Skip to main content
sharethis
เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมา สำนักข่าว The Independent ของอังกฤษ เปิดเผยผลสำรวจว่า คนงานเกือบ 5 ล้านคนในเครือสหราชอาณาจักรได้รับค่าแรงน้อยกว่าค่าครองชีพขั้นต่ำ จากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อน (double-dip recession)
 
รายงานผลสำรวจจากบริษัทบัญชี KPMG เปิดเผยว่า คนงานเครือสหราชอาณาจักรเกือบ 5 ล้านคน ได้รับค่าแรงขั้นต่ำเพียง 8.30 ปอนด์ (ราว 410 บาท) ต่อชั่วโมงในลอนดอน และ 7.30 ปอนด์ (ราว 360 บาท) ต่อชั่วโมงนอกเมืองหลวง ทั้งคนทำงานดูแลผู้สูงอายุ พนักงานบาร์ บริกร และพนักงานขายของ ต่างก็ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากภาวเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้
 
การวิจัยในครั้งนี้เผยแพร่ก่อนหน้า 'สัปดาห์ค่าแรงที่สามารถดำรงชีพได้' (Living Wage Week) ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 4 พ.ย. นี้ และจะมีการประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำใหม่ทั้งในลอนดอนและในส่วนอื่นๆ ของประเทศ
 
มีลูกจ้างจำนวนหนึ่งที่ยอมรับมาตรฐานตรงนี้เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของประเทศอังกฤษคือ 6.19 ปอนด์ (ราว 305 บาท) ต่อชั่วโมง แต่กลุ่มนักรณรงค์บอกว่าจำนวนค่าแรงเท่านี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และคนงานเหล่านี้ต้องมาแบกรับภาระจากสภาพเศรษฐกิจถดถอย จากการที่ถูกลดรายได้ ถูกเพิ่มภาษี บวกกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงมาก
 
ผลการวิจัยครั้งนี้เปิดเผยอีกว่าคนดูแลผู้สูงอายุ, คนงานบาร์, คนทำงานในร้านอาหาร, พนักงานจัดเลี้ยง และพนักงานร้านขายของได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในขณะที่ทางการของอังกฤษเปิดเผยว่าเศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุดม้าย โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1
 
แต่ในรายงานผลการวิจัยก็บอกว่าสำหรับกลุ่มคนรายได้น้อยไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ กับการปรับตัวสูงขึ้นของเศรษฐกิจเลย โดยที่กลุ่มคนงานรายได้ต่ำ 4 ใน 10 ส่วนบอกว่าภาวะการเงินของพวกเขาแย่ลงกว่าช่วงเดือนทีผ่านมา โดยที่กลุ่มคนรายได้สูงกว่าขั้นต่ำมีอยู่เพียงร้อยละ 25 ของอังกฤษ
 
วัดตามอัตราส่วนประชากรแล้ว ไอร์แลนด์เหนือมีอัตราคนทำงานรายได้ต่ำกว่าที่จะสามารถดำรงชีพได้ (Living Wage) มากที่สุด ตามมาด้วยแคว้นเวลส์ (ร้อยละ 23) ขณะที่อังกฤษและสก็อตแลนด์ต่างมีตัวเลขอยู่ที่ราว 570,000 คน ด้วยกันทั้งคู่
 
กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่าที่จะสามารถดำรงชีพได้ราวร้อยละ 38 บอกว่าพวกเขามีฐานะการเงินแย่ลงกว่าเดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27 ที่ได้รับรายได้สูงกว่า เป็นตัวชี้วัดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ได้ให้ประโยชน์คนที่กำลังต้องการมากที่สุด
 
ฟรานเซส โอ'เกรดดี้ เลขาธิการสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานประเทศอังกฤษ (TUC) เรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ปรับมาตรการค่าแรงใหม่ โดยบอกว่าเป็นเรื่องน่าตกใจมากที่มีคนงาน 1 ใน 5 พยายามดิ้นรนเอาตัวรอดโดยรายได้ต่ำกว่ามาตรฐาน
 
ฟรานเซสกล่าวเสริมว่า "ค่าแรงที่สามารถดำรงชีพได้ ไม่ใช่ความฟุ่มเฟือย และหมายความว่าคนงานที่ได้รับค่าแรงน้อยไม่มีทางเลือกมากในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่นบิลค่าน้ำมันหรือเสื้อคลุมฤดูหนาวสำหรับเด็ก"
 
"ในตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่นายจ้างจะต้องหยุดให้คนจนแบกรับภาระรายจ่าย" ฟรานเซสกล่าว
 
รีส มัวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิลีฟวิ่งเวจกล่าวว่า "การจ่ายค่าพื้นฐานการดำรงชีพให้กับคนงานจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตคนทำความสะอาด, คนขายอาหาร และเจ้าหน้าที่ยาม กว่าหลายพันคนทั่วประเทศอังกฤษ เป็นเรื่องน่าสนับสนุนที่ในตอนนี้ได้เห็นองค์กรราว 100 องค์กรร่วมลงนามอนุญาต แต่ก็ยังมีองค์กรอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ร่วมลงนาม"
 
มาเรียน ฟอลลอน หัวหน้าฝ่ายกิจการบรรษัทของ KPMG บอกว่า มันมีเหตุผลที่ดีทางธุรกิจในการยอมรับมาตรฐานค่าจ้างที่สามารถดำรงชีพได้ เช่นการช่วยเพื่มผลงานและแรงจูงใจให้กับคนงาน การลดจำนวนคนลางานและขาดงานโดยออกใบเสร็จค่าจ้างมาตรฐานการดำรงชีพให้ ชดเชยค่าความเสียหายจากการมีคนขาดงาน
 
 
ที่มา
Scandal of 5m on less than the living wage, The Independent, 28-10-2012

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net