Skip to main content
sharethis

จากคดีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับคนงานนัดหยุดงานประท้วงที่เหมืองถ่านหินลอนมิน ล่าสุดกลุ่มสิทธิมนุษยชนในแอฟริกาใต้ได้ทำการสืบสวนอิสระแล้วเปิดเผยว่า คนงานถูกยิงขณะที่หนีหรือแสดงท่าทียอมจำนวน

เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานความคืบหน้าล่าสุดกรณีคนงานเหมืองแร่ในเมืองมาริคานา ในประเทศแอฟริกาใต้ โดยบอกว่า คนงานเหมืองที่เสียชีวิตจากเหตุปราบปรามของตำรวจอาจกำลังพยายามขอยอมจำนน

จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดฉากยิงใส่คนงานผู้ชุมนุมที่เหมืองแพลตตินั่มจนมีผู้เสียชีวิต 34 คน ล่าสุด กลุ่มสิทธิมนุษยชนในแอฟริกาใต้ LRC ได้ทำการสืบสวนในกรณีนี้ด้วยตนเอง
 
กลุ่ม LRC เปิดเผยว่ามีพยานหลายคนให้การกล่าวหาตำรวจที่กระทำการรุนแรงโดยสังหารกลุ่มคนที่หยุดงานประท้วงเรียกร้องขึ้นค่าจ้าง พยานบางส่วนบอกอีกว่า ตำรวจยิงผู้ประท้วงที่กำลังพยายามหนีการปะทะ โดยการหลบอยู่หลังก้อนหิน หรือแสดงการยอมจำนนต่อเจ้าหน้าที่
 
กลุ่มนักสิทธิมนุษยชน LRC กล่าวอีกว่า มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าตำรวจพยายามปกปิดร่องรอยการสังหาร
 
คกก.สิทธิฯ แอฟริกาใต้หวั่นปมล้างแค้น
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีภาพวีดิโอของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ส.ค. โดยแสดงให้เห็นกลุ่มคนงานเหมืองถืออาวุธกระบองและมีดมาเชตต์เข้าหาตำรวจติดอาวุธ ซึ่งฝ่ายตำรวจอ้างว่าพวกเขายิงไปเพื่อป้องกันตัว
 
ก่อนหน้านี้เหตุการณ์นี้ก็เคยมีเหตุปะทะกันระหว่างสหภาพแรงงานที่มีความบาดหมางกันจนมีผู้เสียชีวิต 10 คน ในนั้น 2 คนเป็นตำรวจ
 
เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธจะให้ความเห็นเรื่องข้อกล่าวหาของฝ่ายนักกิจกรรม พวกเขาบอกว่าจะไม่ขอคาดเดาไปก่อนที่การไต่สวนตามกระบวนการยุติธรรมจะเสร็จสิ้น
 
แดนนี่ ทีทัส ตัวแทนจากองค์กรคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแอฟริกาใต้กล่าวว่า องค์กรของเขารู้สึกกังวลต่อข้อกล่าวหาละเมิดวิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์นี้ เขาบอกอีกว่าหากข้อกล่าวหาเป็นจริงก็มีความเป็นไปได้ว่าคนงานเหมืองถูกสังหารจากแรงจูงใจคือต้องการล้างแค้น
 
"นี่ไม่ใช่วิธีการควบคุมมวลชนของตำรวจ ตำรวจเหล่านี้เคยอธิบายเหตุการณ์ต่อหน้าสภาไปแล้ว หนึ่งในคำอธิบายแรกๆ ที่พวกเขาใช้แก้ตัวคือ พวกเขาไม่ได้ถูกฝึกมาเพื่อควบคุมมวลชนเป็นเรื่องสำคัญหลัก ซึ่งถือว่าแปลก" แดนนี่กล่าว "นอกจากนี้ยังมีข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานนักโทษที่เป็นคนงานเหมืองด้วย"
 
ขณะเดียวกันผู้นำสหภาพหลักของคนงานเหมืองก็บอกว่า พวกเขาจะไม่กลับไปทำงานจนกว่าจะได้ขึ้นค่าจ้างตามต้องการ 
คนงานเหล่านี้ต้องเผชิญกับเส้นตายการกลับเข้าทำงานในเหมืองลอนมินภายในวันจันทร์ (10 ก.ย.) นี้ หลังจากที่พวกเขาหยุดงานประท้วงกันมาแล้วกว่า 4 สัปดาห์ ซึ่งทำให้งานเหมืองแร่เป็นอัมพาตและหุ้นของบริษัทตก ราคาแพลทตินั่มในตลาดโลกสูงขึ้น และเกิดความกังวลเรื่องความไม่สงบในกลุ่มคนงานเหมืองอาจแพร่กระจายไปสู่งานเหมืองแร่อื่นๆ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา
 
เผยกลุ่มหยุดงานขู่ฆ่า คนที่กลับเข้าทำงาน
โดยก่อนหน้านี้มีกลุ่มสหภาพแรงงานบางกลุ่มได้เสนอให้มีการเซนต์ลงนามข้อตกลงสันติระหว่างสหภาพมาทุนจวา กับสหภาพคนงานเหมืองแร่แห่งชาติแอริกาใต้ (NUM) แต่ฝ่ายมาทุนจวาไม่ยอมเซนต์สัญญาข้อตกลง
 
การเจรจาเรื่องค่าจ้างจะมีขึ้นในวันที่ 10 ก.ย. โดยกีเดียน ดู เพสซิส เลขาธิการของสมานฉันท์แรงงานแอฟริกาซึ่งเป็นหนึ่งในสหภาพฯ ที่เซนต์สัญญาข้อตกลงสันติ ใต้กล่าวไว้ว่า กลุ่มใดก็ตามที่ลงนามในสัญญารวมถึงสหภาพคนงานเหมืองแร่ฯ และตัวแทนคนงานที่หยุดงานประท้วงจะได้เข้าร่วมเจรจา กีเดียนบอกอีกว่าการลงนามในข้อตกลงหมายความว่าพวกเขาจะต้องวางอาวุธและยอมกลับไปทำงานในวันที่ 10 ก.ย. ข้อเรียกร้องของพวกเขาจึงจะได้รับการพิจารณา
 
เมื่อวันศุกร์ (7 ก.ย.) ที่ผ่านมา บริษัทเหมืองแร่ลอนมินบอกว่ามีคนงานรายกะจำนวนร้อยละ 2 มารายงานตัวกลับเข้าทำงาน คนงานเหมืองเหล่านี้บอกว่าพวกเขาถูกข่มขู่ฆ่าจากคนงานเหมืองที่นัดหยุดงานหากพวกเขากลับเข้าทำงานอีกครั้ง
 
คนงานเหมืองราว 28,000 คน ของบริษัทเหมืองแร่ลอนมินในแอฟริกาใต้เดินออกจากที่ทำงานเนื่องจากพวกเขาต้องการเรียกร้องค่าจ้างราว 12,500 แรนด์ต่อเดือน ซึ่งมากกว่าค่าจ้างเดิมถึงสองเท่า มีนักวิเคราะห์กลายคนบอกว่าเงินจำนวนนี้จากสถานะทางการเงินของบริษัทแล้ว ทางยริษัทไม่สามารถจ่ายได้
 
 
ที่มา
SA miners 'killed while trying to surrender', Aljazeera, 09-09-2012

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net