Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis
<--break->
หลายท่านคงได้รับฟอร์เวิร์ดอีเมล์บ้าง ใบปลิวบ้าง มีการแท็กข้อความจากบรรดาคนที่กล่าวหาว่าคนไทยใช้น้ำมัน ใช้ก๊าซแพงกว่าประเทศต่าง ๆ บ้าง รัฐบาลโกงบ้าง ปตท.โกงบ้าง แถมยังมีการเอาไปโพสต์ในเว็บบอร์ดต่าง ๆ แต่ประชาคมเว็บบอร์ดต่าง ๆ ไม่ค่อยให้ค่ากับความเห็นเหล่านี้หรอกครับ เพราะพวกนี้ถนัดแต่ยัดเยียดข้อมูลเอียง ๆ และผิดแม้แต่ข้อมูลพื้นฐานแล้วจากไป[1]
 
เอาง่าย ๆ ในเว็บไซต์[2] มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอ้างว่าก๊าซแอลพีจีที่คนไทยใช้มาจาก (1) แหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศ 55% (2) จากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ 23% และ (3) จากการนำเข้า 22% จากนั้นตั้งคำถามว่า “นำเข้า LPG แค่ 22% แต่จะขายราคานอก 100% เป็นธรรมหรือเปล่า”
 
แต่ก๊าซที่ได้จาก “โรงกลั่นน้ำมันในประเทศ” ก็คือก๊าซที่แยกจากน้ำมันดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด (ก็ประเทศไทยมีน้ำมันของตัวเองเท่าไรล่ะครับ ถึง 10% ของที่เราใช้มั้ย) ความจริงจึงต้องบอกว่า เรา “นำเข้า” ก๊าซ 40-45% มากกว่า จริงมั้ย ข้อมูลง่าย ๆ แค่นี้ยังบิดเบือนได้
 
ในส่วนของข้อเสนอ มูลนิธิฯ บอกว่า ให้เอาก๊าซที่เราผลิตได้เองมาให้ภาคครัวเรือนและยานยนต์ใช้ เหลือแล้วจึงให้ภาคอุตสาหกรรมใช้ “หากไม่เพียงพอให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้รับภาระในการนำเข้าเอง” ส่วนข้อ 2 “รัฐบาลควรหยุดนโยบายปรับขึ้นราคาแอลพีจีกับภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์” เป็นไปตามเหตุผลของข้อเสนอที่ 1 (เพราะเราผลิตก๊าซได้เองตั้งเยอะ)
 
 
แต่จากตัวเลขข้างบนแสดงว่า เรานำเข้าก๊าซอย่างน้อย ๆ ก็ 40% แล้ว และแนวโน้มการใช้ก๊าซเพิ่มสูงขึ้น ไม่เฉพาะปิโตรเคมีหรอกครับ ยานยนตร์และภาคครัวเรือนก็ขยายตัว 15% และ 13.7 % ตามลำดับ (บริโภครวมกันเกินครึ่งหนึ่งของก๊าซทั้งหมด) (โพสต์ทูเดย์ 24 ตุลาคม 2555[3])
 
การไม่ปรับราคาก๊าซให้สะท้อนราคาตลาดโลก มันก็เหมือนกับสถานการณ์ที่ผ่านมาเป็นสิบปี คือรัฐอุดหนุนราคา เป็นการบิดเบือนโครงสร้างการใช้พลังงาน ปริมาณการใช้ก๊าซกืเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนสุดท้าย เราต้องเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติ กลายเป็นภาระทำให้ผู้ใช้น้ำมันต้องมาอุ้มผู้ใช้ก๊าซ
 
ผมมองไม่ออกว่าเป็นข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างไร ในเมื่อสมมติฐานมันผิดตั้งแต่ต้น
 
ความคิดเรื่องลดการอุดหนุนราคาก๊าซมีมาตั้งนานแล้ว เอาง่าย ๆ ที่ผ่านมาถ้าน้ำมันแพง คนก็ไปใช้ก๊าซเพื่อการขนส่งมากขึ้น เอาก๊าซหุงต้มไปเติมรถก็มี และที่สำคัญการอุดหนุนราคาจะทำให้ผู้ประกอบการ/ผู้บริโภคไม่ประหยัด ไม่พัฒนาการผลิตหรือ บริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนอื่น ๆ ให้แข่งขันในตลาดได้ ที่สำคัญ
 
พวกรณรงค์เรื่องราคาก๊าซคิดว่า ก๊าซมันงอกขึ้นมาจากแผ่นดินของเราเอง เขาคงคิดว่ามันเหมือนการปลูกข้าว หว่านเมล็ดลงไปเท่าไรก็ได้ผลออกมาเท่านั้น เขาไม่เข้าใจว่าถึงเป็นก๊าซของเราเอง มันก็มีต้นทุนการผลิต ขนส่ง ในการสำรวจขุดเจาะ มันมีความเสี่ยงว่าจะเจอหรือไม่เจอ และเจอมากน้อยแค่ไหน กี่ปี ถึงเป็นก๊าซของเราเอง มันก็มีต้นทุนเหมือนก๊าซในตลาดโลกระดับหนึ่ง จะให้เอามาขายราคาถูก ๆ ทำได้ แต่ต้องอุดหนุนราคาเหมือนเดิม

ถ้าลดการอุดหนุนราคาก๊าซ แน่นอน ปตท.+ปตท.สผ.และบริษัทที่เกี่ยวข้องย่อมได้รับประโยชน์แน่ ๆ จาก margin หรือผลต่างระหว่างราคากับต้นทุนที่มากขึ้น และราคาหุ้นที่พุ่งทะยาน เพราะโครงสร้างมันผูกขาดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งผลิตเอง ส่งเอง และขายเอง ผมเห็นด้วยว่าตรงนี้ไม่เป็นธรรม แต่การตรึงราคาก๊าซต่อไป ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเหมือนกัน ต้องแก้ที่โครงสร้างการสำรวจ ขุดเจาะ ผลิต ขนส่งและจัดจำหน่ายพลังงานไม่ให้มีการผูกขาดจากบริษัทเดียว
 
แต่ก็ต้องยอมรับว่าในเมื่อกำไร 60% ของปตท.ส่งเข้ารัฐในรูปภาษีและเงินปันผล และหน่วยงานของรัฐและกองทุนอย่างเช่น สำนักงานประกันสังคมก็ได้รับประโยชน์จากการถือหุ้นปตท.รัฐก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน แต่ถ้ามองว่ารัฐและนักการเมืองมันโกงหมด ก็จบเห่
 
คนที่รณรงค์เรื่อง ปตท.ขายน้ำมันแพง ทราบไหมว่า อย่างน้อยในปี 2554 ปตท.มีกำไร 1.05 แสนล้านบาท นำส่งรัฐ 63,000 ล้านบาท (ภาษีเงินได้นิติบุคคล 39,000 ล้านบาท + เงินปันผล 24,000 ล้านบาท) หรือประมาณ 60% ของผลกำไร
 
ส่วนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  คิดเฉพาะรายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในปี 2554 จำนวน 2,700 ล้านบาท (ข้อมูลจากรายงานประจำปีของสนง.ฯ เอง) กับเงินปันผลจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (722,941,958  หุ้น x 3.50 บาท = ประมาณ 2,500 ล้านบาท) และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (360,000,000 หุ้น x 12.50 บาท = 4,500 ล้านบาท) อีกกว่า 7,000 ล้านบาท สรุปว่าปี ๆ หนึ่งเอาเฉพาะที่เห็น ๆ สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้เกือบ 10,000 ล้านบาท
 
แต่สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่เคยส่งเงินเข้ารัฐเลยสักบาทเดียว
 
ถามว่าเป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือประชาชนมั้ย ถามว่ามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นักปราบโกงทั้งหลาย เคยคิดจะตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ทำตัวเป็น “รัฐในรัฐ” และ “โกง” ยิ่งกว่า ปตท.อีกมั้ย
 
คงไม่หรอก เพราะสำนักงานทรัพย์สินฯ เขาอุตส่าห์เสียเงินเป็นล้าน[4] เพื่อซ่อมแซมอาคารของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิงูเห่าไม่กัดชาวนาหรอก อิอิ
 
 
 

[3] โพสต์ทูเดย์, 24 ต.ค. 55 http://bit.ly/TFxs8q
[4] “ส่วนความเสียหายของอาคารสำนักงานหลังเก่าจากเหตุเพลิงไหม้ วิศวกรโยธาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประเมินว่าแม้โครงสร้างความมั่นคงของอาคารยังมีความปลอดภัย ไม่ต้องทุบทิ้ง แต่ก็เสียหายไปเกือบ 5.2 ล้านบาท ต้องปรับปรุงระบบต่างๆ ใหม่ทั้งหมด แบ่งเป็น ระบบโครงสร้างอาคาร 2.2 ล้านบาท ระบบไฟฟ้า การสื่อสาร 2.2 ล้านบาท ระบบประปา 6.7 แสนบาท และระบบสุขาภิบาล 1 แสนบาท”
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000081469
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net