่านบทละคร ดนตรี ลีลา : ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง โดย กลุ่มละครกุหลาบแดง 

• 5 ต.ค. 2556 เวลา 14.00 น. การแสดง “สันติประชาธิปไตย” โดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มศิลปินเพื่อสันติภาพ 

• 5-6 ต.ค. 2556 เวลา 19.30 น. แสดงละครเวทีเรื่อง “ผีแมวดำ” โดย กลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร (6 ต.ค. เพิ่มรอบ 14.00 น.) 

• 7 -8 ต.ค. 2556 เวลา 19.30 น. แสดงละครเวทีเรื่อง “โรโมรุส ออนเดอะร็อค” โดย คณะละครมรดกใหม่และกลุ่มละครกุหลาบแดง 

• 12 ต.ค. 2556 เวลา 13.30 น. รายการผลิบานในม่านควัน โดย สิทธิธรรม โรหิตะสุข / แนะนำหนังสือ “แผ่นดินเดียวกัน”/ เสวนาวรรณกรรม : แก้วหยดเดียว และ ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง /อ่านบทกวีนำโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี และนักกวีกว่า 20 คน / เวลา 17.00 น. มินิคอนเสิร์ต “ดนตรี กวี ภาพ” โดย สันติภาพ นาโค 

• 12-14 ต.ค. 2556 เวลา 20.00 น. แสดงละครเวทีเรื่อง “ไต้ฝุ่น” โดย สาขาวิชาการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มบี-ฟลอร์ เธียร์เตอร์

นิทรรศการภาพศิลปะเปิดให้ชม 28 กันยายน – 14 ตุลาคม 2556 มีการแสดงละครเวที เสวนาวรรณกรรม อ่านบทกวี ดนตรี ภาพยนตร์ ฯลฯ สำนักงานเลขานุการสถาบันปรีดี พนมยงค์ โทรศัพท์ 0-2381-3860-1 

 

งานที่อนุสรณ์สถาน มูลนิธิ 14 ตุลา วันที่ 14 ตุลาคม

มูลนิธิ 14 ตุลา ร่วมมือกับม.ธรรมศาสตร์, สถาปันปรีดี พนมยงค์, สถาบันพระปกเกล้า, เครื่อข่ายองค์กรประชาธิปไตยและภาคประชาสังคม จัดงานเช่นกัน โดยวันที่ 14 ต.ค.มีพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 14 รูป พิธีกรรมทางศาสนาอื่น และพิธีวางพวงมาลา โดยตัวแทนนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ญาติวีรชน 14 ตุลา ฝ่ายประชาธิปไตยและแรงงาน ชาวบ้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน และนิสิตนักศึกษา ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีการเปิดตัวแสตมป์ชุดไปรษณียากรที่ระลึก อีกทั้งยังมีการปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อปณิธานประเทศไทย โดย นายธีรยุทธ บุญมี อดีตแกนนำนักศึกษา ส่วนในช่วงบ่ายมีปาฐกถาในหัวข้อความฝันเดือนตุลา 40 ปีแห่งการแสวงหาเสรีภาพและความเป็นธรรมในประเทศไทย โดยนายเสกสรรค์ มีพิธีเปิดประติมากรรม หมุด 14 ตุลา ณ ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดนตรีวงคาราวาน

นอกจากนี้วันที่ 15 ต.ค.ได้มีการจัดแสดงสารคดี ดนตรี และปาฐกถาธรรม โดยพระไพศาล วิสาโล รวมทั้งพิธีสวดมนต์อุทิศส่วนกุศล ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ รวมทั้งยังมีการจัดแสดงนิทรรศการภาพเหตุการณ์ ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 1-20 ต.ค.ด้ว

 

งานที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง “สืบสานอุดมการณ์ตุลา” วันที่ 26-28 กันยายน

( โดย สนนท.- สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย)


26 กันยายน 2556 ห้องสภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
09.20-12.30น. -เสวนาวิชาการ"6ปีรัฐธรรมนูญ7ปีรัฐประหาร8ทศวรรษประชาธิปไตยไทย
อ.คณิน บุญสุวรรณ  อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์   อ.พนัส ทัศนียานนท์
14.00-17.00น.-เสวนาวิชาการ"19กันยาคนตัวเล็กต้านรัฐประหาร"
อ.อุเชนทร์ เชียงแสน   วัฒน วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย   ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ

27กันยายน2556 ห้องสภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
08.30-12.00น. "สงคราม/ทุนนิยม/สถานการณ์โลกสู่สถารการณ์ประเทศไทย(ฝ่ายประชาธิปไตย VS อำมาตยาธิปไตย)
บรรยายพิเศษโดย อ.พิชิต บูรพาพล
12.00-13.00น. รับประทานอาหารร่วมกัน
13.00-16.00น. "สงคราม/ทุนนิยม/สถานการณ์โลกสู่สถารการณ์ประเทศไทย(ฝ่ายประชาธิปไตย VS อำมาตยาธิปไตย)
บรรยายพิเศษโดย อ.พิชิต บูรพาพล
16.00-17.00น. สรุปขบวนการนิสิตนักศึกษาทิศทางการเคลื่อนไหวปฏิบัติการทางสังคม ออกแบบปฎิบัติการณ์ทางสังคมร่วมกัน1กิจกรรม
18.00-19.00น.รับประทานอาหารร่วมกัน
19.00-20.00น.วงคุยธรรมชาติ "นิสิตนักศึกษานักปฎิรูปนักปฎิวัติ ปัจจุบันกับการต่อสู้ทางการเมืองประวัติศาสตร์40ปี14ตุลาที่ไปไม่ถึง"
 

28 กันยายน 2556 ห้องสภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
09.20-12.30น -เสวนาวิชาการ"ประวัติศาสตร์รามคำแหงการต่อสู้ที่ถูกลืม
อ.วัฒน์ วรรลยางกูร  อ.วิสา คัญทัพ  จตุพร พรหมพันธุ์
13.30-16.00น -เสวนาวิชาการ"ประมวลกฎหมายอาญาม.112เสรีภาพในการจองจำกับการปรับตัวสถาบันกษัตริย์หลังรัฐประหารปี49"
อ.ธิการต์ ศรีนารา  อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล  อ.ปราการ กลิ่นฟุ้ง
17.30-18.30น. "คุณูประการประวัติศาสตร์40ปี14ตุลา อุดมการณ์ประชาธิปไตยประชาชน
โดย อ.เกีรงกมล เลาหไพโรจน์
เวทีปาร์ตี้ผีตุลารำลึก ร่วมประกวดแต่งกายแฟนซีหลุดโลกเดือนตุลาใว้อาลัยรำลึกวีระชนตุลา
18.00-24.00น ณ ลานสวป.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เวทีวัฒนธรรม/อภิปราย/กวีการเมือง
-ดนตรี ไฟเย็น/วงสะเลเต/วงของเรา/วงดำ จรูญภาค/วงกำปั้น/วงดินเลนฯลฯ
-กวี ปานจิตร/วาด รวี/เทคประชาชูชัย/กลุ่มกวีราษฏร์/ฯลฯ
 

หมายเหตุ วิทยากร/วงดนตรี/นักกวี/ผู้อภิปราย อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
-ภายในงาน ท่านสามารถร่วมเขียนข้อความ/กวีรำลึก เหตุการณ์ดังกล่าวและกล่าวในงานเวทีวัฒนธรรมมีการประมูลภาพถ่ายเก่าใหม่ทั้งงาน มีเสื้อรำลึกครบรอบ40ปี14ตุลา37ปี6ตุลา เสื้อรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ50/เสื้อสนนท.ต้านรัฐประหาร/เข็มกลัดรณรงค์ ภายในงาน มีหนังสือรำลึกแจกในงานจัดทำโดยกลุ่มนักศึกษา/แจกโปสเตอร์รำลึกงาน
องค์กรร่วมจัดงาน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สภานักศึกษามหาวิทยาลัย รามคำแหง
คณะจัดงานรำลึก40ปี14ตุลาเพื่อประช่ธิปไตยสมบูรณ์ องค์กรนักศึกษาแนวร่วมและองค์กรอื่นๆ

 

งานที่หอศิลป์กรุงเทพฯ TPBS

งานเปิดนิทรรศการภาพถ่าย และเปิ ดตัวรายการสารคดีเพื่อรําลึก 40 ปี 14 ตุลา

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2556 ณ หอศิลป์ กรุงเทพมหานคร ปทุมวัน

14.00 น. ลงทะเบียน

15.00 น. กล่าวต้อนรับ โดย คุณสมชัย สุวรรณบรรณ

ผู้อํานวยการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ส.ส.ท.)

15.10 น. พิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่าย “รําลึก 40 ปี 14 ตุลา2516”

โดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์  คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์  คุณละเมียด บุญมาก

ถ่ายภาพร่วมกัน

---------------------------พิธีกรเชิญแขกเข้าห้องเอนกประสงค์--------------------------------

6.00 น. พิธีกรเชิญแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนชมตัวอย่างสารคดี2 ชุด

“สัจจะวิถี 40 ปี 14 ตุลา”และ “หากไม่มีวันนั้น 14 ตุลาคม 2516”

6.30 น. พิธีกรสัมภาษณ์ผู้ผลิตรายการสารคดี

- คุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองผู้อํานวยการ ส.ส.ท.ด้านรายการและพัฒนาสื่อสาธารณะ

- คุณปัณฎา สิริกุล โปรดิวเซอร์สารคดีเรื่อง “สัจจะวิถี !" ปี #! ตุลา”

- คุณอรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ Program Director /คุณชาติชาย เกษนัส ผู้กํากับ

สารคดีเรื่อง “หากไม่มีวันนั้น 14 ตุลาคม 2516”

มอบของที่ระลึกแก่องค์กรร่วมจัดงาน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ สถาบันพระปกเกล้า

หอศิลป์ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิ 14 ตุลา ไปรษณีย์ไทย

17.00 น. ถ่ายภาพร่วมกัน

พิธีกร คุณแก้วตา ปริศวงศ์ ไทยพีบีเอส

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net