คนกระบี่ประกาศศึกลุยต้านโรงไฟฟ้า เดินหน้าค้าน กฟผ.สร้างท่าเรือถ่านหิน

ประมงพื้นบ้านหวั่นเส้นทางเรือแออัด  ชี้ร่องน้ำตื้นต้องขุดลอก-ระเบิดหิน กระทบทรัพยากรทะเล จวก กฟผ.หมกเม็ดข้อมูล อัดงบสื่อท้องถิ่นโฆษณาชวนเชื่อ ล็อบบี้ผู้นำชุมชน

เมื่อเวลา 09.00 น. น. วันที่ 26 สิงหาคม 2555 ที่หอประชุมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 2 ตำบลโคกยาง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับบริษัทแอร์เซฟ จำกัด มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA) สำหรับโครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนืองคลองโดยมีชาวบ้านจากอำเภอเกาะลันตา อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองคลองท่อม และอำเภอใกล้เคียง จังหวัดกระบี่ ร่วมประมาณ 300 คน

โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่ ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จัดสร้างขึ้นเพื่อขนถ่ายถ่านหินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เข้าสู่โรงไฟฟ้ากระบี่ในโครงการขยายกาลังผลิตไฟฟ้ากระบี่ จะใช้เรือเดินทะลขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์สำหรับขนถ่ายถ่านหินติดตั้ งใช้งานบนเรือ มีระวางบรรทุกระหว่าง 50,000-100,000 DWT ขนส่งถ่านหินจากท่าเรือต้นทางเช่น อินโดนีเซีย มายัง จุดขนถ่ายถ่านหินกลางทะเล บริเวณเกาะปอ จากนั้นใช้อุปกรณ์บนเรือ คือ crane & grab ทำการขนถ่ายถ่านหินจากระวางเรือใหญ่ลงสู่เรือบาร์จ โดยมีอัตราการขนถ่ายประมาณ 1,200 ตันต่อวัน

สำหรับเส้นทางขนส่งถ่านหินของเรือบาร์จ จะเริ่มจากจุดทอดสมอบริเวณเกาะปอ - แหลมหิน – คลัง น้ามันบ้านคลองรั้ว– แหลมกรวด – คลองเพหลา – คลองปกาสัย – ท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า

ต่อมาเวลา 13.00 น. มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA) สำหรับโครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ตั้งอยู่ริมคลองเพหลา หมู่ที่ 6  บริเวณบ้านคลองหวายเล็ก ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง ห่างจากโรงไฟฟ้ากระบี่ ไปทางทิศใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 15.7 กิโลเมตร จะใช้เรือเดินทะลขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์สำหรับขนถ่ายถ่านหินติดตั้งใช้งานบนเรือ มีระวางบรรทุกระหว่าง 50,000 – 100,000 DWT ขนส่งถ่านหินจากท่าเรือต้นทาง เช่น อินโดนีเซีย มายังจุดขนถ่ายถ่านหินกลางทะเล บริเวณเกาะปอ จากนั้นใช้อุปกรณ์บนเรือ คือ crane & grab ทำการขนถ่ายถ่านหินจากระวางเรือใหญ่ลงสู่เรือบาร์จ โดยมีอัตราการขนถ่ายประมาณ 1,200 ตันต่อวัน

สำหรับเส้นทางขนส่งถ่านหินของเรือบาร์จ จะเริ่มจากจุดทอดสมอบริเวณเกาะปอ - แหลมหิน – คลังน้ำมันบ้านคลองรั้ว – แหลมกรวด – คลองเพหลา – คลองปกาสัย – ท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง


ชลิต สุโข 

นายชลิต สุโข สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย หมู่ที่ 1 ตำบลปกาสัย กล่าวในเวทีว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน สร้างท่าเรือถ่านหิน ทั้งที่โรงไฟฟ้าน้ำมันเตา ยังก่อปัญหาให้กับคนปกาสัยยังไม่ได้รับการแก้ไข ตนและชาวบ้านปกาสัยตั้งธงแล้วว่าจะต่อต้านไม่ให้เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเด็ดขาด แม้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตั้งธงก่อสร้างก็ตาม ตนจะกลับไปเผยแพร่ข้อมูลให้กับชาวบ้านและหาแนวร่วมพื้นที่อื่นๆ ลุกขึ้นต้านให้เป็นขบวนให้จนได้


ศุภรัตน์ ทองทิพย์ 

นายศุภรัตน์ ทองทิพย์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย หมู่ที่ 6 ตำบลปกาสัย กล่าวในเวทีว่า ตนคนหนึ่งที่ต้านทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่ และโครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ตั้งอยู่ริมคลองเพหลา หมู่ที่ 6  บริเวณบ้านคลองหวายเล็ก ตำบลคลองขนาน ซึ่งแน่นอนว่าไม่นานนี้จะมีการแตกหักกันระหว่างคนที่สนับสนุน กับต้านแน่นอน

นายอดุลย์ ซอบีรีน ชาวบ้านบ้านหัวแหลม ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แสดงความเห็นในเวทีว่า ขณะนี้ที่เกาะปอ ตำบลเกาะลันตาใหญ่ มีเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ ของบริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด แออัดอยู่แล้ว หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีการขนถ่ายถ่านหินอีก จะทำให้ปริมาณเรือเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่มีอาชีพอีกต่อไป ขนาดเรือบรรทุกปูนซีเมนต์เองยังส่งผลกระทบแล้ว หากเป็นถ่านหินย่อมอันตรายกว่าปูนซีเมนต์อยู่แล้ว ตนและชาวบ้านเกาะปอ แหลมทราย หัวแหลม ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

นายพิบูลย์ สาระวารี นักวิชาการอิสระ ที่ปรึกษาองค์กรชุมชนภาคพลเมืองจังหวัดกระบี่ แสดงความเห็นในเวทีว่า ตนได้ติดตามการทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมถึงการรับงานของบริษัทที่ปรึกษา และมหาวิทยาลัย พบข้อพิรุธ คือ มีการโฆษณาชวนเชื่อจากสถานีวิทยุ เชิงข่มขู่ชาวบ้านบอกว่าหากโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้สร้างจะไม่มีไฟฟ้าใช้ อีกทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่เปิดเผยข้อมูลรอบด้านทั้งข้อดี ข้อเสีย แถมยังมีการนำกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อล็อบบี้

“เรือขนส่งถ่านหินเดินทางจากอินโดนีเซีย ผ่านเกาะตะรุเตา ทะเลสตูล ทะเลตรัง ผ่านเกาะปอ เกาะยาว แหมกรวด 12 เที่ยวต่อวัน ทางเดินเรือเป็นน้ำตื้นถ้าจะเดินเรือต้องขุดลอก และระเบิดหินโสโครกใต้น้ำ 3 จุด ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน ของชาวบ้านตำบลเกาะศรีบอยา ตำบลตลิ่งชัน นี่ขนาดเรือบรรทุกน้ำมัน เตารั่วยังแก้ไขปัญหาไม่ได้เลย” นายพิบูลย์ กล่าว

0 0 0

รายละเอียดโครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


ความเป็นมาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ
โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม ที่ตาบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เป็นโครงการที่ต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กาหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ซึ่งกาหนดให้ท่าเทียบเรือที่รับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอส หรือความยาวหน้าท่า ตั้งแต่ 100 เมตร หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือรวม ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร ขึ้นไป

ต้องดาเนินการตามประกาศดังกล่าว โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้าไม่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กาหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสาหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2553

อย่างไรก็ตาม กฟผ. เล็งเห็นความสาคัญในการดาเนินการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนโดยรอบโครงการจึงมอบหมายให้บริษัท แอร์เซฟ จากัดในฐานะที่ปรึกษา ทาการศึกษาและจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางสาหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (EHIA) ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว โดยในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพให้ยึดถือตามแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กาหนด

รายละเอียดโครงการ

กฟผ. ได้พิจารณาการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ขนาดกาลังผลิตติดตั้งประมาณ 870 เมกะวัตต์ (ขนาดกาลังผลิตสุทธิประมาณ 800 เมกะวัตต์) โดยใช้ถ่านหินนาเข้าเป็นเชื้อเพลิง เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศและเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิง ทั้งนี้ในการดาเนินการโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว กฟผ. จาเป็นต้องมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับกระบวนการขนส่งถ่านหินนาเข้าจากต่างประเทศ โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งในการดาเนินการ ของ กฟผ. เพื่อรองรับกระบวนการขนส่งถ่านหินดังกล่าว

แหล่งเงินทุน

มูลค่าโครงการทั้งหมดประมาณ 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้สาหรับแหล่งเงินลงทุน กฟผ.จะพิจารณาฐานะการเงิน สภาวะตลาดเงินตลาดทุน วิธีการกู้เงิน และเงื่อนไขที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยจะพิจารณาแหล่งเงินทุนจากรายได้ของ กฟผ. และจากการออกพันธบัตรหรือการกู้เงินจากสถาบันการเงินตามความเหมาะสม

ร่างแนวทางในการดาเนินโครงการ

แผนการพัฒนาท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า มีองค์ประกอบที่สาคัญ ได้แก่ ท่าเรือความยาว 200 เมตร งานก่อสร้างลานกอง เขื่อนป้องกันตลิ่งกันกัดเซาะ งานก่อสร้างถนนภายในโรงไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ติดชายฝั่งด้านตะวันตก มักได้รับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดมาจากทางทิศตะวันตกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม จานวน 6 เดือนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกและมีความเร็วลมเฉลี่ยค่อนข้างสูง ทาให้ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการทางาน มีผลทาให้งานก่อสร้างดาเนินการช้าลง สาหรับแผนงานของการก่อสร้าง

ที่ตั้งและลักษณะโครงการ

โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่ ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จัดสร้างขึ้นเพื่อขนถ่ายถ่านหินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เข้าสู่โรงไฟฟ้ากระบี่ในโครงการขยายกาลังผลิตไฟฟ้ากระบี่ ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ

ท่าเรือมีโครงสร้างแบบ concrete deck on piles มีลักษณะเป็นเสาเข็มตอกฝังลึกจนถึงชั้นดินแข็ง ด้านบนของเสาเข็มจะหล่อคานคอนกรีตเสริมเหล็ก และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบหล่อที่คอนกรีตใช้เป็นคอนกรีตที่มีความคงทนต่อการกัดกร่อนสูง มีขนาดกว้าง คูณยาว 29 เมตร  คูณ 200 เมตร หรือมีพื้นที่หน้าท่าเรือ 5,800 ตารางเมตร มีระดับพื้นท่าสูงกว่าระดับน้าทะเลปานกลาง +4.0 เมตร

รองรับขนาดเรือลำเลียงขนาดเล็กเดินทะเลและภายในลำน้า แบบสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง (River Sea Going Barges - RSGB) มีขนาด 1,300 ตัน (Dead Weight Tonnage: DWT) กินน้าลึก 2.5 เมตร ความยาวเรือ 85 เมตร และความกว้างเรือ 16 เมตร ความยาวหน้าท่า โครงการออกแบบให้มีความยาวหน้าท่า 200 เมตร และมีความกว้างหน้าท่า 29 เมตร ความลึกหน้าท่า โครงการออกแบบให้มีความลึกหน้าท่าที่ระดับต่ำกว่าระดับน้าลงต่าสุด -3.0 เมตร หรือต่ากว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง -5.50 เมตร (-5.50 ม.รทก.)

หลักผูกเรือ ออกแบบตามมาตรฐานการติดตั้งหลักผูกเรือ เพื่อให้สามารถทาการจอดและทาการขนถ่ายได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย  แอ่งจอดเรือและกลับลาเรือ มีขนาด (กว้าง x ยาว) 239 เมตร x 212 เมตร ลึกกว่าระดับน้าทะเลปานกลาง -5.50 เมตร โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางกลับลำเรืออย่างน้อย 2 เท่าของความยาวเรือ ลานกองถ่านหิน ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ด้านหลังท่า มีความยาว 480 เมตร กว้าง 265.7 เมตร เนื้อที่รวมประมาณ 127,500 ตารางเมตร มีลักษณะเป็นพื้นบดอัดด้วยแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (asphaltic concrete) วางบนพื้นทรายบดอัดแน่นจนสามารถรับน้าหนักได้เพียงพอ

การขนส่งถ่านหิน

โครงการจะใช้เรือเดินทะลขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์สำหรับขนถ่ายถ่านหินติดตั้ งใช้งานบนเรือ มี ระวางบรรทุกระหว่าง 50,000-100,000 DWT ขนส่งถ่านหินจากท่าเรือต้นทางเช่น อินโดนีเซีย มายัง จุดขนถ่ายถ่านหินกลางทะเล บริเวณเกาะปอ จากนั้นใช้อุปกรณ์บนเรือ คือ crane & grab ทา การขน ถ่ายถ่านหินจากระวางเรือใหญ่ลงสู่เรือบาร์จ โดยมีอัตราการขนถ่ายประมาณ 1,200 ตันต่อวัน สา หรับเส้นทางขนส่งถ่านหินของเรือบาร์จ จะเริ่ มจากจุดทอดสมอบริเวณเกาะปอ - แหลมหิน – คลัง น้ามันบ้านคลองรั้ว– แหลมกรวด – คลองเพหลา – คลองปกาสัย – ท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า

ลักษณะของเรือขนส่งถ่านหิน

ถ่านหินจะถูกขนส่งไปยังท่าเทียบเรือโดยใช้เรือลาเลียงขนาดเล็กเดินทะเลและภายในลาน้า แบบ สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง(เรือบาร์จ:River Sea Going Barges - RSGB) ถูกออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถเดินเรือภายในคลองที่มีข้อจากัดเพื่อเข้าสู่โรงไฟฟ้ ากระบี่ได้ เรือลาเลียงขนาดเล็กแบบ สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเองนี้จะถูกต่อขึ้นด้วยเหล็ก มีหัวเรือเป็นรูปช้อน (spoon shape) และมีท้ายเรือแบบลาด (incline stem) เรือลำเลียงขนาดเล็กหรือเรือบาร์จดังกล่าวจะมีการติดตั้งใบพัดและหางเสือแบบ วางคู่ และ bow thruster ที่ส่วนหัวเรือ จึงสามารถบังคับทิศทางเดินเรือได้อย่างแม่นยา และมีประสิทธิภาพ สูงสุด ทั้ งในทะเลและภายในลา น้า นอกจากนั้น ยังมีระวางแบบปิดเพื่อควบคุม แบบเบื้องต้นของเรือบาร์จ

 

มิติหลักของเรือลำเลียงขนาดเล็กหรือเรือบาร์จ (barge)

               มิติหลักของเรือลำเลียงขนาดเล็ก

    ขนาด

ความยาวตลอดลำเรือ

85

เมตร

ความยาวเมื่อวัดจากแนวตั้งฉากจากท้องเรือ

78.5

เมตร

ความกว้างของลำเรือ

16

เมตร

ระดับการกินน้ำลึกสูงสุด

2.5

เมตร

ความถี่ของเที่ยวเรือขนส่งถ่านหินสู่ท่าเทียบเรือ

9

เที่ยว/วัน

จำนวนเรือบาร์จที่ใช้ขนส่งถ่านหิน

10

ลำ

ขนาดระวางบรรทุก ณ ระดับการกินน้ำลึกสูงสุด

1,300

ตัน

อุปกรณ์การขนถ่ายถ่านหินจากเรือ

การขนถ่ายถ่านหินจากเรือจะใช้อุปกรณ์ขนถ่ายถ่านหินที่ท่าเรือชนิด screw unloader จานวน 2 ชุด ปฏิบัติการด้วยไฟฟ้า ติดตั้งอยู่บนระบบรางและจะมีสายพานลาเลียง 1 เส้น ทางานอยู่บริเวณที่จอดเรือ เรียกว่า สายพานประจาที่จอดเรือ (belt conveyor) เพื่อรับถ่านหินผ่านทางอาคารถ่ายโอน (transfer tower) โดยสายพานจะมีอัตราการลาเลียงตามพิกัดที่สามารถรองรับอัตราการขนถ่ายสูงสุด (peak unloading rate) ของ screw unloader ได้

เครื่องทำกอง (stacker) ติดตั้งประจาที่กองเก็บถ่านหิน (coal storage area) จะทำงานไปพร้อมกับสายพานลาเลียงประจาที่กองเก็บถ่าน (yard belt conveyor) เครื่องตัก (reclaimer) ติดตั้งประจาที่กองเก็บถ่าน จะทางานไปด้วยกันกับสายพานลำเลียงประจำที่กองเก็บถ่าน เครื่องทำกองและเครื่องตักจะออกแบบให้สามารถปฏิบัติการป้อนถ่านหินจากที่กองเก็บให้แก่ระบบสายพานของโรงไฟฟ้าได้ ภายใต้อัตราความเร็วลมถึง 15 เมตร/วินาที และสามารถต้านทานแรงลม (wind load) ได้ถึง 40 เมตร/วินาที ณ ทุกตาแหน่งของทางวิ่งที่กาหนด สายพานลำเลียงถ่านหิน (coal conveyor) มีการปิดคลุมตามเส้นทางของการลาเลียงและมีอุปกรณ์ระงับการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหินตามจุดถ่ายเท (transfer point) ต่างๆ

ลานกองเก็บถ่านหิน (coal stockpile) เป็นลานกองที่มีหลังคาคลุม โดยออกแบบให้สามารถเก็บสารองถ่านหินได้ประมาณ 480,000 ตัน หรือสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าสาหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกาลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ได้ต่อเนื่อง 60 วัน โดยใช้ระบบสายพานลาเลียงถ่านหินเข้าสู่โรงไฟฟ้า ลานกองเก็บถ่านหินตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของโรงไฟฟ้า มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ สามารถกองถ่านหินได้จานวน 3 กอง พื้นที่ในส่วนลานกองถ่านหินนี้จะมีระบบฉีดพ่นน้าเพื่อป้องกันฝุ่น รวมทั้งจะมีรั้วกันลม (wind shield) โดยรอบ เพื่อกันลมที่จะเข้ามาปะทะลานกองถ่านหิน

นอกจากนี้ พื้นที่ลานกองยังได้ออกแบบให้มีระบบป้องกันการซึมผ่านของน้ำชะจากกองถ่านหินไม่ให้ไหลซึมลงไปยังชั้นดินข้างล่าง โดยการปูพื้นด้วยพลาสติกเอชดีพีอี (high-density polyethylene : HDPE) ซึ่งน้าที่ปนเปื้อนจะได้รับการบาบัดด้วยระบบบาบัดน้าทิ้งเพื่อให้น้าระบายจากโครงการมีดัชนีคุณภาพน้าไม่เกินค่าที่กำหนดตามมาตรฐานและกฎข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม เครื่องกำจัดฝุ่น (dust suppressants) โครงการออกแบบระบบต่างๆ ให้มีระบบป้องกันการฟุ้งกระจาย (sealing facilities) เป็นอย่างดีและจะติดตั้งอุปกรณ์กาจัดฝุ่นแบบพ่นละอองน้าไว้ในบริเวณที่มีโอกาสเกิดฝุ่นละอองตามบริเวณจุดสาคัญต่างๆ เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน

 

ที่มา-เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นการกาหนดขอบเขตและแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่ งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 0 0 0

โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

 

ความเป็นมาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ

โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ริมคลองเพหลา หมู่ที่ 6  บริเวณบ้านคลองหวายเล็ก ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ห่างจากตำแหน่งที่ตั้งโรงไฟฟ้ากระบี่ ไปทางทิศใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร โดยอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 15.7 กิโลเมตร  เป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2555

ซึ่งกำหนดให้ท่าเทียบเรือที่รับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอส หรือความยาวหน้าท่า ตั้งแต่ 100 เมตร หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือรวม ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ต้องดำเนินการตามประกาศดังกล่าว โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้างไม่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2553

อย่างไรก็ตาม กฟผ. เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนโดยรอบโครงการจึงมอบหมายให้บริษัท แอร์เซฟ จำกัดในฐานะที่ปรึกษา ทำการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (EHIA) ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว โดยในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพให้ยึดถือตามแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำหนด

รายละเอียดโครงการ

กฟผ. ได้พิจารณาการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ขนาดกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 870 เมกะวัตต์ (ขนาดกำลังผลิตสุทธิประมาณ 800 เมกะวัตต์) โดยใช้ถ่านหินนำเข้าเป็นเชื้อเพลิง เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศและเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิง

ทั้งนี้ในการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว กฟผ. จำเป็นต้องมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับกระบวนการขนส่งถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศ โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้างเป็นทางเลือกหนึ่งในการดำเนินการ ของ กฟผ. เพื่อรองรับกระบวนการขนส่งถ่านหินดังกล่าว

แหล่งเงินทุน

มูลค่าโครงการทั้งหมดประมาณ 3,000 ล้านบาท สำหรับแหล่งเงินลงทุน กฟผ.จะพิจารณาฐานะการเงิน สภาวะตลาดเงินตลาดทุน วิธีการกู้เงิน และเงื่อนไขที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยจะพิจารณาแหล่งเงินทุนจากรายได้ของกฟผ. และจากการออกพันธบัตรหรือการกู้เงินจากสถาบันการเงินตามความเหมาะสม

ร่างแนวทางในการดำเนินโครงการ

แผนการพัฒนาท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือความยาว 215 เมตร งานก่อสร้างลานกอง สายพานลำเลียงถ่านหิน เขื่อนป้องกันตลิ่งกันกัดเซาะ งานก่อสร้างถนนภายในโรงไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภค

เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ติดชายฝั่งด้านตะวันตก มักได้รับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดมาจากทางทิศตะวันตกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม จำนวน 6 เดือนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกและมีความเร็วลมเฉลี่ยค่อนข้างสูง ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน มีผลทำให้งานก่อสร้างดำเนินการช้าลง สำหรับแผนงานของการก่อสร้าง แสดงดังรูปที่ 2

ที่ตั้งและลักษณะโครงการ

โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ตั้งอยู่ริมคลองเพหลา หมู่ที่ 6  บริเวณบ้านคลองหวายเล็ก ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ห่างจากตำแหน่งที่ตั้งโรงไฟฟ้ากระบี่ ไปทางทิศใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 15.7 กิโลเมตร แสดงดังรูปที่ 3 โดยจะทำเป็น Jetty ยื่นออกไปในลำน้ำประมาณ 30 เมตร ขนาด (กว้าง x ยาว) 30 เมตร X 215 เมตร มีพื้นที่ท่าเรือประมาณ 6,450 ตารางเมตร จอดเรือขนาด 3,000 ตัน (Dead Weight Tonnage: DWT) ได้ 2 ลำ โครงสร้างแบบ concrete deck on piles มีลักษณะเป็นเสาเข็มตอกฝังลึกจนถึงชั้นดิน ด้านบนเสาเข็มจะหล่อคานคอนกรีตเสริมเหล็ก และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบหล่อที่คอนกรีตใช้เป็นคอนกรีตที่มีความคงทนต่อการกัดกร่อนสูง สามารถเข้าเทียบผูกเรือได้ข้างละ 2 ลำ

ที่ตั้งของท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง มีข้อดีหลายประการ คือ มีร่องน้ำลึกและกว้างซึ่งเพียงพอสำหรับการปฏิบัติการด้วยเรือลำเลียงขนาดเล็กหรือเรือบาร์จ (barge) ขนาด 3,000 ตัน มีพื้นที่ชายฝั่งบริเวณท่าเทียบเรือเพียงพอสำหรับอาคารสำนักงานปฏิบัติการและลานกองถ่านหิน จากจุดดังกล่าวสามารถวางแนวสายพานลำเลียงถ่านหินไปยังที่ตั้งโรงไฟฟ้าได้ นอกจากนั้นยังเป็นจุดที่ตั้งที่ชุมชนส่วนหนึ่งเป็นผู้เสนอให้ กฟผ. พิจารณาเป็นทางเลือก

1) ขนาดเรือ เรือลำเลียงขนาดเล็กเดินทะเลและภายในลำน้ำ แบบสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง (River Sea Going Barges - RSGB) มีขนาด 3,000 ตัน (Dead Weight Tonnage: DWT) กินความลึก 3.5 เมตร ความยาวเรือ 85 เมตร และความกว้างเรือ 23 เมตร

2) ความยาวหน้าท่า โครงการออกแบบให้มีความยาวหน้าท่า 215 เมตร และมีความกว้างหน้าท่า 30 เมตร

3) ความลึกหน้าท่า โครงการออกแบบให้มีความลึกหน้าท่าที่ระดับน้ำลงต่ำสุดหรือต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง -6.50 เมตร (-6.50 ม.รทก.)

4) หลักผูกเรือ ออกแบบตามมาตรฐานการติดตั้งหลักผูกเรือ เพื่อให้สามารถทำการจอดและทำการขนถ่ายได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

5) แอ่งจอดเรือและกลับลำเรือ ลึกกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง -6.50 เมตร รทก. โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางกลับลำเรืออย่างน้อย 2 เท่าของความยาวเรือ

6) ลานกองถ่านหิน มีขนาดประมาณ (กว้าง x ยาว) 120 เมตร X 650 เมตร มีพื้นที่รวม 78,000 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบกึ่งปิด โดยมีหลังคาคลุมและผนังปิดด้านข้าง มีระบบพ่นน้ำเพื่อควบคุมอุณหภูมิและกำจัดฝุ่น มีระบบระบายอากาศและเก็บดักฝุ่น มีบ่อพักน้ำและตกตะกอนเป็นระบบปิดสามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้

การขนส่งถ่านหิน
โครงการจะใช้เรือเดินทะลขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์สำหรับขนถ่ายถ่านหินติดตั้งใช้งานบนเรือ มีระวางบรรทุกระหว่าง 50,000 – 100,000 DWT ขนส่งถ่านหินจากท่าเรือต้นทางเช่น อินโดนีเซีย มายังจุดขนถ่ายถ่านหินกลางทะเล บริเวณเกาะปอ จากนั้นใช้อุปกรณ์บนเรือ คือ crane & grab ทำการขนถ่ายถ่านหินจากระวางเรือใหญ่ลงสู่เรือบาร์จ โดยมีอัตราการขนถ่ายประมาณ 1,200 ตันต่อวัน สำหรับเส้นทางขนส่งถ่านหินของเรือบาร์จ จะเริ่มจากจุดทอดสมอบริเวณเกาะปอ - แหลมหิน – คลังน้ำมันบ้านคลองรั้ว – แหลมกรวด – คลองเพหลา – คลองปกาสัย – ท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง

ลักษณะของเรือขนส่งถ่านหิน
ถ่านหินจะถูกขนส่งไปยังท่าเทียบเรือโดยใช้เรือลำเลียงขนาดเล็กเดินทะเลและภายในลำน้ำ แบบสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง (เรือบาร์จ:River Sea Going Barges - RSGB) ถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถเดินเรือภายในคลองที่มีข้อจำกัด เรือลำเลียงขนาดเล็กแบบสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเองนี้ จะถูกต่อขึ้นด้วยเหล็ก มีหัวเรือเป็นรูปช้อน (spoon shape) และมีท้ายเรือแบบลาด (incline stem) เรือลำเลียงขนาดเล็กหรือเรือบาร์จดังกล่าวจะมีการติดตั้งใบพัดและหางเสือแบบวางคู่ และ bow thruster ที่ส่วนหัวเรือ จึงสามารถบังคับทิศทางเดินเรือได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในทะเลและภายในลำน้ำ นอกจากนั้น ยังมีระวางแบบปิดเพื่อควบคุม แบบเบื้องต้นของเรือบาร์จ

 

มิติหลักของเรือลำเลียงขนาดเล็กหรือเรือบาร์จ (barge)

  มิติหลักของเรือลำเลียงขนาดเล็ก

     ขนาด

ความยาวตลอดลำเรือ

85

เมตร

ความยาวเมื่อวัดจากแนวตั้งฉากจากท้องเรือ

78.5

เมตร

ความกว้างของลำเรือ

23

เมตร

ระดับการกินน้ำลึกสูงสุด

3.5

เมตร

ความถี่ของเที่ยวเรือขนส่งถ่านหินสู่ท่าเทียบเรือ

4

เที่ยว/วัน

จำนวนเรือบาร์จที่ใช้ขนส่งถ่านหิน

6

ลำ

ขนาดระวางบรรทุก ณ ระดับการกินน้ำลึกสูงสุด

3,000

ตัน

 อุปกรณ์การขนถ่ายถ่านหินจากเรือ
การขนถ่ายถ่านหินจากเรือจะใช้อุปกรณ์ขนถ่ายถ่านหินที่ท่าเรือชนิด screw unloader จำนวน     2 ชุด ปฏิบัติการด้วยไฟฟ้า ติดตั้งอยู่บนระบบรางและจะมีสายพานลำเลียง 1 เส้น ทำงานอยู่บริเวณที่จอดเรือ เรียกว่า สายพานประจำที่จอดเรือ (belt conveyor) เพื่อรับถ่านหินผ่านทางอาคารถ่ายโอน (transfer tower) โดยสายพานจะมีอัตราการลำเลียงตามพิกัดที่สามารถรองรับอัตราการขนถ่ายสูงสุด (peak unloading rate) ของ screw unloader ได้

1) เครื่องทำกอง (stacker) ติดตั้งประจำที่กองเก็บถ่านหิน (coal storage area) ทำงานไปพร้อมกับสายพานลำเลียงประจำที่กองเก็บถ่าน (yard belt conveyor)

2)   เครื่องตัก (reclaimer) ติดตั้งประจำที่กองเก็บถ่าน จะทำงานไปด้วยกันกับสายพานลำเลียงประจำที่กองเก็บถ่าน

เครื่องทำกองและเครื่องตักจะออกแบบให้สามารถปฏิบัติการป้อนถ่านหินจากที่กองเก็บให้แก่ระบบสายพานของโรงไฟฟ้าได้ ภายใต้อัตราความเร็วลมถึง 15 เมตร/วินาที และสามารถต้านทานแรงลม (wind load) ได้ถึง 40 เมตร/วินาที ณ ทุกตำแหน่งของทางวิ่งที่กำหนด

3)   สายพานลำเลียงถ่านหิน (coal conveyor) มีการปิดคลุมตามเส้นทางของการลำเลียงและมีอุปกรณ์ระงับการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหินตามจุดถ่ายเท (transfer point) ต่างๆ

4)   ลานกองเก็บถ่านหิน (coal stockpile) อยู่ในบริเวณพื้นที่ด้านหลังท่าเทียบเรือสะพานช้าง ไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจำนวน 1 กอง สามารถรองรับถ่านหินได้ 50,000 ตัน มีความยาว 150 เมตร ฐานกว้าง 43.4 เมตร โดยจะมีโรงคลุมกองถ่านยาว 200 เมตร กว้าง 100 เมตร

5)   เครื่องกำจัดฝุ่น (dust suppressants) โครงการออกแบบระบบต่างๆ ให้มีระบบป้องกันการฟุ้งกระจาย (sealing facilities) เป็นอย่างดีและจะติดตั้งอุปกรณ์กำจัดฝุ่นแบบพ่นละอองน้ำไว้ในบริเวณที่มีโอกาสเกิดฝุ่นละอองตามบริเวณจุดสำคัญต่างๆ เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน

 

ที่มา-เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นการกาหนดขอบเขตและแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่ งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท