บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ: ทัศนียภาพของการต่อต้าน: เรื่องเล่าของการปฏิวัติสยามในสื่อร่วมสมัย

ในการรายการสัมมนาเรื่อง "จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย" โดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ที่อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ในการสัมมนาวันแรกคือวันที่ 21 มิ.ย. ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้นำเสนอหัวข้อ "ทัศนียภาพของการต่อต้าน: เรื่องเล่าของการปฏิวัติสยามในสื่อร่วมสมัย"

โดยการนำเสนอดังกล่าว ผู้นำเสนอระบุไว้ในบทคัดย่อว่าเป็นการนำเอาแนวคิดเรื่องการจ้องมอง (the gaze) มาเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้กรอบศึกษาวัฒนธรรมทัศนา (visual culture) หรือวัฒนธรรมทางสายตา มาพิจารณาวามเป็นการเมืองของสื่อร่วมสมัยกับการเล่าเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติสยามและการเมืองร่วมสมัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการมองเห็นมิใช่เพียงแค่การอ่านหรือการมองเห็นเพื่อความสุขเพลิดเพลินจากการได้เห็นสิ่งสวยงามแต่อย่างเดียว เพราะถึงแม้มนุษย์ได้สร้างสรรค์วัตถุในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เพื่อความสุขเพลิดเพลินจากการมองเห็น เช่น อาคาร งานศิลปะ หรือภาพยนตร์ ตลอดจนสื่อร่วมสมัยอย่างอินเทอร์เน็ตมีนัยสำคัญต่อการสร้างหรือแต่งเติม เพิ่มความหมายและนำไปสู่การรับรู้เกี่ยวกับ 2475 และสร้างวาทกรรมประชาธิปไตยในหลากมุมมอง ทั้งส่วนที่เป็นการสนับสนุนและยอมรับความสำคัญของการปฏิวัติสยาม ในขณะที่ภาพและเรื่องเล่าที่ปรากฏในสื่อจำนวนไม่น้อยพยายามลดทอนความสำคัญของการปฏิวัติสยาม และทำให้กลายเป็นเพียงปัญหาเรื่องความไม่พร้อม การชิงสุกก่อนห่าม การเร่งรุกสร้างประชาธิไตยมากเกินไป และทำให้เกิดรอยด่างในทฤษฎีรัฎฐาธิปัตย์ของไทย เป็นต้น

ในบทความจะได้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมทัศนา พัฒนาการเรื่องเล่าเกี่ยวกับศิลปะในไทย แนวคิดเรื่องพระราชนิยม การสร้างแบบความงามผ่านสถาบันการศึกษาด้านศิลปะที่สำคัญ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร และผลงานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทย

การนำเสนอยังชี้ให้เห็นว่า พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้การแพร่หลายของสื่อมีมากขึ้นและขยายเรื่องเล่าของการปฏิวัติสยาม ตลอดจนพยายามเชื่อมโยงการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยในหลายมิติ และในตอนท้ายยังมีการนำเสนอถึงตำแหน่งแห่งที่และสุนทรียศาสตร์ของการต่อสู้ในวาทกรรมประชาธิปไตยที่ปรากฏในสื่อบนท้องถนนอีกด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท