ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์: ความรุนแรงทางเพศในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในอียิปต์

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ผู้หญิงอียิปต์เผชิญกับความรุนแรงทางเพศในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่สัมผัสแตะต้องตัวไปถึงการข่มขืนในช่วงการต่อสู้ทางการเมือง ปรากฏการณ์เช่นนี้ถูกอธิบายว่าเป็นเพราะผู้ชายบางคนถือโอกาสจากช่วงเวลาที่ระบบการรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของรัฐอ่อนแอหรือล้มเหลว หรือเป็นการกระทำอย่างเป็นระบบเพื่อกันไม่ให้ผู้หญิงเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านผู้ครองอำนาจรัฐ

ตัวเลข Human Rights Watch - จำนวนการคุกคามและความรุนแรงทางเพศ 91 (ของกลุ่มอื่นบอกว่า 150 กรณี) กรณีในเวลาเพียง 4 วันก่อนการยึดอำนาจโดยทหาร และเกิดกรณีการข่มขืน 3 กรณี รวมถึงผู้หญิงอายุ 22 ชาวดัทช์ที่โดนรุมโทรมโดยผู้ชุมนุม

ผู้หญิงอียิปต์รู้สึกว่าตัวเองถูกคุกคามในช่วงสมัยรัฐบาลประธานธิบดี Morsi พวกเธอพูดถึงการถูกข่มขู่ไปจนถึงแตะเนื้อต้องตัวบนท้องถนนทุกวันที่ออกจากบ้านไปทำงานหรือทำธุระ และมองว่ารัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี Morsi พยายามเปลี่ยนวิถีชีวิตทางสังคมให้เข้มงวดตามการตีความทางศาสนามากขึ้น เช่นการลดอายุการแต่งงานตามกฎหมายของผู้หญิงเหลือ 9 ขวบ เป็นต้น หรือการบีบให้ผู้หญิงกลับเข้าไปทำหน้าที่เฉพาะในบ้าน ไม่ให้ทำงานนอกบ้านอีกต่อไป บรรดาผู้หญิงชนชั้นกลางที่ทำงานและมีบทบาทนอกบ้านไม่พอใจมาก จึงเข้าใจได้ว่าผู้หญิงหลายกลุ่มจะยินดีกับการยึดอำนาจทางการเมืองของทหาร

แต่ก็น่าสนใจว่าการรัฐประหารจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งทางการเมืองและสังคมสำหรับคนกลุ่มต่าง ๆ หรือไม่ หรือในที่สุดอียิปต์จะหลีกเลี่ยงการปะทะอย่างรุนแรงไม่ได้ระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลเดิมกับผู้ต่อต้าน

ผู้สนับสนุน Muslim Brotherhood ก็ชุมนุมประท้วง และดูเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐก็มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมด้วย
วิธีการจัดการที่น่าสนใจจากประสบการณ์อียิปต์ สำหรับสังคมที่มีการชุมนุมทางการเมืองเพื่อสนับสนุนและต่อต้านผู้ครองอำนาจ และมีการใช้ความรุนแรงทางการเมืองกับผู้หญิง

ผู้หญิงบอกว่าไม่อยากเป็นเป้าถูกทำร้าย แต่ก็อยู่นิ่งไม่ออกมาเปล่งเสียงให้เป็นที่รับรู้ไม่ได้

ผู้ชุมนุมประท้วงชายร่วมกันทำโล่ห์มนุษย์เพื่อปกป้องหญิงที่มาร่วมชุมนุม  กั้นเชือกเป็นช่องทางเดินเพื่อให้ผู้หญิงที่มาร่วมชุมนุมขึ้นมาจากสถานีรถใต้ดินได้โดยไม่ต้องถูกล่วงละเมิดโดยผู้ชายที่อยู่บริเวณนั้น การเดินตรวจตรา เพื่อคอยป้องกันผู้หญิงจากการถูกลวนลาม ได้ผลสำหรับการคุกคามในระดับไม่มากนัก

มีหลายกลุ่มที่ทำเช่นนี้อยู่ เช่น Tahrir Bodyguards, Operation Anti-Sexual Harrassment and Assault เป็นต้น
มีการตั้งข้อสังเกตว่า สังคมอียิปต์มีฐานทางวัฒนธรรมของการลวนลามทางเพศอยู่แล้ว หลังการแข่งขัน football หรือช่วงเทศกาลที่มีคนออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกันเยอะๆ

ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไร -- การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ และการวางมาตรการร่วมกันคุ้มครองผู้ชุมนุมหญิงที่น่าสนใจคือ เมื่อเกิดรัฐประหาร ผู้หญิงที่สนับสนุน Muslim Brotherhood ได้ถามว่าถึงเวลา “Sexual Jihad” หรือยัง พวกเธอหมายถึงการเสนอบริการทางเพศให้ผู้ชายร่วมขบวนการ เพื่อให้ผู้ชายมีแรงใจต่อสู้ต่อไป

ประเด็นความเป็นหญิง/ความเป็นชายซับซ้อนมากในการต่อสู้ทางการเมือง ผู้หญิงบางคนเลือกจะชุมนุมใกล้บ้าน กับครอบครัวและชุมชน การชุมนุมย่อยๆกระจัดกระจายเหล่านี้อาจไม่เป็นข่าวให้โลกรู้ แต่ก็เป็นช่องทางของคนมากมายที่จะแสดงออกทางการเมือง โดยบอกว่าไม่ต้องไปที่คนมากๆให้เป็นเป้าก็เปล่งเสียงได้

การต่อสู้ทางการเมืองมีปัญหาซ้อนกันอยู่หลายเรื่อง เรื่องเพศสภาพและความรุนแรงทางเพศก็เป็นเรื่องหนึ่ง น่าสนใจว่าคนแต่ละกลุ่มตระหนักรู้และจัดการ

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท