อวัตถุศึกษากับอธิป: แนวโน้มกฎหมายสอดส่องอินเทอร์เน็ตในรัสเซีย ไอซ์แลนด์ สหรัฐ ฯลฯ

ประมวลข่าวสารลิขสิทธิ์กับ ‘อธิป จิตตฤกษ์’ นำเสนอเรื่องกม.สอดส่องเน็ตที่อาจเริ่มนำมาใช้ในหลายประเทศ, ม.ฮาร์วาร์ดคาดอุตสาหกรรมการศึกษาจะถูกสั่นคลอนโดยสื่อออนไลน์, การเคลื่อนไหวทางสังคมที่ผสานโลกออนไลน์-ออฟไลน์

 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

 

11-02-2013

รายงานจากกลุ่มอุตสาหกรรมดนตรีอังกฤษเล่นกับสถิติเพื่อที่จะชี้ว่าพวก "โหลดเพลง" แบบเถื่อนมีการจับจ่ายกับงานดนตรีถูกต้องตามลิขสิทธิ์มากกว่าพวกที่ไม่ทำสำเนาเถื่อน

รายงานชี้ว่าผู้ที่โหลดเพลงอย่างถูกต้องตามกฎหมายมียอดการจับจ่าย 33.43 ปอนด์ต่อปี ในขณะที่พวกโหลดเพลงแบบเถื่อนในภาพรวมมียอดการจับจ่าย 26.64 ปอนด์ต่อปี

อย่างไรก็ดี ในบรรดานักโหลดเพลงเถื่อน สามารถแยกได้เป็นนักโหลดเพลงที่ไม่เคยจ่ายเงินสักปอนด์เดียวซื้องานดนตรีในปีๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นคนกลุ่มเล็กกว่านักโหลดเพลงเถื่อนที่ยังซื้องานดนตรีถูกต้องตามลิขสิทธิ์ด้วย พวกนี้มีประมาณเกินครึ่งของนักโหลดเพลงเถื่อนทั้งหมด และคนกลุ่มนี้มีมียอดการจับจ่าย 48.26 ปอนด์ต่อปี ซึ่งมากกว่าคนที่ไม่ดาวน์โหลดเพลงแบบเถื่อนเลยด้วยซ้ำ

กล่าวโดยสรุปคือนักโหลดเพลงเถื่อนที่จ่ายเงินซื้องานดนตรีก็เป็นผู้บริโภคงานดนตรีที่จริงจังกว่าคนที่ไม่โหลดเพลงเถื่อนเลยนั่นเอง

News Source:  http://torrentfreak.com/music-pirates-are-cheapskates-some-of-them-130210/  , http://www.techdirt.com/articles/20130210/15563721940/lies-damn-lies-statistics-how-bpi-cherry-picks-its-averages-to-pretend-file-sharers-spend-less.shtml

 

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ ยืนยันว่าการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่รัฐไม่ถือว่าเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ทางกระทรวงฯ ยังยืนยันอีกว่าการตรวจค้นที่ว่านี้สามารถทำได้ในรัศมี 100 ไมล์จากชายแดนได้โดยไม่ต้องใช้หมายค้น

นี่หมายความว่า ณ เมืองดีทรอยต์ (ที่ห่างจากชายแดนสหรัฐ/แคนาดาไม่ถึง 100 ไมล์) เจ้าหน้าที่สามารถจะทำการค้นคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต มือถือ ฯลฯ ได้โดยไม่ต้องใช้หมายค้นใดๆ ทั้งสิ้น

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130208/17415621927/homeland-security-not-searching-your-laptop-doesnt-benefit-your-civil-liberties-so-we-can-do-it.shtml

 

12-02-2013

แคลิฟอร์เนียออกกฎหมายว่า Private Policy ของพวกบริการต่างๆ ต้องเขียนด้วยถ้อยคำกระชับและยาวไม่เกิน 100 คำ

อย่างไรก็ดีการบังคับให้เขียน Private Policy ของบริการต่างๆ ให้สั้นๆ แบบนี้ก็ดูจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหา Private Policy ยาวเกินไป ผู้ใช้บริการไม่อ่านดังที่เป็นอยู่อย่างเดียว แต่จะเปิดช่องว่างให้ Private Policy ใช้ถ้อยคำกว้างๆ ที่จะทำให้มีปัญหาได้ภายหลังเช่นเดียวกัน

และที่ตลกที่สุดคือกฎหมายนี่มีความยาว 336 คำ

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130209/02174421930/proposed-law-privacy-policies-must-be-less-than-100-words-says-336-word-bill.shtml

 

13-02-2013

รัฐบาลสหรัฐหนุนศาลสูงให้ยืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีแชร์ไฟล์ หรือยืนยันว่าค่าเสียหาย 9,250 ต่อการโหลดและแชร์เพลงๆ หนึ่งนี่เป็นมูลค่าที่ถูกต้องแล้ว ไม่ได้ละเมิดรัฐธรรมนูญดังที่ทนายฝ่ายจำเลยกล่าวอ้าง

อนึ่ง คดี RIAA vs. Thomas นี่เป็นคดีแชร์ไฟล์คดีแรกในอเมริกา (และน่าจะในโลก) ที่เรื่องได้ดำเนินไปถึงศาลสูง การฟ้องร้องคดีแชร์ไฟล์ส่วนใหญ่ (ที่มักจะเป็นการแชร์เพลงหรือหนัง) จะไปจบที่การที่จำเลยจ่ายค่ายอมความ ดังนี้มาตรฐานค่าเสียหายการแชร์ไฟล์ของคดีนี้จึงสำคัญเพราะจะเป็นมาตรฐานต่อไป

คดีนี้ดำเนินมากกว่าครึ่งทศวรรษแล้ว และคนที่โดนฟ้องทั้งหมดก็มีราว 35,000 รายด้วยกัน และ Thomas ก็แทบจะเป็นคนเดียวที่สู้คดีมาถึงระดับนี้ และการต่อสู้ในช่วงหลังๆ ก็จะเป็นเรื่องของค่าเสียหายที่เหมาะสมแก่การแชร์เพลงซึ่งปริมาณค่าเสียหายก็แกว่งไปมาตลอดการพิจารณาคดี

News Source:  http://torrentfreak.com/u-s-govt-harsh-punishments-needed-to-deter-music-pirates-130212/, http://www.techdirt.com/articles/20130212/17460521956/obama-administration-once-again-says-222000-sharing-24-songs-is-perfectly-reasonable.shtml , http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130211government 

 

ประธานของนิตยสาร Heart ชี้ว่า e-reader ขนาดเล็กเช่น iPad Mini และ Nook ทำให้ยอดการสมัครสมาชิกอ่าน e-Magazine ในหมู่ผู้หญิงสูงขึ้น

News Source:  http://paidcontent.org/2013/02/12/women-finally-embracing-online-magazine-thanks-to-7-inch-screens-hearst-president/

 

14-02-2013

กลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ฟินแลนด์ทำการ "ก็อปปี้" โค้ดของเว็บ The Pirate Bay ในการรณรงค์ต่อต้านละเมิดลิขสิทธิ์

ซึ่งทาง The Pirate Bay ก็ยืนยันว่าจะฟ้องเช่นกัน

ทั้งนี้กลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ของฟินแลนด์นาม CIAPC นี้ก็เป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่ให้ตำรวจบุกเข้ายึดแล็ปท็อปลายหมีพูห์ของเด็กวัย 9 ขวบซึ่งเป็นข่าวไปทั่วโลก

และการ "ก็อปปี้" เว็บ The Pirate Bay นี้ก็เกิดขึ้นในภาวะที่ศาลฟินแลนด์สั่งให้บรรดา ISP บล็อคเว็บ The Pirate Bay แล้วด้วย ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์ก็เพิ่งยืนคำตัดสินศาลชั้นต้นให้การบล็อคดำรงต่อไป

News Source:  http://torrentfreak.com/anti-piracy-group-rips-off-pirate-bay-website-faces-lawsuit-130213/, http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130211piratebay

 

Clay Christensen ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจของ Harvard ทำนายว่าอุตสาหกรรมการศึกษาจะถูกสั่นคลอนอย่างจริงจังโดยสื่อการศึกษาออนไลน์ต่างๆในเวลาไม่เกิน 5 ปีแน่นอน

ทั้งนี้ Christensen ทำนายเพิ่มอีกว่าระบบมหาวิทยาลัยที่ยังเหลือรอดอยู่หลังจากการเปลี่ยนแปลง จะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นหลักสูตรแบบผสม โดยบางวิชาให้นักศึกษาไปเรียนกับบรรดาแหล่งการศึกษาออนไลน์ต่างๆ และบางวิชาทางมหาวิทยาลัยก็สอนเอง

ซึ่งขณะนี้ทาง Harvard Business School ก็เลิกสอนบัญชีแล้วเนื่องจากมีผู้ให้บริการหลักสูตรออนไลน์ที่ดีเยี่ยมมากๆ แบบที่ทาง Harvard Business School สู้ไม่ได้

News Source:  http://gigaom.com/2013/02/13/clay-christensen-first-the-media-gets-disrupted-then-comes-the-education-industry/

 

15-02-2013

เนเธอร์แลนด์ยืนยันว่าฐานข้อมูลและงานอันไม่มีความเป็นต้นแบบต่างๆ ไม่มีลิขสิทธิ์ ส่วนยุโรปในภาครวมว่าฐานข้อมูลมีลิขสิทธิ์

ที่น่าสังเกตคือฐานข้อมูลนั้นไม่นับว่ามีลิขสิทธิ์ในอเมริกา แต่กลับมีลิขสิทธิ์ในยุโรป อย่างไรก็ดีในขณะเดียวกันในยุโรปการซื้อขาย “โปรแกรมมือสอง” ก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่การกระทำเดียวกับกลับมีแนวโน้มว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในสายตาของศาลอเมริกัน

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130213/02492421960/dutch-government-realizes-that-non-original-works-dont-deserve-copyright.shtml , http://www.techdirt.com/articles/20130211/08050521945/europes-database-right-could-throttle-open-data-moves-there.shtml

 

รัสเซียให้กฏหมายอินเทอร์เน็ตใหม่ระงับการแสดงความเห็นผู้วิจารณ์รัฐบาล

อนึ่ง กฏหมายนี้ผ่านขึ้นมาภายใต้เจตจำนงว่าจะเป็นกฎหมายคุ้มครองเด็กจากบรรดาข้อมูลอันตรายบนอินเทอร์เน็ต และมันก็มีกลไกที่จะทำให้รัฐสามารถบล็อคเว็บไซต์ต่างๆ ได้โดยสะดวกไม่ว่าจะเกี่ยวอะไรกับเด็กหรือไม่

ซึ่งดูจะไม่ใช่การเซ็นเซอร์การแสดงออกทางการเมืองแรกในโลกที่อ้าง "การคุ้มครองเด็ก"

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130211/02523121943/russia-uses-new-internet-censorship-bill-to-silence-prominent-reporters-who-criticized-government.shtml

 

แคนาดาหยุดการพิจารณากฎหมายสอดส่องอินเทอร์เน็ต C-30 ส่วนอเมริกานำกฎหมายสอดส่องอินเทอร์เน็ต CISPA กลับมาพิจารณา

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130213/10591421965/another-victory-public-speaking-up-canada-drops-digital-spying-bill-now.shtml, https://www.eff.org/deeplinks/2013/02/cispa-privacy-invading-cybersecurity-spying-bill-back-congress

 

Rick Falkvinge เตรียมออกหนังสือเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนปฏิบัติการเคลื่อนไหวทางสังคมออนไลน์และออฟไลน์ประสานกัน

หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า Swarmwise และ Falkvinge ใช้คอนเซ็ปต์ Swarm เพื่อสื่อถึงกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบที่เป็นเครือข่ายหลวมๆ ที่มีจุดร่วมและวิธีการร่วมกัน แชร์ข้อมูลในทุกระดับร่วมกัน ประสานงานกันอย่างรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ต และแบ่งงานมหาศาลของ "องค์กร" ทำแบบอาสาสมัคร

ทั้งนี้ Swarm ต่างจากองค์กรทางการเมืองแบบเก่าที่มีลำดับชั้นในองค์กรและการดำเนินการตามระเบียบที่เคร่งครัด มีลำดับชั้นการเปิดเผยข้อมูลกับคนระดับต่างๆ ไม่เท่ากันทำให้เกิดความไม่โปร่งใส และต่างจากการรวมตัวอย่าง Anonymous และ Occupy ที่ไม่มีทั้งเป้าหมายและวิธีการร่วมกันที่ชัดเจน

สามารถอ่านบทแรกของหนังสือเล่มนี้ได้ในเว็บไซต์ของ Falkvinge (ตามลิงก์ด้านล่าง)

News Source:  http://falkvinge.net/2013/02/14/swarmwise-the-tactical-manual-to-changing-the-world-chapter-one/

 

16-02-2013

ผู้ดูแลมรดกของ Arthur Conan Doyle ถูกนักวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์ “แฟนฟิค” Sherlock Holmes ฟ้องเพื่อให้ศาลพิสูจน์ว่า Sherlock Holmes เป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ

ทั้งนี้ ทางผู้ดูแลมรดกนั้นเรียกร้องค่าลิขสิทธิ์จากนักวิชาการดังกล่าวในการทำหนังสือรวมเรื่องสั้นต่างๆ ที่ใช้ตัวละคร Sherlock Holmes และไปล็อบบี้พวกสำนักพิมพ์ว่าถ้าไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์จะฟ้อง ส่งผลให้สำนักพิมพ์ไม่ยอมพิมพ์
นักวิชาการดังกล่าวจึงฟ้องผู้ดูแลมรดกเพื่อให้ศาลประกาศชัดเจนว่าหนังสือเขาไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะ Sherlock Holmes เป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะไปเรียบร้อยแล้ว
อนึ่ง ในทางเทคนิคแล้วหนังสือของ Arthur Conan Doyle นั้นมีทั้งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะและที่ยังไม่หมดลิขสิทธิ์ และคดีนี้ก็เป็นไปเพื่อพิสูจน์ว่า “ตัวละคร” Sherlock Holmes และตัวละครหลักต่างๆ นั้นถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะที่ใครจะนำไปแต่งเป็นเรื่องไม่ก็ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ใครทั้งนั้น

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130215/15093722002/arthur-conan-doyle-estate-sued-to-show-that-sherlock-holmes-is-public-domain.shtml, http://free-sherlock.com/2013/02/14/free-sherlock/

 

รายงานเพื่อการอนุรักษ์งานบันทึกเสียงแห่งชาติของสหรัฐรายงานว่า งานบันทึกเสียงในหอจดหมายเหตุจำนวนกว่า 6 ล้านชิ้นกำลังเน่าเปื่อยผุพังไปขณะนี้ เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาตให้ห้องสมุดทำสำเนางานบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์แม้ว่าจะทำไปเพื่อเหตุผลในการเก็บรักษาก็ตาม

รายงานชี้เพิ่มอีกว่า "งานบันทึกเสียงจำนวนมากก่อนปี 1972 จะเน่าเปื่อยผุพังก่อนปี 2067 อันเป็นปีที่งานเหล่านี้จะกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ"

News Source:  http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130215archives

 

17-02-2013

หนังโป๊ "ล้อเลียน" The Fifty Shades of Grey ถูกฟ้องโดยสตูดิโอที่เตรียมจะทำหนังเรื่องนี้

Universal Studios LLC และ Fifty Shades Ltd ผู้ร่วมกันสร้างหนังจากหนังสือชื่อดัง The Fifty Shades of Grey ฟ้อง Smash Pictures Inc. ที่ทำหนังโป๊ Fifty Shades of Grey: A XXX Adaptation ออกมา ฐานละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า

ทั้งนี้ในแง่การละเมิดลิขสิทธิ์หนังโป๊ดังกล่าวอาจได้คุ้มครองการละเมิดลิขสิทธิ์ในฐานะ "การล้อเลียน" ในฐานะที่เป็นคำวิจารณ์ทางการเมืองอันได้รับการคุ้มครองใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของศาล

News Source:  http://www.jdsupra.com/legalnews/need-a-last-minute-valentines-day-gift-13269/

 

ศาลออสเตรเลียตัดสินว่ายีนส์นั้นนำมาจดสิทธิบัตรได้ (ถ้าแยกออกมาจากร่างกายมนุษย์แล้ว)

ทั้งนี้ศาลสูงสุดของอเมริกาก็กำลังจะตัดสินว่ายีนส์ตัวเดียวกันนี้สามารถนำมาจดสิทธิบัตรได้หรือไม่เช่นกัน

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130215/03274221993/australian-court-says-genes-are-patentable.shtml

 

ไอซ์แลนด์จะสร้างระบบเซ็นเซอร์ระดับเดียวกับจีนเพื่อแบนสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ต

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ไอซ์แลนด์ก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนอินเทอร์เน็ตเสรีมาโดยตลอด และวิธีการป้องกันสื่อลามกแบบนี้โดยทั่วไปก็มักจะไม่ได้ผล เพราะคนก็จะหาทางอื่นในการเข้าถึงได้อยู่ดี และการสร้างเครื่องมือแบบนี้ให้กับรัฐก็ดูจะสร้างความเสี่ยงให้กับเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ตอย่างไม่จำเป็น

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130214/02240921968/iceland-going-protecting-free-speech-online-to-setting-up-their-own-great-firewall.shtml

 

ศาลอเมริกายกฟ้องกรณีฐานข้อมูลกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์ "คำฟ้อง"

กล่าวคือศาลกำลังยืนยันว่าการใช้คำฟ้องที่ปรากฎแก่สาธารณะนั้นแม้ว่าจะเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างการเอามาใส่ฐานข้อมูลที่เก็บค่าใช้บริการ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ของเหล่าทนายผู้เขียนคำฟ้องเหล่านี้

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130212/11063821953/judge-dumps-lawsuit-claiming-copyright-infringement-over-legal-filings.shtml

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท