Skip to main content
sharethis

บ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจคนกรุงเทพฯ พบใช้งานสังคมออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊กมากที่สุดถึง 90.9% โดยเคยพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์สูงถึง 65.3% และเคยไปพบกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์ 33.3%

นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ เปิดเผยผลสำรวจของศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์เกี่ยวกับการใช้งานสังคมออนไลน์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,216 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 1 - 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ใช้งานสังคมออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊กมากที่สุดถึง ร้อยละ 90.9 อันดับสองคือ ทวิตเตอร์ ร้อยละ 50.8 อันดับสามคือ กูเกิลพลัส ร้อยละ 47.6   และใช้เวลากับสังคมออนไลน์ในหนึ่งวันสูงถึง 5 – 6 ชั่วโมงร้อยละ 19.5 อันดับสองคือมากกว่า 8 ชั่วโมงร้อยละ 18.7 และอันดับสามคือ 2 – 3 ชั่วโมงร้อยละ 17.4

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าข้อมูลในสังคมออนไลน์มีความน่าเชื่อถือเพียงร้อยละ 29.6 ไม่มีความน่าเชื่อถือร้อยละ 34.4 และไม่แน่ใจร้อยละ 36

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์สูงถึงร้อยละ 65.3 และเคยไปพบกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์ ร้อยละ 33.3 เคยพบเห็นภาพโป๊ เปลือย หรือคำพูดที่ออกไปทางลามก ผ่านทางสังคมออนไลน์ ร้อยละ 57

///////////

รายละเอียดของผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานสังคมออนไลน์ของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร  มีดังต่อไปนี้


1. ในปัจจุบันท่านมีการใช้งานสังคมออนไลน์ประเภทใดบ้าง (สามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
Facebook  ร้อยละ 90.9
Twitter   ร้อยละ 50.8
Googel +  ร้อยละ 47.6
Instagram  ร้อยละ 40.7
Skype    ร้อยละ 27.9
Hi 5    ร้อยละ 23.5
Socialcam  ร้อยละ 21.5
Camfrog  ร้อยละ 15.1
Foursquare  ร้อยละ 11.9
Myspace  ร้อยละ 11
Linkedin  ร้อยละ 8.0
Gowalla   ร้อยละ 6.3

2. ในหนึ่งวันท่านมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉลี่ยต่อวันท่านใช้เวลานานเท่าไร
น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 
1 – 2 ชั่วโมง  ร้อยละ 4.6
2 – 3 ชั่วโมง  ร้อยละ 17.4
3 – 4 ชั่วโมง  ร้อยละ 14.6
4 – 5 ชั่วโมง  ร้อยละ 9.4
5 – 6 ชั่วโมง  ร้อยละ 19.5
6 – 7 ชั่วโมง  ร้อยละ 10.0
7 – 8 ชั่วโมง  ร้อยละ 5.8
มากกว่า 8 ชั่วโมง ร้อยละ 18.7

3. ท่านมีการใช้งานสังคมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ ประเภทใด มากที่สุด
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) ร้อยละ 37.3
คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook) ร้อยละ 22.2
แท็บเล็ต (Tablet)  ร้อยละ 8.6
มือถือ (Mobile)   ร้อยละ 31.9

4. ท่านเคยพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ท่านไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์หรือไม่
เคย   ร้อยละ 65.3
ไม่เคย   ร้อยละ 25.9
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 8.8

5. ท่านเคยให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงกับบุคคลที่ท่านพูดคุยผ่านสังคมออนไลน์ หรือไม่
เคย   ร้อยละ 47.1
ไม่เคย   ร้อยละ 43.8
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 9.1

6. ท่านเคยถูกผู้อื่นๆ ต่อว่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
ใช่   ร้อยละ 36.5
ไม่ใช่   ร้อยละ 51.7
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 11.8

7. ท่านคิดว่าข้อมูลต่างๆ ที่ท่านได้รับจากสังคมออนไลน์ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
มีความน่าเชื่อถือ  ร้อยละ 29.6
ไม่มีความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 34.4
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 36.0

8. ท่านเคยไปพบกับคนแปลกหน้าที่ท่านไม่เคยรู้จักมาก่อนผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
เคย   ร้อยละ 33.3
ไม่เคย   ร้อยละ 59.3
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 7.4

9. ท่านเคยพบเห็นภาพโป๊ เปลือย หรือคำพูดที่ออกไปทางลามก ผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
เคย   ร้อยละ 57.0
ไม่เคย   ร้อยละ 33.5
ไม่แน่ใจ                         ร้อยละ 9.5

10. ท่านเคยถูกคนแปลกหน้าที่ท่านไม่เคยรู้จักพูดคุยด้วยคำพูดที่ออกไปทางลามก หรือไม่
เคย   ร้อยละ 32.5
ไม่เคย   ร้อยละ 54.5
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 13.0


11. ท่านเคยถูกผู้อื่นๆ กลั่นแกล้งท่าน ผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
ใช่   ร้อยละ 26.0
ไม่ใช่   ร้อยละ 59.4
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 14.6

12. ท่านเคยถูกหลอกลวงทำให้ต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
ใช่   ร้อยละ 13.6
ไม่ใช่   ร้อยละ 72.2
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 14.2

13. ท่านคิดว่าการใช้งานสังคมออนไลน์มีประโยชน์หรือไม่
ใช่   ร้อยละ 58.7
ไม่ใช่   ร้อยละ 22.3
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 19.0

ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์

14. เพศ
ชาย  ร้อยละ 42.8 หญิง  ร้อยละ 57.2

15. อายุ
18 -  20 ปี ร้อยละ 33.9 21 – 25  ปี ร้อยละ 28.4 26 – 30  ปี ร้อยละ 10.9
31 – 35  ปี ร้อยละ 7.3 36 – 40  ปี ร้อยละ 11.0 41 -  45 ปี ร้อยละ 3.7
46 -  50 ปี ร้อยละ 2.8 มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 2.0

16. สถานภาพสมรส
โสด  ร้อยละ 75.2
สมรส  ร้อยละ 19.9
หม้าย/หย่าร้าง ร้อยละ 4.9

17. อาชีพ
นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา ร้อยละ 57.0
ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ ร้อยละ 5.3
พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ร้อยละ 5.7
พนักงานบริษัทเอกชน  ร้อยละ 19.3
นักธุรกิจ    ร้อยละ 4.8
แม่บ้าน    ร้อยละ 2.5
อื่นๆ    ร้อยละ 5.4

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net