Skip to main content
sharethis

 

คลิกดูภาพขนาดใหญ่

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2556 Media Inside Out เรื่องการกำหนดกรอบวาทกรรมสื่อมวลชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในปี 2555 ซึ่งศึกษาโดย รศ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, อริน เจียจันพงษ์,  วันเพ็ญ แถมอุทุม และธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์

โดยทีมวิจัยได้ศึกษาเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ 6 ฉบับได้แก่ ไทยรัฐ มติชน ไทยโพสต์ บางกอกโพสต์ ผู้จัดการ และคมชัดลึก ระหว่างเดือนเม.ย. –ก.ค. 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีกระบวนการนำเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาจนถึงการนำเรื่องสู่ศาลรธน. และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย

โดยสรุปนั้น เกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่าเป็นไปในทางต่อต้านคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างเหตุผล ล้มล้างสถาบัน/การปกครองระบอบประชาธิปไตย และมุ่งช่วยเหลือทักษิณ

ผลการสำรวจบทบก. 143 ชิ้น พบว่ามีวาทกรรม 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นวาทกรรมคัดค้าน/ชี้ถึงความไม่ชอบธรรมในการแก้รัฐธรรมนูญ จำนวน 133 ชิ้น หรือ 93.01 % ของตัวอย่างในการสำรวจ ขณะที่บทบ.ก.ซึ่งมีมีวาทกรรมเชิงสนับสนุน/ให้ความเห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเพียง 10 ชิ้น หรือ6.99% เท่านั้น โดยเป็นบทบก.จากไทยรัฐและมติชน ส่วนผู้จัดการไม่มีบทบก.

วาทกรรมที่ถูหยิบยกขึ้นมาเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญผ่านบทบก. มากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ 1. ทำให้สงครามการเมืองปะทุ (27 วาทกรรม = 18.88%), 2. แก้รัฐธรรมนูญเพื่อช่วยทักษิณ (21 วาทกรรม = 14.68%) 3.ลดความน่าเชื่อถือของสมาชิกรัฐสภา (19 วาทกรรม = 13.28%) 4. ล้มล้าง/ทำลายสถาบัน (18 วาทกรรม = 12.58%) 5. เสียงข้างมากครอบงำสภา (11 วาทกรรม = 7.69%)

ด้านวาทกรรมของกลุ่มที่สนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมี 4 ลำดับได้แก่ 1.ทำตามพันธสัญญาจากการหาเสียงเลือกตั้ง (4 วาทกรรม=2.79%) 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย (4วาทกรรม=2.79%) 3.ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง (1 วาทกรรม = 0.69%) และ 4. การแบ่งแยกอำนาจ (1 วาทกรรม = 0.69%)

ในส่วนของคอลัมน์ความเห็นหนังสือพิมพ์ที่เปิดพื้นที่ให้ความคิดเห็นมาก และให้การสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากคือมติชน ขณะบทความในไทยรัฐค่อนข้างให้น้ำหนักไปที่การไม่ให้ความชอบธรรมกับการแก้ไข รธน. และบทความส่วนใหญ่ 5 ใน 6 ฉบับไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ผลสำรวจข่าวหน้าหนึ่งที่สื่อทั้ง 6 ฉบับนำเสนอพบว่า ไทยรัฐ มติชน และบางกอกโพสต์ นำเสนอมุมมองแบบผู้สังเกตการณ์ ขณะที่คมชัดลึก ไทยโพสต์ และเอเอสทีวีนำเสนอมุมมองแบบเลือกข้างเป็นฝ่ายคัดค้าน และลดความชอบธรรมของคนเสื้อแดง เช่น นักการเมืองไม่ว่าฝ่ายใด คิดแต่ประโยชน์ตนเอง-ไม่เอานักการเมือง, เพื่อไทย-เสื้อแดงทำลายชาติ ตัวอย่างพาดหัวลักษณะนี้ เช่น  เปิดทางโหวตรัฐไทยใหม่ อัยการเป่าคดี ม็อบแดงถ่อยแจกเบอร์ศาล โดย เอเอสทีวีผู้จัดการ ฉบับวันที่ 8 มิ.ย. 2555, รธน. ปิตุฆาต โดยไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 11 เม.ย. 2555, อย่ากดดันในหลวง โดย ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 ก.ค. 2555

ทั้งนี้ พบด้วยว่าสื่อที่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญใช้วาทกรรมความแตกแยกทางการเมือง โดยเฉพาะช่วงที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดี และหลังคำตัดสิน กลุ่มของคำที่พบมากได้แก่ นองเลือด, วิกฤตครั้งใหญ่, เสี่ยงรัฐประหาร, ศุกร์ 13, บ้านเมืองสุ่มเสี่ยง เป็นต้น

วาทกรรมที่พบในข่าวหน้าหนึ่ง จำนวน 962 วาทกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สนับสนุน/ให้ความชอบธรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 241 วาทกรรม หรือ 25.05%  โดยฝ่ายสนับสนุนให้น้ำหนักกับประเด็นดังนี้ 1. ทำตามพันธสัญญาจากการหาเสียงเลือกตั้ง (14.34%) 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย (4.57%) 3.ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้ง (2.07%) 4. การแบ่งแยกอำนาจ (3.95%) 5.สภาใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ (0.10%)

วาทกรรมฝ่ายคัดค้าน/ชี้ความไม่ชอบธรรมของการแก้รัฐธรรมนูญประกอบด้วย 1.การแก้รัฐธรรมนูญเป็นไปเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์/ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย (12.88%) 2.เป็นกลยุทธการเมืองของฝ่ายรัฐบาล (11.85%) 3. เพื่อช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (11.33%) 4.ทำให้สงครามกลางเมืองปะทุ (9.87%) 5. การแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกครองงำโดยนักการเมือง (4.78%)

สำหรับแหล่งข่าวนั้น เป็นแหล่งข่าวจากภาครัฐ ขณะที่แหล่งข่าวจากภาคสังคมมีไม่ถึง 1 %

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net