Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ผังเมืองที่ออกมาทั่วประเทศ 190 ผัง หมดอายุไปถึง 95 ผัง เท่ากับขาดการวางแผนการใช้ที่ดิน ทำให้เมืองขาดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

จากการรวบรวมข้อมูลของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่า ในขณะนี้ผังเมืองไทยหมดอายุไปแล้วครึ่งหนึ่ง 95ผัง เหลือที่ยังใช้อยู่ 95ผัง เท่ากับประเทศไทยขาดการวางผังเมือง จะสร้างความปั่นป่วนในการใช้ที่ดินในอนาคต ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวว่า พื้นที่ที่ครอบคลุมอยู่ในผังเมือง เป็นพื้นที่เพียงน้อยนิดในประเทศไทย และครอบคลุมเพียงส่วนน้อยของเขตเมืองทั่วประเทศ แต่ก็ยังหมดอายุไปเป็นจำนวนมาก ถ้าในอนาคตกรมโยธาธิการและผังเมืองปล่อยให้ผังเมืองหมดอายุไปจนเกือบหมด อาจเกิดคำถามว่าบทบาทของกรมโยธาธิการและผังเมืองจะทำอะไรต่อไปในอนาคต

ผังเมืองที่ (จะ) หมดอายุไป เรียงตามปี มีดังนี้

ผังเมืองที่หมดอายุ 10 ปี (2546) จำนวน 1 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุ 9 ปี (2547) จำนวน 4 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุ 8 ปี (2548) จำนวน 2 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุ  7 ปี (2549) จำนวน 5 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุ 6 ปี (2550) จำนวน 14 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุ 5 ปี (2551) จำนวน 11 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุ 4 ปี (2552) จำนวน 19 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุ 3 ปี (2553) จำนวน 10 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุ 2 ปี (2554) จำนวน 10 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุปี 1 ปี (2555) จำนวน 11 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุปี 2556 จำนวน 10 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุปี 2557 จำนวน 16 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุปี 2558 จำนวน 8 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุปี 2559 จำนวน 20 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุปี 2560 จำนวน 42 ผัง

ผังเมืองที่หมดอายุปี 2561 จำนวน 7 ผัง

ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น กรมโยธาธิการและผังเมือง ก็พยายามที่จะให้ท้องถิ่นจัดทำผังเมืองรวม แต่ท้องถิ่นก็ไม่มีประสบการณ์และงบประมาณ  จึงไม่สามารถดำเนินการได้  ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยโดยกรมโยธาฯ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการวางผังเมืองจึงควรดำเนินการเอง โดยประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช่การรับฟังเสียงประชาชนแต่เพียงในรูปแบบ โดยประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่อง และให้มีความโปร่งใสในการวางผังทุกขั้นตอน

ในการวางผังเมือง ต้องประสานกับกับกิจการไฟฟ้า ประปา ทางหลวง รถไฟฟ้า ช่วยกันร่างผังเมืองนี้เป็นแผนแม่บทของหน่วยงานของตน ส่วนในพื้นที่อนุรักษ์ชนบทจะห้ามก่อสร้างถนนหรือขยายไฟฟ้า ประปาไปบริเวณดังกล่าว ประสานกับการเคหะแห่งชาติและหน่วยงานอื่นโดยควรใช้วิธีจัดรูปหรือเวนคืนที่ดินชานเมือง สร้างเมืองใหม่แบบปิดล้อมแต่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่ใจกลางเมืองโดยตรง แล้วจัดสรรที่ดินที่มีสาธารณูปโภคครบ (serviced land) เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์ธุรกิจ เป็นต้น  ประสานกับกรมธนารักษ์เพื่อนำที่ดินใจกลางเมืองมาพัฒนาเป็นศูนย์ธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจมีการรวมศูนย์ สาธารณูปโภคไม่ต้องขยายตัวอย่างไร้ขอบเขต เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจด้วยกันเองในพื้นที่  และยังประสานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดสร้างนิคมให้โรงงานได้ใช้ในราคาถูกเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม และเพื่อห้ามการก่อสร้างโรงงานตามท้องนาหรือย่านชานเมืองเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

การว่าจ้างผู้จัดทำผังเมือง ควรทำให้เกิดความโปร่งใส ขั้นตอนการวางผังเมืองก็ควรโปร่งใส มีการประชุมชาวบ้านที่ชาวบ้านทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจริง มีการตอบสนองต่อข้อซักถามของชาวบ้านอย่างแท้จริง มีกระบวนการรายงานผลและการตรวจสอบในแต่ละขั้นตอน  ไม่ใช่การวางผังเมืองโดยใช้ความเชื่อแบบเดิม ๆ (Conventional Believes) หรือการลอกเลียนจากประเทศตะวันตก ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net