Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

<--break->

หลายคนคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันกูเกิ้ลเข้ามามีอิทธิพลในการรับทราบและค้นหาข้อมูลข่าวสารในชีวิต ประจำวันของเราอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ การถามอากู๋ดูจะเป็นหนทางที่ง่ายและสะดวกสบายที่สุดในการได้มาซึ่งคำตอบของ ประเด็นปัญหาต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ตั้งแต่ข่าวซุบซิบนินทาดารา การเมือง รวมไปถึงข้อสงสัยทางวิชาการ กูเกิ้ลสามารถหาคำตอบให้เราได้หมดภายในเวลาไม่กี่วินาที
 
อย่างไรก็ตาม ภาวะที่เราต้องพึ่งพากูเกิ้ลเช่นนี้ก็อาจมีอันตรายที่แฝงตามมาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากกูเกิ้ลเป็นระบบเปิดที่ค้นหาข้อมูลจากข่าวสารต่างๆที่ถูกโพสต์บนโลกอินเตอร์เน็ต โดยที่มิได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดังเช่นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสื่ออื่นๆ ผู้บริโภคจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้วิจารณญาณอย่างสูงในการกลั่นกรอง   เลือกนำเฉพาะผลการหาที่น่าเชื่อถึงมาใช้เป็นฐานประกอบการตัดสินใจของตน
 
หากเราเปรียบเทียบกูเกิ้ล กับหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป ในกรณีที่หนังสือพิมพ์ในฐานะสื่อลงข่าวเท็จที่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือถึงขั้นดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิ์ฟ้องร้องให้หนังสือพิมพ์เขียนบทความแถลงข้อเท็จจริง (Gegendarstellung) เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้อ่าน รวมถึงออกบทขอขมา อีกทั้งยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเป็นตัวเงินได้ด้วย ประเด็นที่น่าขบคิดคือ หากกูเกิ้ลนำเสนอข้อความเท็จดังเช่นกรณีข้างต้น ผู้เสียหายจะได้รับสิทธิดังกล่าวหรือไม่
 
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างคร่าวๆที่เกิดขึ้นจริงในประเทศเยอรมนีประกอบดังนี้ นางเบทิน่า วูฟ  เป็นคู่สมรสของอดีตประธานาธิบดีของเยอรมัน มีข่าวแพร่กระจายบนโลกออนไลน์ว่า ในอดีตเธอเคยทำงานเป็นหญิงขายบริการ มีทั้งการเขียนบล็อก "แฉ" เบื้องหลังชีวิตของเธอ นิตยสารซุบซิบออกข่าวไปในทางเสื่อมเสีย

เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อนายกึนเธ่อ เยาว์ พิธีกรรายการทอล์กโชว์คนดังขวัญใจปวงชนนำเรื่องเธอ มาพูดออกสื่อเป็นนัยๆ นางเบทิน่า วูฟ ทนไม่ไหวจึงสั่งให้ทนายร่อนจดหมายเตือนสื่อทุกแขนงห้ามเขียนถึงปูมหลังของเธอ มิเช่นนั้นจะถูกฟ้องร้องค่าเสียหาย เพื่อยืนยันความสัตย์จริง นางเบทิน่า วูฟ ยังได้ไปสาบานยืนยันต่อหน้าศาล (eidesstatliche Versicherung) ว่านางไม่เคยเป็นสาวกลางคืนมาก่อน สื่อทุกสื่อจึงเลิกลงข่าวนางเพราะเกรงผลทางกฎหมายที่อาจตามมา ยกเว้น.....กูเกิ้ล
 
ในกรณีของกูเกิ้ลนี้ ค่อนข้างจะแตกต่างจากสื่อทั่วไป นางเบทิน่า วูฟ ตำหนิกูเกิ้ลว่า เมื่อคนทั่วไปใส่ชื่อ นางเบทิน่า วูฟ ลงไปในช่องหาข้อมูล กูเกิ้ลจะมีระบบเติมคำที่ใช้ค้นหาอัตโนมัติ (autocomplete function) เติมคำว่าโสเภณีต่อท้ายชื่อนาง ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า นางเคยทำงานกลางคืนจริง ซึ่งทำให้นางและสามีนางที่เป็นถึงอดีตประธานาธิบดีได้รับความเสื่อมเสียง ด้านชื่อเสียงเกียรติยศอย่างร้ายแรง
 
กูเกิ้ลตอบโต้ข้อกล่าวหา ของ นางเบทิน่า วูฟ ว่า กูเกิ้ลเป็นเพียงเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่ประมวลผลการหาโดยใช้หลัก Algorithmen  คำใดที่ถูกหาบ่อยครั้ง จะถูกระบบ autocomplete function เติมท้ายโดยอัตโนมัติ มิได้มีมนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว การดูหมิ่นศักดิ์ศรีนั้นต้องกระทำโดยมนุษย์ ดังนั้น เครื่องจักรด่าไม่ได้ นอกจากนั้นแล้ว ผู้บริโภคย่อมทราบดีว่าการผสมข้อความระหว่างคำที่ต้องการค้นหากับคำที่มาต่อ ท้ายท้ายอัตโนมัติเป็นผลจากกระบวนการคอมพิวเตอร์ มิใช่เป็นความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่กูเกิ้ลแสดงออกมา
 
อย่างไรก็ตาม ศาลสูงสุดของเยอรมันมีคำตัดสินในคดีที่คล้ายคลึงกันในทางตรงกันข้าม โดยให้เหตุผลว่า แม้ว่าข้อความที่มาเติมท้ายจะมิได้เป็นการแสดงความเห็นของมนุษย์จริง แต่ก็สามารถทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดและสร้างความเสื่อมเสียกับผู้ที่ ถูกกล่าวถึงได้ คำพุดใดๆที่พูดปากต่อปากกันในวงกว้างย่อมมีพลังที่จะกลับผิดให้เป็นถูกได้ กอรปกับการที่กูเกิ้ลเป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากต่อการรับทราบข้อมูลในยุค ปัจจุบันย่อมมีหน้าที่ต้องตรวจสอบแก่นความจริงของการผสมข้อความระหว่างคำที่ ต้องการค้นหากับคำที่มาต่อท้ายท้ายอัตโนมัติ และเมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นเท็จ ย่อมต้องลบข้อความนั้นออก มิฉะนั้นก็อาจถูกเรียกร้องค่าเสียหายได้ดังเช่นสื่อทัวไป
 
นอกจากนี้แล้ว ข้ออ้างที่ว่า ข้อความที่เป็นผลผลิตของการผสมคำเป็นการกระทำทางเทคนิค มิใช่การกระทำของมนุษย์ ก็ไม่ถูกทั้งหมด เนื่องจากเบื้องหลังกระบวนการทางเทคนิค จะต้องมีมนุษย์ อาทิ ผู้เขียนโปรแกรมควบคุมอยู่ การที่จะโยนความผิดทุกอย่างให้กับเทคนิดย่อมกระทำไม่ได้ กรณีที่แสดงให้เห็นว่ากูเกิ้ลมีอิทธิพลในการควบคุม autocomplete function คือ กรณีที่ค่ายเพลงและหนังเรียกร้องให้กูเกิ้ลลบหรือห้ามเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ เว็บไฟล์แชริ่งต่างๆที่เปิดโอกาสให้ดาวโหลดไฟล์เพลงหรือหนังที่มีลิขสิทธิ์ ได้ เมื่อมีการค้นหาไฟล์เพลงหรือหนังดังกล่าว
 
จากกรณีนี้แสดงให้เห็นว่า เสรีภาพบนโลกอินเตอร์เน็ตย่อมต้องรู้จักขอบเขต การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเกราะกำบังแล้วลอบทำร้ายคนอื่นด้วยการเขียนข้อความ ให้คนอื่นเสื่อมเสียย่อมสามารถถูกติดตามและนำตัวผู้อยู่เบื้องหลังมาลงโทษได้ แม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิ้ลก็ล้มมาแล้ว ปลาเล็กปลาน้อยจะเขียนอะไรจึงพึงระวัง

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net