Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.55 ที่ผ่านมา ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้(สนนตชต.) ได้จัดเสวนาหัวข้อ "รัฐไทย-ชายแดนใต้ ภายใต้พรก.ฉุกเฉิน ในมุมมองฝ่าย ประชาธิปไตย" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ นายศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน จามาล กีไร ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนิสิตนักศึกษา พิทักษ์ประชาชน (คพช.) นางสาวจิตรา คชเดช นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อความ เป็นธรรมและประชาธิปไตย และนายพรชัย ยวนยี เลขาธิการ สนนท. ดำเนินรายการโดย นายศุภชัย เมืองรัก นศ.กลุ่มกล้าคิด ม.รามคำแหง

โดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้อธิบายเหตุผลในการจัดกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ว่า สนนท.มีบทบาทในนามนักศึกษาเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่เป็นธรรม และยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความไม่เป็นธรรมในสังคมที่เกิดขึ้นกับพี่น้องสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ถูกมองจากรัฐโดยรวมว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ อันเป็นผลให้รัฐต้องประกาศ พรก.ฉุกเฉิน เป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่เหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์กรือแซะ แน่นอนเมื่อมี พรก.ฉุกเฉินได้นำไปสู่การจัดการปัญหาโดยทหาร อันนำมาสู่การริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในพื้นที่ ดูถูกความเป็นมนุษย์ และเมื่อไม่นานมานี้มีนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมืองถูกทหารจับตัวไปสอบสวน ดังนั้น สนนท.จึงต้องการให้ความรู้กับประชาชนในสิ่งที่ถูกต้อง โดยการจัดเสวนาดังกล่าวขึ้นมา

 

000

“..มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง คุณคิดไม่เหมือนผลบังคับให้คุณคิด คุณต้องคิดเหมือนผม ถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมไปอยู่ประเทศอื่น หรือถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมติดคุก กรอบความคิดของชนชั้นนำที่มีความคิดแบบนี้จะไปจัดการปัญหาอะไร 3 จว.ชายแดนภาคใต้ รัฐไทยจัดการไม่เป็น จัดการเป็นคือปราบ อันนี้คือที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ อันนี้คือที่มาของการเอากองกำลังทหารไปตั้งเต็มไปหมด..” color:gray;mso-themecolor:background1;mso-themeshade:128">

รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ

รากฐานทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ลึกซึ้งและยาวนาน เกิดจากการเปลี่ยนรูปของรัฐ

เนื่องจากศึกษาประวัติศาสตร์มา ผมอยากจะย้อนกลับไปพูดถึงประวัติศาสตร์สักหน่อย ผมคิดว่าปัญหา 3 จว.ชายแดนภาคใต้มันมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ลึกซึ้งและยาวนาน เกิดจากการเปลี่ยนรูปของรัฐ ย้อนหลังกลับไปสมัยศักดินา เจ้าแต่ละแห่งก็เป็นอิสระในตัวมันเอง การยอมรับอำนาจระหว่างเจ้า มันเป็นการยอมรับแบบลำดับชั้น หมายถึงเจ้าปัตตานี เจ้าพิษณุโลก เจ้าเชียงใหม่ ทั้งหมดก็มีลำดับชั้นของตัวเองที่แน่นอน เจ้าที่ใหญ่ที่สุดที่บริเวณนี้ก็คือเจ้าที่กรุงเทพ การเมืองในระบบเก่า ระบบก่อนยุคใหม่ มันมีระบบมาเฟีย ที่มีมาเฟียจำนวนมากซึ่งมีอำนาจไม่เท่ากัน มาเฟียที่มีอำนาจากที่สุดก็จะเป็นทียอมรับมากที่สุด  แต่มาเฟียใหญ่ก็ไม่สามารถไปทำอะไรมาเฟียเล็กได้ เลยประสานประโยชน์เข้าด้วยกัน เพราะฉะนั้นลักษณะการแบ่งประโยชน์ก็จะคลายๆอย่างนี้ทั้งนั้น กษัตริย์ส่วนกลางที่กรุงเทพก็มีอำนาจที่กรุงเทพและรอบๆ อำนาจที่ปัตตานีไม่มี อำนาจปัตตานีก็มีกษัตริย์ปัตตานี เพียงแต่ว่ากษัตริย์ปัตตานีลำดับชั้นเล็ก เพราะฉะนั้นโดยลำดับชั้นก็ถือว่าขึ้นต่อกรุงเทพ ทีนี้การขึ้นต่อมันก็มีสัญญาลักษณ์ เช่น ถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง เก็บสวยเก็บภาษี ส่วนการบริหารภายในอะไรเขาก็ทำกันเอง

ทีนี้สมัยรัชการที่ 5 เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแห่งรัฐ รัชการที่ 5 ไม่เอาวิธีการแบบเดิมมันไม่ทันสมัย สิ่งที่พระองค์ทำคือจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นวิธีการปกครองแบบ บรีติส อินเดีย (British India)ปกครองอาณานิคม เอามาใช้กับไทย คือใช้การทำลายอำนาจท้องถิ่น และรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้กรุงเทพเป็นแห่งเดียวที่เป็นที่มาแห่งอำนาจทั้งหมด แล้วจัดการรวมปัตตานีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ซึ่งต่อมา 2476 ก็จัดเป็นจังหวัดปัตตานี โดยการยกเลิกเจ้าครองนครทั้งหมด

การรวมประเทศโดยรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งหมดนี่ มันไม่เกิดประชาธิปไตย มันเกิดสิ่งที่เรียกว่าสมบูรณาญาสิทธิราช คืออำนาจสูงสุดอยู่ที่คนๆเดียว อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ ซึ่งที่มามาจากการที่อังกฤษปกครองอาณานิคม ว่า ร.5 ไปเอารูปแบบตะวันตกมาปกครองนั้น ร.5 ไม่ได้เอาที่ลอนดอนหรือปารีส แต่เอาจากอินเดียมา ผลกระทบต่อแว่นแคว้นต่างๆก็คือความเป็นอิสระของแว่นแคว้นทั้งหลายมันถูกทำลาย มันไม่ใช่เกิดแค่ปัตตานี มันเกิดขึ้นที่ล้านนา มันเกิดขึ้นที่อีสาน ทั้งหมดเป็นแบบเดียวกันหมด คือประชาชนไม่ได้รับสิทธิเสรีภาประชาชนต้องอยู่ภายใต้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด ใครคิดกบฏก็จะถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัชกาลที่ 5 สร้างกองทัพประจำการสมัยใหม่ขึ้นมา กองทัพนี่ไม่ได้สร้างมารบกับข้าศึกภายนอก เพราะว่าข้าศึกภายนอกขณะนั้นเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส ไม่มีทางรบชนะ กองทัพที่สร้างขึ้นมาเป็นกองทัพที่ใช้จัดการประชาชนของตัวเองภายใน ในกรณีที่ประชาชนนั้นกระด้างกระเดื่องไม่ยอมรับอำนาจของศูนย์กลาง ไม่ใช่แค่ประชาชน รวมทั้งเจ้าเมืองต่างๆด้วยที่จะไม่ยอมรับอำนาจศูนย์กลาง และโดนปราบ  ดังนั้นการเกิดของรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ รวมทั้งการเกิดกองทัพประจำการสมัยใหม่ทั้งหมด มันอุดมการณ์คิดเดียวกันหมด อุดมการณ์ของศูนย์กลางที่จะรวบรวมผู้ขาดอำนาจ    

เกิด 2475 ขึ้นมาทำให้เกิดรูปแบบความสัมพันธ์บางอย่าง เกิดความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน คือรูปแบบเดิมที่ประชาชนไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียง มาถึง 2475 คณะราษฎรบอกไม่ได้แล้วประชาชนต้องมีสิทธิ เพราะฉะนั้นแล้วมันก็เลยเกิดอย่างน้อยในทางทฤษฎีมันเกิดการคลี่คลายที่ทำให้ประชาชนมีสิทธิในลักษณะหนึ่ง ซึ่งอันนี้มันสามารถตอบสนองต่อประชาชนส่วนอื่นได้ ผมไม่ได้บอกว่ามันไม่มีปัญหา มันมีปัญหาเช่นกัน คือประชาชนทั่วทั้งประเทศมีสิทธิเลือกตั้งและกระบวนการเปลี่ยนแปลงอันใหม่นี่เองที่ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้ง มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการรวมรัฐไทย เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้ภาพชาตินิยม หรือชาติไทยสมัยจอมพล ป. เกิดการตื่นตัวของประชาชนในภาคอีสาน เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการประชาธิปไตย และกระบวนการอันนี้ทำให้การหลอมรวมเป็นเอกภาพเข้าสู่ศูนย์กลางมันค่อยๆสมบูรณ์มากขึ้น อีสานกลายเป็นไทย ล้านนาถูกทำลายอัตตาลักษณ์หายไป กลายเป็นไทย

นโยบายแบบจอพล.ป นี่ล่ะทำให้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าปัตตานีกับเจ้าสยามไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชน

การเกิดขององคาพยพชาติไทยสมบูรณ์มันเกิดสมัยจอมพล ป. แต่การเปิดความเป็นเอกภาพชาติไทยอันนี้ใช้ไม่ได้กับ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ เป็นที่เดียวที่มีปัญหาพิเศษเพราะว่ามีปัญหาความแตกต่างในเชิงอัตตาลักษณ์กับส่วนอื่นๆ ความแตกต่างนั้นคือเรื่อศาสนาอิสลาม รวมทั้งความเป็นมาลายูหรืออะไรก็ตามมันไม่ค่อยไป ไม่ค่อยกลืนกับความเป็นไทย ตามที่รัฐบาลจอมพล ป. รณรงค์

มันนำไปสู่ส่วนที่ 2 คือ สิ่งที่รัฐบาลจอมพล ป. รับมรดกจาก 2475 คือ “รัฐเดี่ยว” ความเป็นรัฐเดี่ยวที่ ร.5 ต้องการสร้างและรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางนี้ไม่มีการเปลี่ยน สิ่งที่จอมพล ป. เติมเข้าไป ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาคือเรื่อง “เชื้อชาติ” คือความยิ่งใหญ่ของชาติไทย เชื้อชาติไทย คนไทย ความเป็นไทยทั้งหลายทั้งปวงนี้ แล้วเอาสิ่งที่เรียกว่าความเป็นไทยเข้าไปครอบ ความเป็นไทยนั้นเป็นความเป็นไทยที่ถูกตีความโดยรัฐ โดยจอมพล ป. ความเป็นไทยจะต้องไม่ได้หมายถึงการนุ่งจูงกระเบนกินหมาก แต่ความเป็นไทยหมายถึงต้องทำแบบตะวันตกต้องใส่เสื้อใส่กางเกงอย่างที่เราใส่กันนี้ จะต้องมีวิถีใหม่แบบตะวันตก จะต้องมีความรักชาติ จะต้องนับถือพุทธ จะต้องเรียนหนังสือแบบตะวันตก ทีนี้ 2 อย่างที่ต่อท้ายพอเอาไปใช้ใน 3 จว.ชายแดนใต้ มันเกิดปัญหา เพราะว่าเวลาที่คุณเอาโรงเรียนสมัยใหม่เข้าไปสอนในภาคใต้ เอาครูสมัยใหม่เข้าไปสอน สอนความรู้ตะวันตก เอาความเป็นพุทธเข้าไป เมื่อเข้าโรงเรียนแล้วคุณต้องสวดมนต์แบบพุทธ ความเป็นพุทธคือความเป็นไทย มันก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรมขึ้นมาอย่างรุนแรง แต่เดิมคนที่ต่อต้านการรวมปัตตานีเข้าสู่ส่วนกลางเป็นเจ้าปัตตานี แต่ผมคิดว่านโยบายแบบจอพล.ป นี่ล่ะทำให้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าปัตตานีกับเจ้าสยามไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชน เพราะว่าชาตินิยมแบบจอมพล ป. มันไปกระทบชีวิตของผู้คน

ตอนหลังสงครามที่ อ.ปรีดี พยายามสร้างประชาธิปไตย ถึงได้พยายามแก้ปัญหา พยายามเจรจา ฮาหยีซูหลง เป็นผู้นำท้องถิ่น เสนอข้อเสนอ 10 ประการในการที่จะแก้ปัญหาภาคใต้ รัฐบาลปรีดีมีแนวโน้มที่จะรับฟังและพยายามที่จตะแก้ไขตามนั้น แต่บังเอิญเกิดรัฐประหารจอมพล ป.กลับมาใหม่ปี 2490 ขวาจัด ชาตินิยมรัฐเดี่ยว แล้วก็ไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนเดิม ปัญหาเริ่มบานปลายขึ้นมา ฮาหยีซูหลง ถูกจับเข้าคุก แล้วต่อมาถูกเอาไปฆ่า ความรุนแรงใน 3 จว.ภาคใต้มันพัฒนาขึ้นมา มันเกิดขบวนการพลูโล ขบวนการแยกดินแดนปัตตานีอะไรมากมาย ขวบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือกลายเป็นอันเดียวกันในสมัยเดียวกันกับที่พรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยลุกขึ้นสู้ แล้วช่วงพีคของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยคือราวปี 08 จนถึงปี 22 ที่พรรคคอมมิวนิสต์นำประชาชนลุกขึ้นสู้ในชนบททั่วประเทศ มีการตั้งกอกำลัง 3 จว.ชายแดนภาคใต้ก็มีการตั้งกองกำลังในลักษณะเดียวกันแบบนั้นด้วย พอหลัง 2522 แล้วพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มพัง กองกำลังเริ่มล้ม กองกำลังใน 3 จว.ภาคใต้ เริ่มสลายมีการมอบตัว คือ รัฐบาลได้ใช้นโยบาย 66/23 ไปใช้ใน 3 จว.ภาคใต้ ที่จะทำให้สงครามกลางเมืองยุติ ก็ได้ผลพอสมควร เหมือนปัญหา 3 จว.ภาคใต้หมดไปสักระยะหนึ่ง จนกระทั้งมาปะทุใหม่ปี 47 ก่อนหน้านั้นมันมีไหม ผมคิดว่าก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี 25-47 ผมว่ามันเบาลงไปเยอะ แต่มันเบาไปเยอะไม่ได้แปลว่าได้มีปัญหา

เปลี่ยนจากจอมพล ป.ที่รณรงค์เรื่องความเป็นไทย เชื้อชาติไทย ตอนนี้สิ่งใหม่ที่เอามารณรงค์คือ “ราชาชาตินิยม”

ปัญหาหลังอันหนึ่งคือการรณรงค์ความเป็นไทยไปทั่วประเทศโดยที่ไม่มีการแยกแยะ เชื้อชาติไทยเข้าไปครอบงำนี่ มันหมายถึงรัฐบาลกลางไม่รู้จักหรือไม่มีแนวคิดเรื่องการเคารพ ในเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม การไม่รู้จักเคารพความต่างทางวัฒนธรรม หรือการมองไม่เห็นประเด็นอันนี้มันไม่ได้หายไปไหนรัฐไทยหลังปี 2525 ก็เป็นเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนจากจอมพล ป.ที่รณรงค์เรื่องความเป็นไทย เชื้อชาติไทย ตอนนี้สิ่งใหม่ที่เอามารณรงค์คือ “ราชาชาตินิยม” หมายถึงความเป็นไทยที่มีกษัตริย์เป็นแกนกลาง จะต้องให้คนไทยทั่วประเทศนับถือกษัตริย์แบบเดียวกัน ภัคดีต่อกษัตริย์แบบเดียวกัน มีความยึดมั่น เอกภาพที่เกิดขึ้นหลัง 2525 เป็นเอกภาพของชาติภายใต้บารมีอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ไทย

มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง

และด้วยความหวังของรัฐส่วนกลาง คือหวังว่าความเป็นไทยอันนี้มันสมบูรณ์ มันจะแก้ปัญหาความแตกต่างความขัดแย้งภายในชาติได้ แก้ได้โดยเมื่อทุกคนภักดีในสิ่งเดียวกัน ทุกคนรักในสิ่งเดียวกัน เราก็เป็นไทยด้วยกัน เป็นไทยภายใต้กรอบอันเดียวกัน ลักษณะอย่างนี้มันก็ข้ามความต่างทางวัฒนธรรม ถ้าใครไม่ทำหรือเห็นด้วยกับอันนี้ อันนี้เป็นปัญหาร่วมที่ยังแก้ไม่ตก คือรัฐไทยไม่มีวิธีการจัดการ ในทางความคิดก็จัดการไม่ได้ สมติว่ามีใครไม่รักไม่ภัคดีเหมือนเธอ สิ่งที่จะตอบโต้ก็คือ เมื่อเธอไม่รักเหมือนฉันก็ไปอยู่ประเทศอื่นสิ มีคำอธิบายแบบนี้ด้วย เมื่อเกิดปัญหาภาคใต้หลังปี 47 มีคนอธิบายว่าให้เอาพวก 3 จว.ภาคใต้ไปอยู่ประเทศอื่นให้หมด อันนี้สะท้อนความคิดหรือความไร้เดียวสาของคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจปัญหา 3 จว.ภาคใต้ ไม่รู้เลยว่าเขาอยู่ของเขาแต่เดิมแล้วเราขยายไปผนวกเขาเข้ามา พวกเราไปคิดว่านี่เป็นแผ่นดินไทยแล้วพวกนี้อพยพเข้ามาแล้วยังไม่ภักดีต่อเจ้าของประเทศ มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง คุณคิดไม่เหมือนผลบังคับให้คุณคิด คุณต้องคิดเหมือนผม ถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมไปอยู่ประเทศอื่น หรือถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมติดคุก กรอบความคิดของชนชั้นนำที่มีความคิดแบบนี้จะไปจัดการปัญหาอะไร 3 จว.ชายแดนภาคใต้ รัฐไทยจัดการไม่เป็น จัดการเป็นคือปราบ อันนี้คือที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ อันนี้คือที่มาของการเอากองกำลังทหารไปตั้งเต็มไปหมด

มองว่าคนเหล่านั้นที่แยกดินแดนเป็นโจนกบฏ เป็นคนชั่ว แล้วสร้างกรอบเหล่านี้ เราไม่เคยย้อนนึกเลยว่าคนที่เขารักแผ่นดินเกิดปัตตานีเขาอยากให้ปัตตานีเป็นเอกราชนี่เป็นคนดี รักชาติบ้านเมือง เป็นคนชั่วเพราะอะไร เพราะคิดต่างจากรัฐ ดังนั้นคิดว่าวิธีการแก้ปัญหามันจึงเป็นแบบเดียวกัน ชนชั้นนำไทยเป็นชนชั้นนำที่คับแคบ แก้ปัญหาด้วยแพทเทินเดียว

ประเทศไทยพิเศษมากในทางไม่เคารพสิทธิมนุษยชน

การละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องเล็กมากสำหรับรัฐไทย เพราะรัฐไทยไม่เคยเคารพสิทธิมนุษยชน อย่าว่า 3 จว.ชายแดนใต้เลย แม้กระทั้งประชาชนไทยด้วยกันแท้ๆก็ไม่เคารพ ถ้ามีการเคารพในสิทธิมนุษยชนนี่ การฆ่ากันกลางเมือง การฆ่าประชาชน 90 กว่าศพกลางเมืองนี่มันเกิดขึ้นไม่ได้หรอก ผมไม่คิดว่ารัฐบาลอังกฤษฆ่าประชาชนอังกฤษ 90 คนแล้วประชาชนจะยอม ถ้ารัฐบาลฝรั่งเศสฆ่าประชาชนกลางปารีสยิงทิ้งกลางถนน แล้วบอกว่ามีโจรชุดดำมาไล่ยิงประชาชนไปตาย 90 คน ผมว่าประชาชนฝรั่งเศสไม่ฟังนะ รัฐบาลชุดนั้นจะอยู่ไม่ได้ ผมว่าประเทศไทยพิเศษมากในทางไม่เคารพสิทธิมนุษยชนเลย ดังนั้นการละเมิดสิทธิใน 3 จังหวัดภาคใต้จึงเกิดขึ้นจนเป็นภาวะปรกติ

ผมคิดว่ารัฐไทยต้องประบกระบวนทัศน์

จะแก้อย่างไร ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องใหญ่มาก ผมคิดว่ารัฐไทยต้องประบกระบวนทัศน์ ขนานใหญ่ในเรื่องสิทธิมนุษยชน รัฐไทยต้องปรับกระบวนทัศน์ในแง่ของวิธีการจัดการประชาชน  โดยการที่จะจัดการกับประชาชนอย่างไรโดยที่ไม่ต้องฆ่า  โดยที่ไม่ต้องใช้ภาวะฉุกเฉินไปเล่นงาน รัฐไทยจะทำอย่างไรถึงจะต้องเคารพในความต่างทางวัฒนธรรม จะต้องแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 1 ไหม ประเทศไทยเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐไทยจะต้องประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธ์ต่างๆหลากหลายมารวมกัน ถ้าเราสามารถปรับมาตรา 1 ให้หน้าตาคลายๆอันนี้นะ เราน่าจะแก้ปัญหาได้เยอะทีเดียว ก็คือเริ่มตั้งแต่ยอมรับถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทางศาสนา และเราหาทางอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธีได้อย่างไร เรายอมรับความขัดแย้งมีได้ แต่เราแก้ความขัดแย้งโดยสันติ ไม่ใช่บังคับหรือกลบเกลื่อนว่าสังคมไทยเรารู้รักสามัคคี เป็นเอกภาพไม่มีความขัดแย้ง ทุกคนรักในสิ่งเดียวกัน ภักดีในสิ่งเดียวกัน คิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นใครคิดต่างไอ้นั้นคือพวกญวนพวกแกว

มันไม่ใช่แค่ปัญหาเฉพาะ 3 จว.ชายแดนใต้ มันเป็นการแก้ปัญหาที่กรอบความคิด แก้วิธีการปฏิบัติโดยรัฐ ผมคิดว่ารัฐไทยอาจจะเป็นอย่างรัฐสวิตเซอร์แลนด์ รัฐไทยคิดแบบรัฐสวีเดน อย่าทำให้รัฐไทยคิดแบบรัฐพม่า เราคงจะแก้ปัญหาได้ ถ้าวันใดก็ตามเรามีชนชั้นนำที่คิดแบบซีวิลไลน์แก้ปัญหาโดยสันติวิธีละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ดูถูกประชาชน เคารพในความแตกต่างมันน่าจะแก้ปัญหาได้ ถ้าชนชั้นนำไม่เป็นอย่างนั้น ประชาชนจะบีบบังคับอย่างไร เราต้องหาประชาชนบีบให้ชนชั้นนำเปลี่ยน

”ไทย”เป็นมรดกของคณะราษฎร์ “สยาม” เป็นมรกดของพวกเจ้า

ผมเองจริงๆนี่ผมไม่ต่อต้านจอมพล ป. นะ ผมรักจอมพล ป. เป็นจอมพล ป.อิสซึ่ม ที่ผมพูดเรื่องจอพล ป.ผมมองในเชิงเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ เราจะต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า เราจะรักจะเกลียดใครนี่ คือจอมพล ป. ผิดได้ ถูกได้ ใครก็ตามที่ไม่มีถูกไม่มีผิดอันนั้นเรารับไม่ได้  เรื่องไทยสยาม ผมว่า”ไทย”เป็นมรดกของคณะราษฎร์ “สยาม” เป็นมรกดของพวกเจ้า เพราะว่า คำว่าสยาม ร.4 เป็นคนใช้ เมื่อก่อนนี้ประเทศไทย ฝรั่งเรียก “บางกอก” แต่ว่า ร.4 เรียกประเทศไทยว่ากรุงสยาม แต่เดิมประเทศเราเรียกกรุงศรีอยุธยาในสมัย ร.3 ร.4 เอาสยามมาใช้ ร.5, ร.6 ใช่คำว่า “สยามรัฐ” ผมชอบมรดกของคณะราษฎร์เพราะใกล้ชิดพวกเรามากกว่าพวกนั้นเขาอยู่สูงๆเอื้อมไม่ค่อยถึง คณะราษฎร์ถูกได้ผิดได้ดีได้ชั่วได้ผมชอบอย่างนี้

พรก.ฉุกเฉินมีปัญหาเยอะ ถ้าจะใช้ต่อไป ต้องจัดการแก้เรื่องนิยามและไม่ให้มันละเมิดสิทธิมนุษยชน

ปัญหาเรื่อง พรก.ฉุกเฉินมีปัญหาเยอะ ถ้าจะใช้ต่อไป ต้องจัดการแก้เรื่องนิยามและไม่ให้มันละเมิดสิทธิมนุษยชน จริงๆผมว่ายกทิ้งไปดีกว่า ประเทศไทยมีกฎหมายแบบนี้เยอะแยะมากมาย ประเทศไทยเราชนชั้นนำมักคิดว่ามีปัญหาแล้วแก้ปัญหาโดยการออกกฎหมายใหม่ กฎหมายมีมากมายจนกระทั้งนักเรียนนิติศาสตร์ไทยไม่สามารถจำได้หมด แต่ว่ามีกฎหมายเยอะแยะมากมายก็แก้ปัญหาไม่ได้

 

“ถ้าไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อยากให้มีการแก้ไขตัว พรก.ฉุกเฉินให้ มีความเป็นธรรมมากขึ้น อย่างน้อยในเรื่องของการห้ามอะไรต่างๆนั้น หรือว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เขียนนิยามให้ชัดเจน นิยามความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินให้แคบลง แล้วให้เขียนให้ชัดเลยว่าห้าม ม.17 ที่บอกว่าไม่มีโทษตามกฎหมายนี่ เขียนยกเว้นโทษไว้ล่วงหน้านี่ ไม่ต้องรับผิดของเจ้าพนักงานที่ตามกฎหมายจะต้องยกเลิกมาตรานี้” color:gray;mso-themecolor:background1;mso-themeshade:128">

color:#0000CC">ศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน

เหตุผลของการมี พรก.ฉุกเฉิน เพราะว่ารัฐไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะใช้มาตราการปกติในการควบคุมสถานการณ์

พรก.ฉุกเฉิน มันมีที่มาประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ฉบับเก่ามันล้าสมัย และเหตุผลที่ต้องแก้ไขเมื่อปี 48 สมัยที่คุณทักษิณเข้ามาบริหารประเทศ เขาเขียนไว้ในคำปรารภในตัว พรก. หมายเหตุท้าย พรก. ซึ่งหมายความว่าเวลากฎหมายหลายๆฉบับเขาจะพูดถึงเจตนารมณ์ว่าทำไมถึงต้องประกาศใช้กฎหมายนี้ เขาบอกว่า  “เพราะว่ากฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับเดิม คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 ) ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติต่าง ๆ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐที่มีหลากหลายรูปแบบให้ยุติลงได้โดยเร็ว” ข้อที่ 2 “ไม่อาจนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติสาธารณะและการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายได้” เหตุผลข้อที่ 3 “ความร้ายแรงของสถานการณ์ความมั่นคงของรัฐมากยิ่งขึ้นกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดน  เกิดความไม่สงบเรียบร้อย รบกวนความเป็นอยู่ของประชาชนโดยปกติ” เราจะเห็นว่าตอนประกาศฉุกเฉินในกรุงเทพนี่เขาหาว่าเสื้อแดงรบกวนความสงบสุขของประชาชนโดยรวม ข่มขู่คุกคาม เราจะเห็นข่าวว่าเวลาเข้าไปในบ้านถูกตรวจถูกค้น มาปิดถนนมาปิดแยกทำลายเศรษฐกิจสารพัด เลยบอกว่ากลุ่มเสื้อแดงเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรงต้องปราบ เลยเอาทหารมา อันนี้เป็นเหตุผลของการมี พรก.ฉุกเฉิน เพราะว่ารัฐไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะใช้มาตรการปกติในการควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองได้

ปัญหาความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินกว้างขวางมาก

กฎหมายฉุกเฉินมันเป็นกฎหมายที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน ทำไมกฎหมายนี้จึงไม่เคารพสิทธิมนุษยชน เพราะว่ามีการใช้กฎหมาย โดยที่ตั้งแต่ความหมายแล้ว เราไปดูความหมายของคำว่า “สถานการณ์ฉุกเฉิน” เขียนนิยามไว้เลยในกฎหมายนี้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศอยู่ในภาวะคับขัน หรือเป็นการกระทำเกี่ยวเนื่องกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา” ในกรุงเทพต้องให้เสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้ายถึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และถามว่าเหตุการณ์ตรงไหนเป็นเหตุการณ์ก่อการร้าย ถ้าภาคใต้ยังพอจะมองเห็นว่ามีระเบิดเป็นภัยคุกคาม แต่ในกรุงเทพเมื่อช่วง 2 ปีที่แล้วมันมีอะไร แค่ไปปิดสภา บุกเข้าไปในสภา คุณอริสมันต์บุกสภาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน วันที่ 7 เมษา อันนี้ก็เป็นปัญหาความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินกว้างขวางมาก ถ้าเกิดว่าในกฎหมายระหว่างประเทศการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้จะต้องมีเหตุผลเพียงพอที่กระทบต่อความอยู่รอดของชาติ

กฎหมายที่เป็นลักษณะการลงโทษหรือมีความผิดทางอาญานี่ มันจะต้องเขียนไว้อย่างชัดเจน เขียนให้ตีความโดยเคร่งครัด

พอมาเขียนกว้างขวางให้เลือกใช้อันใดอันหนึ่งก็ได้ การประกาศการเขียนกฎหมายกว้างๆแบบนี้ โดยหลักการกฎหมายที่เป็นลักษณะการลงโทษหรือมีความผิดทางอาญานี่ มันจะต้องเขียนไว้อย่างชัดเจน เขียนให้ตีความโดยเคร่งครัด ไม่ใช่ให้มาเลือกใช้อันใดอันหนึ่ง และในการมอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีประกาศเขตสถานการณ์ฉุกเฉินได้แล้วมาขออนุญาตสภาทีหลัง ผมคิดว่านี่เป็นอันตรายมาก เพราะเห็นว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดเพราะว่าผู้ประกาศสถานการณ์ตามกฎหมายนี่คือนายกรัฐมนตรี

กฎหมายนี้ให้อำนาจอะไรบ้าง มันมีปัญหาเยอะในเรื่องของการจะควบคุมใครก็ได้ที่สงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน คือนอกจากมีสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ใน พรก.ฉุกเฉิน เขียนว่าสถานการณ์นั้นเป็นภัยอย่างร้ายแรงเป็นสถานการณ์ที่ก่อการร้าย ให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพิ่มดีกรีของความฉุกเฉินมาก เดิมทีถ้าฉุกเฉินปรกติ ทำอะไรได้บ้าง ในมาตรา 9 ห้ามออกนอกเคหะสถาน ห้ามชุมนุม 5 คนขึ้นไป ในกฎหมายอาญาเขียนว่า 10 แต่ในนี้เขียนว่า 5 ห้ามเสนอข่าว ปิดเวปก็ได้ใช้ไหม ห้ามจำหน่ายห้ามเผยแพร่สิ่งพิมพ์หนังสือ หรือข้อความทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเข้าใจผิด มันเป็นข้อความที่เขียนไว้กว้างๆเพราะฉะนั้นการใส่ข้อมูลว่า ข่าวไหน วิทยุชุมชนเรียกร้องอย่างไรให้มาต่อต้านรัฐ ในรัฐบาลชุดที่แล้วพยายามจะเขียนแล้วก็ลงโทษฟ้องร้องประชาชนที่ออกมาชุมนุมโดยสงบ คือกวาดไปหมดเลยว่าคนที่มาชุมนุม ถือเป็นพวกที่ก่อความไม่สงบไปหมดเลย ไม่มีการแยกแยะอันนี้เป็นปัญหา ฯลฯ อันนี้เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งนั้น เพราะโดยปกติประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะวิธีการใด จะโดยรับข่าวสาร เข้าข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี ทำได้หมด แต่พอมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงความเป็นอยู่ ผมก็ไม่รู้ว่าระหว่างผู้ที่ก่อความไม่สงบประชาชนถูกกระทบกระเทือนกว่าหรือการที่รัฐไปปิดกันเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนนี่ใครก่อความไม่สงบกว่ากัน

รัฐเข้ามาแทรกแซงความเป็นอยู่ของประชาชนมากทำให้มีปัญหาว่าแล้วจะทำให้ประชาชนรู้ข้อมูลได้อย่างไร รัฐอาจจะปิดกั้นข้อมูล โดยกล่าวหาอีกฝ่ายให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง บิดเบือน แต่รัฐก็ให้ข้อมูลซึ่งในช่วงสถานการณ์ภาคใต้ เรามักไม่เห็นว่าเวลามีการปะทะกันนี่ เราจะไม่เห็นว่ามีการซ่องสุมอะไรอย่างไร แต่การปะทะกันแล้วมีคนนอนเสียชีวิตอยู่ มีแต่รูประเบิดอะไรวางๆอยู่ แล้วถามว่าคานี้เขาต่อสู้กันจริงหรือปล่าว มันเหมือนการวิสามัญฆาตรกรรมเวลาผู้ร้ายต่อสู้เจ้าหน้าที่ หลายกรณีได้มีอาวุธอยู่ในมือ หรือแม้แต่ตอนช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพ คนที่ถูกยิงส่วนใหญ่ ผมว่าทั้งหมดไม่มีอาวุธอยู่ในมือ หรือตัวเองก็ไม่มี แล้วก็ไปหาว่าคนมาชุมนุมเป็นพวกใช้อาวุธยิงต่อสู้กับทหาร เราจะจับกุมหรือจะฆ่าใครมันต้องมีเหตุผลพอที่จะเชื่อได้ว่าคนนั้นทำอะไรที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย

พอสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทำอะไรได้อีก นายกให้เจ้าพนักงานทำการจับกุมควบคุมตัวได้อีก ทีนี้โดยหลักกฎหมายการจะควบคุมใครก็ตามต้องมีหมาย พรก.ฉุกเฉิน ต้องขอหมายจากศาล ทีนี้ปกติการขอหมายจากศาล ถ้าเป็นคดีอาญาทั่วไป ศาลต้องทำการไต่สวนว่ามีเหตุผลอะไร มีหลักฐานที่ควรจะเชื่อได้อย่างสิ้นข้อสงสัยว่าผู้ที่ศาลจะออกหมายให้ควบคุมตัวหรือไปจับกุมตัว หรือไปค้นอะไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามกฎหมาย ทีนี้เราไม่ทราบเวลาที่คนในภาคใต้ถูกหมายฉุกเฉินมีการไต่สวนข้อมูลกันหรือปล่าว

ออกหมายฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ของรัฐนี่ ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ถ้าเกิดว่าในทางคดีอาญาทั่วไปเขาจะต้องพิสูจน์จนไม่มีข้อสงสัย

ในทางปฏิบัติจากข้อมูลของคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล เจ้าหน้าที่ทหารเขาแบ่งกลุ่มคนที่ต้องสงสัยที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4 กลุ่ม

กลุ่มแรก กลุ่มที่มีความรุนแรงมากที่สุด คือ ผู้ที่เคยก่อการร้ายมาก่อนแล้ว บุคคลเหล่านี้จะถูกจับกุมและตั้งข้อหาทางอาญา หมายถึงว่ามีบัญชีดำอยู่ ฝ่ายทหารก็จะมีชุดหนึ่ง ตำรวจมีชุดหนึ่ง ฝ่ายความมั่นคงมีอีกชุดหนึ่งหมายถึงพวกข่างกรอง คือคนละชุด มีชุดก็ไม่เหมือนกัน อยู่ที่วิธีการได้มา

กลุ่มที่ 2 คือผู้ให้ความร่วมมือกับผู้ก่อการร้าย บุคคลเหล่านี้จะถูกควบคุมตัว สักถามเบื้องต้น ตาม พรก.ฉุกเฉิน ถ้าถึงที่สุดแล้วนั้นเขาอาจจะตั้งข้อหาได้

กลุ่มที่ 3 คือผู้ที่รู้เห็น อันนี้กว้างมาก รู้ว่ามีการระเบิด รู้ว่ามีการยิง ก็จะถูกควบคุมตัว รู้เห็นถึงความไม่สงบ

กลุ่มที่ 4 คือผู้ที่ถูกชักจูง หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง มันแปลกคนกลุ่มเสี่ยงควรจะได้รับการคุมครอง แต่กลุ่มเสี่ยงถูกควบคุมตัว ถูกเชิญตัวมาให้ข้อเท็จจริง

ข้อมูลแบบนี้ทำให้การที่จะออกหมายฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ของรัฐนี่ ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ถ้าเกิดว่าในทางคดีอาญาทั่วไปเขาจะต้องพิสูจน์จนไม่มีข้อสงสัย โดยหลักการทั่วไปว่า คนเหล่านี้ไปเกี่ยวข้องอะไร มันเกิดการลักลั่นว่าการจับกุมมันเหมือนกับเพียงแต่สงสัยเท่านั้นเองว่าบุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องก็เชิญตัวมาได้แล้ว อันนี้เป็นอันตรายเพราะมันขัดแย้งต่อหลักการทั่วไป

การเชิญมาแล้วยังไม่ต้องข้อกล่าวหาแต่สามารถควบคุมได้ถึง 30 วันเลย อันนี้เป็นปัญหามาก บางรายก็ควบคุมเกิน หากควบคุมเกินรัฐต้องจ่ายค่าเสียหาย การควบคุมตัวเป็นวิธีการเดียวที่รัฐสามารถหาข้อมูล จริงๆแล้วมันมีวิธีอื่นในการหาหลักฐาน เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไม่ต้องจับไว้ก่อนหรือควบคุมตัวไว้ก่อน เพราะเหตุแห่งหารควบคุมตัวไว้ในกฎหมายนี้เขียนเอาไว้ด้วยซ้ำว่า ควบคุมไว้ในสถานที่ใดก็ได้ที่ไม่ใช่โรงพัก มันจึงมีค่ายอิงคยุทธ มีหน่วย ฉก. หน่วยทหารพิเศษที่อยู่ในวัด มีหน่วยนั้นหน่วยนี้เต็มไปหมด เพราะเขาถือว่าห้ามคุมขังในเรือนจำหรือที่โรงพัก

ปกติแล้วคนที่ถูกควบคุมตัวนี่ถ้าถูกจับโดยตำรวจ เอาไว้ที่โรงพักภายใน 48 ชม.ต้องพาตัวไปที่ศาลเพื่อขอฝากขังต่อ แล้วก็ดูความหนักเบาของข้อหาว่าจะขังได้กี่วัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเขียนไว้ชัดเจน และสูงสุดควบคุมได้ไม่เกิน 84 วัน ทีนี้ พรก.ฉุกเฉินนี่ นอกจากควบคุมไว้ 30 วันแล้ว ถ้าสงสัยว่าจะสอบสวนไม่เสร็จ หาหลักฐานไม่เพียงพอก็ไปใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาควบคุมตัวต่ออีกได้ เพราะฉะนั้นโดยปกติแล้วคนที่ถูกควยคุมตัวโดยกฎหมายฉุกเฉินนี่ ส่วนมากในภาคใต้จะถูกควบคุมมาแล้ว 7 วันโดยกฎอัยการศึก เพราะฉะนั้นควบคุมตัวยาวเลย

กฎหมายทั่วไปนี่การควบคุมคนจะต้องแจ้งข้อหาให้ทราบ นี่คุมตัวไว้เฉยๆโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา

การควบคุมโดยไม่แจ้งข้อหา ถามว่ามีสิทธิอะไรในการควบคุมคน เพราะในกฎหมายทั่วไปนี่การควบคุมคนจะต้องแจ้งข้อหาให้ทราบ นี่คุมตัวไว้เฉยๆโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา ในความหมายที่พวกเราทราบกันดีว่าทหารเอาไปเพื่อจะหาข่าว อยากรู้ว่าใครเกี่ยวข้อง เพื่อซักถามและวิธีการซักถามอาจจะได้รับการฝึกฝนมาจากมหามิตร แถวกวนตานาโมก็ใช้วิธีการแบบนี้ ใช้น้ำหยดบ้าง เอาขังห้องเย็นบ้าง ห้องร้อนบ้าง ซักถามทั้งกลางวันกลางคืนไม่ต้องให้นอน  คนที่ไหนมันจะทนทานได้ เพื่อหาข่าวว่าคุณเกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์ความไม่สงบ อันนี้เป็นปัญหาที่ทำให้กฎหมายนี้มันไม่สมควรที่จะใช้

ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ทำตามอำนาจหน้าที่แล้วอ้างว่าสุจริตไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่าความจำเป็น ไม่มีโทษนะ ฟ้องร้องทางแพ่ง ทางอาญาไม่ได้นะ ห้ามสั่งห้ามร้องศาลปกครอง อันนี้อันตรายมาก ถ้าเกิดว่าโดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำอะไรได้ ต้องมีกฎหมายให้อำนาจถึงจะทำได้ ถ้ากฎหมายไม่ให้อำนาจถือว่าทำเกินอำนาจก็สั่งฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายอันนี้เขียนยกเว้นโทษไว้เลยล่วงหน้า แต่ไม่ตัดสิทธิ์ทางแพ่งว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเขียนแบบนี้ไม้ได้ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ก็อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาสั่งมาให้ดำเนินการ

วิธีการจะจับกุมมันต้องเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม การควบคุมตัวโดยหลักการต้องควบคุมไว้เพื่อไม่ให้หลบหนี ถ้าต่อสู้ก็สามารถดำเนินการพอสมควรเพื่อไม่ให้ต่อสู้ได้ อย่างที่เราเห็นการจับนอนคว่ำแล้วมัดมือ ถามว่าคนเหล่านี้จะหนีหรอ แล้วเขาเป็นผู้กระทำความผิดหรือปล่าว หรือเป็นเพียงเดินผ่านตลาดมาไปดูว่าเขาชุมนุมอะไรกันก็ถูกจับไปแล้ว อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่หลายคนที่ถูกจับกรณีตากใบรับไม่ได้

ผมมีความเห็นว่าอันที่ 1 ถ้าตัวกฎหมายยังไม่ยกเลิก ถ้าตัวรัฐมีสติปัญญาไม่มากพอคงไม่กล้ายกเลิก เพราะว่ารัฐไทยค่อนข้างเป็นรัฐที่อำนาจนิยม ชอบเผด็จการ คนไทยชอบเผด็จการชอบจอมพลสฤษดิ์ ถ้าไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อยากให้มีการแก้ไขตัว พรก.ฉุกเฉินให้ มีความเป็นธรรมมากขึ้น อย่างน้อยในเรื่องของการห้ามอะไรต่างๆนั้น หรือว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เขียนนิยามให้ชัดเจน นิยามความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินให้แคบลง แล้วให้เขียนให้ชัดเลยว่าห้าม ม.17 ที่บอกว่าไม่มีโทษตามกฎหมายนี่ เขียนยกเว้นโทษไว้ล่วงหน้านี่ ไม่ต้องรับผิดของเจ้าพนักงานที่ตามกฎหมายจะต้องยกเลิกมาตรานี้

เวลาเราพูดถึงกฎหมายพิเศษนี่ มันควรจะใช้ชั่วคราว

เวลาเราพูดถึงกฎหมายพิเศษนี่ มันควรจะใช้ชั่วคราว ในเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉินแล้วเลิกไป นี่ 7 ปีแล้ว คิดว่ามันไม่ใช่กฎหมายที่ฉุกเฉินแล้วล่ะ เพราะว่าเจตนารมณ์เขาต้องการใช้ชั่วคราวเมื่อสถานการณ์บรรเทาก็ประกาศยกเลิก เพราะฉะนั้นในช่วงที่ไม่ต่ออายุหรือว่าถ้าต่ออายุยังมีความจำเป็นต้องใช้อยู่ เสนออย่างนี้ว่า

1. คุมพื้นที่ให้มันแคบลงได้ไหม หาข้อมูลดูว่าพื้นที่ไหน ตำบลไหนมีสถานการณ์รุนแรง ที่เป็นประจำ ถี่ๆบ่อยๆ ประกาศฉุกเฉินแค่ตำบลนั้น อำเภอนั้น ไม่ต้องประกาศคลุมทั้ง 3 จว. ไม่เปลืองงบประมาณด้วย ถ้าเราสโคปพื้นที่ลงข้อเรียกร้องให้ถอนทหารมันเป็นไปโดยปริยาย ส่วนระยะยาวตัวกฎหมายเองที่มีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนนี่ หลายคนจะบอกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีกฎหมายฉุกเฉิน แต่ของเขาใช้โดยมีขีดจำกัด ไม่ได้เปิดกว้างอย่างที่บ้านเราทำอยู่

2. แก้ไขกฎหมายฉุกเฉินถ้ายังไม่ยกเลิก

3. ต้องยกเลิก พรก.ฉุกเฉินไปเลย ถ้าเขตไหน อำเภอไหนไม่มีความรุนแรงก็ไม่ต้องต่ออายุ

ภายในระยะยาวตัว พรก.ฉุกเฉินควรต้องทบทวนดูว่าเนื้อหาใน พรก.ฉุกเฉินต้องเป็นอย่างไร คนในพื้นที่ภาคได้รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการถูกจับกุมตัว อะไรแบบนี้ มันทำให้เกิดความระแวงต่อรัฐ เพราะฉะนั้นความต้องการให้ถอนทหารออกไปจากพื้นที่นั้นเป็นความต้องการส่วนใหญ่ในพื้นที่ และหลายๆโพลหลายการวิจัยก็พูดแบบเดียวกันหมด เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้ต้องกล้าหาคุมทหารลงเฉพาะพื้นที่ที่รุนแรง แล้วไม่ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ที่ไม่รุนแรง

 

“..ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน อำนาจอยู่ที่นายก ถ้านายกไม่สามารถควบคุมกองทัพได้ก็จบ ดูอย่างสมัยรัฐบาลสมัคร  แต่ก็แปลกการประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา มันสามารถเคลื่อนไปได้โดยกลไกอะไร ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นกลไกทหารและก็อ้าง พรก.ฉุกเฉิน..” color:gray;mso-themecolor:background1;mso-themeshade:128">

จิตรา คชเดช นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อความเป็นธรรมและประชาธิปไตย color:#0000CC">

เวลาเราพูดถึง พรก.ฉุกเฉิน นี่ คนที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จะรู้สึกว่าไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย เพราะว่าเราก็มีชีวิตอยู่ปกติ เราไม่รู้จักด้วยซ้ำไปว่า พรก.ฉุกเฉิน มันจะกระทบอะไรกับเรา ตอนที่กฎหมาย พรก.ฉุกเฉินออกมา พวกเราก็ออกไปคัดค้านตอนนั้น เพราะเป็นการใช้อำนาจโดนเหมือนกับนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจและไม่ต้องผ่านรัฐสภา ซึ่งเราเห็นว่าอำนาจนี่เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ และการใช้อำนาจแบบนี้มันแทบไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ ซึ่งเราเห็นว่าการให้อำนาจกับใครคนใดคนหนึ่งโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ มันจะนำมาสู่การทำอะไรโดยที่ไม่สามารถที่จะยับยั้งได้ ตัว พรก.ฉุกเฉินตอนออกมาใหม่ คนก็อาจจะยังไม่เห็นผลร้าย ถ้าไม่ได้ไปใช้กับใครก็จะไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อมันถูกประกาศใช้ใน 3 จว.ชายแดนใต้ คนที่ 3 จว.ก็จะรู้ว่ามันมีผลกระทบอะไร

การประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา

คนกรุงเทพ มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน จำได้ว่าในสมัยรัฐบาลสมัครก็มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน แต่ตอนนั้นไม่มีผลกระทบอะไร เพราะว่าคำสั่งภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน เมื่อสั่งทหารแล้วสั่งไม่ได้ ก็ไม่มีผล แต่ พรก.ฉุกเฉนมันปรากฏผลเอาตอนรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งก็จะเห็นว่าจะมีผลกระทบถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บ มีการสลายการชุมนุม และมีการเรียกคนที่รัฐสงสัยเข้าไปรายงานตัวกับ ศอฉ.

ในฐานที่ทำงานเคลื่อนไหวด้านแรงงานและเห็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง เราคิดว่ากฎหมายพวกนี้มันควบคุมสิมธิความเป็นคน แล้วก็สิทธิที่เราจะเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ในตัวของแรงงานตอนนั้นปี 51 ในสมัยรัฐบาลสมัคร ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน พวกเราคนงานตอนนั้นชุมนุมอยู่ที่หน้าโรงงาน พวกเราตื่นเต้นกันมาก เพราะคิดว่า พรก.ฉุกเฉินที่ประกาศถึงสมุทรปราการ จะสั่งให้ยุติการชุมนุมไหม จะควบคุมตัวเราไหม ก็เอาโทรทัศน์มาตั้งที่ชุมนุมเลย ปรากฏว่าคำสั่ง พรก.ฉุกเฉินตอนนั้น ไม่ได้ใช้งานได้เลย เพราะฉะนั้น พรก.ฉุกเฉิน จะใช้งานได้ก็ต้องมีเครื่องมือด้วย คำสั่งของนายกรัฐมนตรีสั่งโดยที่ไม่มีเครื่องมือก็ไม่ได้ เครื่องมือนั้นคือทหารนั้นเอง ซึ่งีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เพราะฉะนั้นถ้าประกาศ พรก.ฉุกเฉิน อำนาจอยู่ที่นายก ถ้านายกไม่สามารถควบคุมกองทัพได้ก็จบ ดูอย่างสมัยรัฐบาลสมัคร  แต่ก็แปลกการประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา มันสามารถเคลื่อนไปได้โดยกลไกอะไร ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นกลไกทหารและก็อ้าง พรก.ฉุกเฉิน อำนาจของนายกคงไม่ได้ลงไปดูอีกแล้วหลังจากได้มอบหมายคำสั่งลงไปแล้ว ก็คงจะแยกส่วน

พรก.ฉุกเฉิน ถ้าประเทศเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ควรมี

พรก.ฉุกเฉิน ถ้าประเทศเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ควรมี มันจะต้องไม่มีกฎหมายแบบนี้กฎหมายที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จ กฎหมายที่สั่งไปแล้วเอาคืนยากมันควรจะไม่มี

การที่เราไม่มีส่วนร่วมในการเข้าไปตรวจสอบกองทัพ กำหนดกรอบนโยบายกองทัพ สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีปัญหาที่เขาบอกกองทัพเป็นตัวปัญหาอันหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครสามารถเข้าไปได้ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณตรวจสอบกองทัพคุณก็จะเจอนานทหารที่นิสัยดีๆออกมาต้อนรับแล้วก็พาไปดูพื้นที่ดีๆ ก็จะมีแต่นายทหารพัฒนา ไม่เคยพูดถึงนายทหารที่มีปัญหานี่เป็นอย่างไร ประกอบกับพวกเราจะไม่พูดเรื่องปัญหาความขัดแย้งในกรณีที่ทนายสมชาย นีละไพจิตรที่สูญหายไปจากกรณีที่เข้ามาช่วยเหลือกรณีซ้อมทรมาน คิดว่าจะนำไปสู่การจับหรือการชี้ให้เห็นว่ามีการซ้อมทรมานจริงเจ้าหน้าที่ได้ แล้วก็ทำให้ทนายสมชาย หายตัวไป และก็คิดว่าอันนี้ ก็เป็นปัญหาค้างคาใจอันหนึ่ง

สิ่งที่สำคัญเราไม่ต้องการรู้ว่าสถานการณ์ 3 จว.มีข้อมูลจริงเป็นอย่างไร

สำคัญที่สุดคือปัญหาชายแดนภาคใต้พวกเราไม่รู้ว่าสถานการณ์จริงเป็นอย่างไรไม่มีการตรวจสอบหาข้อมูลข้อเท็จจริง แล้วก็สิ่งที่สำคัญเราไม่ต้องการรู้ว่าสถานการณ์ 3 จว.มีข้อมูลจริงเป็นอย่างไร เราอยากรู้ว่ากองทัพมีปฏิบัติงานใน 3 จว.อย่างไร แล้วก็เอางบประมาณเราลงไปทำอะไรบ้าง ตรงนี้ต่างหากที่เราไม่สามารถตรวจสอบกองทัพได้ เพราะฉะนั้นภายใต้ พรก.ฉุกเฉินมันจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อมีกองทัพเข้ามีมีส่วนร่วมให้ พรก.ฉุกเฉินมีอำนาจมากขึ้น มันก็เหมือนกับคนที่อยู่ในกรุงเทพ คนเสื้อแดงก็ได้รับผลกระทบจาก พรก.ฉุกเฉิน ก็ได้เห็นแล้วว่า พรก.ฉุกเฉิน นี่มันควรจะต้องถูกยกเลิก มันจะมีอยู่ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้

ทางออกใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ ก็คือต้องถอนกำลังทหารทันที ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน พรบ.ความมั่นคง กฎอัยการศึก แล้วให้อำนาจประชาชน เขาควรจะเลือกเขาควรจะปกครองตัวเองในรูปแบบไหน สามารถเลือกตั้งผู้ว่าได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารโรงพยาบาล โรงพัก โรงเรียน มีบอร์ดโรงพยาบาล บอร์ดโรงพัก บอร์ดโรงเรียน โดยที่ประชาชนเข้าไปเป็นคณะกรรมการ และการใช้ภาษาถิ่น เข้าใจวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมในแต่ละท้องทีก็มีความแตกต่างกันออกไป  การเคารพบางอย่างมันอาจจะไม่เหมือนกัน  ผู้นำนำกองทัพต้องมาจากคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง จะเลือกตั้งผ่านสภาหรือโดยตรงจากประชาชนมันก็ควรจะมี เพราะไม่เช่นนั้นก็ทัพก็จะบอกว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จริงๆมันต้องเกี่ยวกับการเมือง การเมืองต้องเข้าไปควบคุมกองทัพได้

สังคมเรากำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในเร็วๆนี้ มันควรจะยกเลิกกองกำลังทหารใน 3 จว.ชายแดนเสีย เพราะว่าเราจะพัฒนาประเทศได้อย่างไรในเมื่อรอบๆข้างบ้านเราเราจะเป็นประเทศเดียวกันแล้ว เราจะข้ามไปมาหาสู้กันได้ตามปกติแล้ว แล้ว 3 จว.นี้จะควบคุมสถานการณ์โดยรัฐไทยที่จะควบคุมไว้ให้มันมีกองกำลังอยู่ตรงนั้นหรือ เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าเราจะก้าวสู้สังคมอาเซียน ก็ควรจะต้องยกเลิกทหาร ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน  และถอนกำลังทหาร

ควรเอางบลงไปพัฒนาดีกว่าไปลงที่ทหาร

งบประมาณที่ลงไปดับไฟใต้นี่ถ้าถัวเฉลี่ยแล้วมันสามารถแบ่งให้คนใน 3 จว.ชายแดนใต้ ซึ่งงบประมาณตั้งแต่ปี 47 – 54 นี่ 1 แสน 4 หมื่น 5 พันล้านบาท ถ้าให้ 3 จว.แบ่งกันแล้วใช้การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียนหรือว่าสร้างระบบสาธารณูประโภคทั้งหมดนี่ 3 จว.น่าจะมีรถไฟฟ้าที่ดีกว่าในกรุงเทพแล้ว เพราะฉะนั้นก็ควรจัดการตรงนั้น เปิดพื้นที่ให้มีการพัฒนาดีๆ ดีกว่าที่จะเอางบประมาณตรงนี้ลงไปให้กับทหารแล้วเกิดการฆ่ากันตาย

 

“เหตุการณ์ความรุนแรงเป็นที่ประจักษ์แล้วในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ ณ ปัจจุบันภาคใต้เองมันไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย หลังปี 47 เป็นที่สงสัยสำหรับประชาชนชาวมาลายูปัตตานีในพื้นที่ว่าเหตุใดยาเสพติดมันระบาดมากเหลือเกินในพื้นที่ 3 จว. ทั้งๆที่เรามี พรก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เรามีทหารเต็มบ้านเต็มเมืองมากที่สุดในประเทศไทย” 128">

color:#0000CC">จามาล กีไร ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนิสิตนักศึกษา พิทักษ์ประชาชน color:#0000CC">

พวกเราภูมิใจในความเป็นมาลายูปัตตานีมาตั้งนานแล้ว รัฐเองต้องหาวิธีการหรือช่องทางให้เปิดโอกาสให้กับคนมาลายูปัตตานีภูมิใจโดยที่ไม่ต้องสงสัยว่าคนที่ภูมิใจความเป็นมาลายูปัตตานีจะต้องเป็นผู้ก่อการร้ายทุกคน หรือว่าคนที่ภูมิใจในฐานะมาลายูปัตตานีจะต้องเป็นผู้ต้องสงสัยในมิติของรัฐในกรณีเหตุการณ์ต่างๆ ตรงนี้รัฐจะต้องแยกแยะให้ได้

พูดถึงปัตตานี พูดถึงเหตุการณ์ใน 3 จว.ชายแดนใต้ มาถึงวันนี้เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น ปัตตานีเสียเอกราชให้กับสยามแล้วมีการแบ่งแยกและปกครองช่วงขณะนั้นจะมีการเคลื่อนไหวก็เพียงแค่เจ้านครของปัตตานีเท่านั้นเอง ยังไม่มีการเคลื่อนไหวในมิติของภาคประชาชน จนกระทั้งมาในช่วงของฮายีสุหลง หลังจากที่มีการปฏิวัติประเทศไทยของคณะราษฎร ฮายีสุหลงเองกลับมาประเทศไทย จากไปศึกษาที่ซาอุดิอาระเบียไปศึกษาด้านศาสนาที่เมกกะกลับมาบ้านเกิดของตนเอง  แกมีอุดมคติที่จะให้พี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรู้ด้านศาสนายิ่งขึ้น

จอมพล ป.พยายามที่จะใช้ one nation one race พยายามให้พวกเราในฐานะที่เป็นมาลายูปัตตานีเป็นคนๆเดียวกันของไทยหรือว่าสยามในช่วงขณะนั้น ก็เริ่มที่จะมีข้อขัดแย้งกับทางการรัฐไทย

แต่ในช่วงขณะนั้นเองการเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการเกิดขึ้นแล้วหรือยัง ยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการมากนักจะเป็นรายบุคคลเท่านั้นเอง ยังไม่เป็นขบวนการที่มีมวลชนมากมาย ในช่วงขณะนั้นช่วงคณะราษฎร์ที่อาจารย์ปรีดีเป็นผู้มีอำนาจ ภาคใต้เองก็ไม่ได้มีลักษณะเรื่องของความวุ่นวายเลย อาจารย์ปรีดีก็เข้าใจในมิติที่เกิดขึ้นได้มีจุฬาราชมนตรีขึ้นมาอาจารย์แช่ม พรมยงค์ ซึ่งมาดูแลเรื่องของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงขณะนั้นอาจารย์ปรีดีก็ลงมาทุกครั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากที่ได้เชิญมาเปิดโรงเรียนบ้าง แต่หลังจากที่อาจารย์ปรีดีถูกปฏิวัติโดยจอมพล ป. ในยุคขณะนั้นเป็นยุคที่เริ่มมีขบวนการขึ้นมาเพราะว่าหลังจากที่จอมพล ป.พยายามที่จะใช้ one nation one race พยายามให้พวกเราในฐานะที่เป็นมาลายูปัตตานีเป็นคนๆเดียวกันของไทยหรือว่าสยามในช่วงขณะนั้น ก็เริ่มที่จะมีข้อขัดแย้งกับทางการรัฐไทย ประกาศ 12 ฉบับของจอมพล ป. ไม่ใช่ทุกฉบับที่ชาวมาลายูปัตตานีเราไม่เห็นด้วย จะมี 2-3 ฉบับเท่านั้นเองที่มีผลกระทบต่อเรา ด้านวัฒนธรรมอัตตาลักษณ์ของตนเอง ด้านศาสนาในช่วงขณะนั้น เราก็มีการรวมตัวขึ้นโดยมีแกนนำคือฮายีสุหลง จนกระทั้งมีการเสนอให้กับจอมพล ป. 7 ข้อด้วยกัน จะมีผู้นำจะต้องเป็นคนมาจากพื้นที่ 80% ต้องใช้ภาษามาลายูควบคู่กับภาษาไทย ซึ่ง 7 ข้อเหล่านั้นรัฐบาลน่าจะรับในช่วงขณะนั้น

ฮายีสุหลงหายตัวไปความรุนแรงเริ่มเกิดขึ้น…อาจจะเป็นปฐมเหตุของเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้

แล้วหลังจากที่ถูกปฏิเสธแล้ว ฮายีสุหลงรวมทั้งลูกชายก็ถูกจับแล้วก็มีกลุ่มลูกศิษย์ของฮายีสุหลง เริ่มออกมาเรียกร้อง แล้วก็ประชาชนรู้จักฮายีสุหลงกันหมด แม้แต่รัฐใกล้เคียงก็รู้จัก จนกระทั้งฮายีสุหลงหายตัวไปความรุนแรงเริ่มเกิดขึ้นแล้ว การก่อตัวก่อม๊อปชุมนุมเกิดขึ้น เรียกร้องความเป็นธรรมตรงนี้ ถือได้ว่าอาจจะเป็นปฐมเหตุของเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงนั้นก็ว่าได้ จนกระทั้งมีการใช้ขบวนการติดอาวุธ

หลังจากที่ปัตตานียอมรับว่าตนเองมีเอกราชของตนเอง ทราบว่ามีอัตลักษณ์ มีรูปแบบการปกครองของตนเองขึ้นมา พอรู้สึกว่าตนเองเสียอำนาจให้แก่ไทย ตกเป็นอาณานิคมให้แก่สยามแล้ว หลังจากนั้นมันมีเมล็ดพันธุ์ของอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนขึ้นมา มีการเผาโรงเรียนเขาบอกว่าสาเหตุการเผาเนื่องจากกลุ่มขบวนการไม่พอใจนโยบายการศึกษาของรัฐ รัฐเองพยายามยังยอกเด็กมาลายูให้ยอมรับความเป็นไทยมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอุดมการณ์มาลายูปัตตานีก็ยอมรับไม่ได้

ไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย

พอเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นที่ประจักษ์แล้วในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ ณ ปัจจุบันภาคใต้เองมันไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย หลังปี 47 เป็นที่สงสัยสำหรับประชาชนชาวมาลายูปัตตานีในพื้นที่ว่าเหตุใดยาเสพติดมันระบาดมากเหลือเกินในพื้นที่ 3 จว. ทั้งๆที่เรามี พรก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เรามีทหารเต็มบ้านเต็มเมืองมากที่สุดในประเทศไทย ผมประทับใจวีดีโอคลิปอันหนึ่งที่ทำจากช่องทีวีช่องหนึ่งที่ดูผ่านทางทีวิเคเบิล ตอนนี้แพร่หลายทาง Facebook มาก เป็นหน่วยเก็บกู้ระเบิด หน่วยเก็บกู้ระเบิดเขาได้เขียนว่า เดี๋ยวนี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะกลุ่มก่อการร้ายที่สร้างเหตุการณ์ระเบิดขึ้นมาสร้างความวุ้นวายขึ้นมา บางครั้งคนบางกลุ่ม เจ้าหน้าที่บางกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ และก็การสร้างความวุ่นวายเพื่อให้ได้ผลประโยชน์นั้นมา เป็นช่วงที่ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กำลังไปดูเหตุการณ์ยิงปืน M79 ซึ่งนายทหารคนนั้นก็บอกว่า ดูแล้วก็น่าจะรู้ว่ามันเป็นฝีมือของใคร เพราะ M79 มันไม่ได้มีให้เฉพาะประชาชนชาวบ้านทั่วไป แต่มันมีเฉพาะสถานที่ของมันที่จะต้องอยู่ของปืน เจ้าหน้าที่เองก็สงสัยว่ามันไม่ใช่กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน มันจะต้องมีกลุ่มหลายๆกลุ่มขึ้นมา

จะแก้ปัญหาต้องเอาตัวจริงทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจา

รัฐเองก็จะต้องให้ความจริงใจจริงจังต่อการแก้ปัญหา ปัญหา 3 จว.ชายแดนใต้มันสิ้นสุด ปัญหาของขบวนการแบ่งแยกดินแดน มันสิ้นสุด มันต้องมีพื้นที่ของการเจรจา ผมยังยืนยันเรื่องของการเจรจา มันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อความจริงใจและความจริงจัง ของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเอง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มีอำนาจของรัฐไทย เพื่อไทยที่เป็นรัฐบาลปัจจุบันจะเปิดพื้นที่เจรจามีการพูดคุยแล้ว ทำไมเหตุการณ์ยังไม่จบ เพราะว่าการเจรจายังไม่ใช่ตัวจริงของกลุ่ขบวนการ รัฐเอกก็ต้องเอาตัวจริงของรัฐออกมาด้วย พวกเราหวังปราถนาความสันติสุขในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้

วันนี้เราอยู่ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ภายใต้กฎอัยการศึก แล้วอยู่มานานด้วยอยู่มากว่า 7 ปี พรก.ฉุกเฉินถูกประกาศมาโดยตลอด ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งที่ 26-27 แล้ว ที่ถูกแประกาศ พรก.ฉุกเฉิน แต่เหตุการณ์มันก็ยังเหมือนเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ มันก็ยังเหมือนเดิม แถมความรุนแรงมันยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากว่าวิธีการแก้ไขจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเป็นเป็นลักษณะนี้อยู่ ผมเกรงนะผมกลัวนะกลัวว่ามันจะถูกแยกออกมาจริงๆ เพราะหากว่ายังคงไว้ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาแบบนี้ ประชาชนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก พรก. ที่ได้รับผลกระทบจากกฎอัยการศึก ครอบครัวที่เสียชีวิตจากการ พรก. จากกฎอัยการศึก วันนี้ไม่ได้รับความเป็นธรรม  หากว่าเขายังเห็นความเป็นธรรมไม่เจอในประเทศไทย มีกลุ่มขบวนการที่อ้าแขนยอมรับ พร้อมที่จะรับ พร้อมที่จะอ้าแขนรับ ดังนั้นเมือไหร่ที่ประชาชนกลับเห็นว่าเสรีภาพแล้ความยุติธรรมไม่เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วนี่ แน่นอนว่าประชาชนเหล่านั้นต้องไปสู่แนวทางของขบวนการแบ่งแยกดินแดนอย่างแน่นอน ดังนั้นวันนี้รัฐจะต้องไตร่ตรองและจริงจังมากขึ้น

 

“การพยายามแช่แข็งของเก่าในของใหม่” คือว่า ณ ปัจจุบันถ้าไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น ทหารก็จะไม่มีหน้าที่อะไรเลย เพราะว่ารัฐบาลก็จะไม่เรียกใช้ แต่สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นคือว่า มันมีชุดความคิดหนึ่งที่ว่าทำอย่างไรให้รัฐบาลเรียกใช้ การที่ทำให้เกิดความไม่สงบเกิดขึ้น..” color:gray;mso-themecolor:background1;mso-themeshade:128">

color:#0000CC">พรชัย ยวนยี เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) color:#0000CC">

ถ้าเราจะมองหน้าที่ของรัฐมองว่ารัฐมันทำหน้าที่อะไร ก็คือการตั้งรัฐขึ้นมาของแต่ละประเทศหน้าที่ของมันมีแค่ 2 อย่าง อย่างแรกคือ มีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับพลเมืองของรัฐ หน้าที่อย่างที่ 2 ของมันคือจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้พลเมืองทุกคนที่มีความต้องการที่ไม่จำกัด นี่คือหน้าที่ของรัฐ

เครื่องมือของรัฐ มันใหญ่กว่ารัฐหรือเปล่า

แล้วตัวแสดงของรัฐคืออะไร ก็คือรัฐบาล แล้วเครื่องมือที่รัฐใช้ในการให้คนเชื่อ ก็คือคุก ศาล ทหาร ตำรวจ แต่สิ่งที่ผมชวนให้ท่านคิดคือว่า สรุปแล้วรัฐมันทำหน้าที่ตรงนี้จริงๆไหม แล้วตัวที่เป็นเครื่องมือของรัฐ มันใหญ่กว่ารัฐหรือเปล่า คือตอนนี้เราเข้ามาเจาะที่รัฐไทย รัฐสามารถควบคุมตัว Actor (ตัวแสดง)เราจะสังเกตเห็นตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเราก็จะเห็นรัฐบาลไม่สามารถไปแก้ปัญหา พรบ.กลาโหม ได้ อย่างนี้สรุปแล้วเครื่องมือที่รัฐใช้ รัฐควบคุมได้หรือเปล่า หรือว่ามีอำนาจมากกว่ารัฐ

สังคมไทยคิดว่าความมั่นคงทางหารทหารเป็นความมั่นคงสุดยอด

ที่บอกไปรัฐมีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัย รัฐชอบอ้างความมั่นคง ซึ่งแน่นอนความมั่นคงมีหลายความมั่นคง แต่สังคมไทยมักสโคปความมั่นคงเป็นความมั่นคงเกี่ยวกับทหาร การอยู่ดีกินดีของพลเมืองถือเป็นความมั่นคงหรือปล่าว คือถ้ารัฐไม่มีคนก็ไม่สามารถเรียกรัฐได้ การที่รัฐมีโรงพยาบาลที่รักษาเราอยู่รอดเป็นความมั่นคงทั้งนั้น เรามีโรงเรียนที่สอนพลเมืองให้มีการศึกษาเป็นความมั่งคง ทุกอย่างเป็นความมั่นคง แต่สังคมไทยคิดว่าความมั่นคงทางหารทหารเป็นความมั่นคงสุดยอด และเราก็เลยเชื่ออย่างนั้นจริงๆเพราะว่ารัฐก็จะสอนเราอยู่อย่างนี้ จนกลายเป็นว่าการทหารคือสิ่งสำคัญที่สุด

แต่ถ้าเราพยายามทำความเข้าใจสังคมองค์รวมทั้งหมด เราจะพบว่า ณ ปัจจุบันมันหมดไปแล้ว หมดยุคทหารไปแล้ว มันไม่ใช่การต่อสู้เรื่องอาวุธ มันไม่ใช่การต่อสู้เรื่องการทหารอีกต่อไป แต่มันคือการต่อสู้ความอยู่ดีกินดี การต่อสู้กับต่างประเทศในเรื่องเศรษฐกิจ การต่อสู้กับไม่ว่าจะเป็น neo liberalism ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ของพลเมืองเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยมา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่การทหารอีกต่อไป แต่เรากลับเห็นปรากฏการณ์ที่ว่าทหารพยายามเข้ามามีอำนาจเช่นในอดีต

ปัจจุบันถ้าไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น ทหารก็จะไม่มีหน้าที่อะไรเลย

คำที่ผมพยายามใช้ว่า “การพยายามแช่แข็งของเก่าในของใหม่” คือว่า ณ ปัจจุบันถ้าไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น ทหารก็จะไม่มีหน้าที่อะไรเลย เพราะว่ารัฐบาลก็จะไม่เรียกใช้ แต่สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นคือว่า มันมีชุดความคิดหนึ่งที่ว่าทำอย่างไรให้รัฐบาลเรียกใช้ การที่ทำให้เกิดความไม่สงบเกิดขึ้น ยกตัวอย่างกรณีหนึ่ง ในสมัยที่สงคมไทยมีภัยคอมมิวนิสต์เชื่อไหมครับว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเกือบทุกจังหวัดอยากให้จังหวัดตัวเองมีคอมมิวนิสต์ อยากให้จังหวัดตนเองเป็นพื้นที่สีแดง เพราะว่างบประมาณจะได้ลง มันเริ่มเข้าไปสู้สิ่งที่เรียกว่าผลประโยชน์ เปรียบเทียบกับ ใน 3 จว.ชายแดนใต้ ความพยายามที่จะทำให้มีความไม่สงบเกิดขึ้นเพื่อที่จะผันงบลงกองทัพ เพื่อให้ผันงบลงมากๆโดยที่มีตัวอ้างว่า พื้นที่ตรงนี้มีความไม่สงบเกิดขึ้น ถ้าไม่สร้างทหารก็ไม่มีประโยชน์ รัฐก็ไม่เรียกใช้

ใน 3 จว.ชายแดนใต้ ทหารใช้เครื่องมือคือกฎหมาย ซึ่งกฎหมายสำคัญซึ่งออกง่ายที่สุด และคิดว่าก็ใช้ได้ตลอดก็คือ พรก.ฉุกเฉิน เพราะออกโดยฝ่ายบริหาร ผมไม่เคยเห็นฝ่ายบริหารชุดไหนต้องการที่จะเลิกจริงๆจังๆ สรุปแล้วรัฐมีอำนาจจริงๆหรือเปล่า วันนี้ผมคิดว่าทุกอย่างโดนกดดันโดยทหาร วันนี่เรายังเกรงกลัวว่าจะมีรัฐประหารหรือเปล่า วันนี่เรายังไม่มีหลักประกันว่าจะไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ใช่ว่าพื้นที่ 3 จว.จะโดน ในฐานะที่ สนนท.ร่วมเคลื่อนไหวก็โดนเหมือนกัน พี่น้องเสื้อแดงก็โดนเหมือนกัน ทุกๆกลุ่มก็โดนเหมือนกันเพราะไม่มีหลักประกัน และรัฐก็ไม่มีความพยายามที่จะสร้างหลักประกันเพราะมันมีคนได้คนเสีย ซึ่งคนที่เสียมาโดยตลอดก็คือประชาชนทั้งนั้น ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้เราอยู่ได้บนความขัดแย้งที่ไม่ใช้ความรุนแรง ต้องสร้างกติกาที่ยอมรับร่วมกัน คนในสังคมยอมรับกติการ่วมกัน ซึ่งกติกาใหญ่ในสังคมไทยตอนนี้ก็คือรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นกติกาที่สังคมไทยยอมรับหรือปล่าว ถ้ามันไม่เป็นที่ยอมรับมาตั้งกติกากันใหม่ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม

นอกจากนี้ ฮากิม พงตีกอ กรรมการบริหาร สนนท. ภาคใต้ ยังได้ร่วมอภิปรายในประเด็นที่มีนักศึกษาถูกควบคุมตัวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา (ดูเพิ่มเติม: น.ศ.เดินขบวนร้องทหารปล่อยตัวอดีตนักกิจกรรม) ว่า “เรารวมตัวนักศึกษาประมาณ 100 คน เพื่อไปสอบถามถึง ฉก. 11ที่ไปคุมตัวนักศึกษาว่าเหตุผลอะไร ที่เอานักศึกษาไป แต่เขาก็ปัดไม่ได้ชี้แจงอะไร และเรื่องนี้จะไม่จบจนกว่าจะกระจ่างชัดขึ้นเพราะว่าคิดว่าถ้าเรื่องนี้ไม่กระจ่างหลังจากนี้ก็จะมีคนที่รับเคราะห์อย่าง เช่น เพื่อนักศึกษาที่ยังอยู่ในกระบวนการสอบสวน ซึ่งอาจจะมีเหตุซ้อมทรมาน”

การซ้อมทรมานในชั้นสอบสวนก็มีหลากหาย ล่าสุดก็เปิดเผยว่ามากกว่า 33 รูปแบบ มองที่ตัวละครระหว่างรัฐกับคนที่ในพื้นที่เรียกกลุ่มขบวนการอุดมการณ์กอบกู้และปลอดปล่อยเอกราชปัตตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอย่างที่รัฐใช้ อันนี้เป็นสงครามวาทกรรมด้วย รัฐไทยต้องยอมรับว่าคู่สงครามของตัวเองคือใคร ระหว่างคู่สงครามตรงนี่เป็นการต่อสู้แย่งชิงความชอบธรรม รัฐไทยเป็นรัฐที่ขาดความชอบธรรมที่จะไปดูแลปกครองในดินแดนแห่งนี้แล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องประสานความชอบธรรมนี้ขึ้นมาใหม่ แต่ พรก.ฉุกเฉินไม่ได้ตอบสิ่งนี้ แต่พยายามตอกย้ำให้มันขัดต่อไป

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net