องค์กรแรงงานไทย-เทศ ร้องนายก ปล่อย “สมยศ” ทันที

แรงงานทั้งไทยและนานาชาติ และคนเสื้อแดงรวม97 องค์กร ร้องนายก ให้สิทธิการประกันตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข ตามมาตรฐานกฎหมายในและระหว่างประเทศ ย้ำนักต่อสู้เพื่อสิทธิฯ จะต้องทำงานโดยไม่ต้องเกรงกลัวภัยใดๆ ด้านศาลนัดพิพากษาคดีวันที่ 19 ก.ย. นี้

ภาพผู้เข้ายื่นจดหมายร้องปล่อยตัวสมยศ ที่หน้าทำเนียบ ภาพโดย Thai Labour Campaign

วันนี้(14 ก.ย.55) เวลา 10.15 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก นักกิจกรรมด้านแรงงานและเสื้อแดง นำโดย โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign) สหภาพแรงงานประชาธิปไตย องค์กรเลี้ยวซ้าย และกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย ประมาณ 20 คน เดินทางมายื่นจดหมายเรียกร้องต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ปล่อยตัว นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกคุมขังจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยมีนายสมพาศ นิลพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี ออกมารับจดหมายแทนนายกรัฐมนตรี 

จากนั้นเวลา 11.00 น. กลุ่มดังกล่าวได้เดินทางไปยังศาลฎีกา สนามหลวง โดยมีเลขานุการประธานศาลฎีกามารับจดหมาย และเวลา 13.00 น. เดินทางไปยื่นจดหมายที่ศาลอาญา รัชดา   โดยนางสาวพัชณีย์ คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เปิดเผยว่า ได้ไปยื่นตรงหน่วยงานสารบรรณทั่วไป เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาไม่ยินยอมมารับด้วยตัวเองที่ด้านหน้าประตูเพราะเกรงเป็นการละเมิดอำนาจศาล

นอกจากข้อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แล้ว ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ยังกล่าวด้วยว่า มีการเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข และปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีมาตรฐานด้วยการที่ศาลต้องให้สิทธิประกันตัวแก่สมยศ เคารพเสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์ ไม่ละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

น.ส.พัชณีย์ คำหนัก กล่าวถึงที่มาของรายชื่อองค์กรแรงงานกว่าร้อยรายชื่อที่ร่วมเรียกร้องสิทธิประกันตัวของนายสมยศและนักโทษการเมืองว่า ทาง โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เป็นองค์กรด้านแรงงานจึงประสานงานเครือข่ายแรงงานทั่วเอเชียและยุโรปให้ร่วมกันแสดงความสมานฉันท์อีกครั้ง เพื่อรักษากระแสการต่อสู้ของฝ่ายแรงงาน

“พี่สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถือเป็นผู้นำแรงงานที่สู้เพื่อประชาธิปไตยที่เราต้องชูขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์เป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงานเพื่อประชาธิปไตย ไม่ใช่เพื่อทหารและฝ่ายอนุรักษ์นิยม” น.ส. พัชณีย์กล่าว

จดหมายเรียกร้องดังกล่าวยังระบุด้วยว่า นายสมยศต้องได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานของกระบวนการพิจารณาไต่สวนภายใต้กฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะคนที่ทำงานด้านเสรีภาพในการแสดงออกจะต้องสามารถดำเนินงานด้านสิทธิได้อย่างชอบธรรมโดยไม่ต้องเกรงกลัวภัยใดๆ และเป็นอิสระจากข้อจำกัดต่างๆ รวมถึงการละเมิดผ่านกระบวนการพิจารณาคดีด้วย

ทั้งนี้ สมยศถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ขณะนำลูกทัวร์เดินทางเข้าท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา โดยคำฟ้องระบุว่าเขาละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องมาจากนิตยสาร ‘วอยซ์ ออฟ ทักษิณ’ ที่เขาเป็นบรรณาธิการบริหารมีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง สมยศถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ซึ่งศาลนัดพิพากษาวันที่ 19 ก.ย. 55  เวลา 09.00 น.

000

จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข

ถึง  นายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล
ถนนพิษณุโลก  เขตดุสิต
กรุงเทพฯ  10300

สำเนาถึง นายไพโรจน์ วายุภาพ
ประธานศาลฎีกา
เลขที่ 6 ถนนราชดำเนินใน
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพฯ 10200
โทร.0-2221-3161-70

สำเนาถึง  นายทวี ประจวบลาภ
อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก
แขวงจอมพล เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0 2541 2284 – 90

เรื่อง  ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีอาญา มาตรา 112

สิ่งที่ส่งมาด้วย   1. เอกสารรายชื่อ 8,035 รายขอให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำนวน
66 หน้า 1 ชุด
  2.  สรุปย่อคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข  จำนวน 3 หน้า 1 ชุด

กราบเรียนฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

ตามรายชื่อองค์กรและบุคคลแนบท้ายจดหมายฉบับนี้ พวกเราได้ร่วมกันเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงฯพณฯในขณะที่คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขยังถูกคุมขังมาอย่างต่อเนื่อง ที่ซึ่งคดีของเขาจะขึ้นศาลอีกครั้งในวันที่ 19 กันยายน 2555 ในไม่ช้านี้และเป็นไปได้ที่คดีของเขาจะได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี  อีกทั้งเขาถูกคุมขังมาก่อนที่จะมีการพิจารณาไต่สวนในชั้นศาลเป็นเวลา 1 ปีกว่าแล้ว  นับตั้งแต่ถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนพิเศษจับกุมเมื่อเดือนเมษายน 2554

การปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวเขาที่ผ่านมา เราถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งและเป็นการข่มขู่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย  เราขอให้เจ้าหน้าที่รัฐประกันสิทธินี้ให้แก่คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขในช่วงระหว่างที่ถูกคุมขัง และรับประกันว่า เขาสมควรได้รับการพิจารณาคดีอย่างเที่ยงธรรม รวมถึงสิทธิในการประกันตัวด้วย

เราขอเรียนฯพณฯด้วยความเคารพว่า ตามปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากลว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน กลุ่มและองค์กรของสังคมที่จะส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541  ขอให้ฯพณฯได้ตระหนักถึงความชอบธรรมในการทำกิจกรรมด้านสิทธิของนักรณรงค์สิทธิมนุษยชน เหล่านี้  สิทธิของพวกเขาที่จะจัดตั้ง รวมกลุ่ม และเรียกร้องให้รัฐประกันการทำกิจกรรมโดยปราศจากความกลัวที่จะถูกตอบโต้

เราขอให้ฯพณฯประกันว่าคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขต้องได้รับการปล่อยตัวโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข   ความล้มเหลวของรัฐ ที่ไม่ยินยอมปล่อยตัวเขาจากการเรียกร้องที่ผ่านมานั้น คุณสมยศยังต้องได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานของกระบวนการพิจารณาไต่สวนภายใต้กฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศ   ที่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยเฉพาะคนที่ทำงานด้านเสรีภาพในการแสดงออกสามารถดำเนินงานด้านสิทธิได้อย่างชอบธรรมโดยไม่ต้องเกรงกลัวภัยใดๆ และเป็นอิสระจากข้อจำกัดทั้งหลาย รวมถึงการละเมิดของกระบวนการพิจารณาคดีด้วย

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

องค์กรที่ลงนามสนับสนุนจดหมายขอให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข
1. โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign, Thailand)
2. สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย (Labour Congress Center for Labour Union of Thailand-LCCLUT)
3. สหภาพแรงงานสยามริกเก้น  (Siam Ricken Labour Union, Thailand)
4. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (Textile, Garment, and Leather Workers’ Federation of Thailand-TWFT)
5. องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย (Workers Organization for Democracy-WOD, Thailand)
6. กลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ  (Women Workers for Liberation Group, Thailand)
7. สหภาพแรงงานประชาธิปไตย (Democracy Workers Union, Thailand)
8. สหภาพแรงงานไทยอคริลิคไฟเบอร์ (Thai Acrylic Labour Union-TLU)
9. สหภาพแรงงานสหกิจวิศาล (Sahakij Wisal Labour Union, Thailand)
10. สหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลแคร์ (Molnlycke Health Care Labour Union, Thailand)
11. กลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า (Labour Union of Berla Group-LUBG, Thailand)
12. ศรีไพร นนทรีย์ กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาชุมชนคนงาน (Ms.Sripai Nonsee, Workers Community Development Saving Group, Thailand)
13. นายวิรัช อินสะอาด ประธานสหภาพแรงงานพีบีเอสซี โลจิสติกส์ (Mr.Wirat Insa-ard, President of P.B.S.C. Logistics Labour Union, Thailand)
14. นายธงชัย ร่มเย็นเป็นสุข ประธานสหภาพแรงงานไทยซูซูกิ (Mr.Tongchai Romyenpensuk, President of Thai Suzuki, Thailand)
15. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ประเทศไทย (League of Liberal Thammasat for Democracy, Thailand)
16. วรรณทณี เสงี่ยมศิลป์ อาชีพแม่บ้าน (Ms. Wantanee  Sa-ngiamsin, housewife, Thailand)
17.  ศรชัย ทองศรี  (Mr. Sornchai Thongsri, Thailand)
18. องค์การรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด ประเทศเนเธอร์แลนด์  (Clean Clothes Campaign, the Netherlands)
19. สมาพันธ์แรงงานเกาหลี (Korean Confederation of Trade Unions-KCTU)  (한글) 전국민주노동조합총연맹 (영문)
20. องค์กรสมานฉันท์แรงงาน (Workers' Solidarity All Together) (한글) 노동자연대다함께 (영문)
21. องค์กรเกาหลีเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างประเทศ  (Korean House for International Solidarity)  (한글) 국제민주연대 (영문)
22. เครือข่ายพันธมิตรผู้หญิงเกาหลี (Korean Women’s Alliance) (한글) 전국여성연대 (영문)
23. องค์กรสมานฉันท์สื่อคริสเตียน ประเทศเกาหลีใต้ (Christian Media Solidarity)  (한글) 미디어기독연대 (영문)
24. คณะกรรมการสนับสนุนแรงงานที่ถูกจำคุก เกาหลีใต้ (Committee to Support Imprisoned Workers)  (한글) 구속노동자후원회 (영문)
25. สหพันธ์กลุ่มแพทย์เพื่อสิทธิด้านสุขภาพ เกาหลีใต้ (Korean Federation of Medical Groups for Health Rights)  (한글) 건강권실현을위한보건의료단체연합 (영문)
26. สหภาพแรงงานอาจารย์พิเศษเกาหลี (Korea Irregular Professor Union-KIPU)  (한글) 한국비정규교수노동조합 (영문)
27. ศูนย์กลางเพื่อกลับคืนสถานะการเป็นอาจารย์ของอาจารย์พิเศษ ประเทศเกาหลีใต้ (Center to Get Back Status of Teacher for Irregular Professor and Normalization of College Education-STIP)  (한글) 대학강사 교원지위 회복과 대학교육정상화 투쟁본부 (영문)
28. สหภาพแรงงานอาจารย์มหาวิทยาลัย ประเทศเกาหลีใต้ (Korea University Lecturer Union-KULU)  (한글) 전국대학강사노동조합 (영문)
29. สหภาพแรงงานข้ามชาติ เกาหลีใต้ (Seoul Gyeonggi Incheon Migrants Trade Unions)  (한글) 서울경기인천 이주노동자 노동조합 (영문)
30. ศูนย์ลูกจ้างชั่วคราว เกาหลีใต้ (Seoul Dongbu Contingent Workers Center) (한글) 서울동부비정규노동센터 (영문)
31. เครือข่ายสมานฉันท์แรงงานแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เกาหลีใต้ (Asia Pacific Workers Solidarity Links)  (한글) 아시아태평양노동자연대 (영문)
32. Reconciliation & Unification Mission Center Osan Laborer`s & Migrant`s Shelter  (한글) 오산노동자센터(오산이주노동자센터) (영문)
33. Prebetryan Church of Osan Dasom  (한글) 대한예수교장로회 오산다솜교회 (영문)
34. ศูนย์กลางการสื่อสารหลากหลายวัฒนธรรมในเอเชีย  (Multicultural Communication Center in Asia)  (한글) 아시아다문화소통센터 (영문)
35. ศูนย์กลางเครือข่ายแรงงานก้าวหน้า เกาหลีใต้  (Korean Progressive Labor Network Center)  (한글) 한국노동네트워크협의회 (영문)
36. ศูนย์กลางการศึกษาสิทธิมนุษยชน เกาหลีใต้ (Human Rights Education Center, DEUL)  (한글) 인권교육센터 '들' (영문)
37. สหภาพลูกจ้างภาครัฐ เกาหลีใต้  (Korean Government Employees' Union) (한글) 전국공무원노동조합 (영문)
38. 개인 /individual>
39. คุณ Seraphina Cha mikyung  เกาหลีใต้ (차미경 세라피나)
40. สมาคมอาจารย์เพื่อสังคมประชาธิปไตยแห่งชาติ  เกาหลีใต้  (National Association of Professors for Democratic Society, Korea)  (민주화를 위한 전국교수협의회)
41. พรรคมวลชนแรงงาน ประเทศฟิลิปปินส์  (Party of Laboring Masses or Partido Lakas ng Masa-PLM, Philippines)
42. ขบวนการผู้หญิงธงแดง ประเทศศรีลังกา  (RED Flag Women's Movement, Sri Lanka)
43. สำนักงานกลุ่มพันธมิตรรณรงค์ฐานค่าจ้างแห่งเอเชีย ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย  (Asia Floor Wage Alliance-SEA Office, Malaysia)
44. สมาพันธ์แรงงานฮ่องกง  (Hong Kong Confederation of Trade Unions-HKCTU)
45. ศูนย์ทรัพยากรแรงงานซีเดน ประเทศอินโดนีเซีย (Sedane Labour Resource Centre or Lembaga Informasi Perburuhan Sedane, Indonesia)
46. กลุ่มเพื่อนหญิง ประเทศมาเลเซีย (Friends of Women or Persatuan Sahabat Wanita Selangor, Malaysia)
47. คุณ Yasiu Kruszynsk สหพันธ์อนาธิปไตย กลุ่มงานริเริ่มด้านแรงงาน  (Anarchist Federation, Workers Initiative)
48. คุณ Steve Leigh พนักงานโรงงาน ด้านบริการ สหภาพแรงงานระหว่างประเทศ  (shop steward, service employees, International Union, Local 925)
49. สมาพันธ์แรงงาน Sindical de Trabajadores "Jose Benito Escobar" (CST-JBE) ประเทศนิคารากัว
50. ศูนย์ช่วยเหลือแรงงาน ประเทศฟิลิปปินส์ (Workers Assistance Center, Inc. -WAC, Philippines)
51. องค์กรตรวจสอบโลกาภิวัตน์  ฮ่องกง  (Globalization Monitor, Hong Kong)
52. องค์กรนักศึกษาและนักวิชาการต่อต้านการกระทำไม่เป็นธรรมของบรรษัทข้ามชาติ  (Students & Scholars Against Corporate Misbehaviour-SACOM, China)
53. สถาบันการวิจัยและศึกษาด้านแรงงานคูเมนิกา ประเทศฟิลิปปินส์ (Ecumenica Institute for Labor Education and Research-EILER)
54. พรรคเพื่อเสรีภาพของประชาชน ประเทศอินโดนิเซีย  (People's Liberation Party-PLP, Indonesia)
55. กองเลขาธิการด้านแรงงาน จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย  (Joint Secretariat of Labor or SEKBER BURUH, Greater Jakarta Indonesia)
56. สหพันธ์แรงงานอิสระ ประเทศอินโดนีเซีย  (Federation of Independent Trade Union-GSBI, Indonesia)
57. สหพันธ์แรงงานปากีสถาน  (Pakistan Labour Federation-PLF)
58. พรรคสังคมนิยมแห่งมาเลเซีย  (Socialist Party of Malaysia-PSM)
59. เครือข่ายประชาชนผู้ถูกกดขี่ ประเทศมาเลเซีย  (Network of the Oppressed People-JERIT, Malaysia)
60. เครือข่ายสมานฉันท์คนฟิลิปปินส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์  (Philippines Solidarity Network in the Netherlands)
61. องค์กรผู้หญิงเยอรมัน  (German Women Organization FEMNET)
62. ขบวนการประชาธิปไตยคนรุ่นใหม่ ประเทศลาว  (The Laotian New Generation Democracy Movement-LGDM)
63. องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานหญิง  (Dabindu Collective, No,221, Welaboda Road, Katunayake, Sri Lanka, Women workers NGO in Colombo)
64. สหพันธ์แรงงานทั่วไป ประเทศเนปาล  (General Federation of Nepal Trade Unions-GEFONT, Nepal)
65. สหภาพแรงงานอิสระแห่งชาติ ประเทศศรีลังกา  (National Free Trade Unions, Sri Lanka)
66. ศูนย์ศึกษาแรงงานนิวเดลี ประเทศอินเดีย  (Centre for Workers Education New Delhi, India)
67. องค์กรสังคมเพื่อแรงงานและการพัฒนา ประเทศอินเดีย  (Society for Labour and Development, India)
68. สมาคมประชาชนคนทำงาน ประเทศอินโดนีเซีย  (Working People’s Association- PRP, Indonesia)
69. เครือข่ายแรงงานออสเตรเลียเอเชีย  (Australia Asia Worker Links-AAWL)
70. องค์กรแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามชาติ ประเทศเยอรมนี  (Transnational Information Exchange-TIE Bildungswerk Germany)
71. สหภาพลูกจ้างบริการทั่วไปและในเขตการค้าเสรี ประเทศศรีลังกา  (Free Trade Zones & General Services Employees Union, Sri Lanka)
72. สหภาพแรงงานอิสระด้านการศึกษา ประเทศอินโดนีเซีย  (INERU Indonesia)
73. สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ  ประเทศญี่ปุ่น  (Labornet Japan International Division)
74. ดร.Susan Caldwell จากเมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา 
75. องค์กรสังคมนิยมทางเลือก ประเทศออสเตรเลีย (Socialist Alternative, Australia)
76. เครือข่ายปฏิบัติการชุมชน ประเทศมาเลเซีย  (Community Action Network, Malaysia)
77. ขบวนการคาทอลิกระหว่างประเทศเพื่อกิจกรรมทางปัญญาและวัฒนธรรมเอเชีย  (International Catholic Movement for Intellectual and Cultural Affair –Asia)
78. กลุ่มชาวมาเลเซียสนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย  (Malaysia Support Group for Democracy in Thailand)
79. ศูนย์ผู้หญิง ประเทศศรีลังกา  (Women’s Center, Sri Lanka)
80. สหพันธ์แรงงานสามัคคี ประเทศศรีลังกา (United Federation of Labour-UFL, Sri Lanka)
81. พรรคความเสมอภาคทางสังคมใหม่ (New Social Equality Party or Nava Sama Samaja Party-NSSP, Sri Lanka)
82. องค์กรสมานฉันท์ไร้พรมแดนแห่งยุโรป ประเทศฝรั่งเศส  (Europe Solidaire sans Frontiers-ESSF, France)
83. สภาแรงงานแห่งรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย (The Victorian Trades Hall Council, Australia)
84. องค์กรเสียงของประชาชนมาเลเซีย (Voice of the Malaysian People or Suara Rakyat Malaysia- SUARAM, Malaysia)
85. ศูนย์กลางการสื่อสารของชุมชน ประเทศมาเลเซีย (People's Communication Centre-KOMAS, Malaysia)
86. สมาคม Community Residents Association for Selangor and Federal Territories (PERMAS) ประเทศมาเลเซีย
87. วารสารไร้พรมแดน “Grenzeloos” ประเทศเนเธอร์แลนด์
88. เครือข่ายศาสนาพุทธระหว่างประเทศ ประเทศไทย (International Network of  Engaged Buddhism -INEB, Thailand)
89. กลุ่มสมานฉันท์ (กลุ่มสังคมนิยม) ประเทศออสเตรเลีย (Solidarity, Australia)
90. ศูนย์ทรัพยากรด้านแรงงาน มาเลเซีย (Labour Resource Centre Malaysia)
91. คุณ Chua Tian Chang สมาชิกรัฐสภา ประเทศมาเลเซีย
92. คุณ Syed Shahir Mohamud สมาชิกวุฒิสภา มาเลเซีย (อดีตประธานสภาแรงงานแห่งมาเลเซีย)
93. ศูนย์กลางเพื่อสื่อหนังสือพิมพ์อิสระ มาเลเซีย (Centre for Independent Journalism-CIJ)
94. เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 (The Network of Family Members and People Affected by Article 112, Thailand)
95. สหภาพแรงงานทำงานบ้าน ประเทศศรีลังกา  (Domestic Workers Union- Sri lanka)
96. กลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย (24 June for Democracy Group, Thailand)
97. กลุ่มคนเสื้อแดง (Red shirt individuals, Thailand)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท