'ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน' เผยรายงานปี 2012 ชี้นักข่าวตายมากที่สุดในรอบ 15 ปี

ส่วนใหญ่มาจากสงครามในซีเรีย โซมาเลียและอัฟกานิสถาน ทำห้ยอดนักข่าวที่เสียชีวิตในรอบปีเพิ่มขึ้น 33% ในขณะที่พลเมืองเน็ตและนักข่าวพลเมืองที่เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 840%

20 ธ.ค. 55 - องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Borders) เผยแพร่รายงานประจำปี 2012 ระบุเป็นปีที่โหดเหี้ยมที่สุดสำหรับนักข่าว โดยมียอดตัวเลขนักข่าวผู้เสียชีวิตในขณะปฏิบัติงาน 88 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 66 คน ในขณะที่นักข่าวพลเมืองและพลเมืองเน็ตเสียชีวิตทั้งหมด 47 คนจากในปีที่แล้ว 5 คน ส่วนใหญ่จากเหตุสู้รบในซีเรีย การเป็นเป้าของกลุ่มติดอาวุธและรัฐบาลท้องถิ่นในโซมาเลีย ปากีสถาน รวมถึงในเม็กซิโกและบราซิล ซึ่งการรายงานเรื่องคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด และกลุ่มอาชญากร ทำให้นักข่าวเสี่ยงต่อการถูกสังหาร 

สถิติดังกล่าว นับว่าเป็นสถิติที่การเสียชีวิตของนักข่าวทั่วโลกที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้จัดทำรายงานประจำปีเมื่อปี 2538 โดยในปี 2554 มีนักข่าวเสียชีวิตในขณะปฏิบัติงานทั่วโลก 67 คน ในปี 2553 มี 58 คน และในปี 2552 มี 75 คน 
 
"ที่มาของสถิติจำนวนนักข่าวที่เสียชีวิตในปี 2555 ส่วนใหญ่มาจากสงครามในซีเรีย ความวุ่นวายในโซมาเลีย และความรุนแรงในปากีสถาน" คริสตอฟ เดลัวร์ เลชาธิการองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าว "การงดเว้นการรับผิดของผู้ที่รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทำให้การละเมิดสิทธิเหล่านี้ยังคงดำเนินอยู่"
 
ทั้งนี้ ในการรวบรวมสถิติดังกล่าว ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ได้รวบรวมข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับนักข่าว หรือพลเมืองเน็ตที่ถูกสังหารจากการรวบรวมและส่งต่อข้อมูลข่าวสารเท่านั้น มิได้รวมถึงนักข่าวหรือพลเมืองเน็ตที่ถูกสังหารจากความเกี่ยวข้องทางการเมืองและสังคม หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร 
 
รายงานดังกล่าว ระบุว่า จำนวนนักข่าวผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 โดยจากในปี 2554 มีนักข่าวเสียชีวิต 66 คน ส่วนในปี 2555 มี 88 คน ส่วนนักข่าวพลเมืองและพลเมืองเน็ต เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 840 จากในปีที่แล้ว 5 คน เสียชีวิตในปีนี้ 47 คน โดยในซีเรีย มีนักข่าวเสียชีวิตจากการรายงานข่าวอย่างน้อย 17 คน และนักข่าวพลเมืองเสียชีวิต 44 คน จากการเป็นเป้าของรัฐบาลระบอบบาชาร์ อัล อัสซาด รวมถึงการตกเป็นเป้าของกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งพร้อมจะมองนักข่าวว่าเป็น 'สปาย' หากไม่รายงานตามมุมมองของพวกเขา 
 
นอกจากนี้ ในโซมาเลีย มีนักข่าวถูกสังหารในปีนี้ 18 คน จากความไม่มีเสถียรภาพและการสู้รบในรัฐที่ล้มเหลวนี้ โดยในเดือนกันยายนเพียงอย่างเดียว มีนักข่าว 7 คนเสียชีวิต มีคนหนึ่งถูกยิงสังหารและคนหนึ่งถูกตัดหัว ผู้ที่รับผิดชอบต่อการสังหารนี้ มักเป็นกลุ่มติดอาวุธ อัล-ชีบาบ หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องการจะปิดปากสื่อมวชน ส่วนในอัฟกานิสถาน เม็กซิโก และบราซิล มีนักข่าวถูกสังหารในระหว่างปฏิบัติงาน 9 คน 6 คน และ 5 คนตามลำดับ 
 
ยังเป็นปีที่นักข่าวถูกจำคุกมากที่สุด โดยเฉพาะในตุรกีและจีน 
 
ในปี 2555 มีนักข่าวทั้งหมด 193 คนทั่วโลกถูกจำคุกจากการรายงานข่าว ในขณะที่มีพลเมืองเน็ตถูกจำคุกอย่างน้อย 130 คน จากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยในตุรกี นับว่าเป็นคุกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับนักข่าว โดยมีนักข่าวอย่างน้อย 42 คน และคนทำงานสื่อ 4 คน ถูกจำคุก ส่วนใหญ่จากกฎหมายที่อนุญาตให้จับกุมและค้นนักข่าวได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุผลของรัฐในการอ้างว่าต่อสู้กับการก่อการร้าย ส่วนในประเทศจีน มีนักข่าวถูก 30 คน และพลเมืองเน็ต 69 คน ถูกจำคุก ซึ่งถูกตั้งข้อหาจากการเป็นกบฎ หรือเปิดเผยความลับของรั

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท