Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ประวัติศาสตร์การแพทย์ได้บันทึกการรักษาด้วยวิธีการถ่ายเลือดระหว่างสิ่งมีชีวิตมานานแล้วโดยเชื่อว่าการถ่ายเลือดครั้งแรกในมนุษย์เริ่มขึ้นเมื่อปี 1667 โดย Jean Baptiste Denis หมอส่วนตัวของ Louise XIV ได้ทำการถ่ายเลือดครั้งละ 3 ออนซ์ ของเด็กอายุ 15 ที่มีอาการไข้ กับเลือดของแกะครั้งละ 9 ออนซ์ และประสบความสำเร็จในการรักษา[1] อย่างไรก็ตามการถ่ายเลือดระหว่างมนุษย์ด้วยกันกลับไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากพบว่าผู้รับเลือดบางคนเกิดสภาวะเม็ดเลือดแดงแตกและเสียชีวิตตามมา การถ่ายเลือดระหว่างมนุษย์ประสบความสำเร็จโดนไม่มีปฏิกริยาเม็ดเลือดเงแตกครั้งแรกเมื่อปี 1818 โดยสูตินรีแพทย์ James Blundell โดยเป็นการประสบความสำเร็จก่อนที่จะทราบถึงกลไกการทำงานดังกล่าวและกรุ๊ปเลือด ตราบจนปี 1901 Karl Landsteiner ได้ค้นพบกรุ้ปเลือด ABO และในปี 1937 Alexander Weiner ค้นพบกรุ้ปเลือด Rhesus ซึ่งส่งพ้นให้ความรู้ด้านการถ่ายเลือดพัฒนาอย่างมากและเกิดการตรวจเลือดคัดกรองก่อนว่ากรุ้ปเลือดผู้ให้เข้ากับผู้รับได้หรือไม่และป้องกันการเสียชีวิตเนื่องจากการถ่ายเลือดได้เป็นอย่างดี 

ผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองทำให้ความต้องการเลือดเพื่อใช้ในการรักษาทหารที่บาดเจ็บในสนามรบเพิ่มมากขึ้น และเทคโนโลยีการให้เลือดเก็บรักษาเลือดและเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของผู้ให้และผู้รับก็พัฒนามากขึ้นจนถึงปัจจุบันเช่นกัน เช่นเทคโนโลยีการแยกพลาสมา ออกจากเลือด เทคโนโลยีการตรวจจับเชื้อซิฟิลิสในเลือด ตรวจจับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัส เฮชไอวีเป็นต้น รวมถึงเทคโนโลยีในการใช้ส่วนประกอบของเลือดเพื่อการรักษา เช่น การนำเกร็ดเลือดเข้มข้นรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย

เทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้นช่วยให้สามารถเพิ่มความสามารถคัดกรองเลือดผู้บริจาคที่อาจเป็นอันตรายกับผู้รับ คงไม่มีผู้รับเลือดคนใดที่หลังจากการรักษาแล้วอยากป่วยด้วยโรคที่ติดต่อจากกระแสเลือดตามมา การบริจาคเลือดจึงต้องคำนึงถึงควมปลอดภัยทั้งของผู้บริจาคและผู้รับบริจาค การคัดกรองเลือดกลายมาเป็นหัวข้อสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อ เอชไอวี ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 ในหลายๆประเทศพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อไวรัสตับอักเสบเป็จขำนวนมาก ทั้งนี้เกิดจากบริษัทยาที่เกี่ยวข้องรับบริจาคเลือดและซื้อเลือดจากกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ชายกลุ่มรักร่วมเพศ นักโทษในคุกเป็นต้น[2] โดยเลือดจากบริษัทดังกล่าวได้ถูกขายออกไปทั่วโลก

การคัดกรองโดยทั่วไปมีสองขั้นตอนคือ การคัดกรองด้วยแบบสอบถามก่อนการบริจาคเลือด และการคัดกรองด้วยผลตรวจเลือดบริจาคจากห้องปฏิบัติการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อความปลอดภัยของผู้ให้และผู้รับเลือด สำหรับความปลอดภัยของผู้ให้เลือดจะเป็นการกำหนดเกณฑ์สุขภาพขั้นต่ำของผู้ให้เพื่อป้องกันว่าหลังจากให้เลือดแล้วจะไม่เป็นอันตราย เช่น การกำหนดน้ำหนักตัวขั้นต่ำ การถามในแบบสอบถามถึง โรคประจำตัว หรือโรคที่อาจได้รับผลเสียจาการให้เลือด เป็นต้น

สำหรับความปลอดภัยของผู้รับเลือด คือการตรวจคัดกรองเลือดบริจาคที่สามารถส่งผลเสียให้กับผู้รับออกไป ซึ่งการคัดกรองก่อนการบริจาคได้แก่ การใช้แบบสอบถามและการตรวจสุขภาพทั่วไปของผู้ให้เลือด การคัดกรองก่อนการบริจาคนอกจากเพื่อความปลอดภัยของผู้รับแล้วยังสามารถช่วยลดต้นทุนจาก ลดค่าใช้จ่ายในการเจาะเลือดและรักษาเลือดที่เป็นอันตรายไม่สามาถถ่ายให้ผู้อื่น การคัดกรองด้วยแบบสอบถามเป็นการคัดกรองที่มีต้นทุนถูกที่สุด (กระดาษแผ่นเดียว) แต่มีประสิทธิภาพในการคัดกรองสูงถ้าผู้ตอบแบบสอบถามตอบตามความเป็นจริง โดยในแบบสอบถามจะถามถึงข้อมูลในระดับปัจเจกชนที่มีความเสี่ยงสูงว่าเลือดของผู้บริจาคอาจเป็นอันตรายต่อผู้รับ เช่น ข้อมูลการเจ็บป่วย ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลการเดินทางไปยังประเทศที่มีโรคระบาดเป็นต้น การตรวจร่างกายทั่วไปที่ไม่ใช้ห้องปฏิบัติการเป็นอีกวิธีที่คัดกรองก่อนบริจาคเลือด เช่น ตรวจอาการไข้ของผู้ป่วยก็อาจคัดกรองสงสัยก่อนได้ว่าผู้ป่วยมีเชื้อมาเลเรีย เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการใช้แบบสอบถามก็มีข้อเสียคือ ผู้บริจาคเลือดสามารถปิดบังข้อเท็จจริงได้โดยที่อีกฝ่ายไม่สามารถอ่านใจได้ หรือบางกรณีที่ผู้บริจาคไม่รู้ข้อมูลส่วนตัวดังกล่าว เช่น ข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว กรณีคำถามว่าคู่รักของท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ ผู้บริจาคอาจปิดบังข้อมูลที่เป็นจริง หรือไม่อาจทราบได้จริงๆว่าคู่รักของตนเป็นโรคดังกล่าวจริงหรือเปล่า

ดังนั้นแบบสอบถามจึงไม่เพียงพอและต้องการผลตรวจจากห้องปฏิบัติการควบคู่อีกครั้งเพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยของเลือดบริจาค อย่างไรก็ตามการใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัตอการก็มีราคาแพงและขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ว่ามีความถูกต้องสูงในการตรวจเจอสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้รับหรือไม่ อย่างไรก็ตามการใช้ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการถึงแม้ไม่พบสิ่งที่เป็นอันตรายก็ไม่สามารถยืนยันได้ร้อยเปอร์เซนต์ว่าปลอดภัยในทุกกรณี เช่น ช่วง Silence period การตรวจเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดในช่วงต้นของการติดเชื้อเข้าร่างกาย เราอาจจะตรวจไม่พบผลบวก ดังนั้นการคัดกรองผู้บริจาคด้วยการใช้แบบสอบถามจึงทำหน้าที่เติมเต็มในการช่วยกรองกลุ่มผู้มีความเสี่ยงออกก่อนในระดับหนึ่ง และต้องใช้แบบสอบถามและผลจากห้องปฏิบัติการควบคู่กันไป

และเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและตรวจห้องปฏิบัติการมีราคาแพง ในบางกรณีจึงมีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงออกก่อนโดยใช้ข้อมูลทางสถิติเป็นตัวชี้วัด ซึ่งข้อมูลสถิติเป็นข้อมูลระดับกลุ่มประชากรโดยมิใช่ข้อมูลระดับปัจเจกชน ข้อมูลความชุกเป็นการแสดงถึงจำนวนของคนที่เป็นโรคในแต่ละกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันเป็นอย่างไร เช่น การเปรียบเทียบความชุกของผู้ที่มี Seropositive ในกลุ่มประชากรรักเพศเดียวกันและกลุ่มประชากรรักต่างเพศ เป็นข้อมูลระดับกลุ่มประชากรที่ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมเพศเสี่ยงมากน้อยอย่างไร มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยอย่างไร เป็นต้น ในประเทศฝรั่งเศสความชุกของผู้มีเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรที่รักต่างเพศคือ 6 ใน 100 000คน ในขณะที่ประชากรรักเพศเดียวกันมีความชุกของเชื้อเอชไอวีที่ 758 ใน 100 000คน ความเสี่ยงของชายรักเพศเดียวกันในการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์ต่างเพศหรือกลุ่มผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันถึง 200 เท่า[3]

อย่างไรก็ตามถึงแม้มีตัวชี้วัดถึงความเสี่ยงของกลุ่มชายรักร่วมเพศในฝรั่งเศส และคัดกรองกลุ่มดังกล่าวในการให้บริจาคเลือดออกไปก็ตาม การกระทำดังกล่าวได้ถูกตีความหมายว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและมีการเรียกร้องเดินขบวนเพื่อสิทธิในการบริจาคเลือดของผู้รักเพศเดียวกัน Alexander Marcel ชายรักร่วมเพศได้ทำการอดอาหารประท้วงกรณีการปฏิเสธการบริจาคเลือดของกลุ่มรักเพศเดียวกัน[4] และส่งผลให้รัฐมนตรีสาธารณสุข Marisol Tourraine ประกาศว่าการบริจาคเลือดของกลุ่มรักเพศเดียวกันจะไม่เป็นข้อห้ามในประเทศฝรั่งเศส[5]

           




[1] http://www.ints.fr/SangTransfHitoric.aspx

[2] http://en.wikipedia.org/wiki/Contaminated_haemophilia_blood_products

[3] http://www.dondusang.net/rewrite/article/4271/les-dons-de-sang/les-contre-indications-au-don-du-sang/pourquoi-les-rapports-sexuels-entre-hommes-sont-une-contre-indication-au-don-de-sang.htm?idRubrique=980

[4] http://www.20minutes.fr/article/342323/France-Un-homosexuel-en-greve-de-la-faim-pour-pouvoir-donner-son-sang.php

[5] http://www.20minutes.fr/article/953461/gays-pourront-bientot-donner-sang

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net