Skip to main content
sharethis

ผู้เชียวชาญทางด้านการเขียนตัวอักษรญาวีเชื้อสายเกาหลี เริ่มเป็นกังวลกับตัวเขียนญาวี ที่นับวันเริ่มจางหายไปในกลุ่มคนรุ่นใหม่มาเลเซีย

 

Bernama - ผู้เชียวชาญทางด้านการเขียนตัวอักษรญาวีเชื้อสายเกาหลี เริ่มเป็นกังวลกับตัวเขียนญาวี ที่นับวันเริ่มจางหายไปในกลุ่มคนรุ่นใหม่มาเลเซีย

ศาสตราจารย์ ดร.กัง กยอง โซก จากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองปูซาน ต่างประเทศศึกษา เริ่มศึกษาวิจัยตัวเขียนญาวีตั้งแต่ปี 1974 (พ.ศ.2517) ถือว่าเป็นจุดเด่นของมาเลเซีย

ปัจจุบันตัวเขียนญาวีถือได้ว่าอยู่ในขั้น “ป่วย” และหากว่ายังคงสภาพต่อไป ในอนาคตอาจสูญหายไปได้

“ผู้เชียวชาญหลายต่อหลายท่านที่ผมรู้จักอยู่ในวัยเกษียณแต่กลับไม่มีใครสามารถที่จะมาทดแทนได้ หากว่าผู้เชียวชาญเหล่านี้เสียไป ใครจะมาสามารถดูแลรักษาตัวเขียนญาวีนี้ได้?” เขากล่าวอย่างชัดเจนด้วยภาษาเมอลายู

เขายังเป็นผู้บรรยายที่มหาวิทยาลัยการศึกษาสุลต่านอิดริส หวังต่อหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์โดยอักษรญาวี อย่าง Utusan melayu ที่สามารถต่อลมหายใจใหม่แก่ประชาชนที่สนใจในประเทศนี้ได้

นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น สถาบันการแปลประเทศมาเลเซีย (Institut Terjemahan Negara Malaysia และ Dewan Bahasa dan Pustaka จำเป็นที่จะต้องมีบทบาทในการแปลหนังสือหลากหลายเล่มให้เป็นอักษรญาวี ศาสตราจารย์กล่าว

“ในประเทศเกาหลี เราทำการแปลหนังสือหลายเล่มเป็นภาษาเกาหลีเพื่อให้ประชาชนของเรามีความชำนาญมากกว่าภาษาอื่นๆ

ประชาชนชาวมาเลเซียจำเป็นที่จะต้องเรียนการเขียนด้วยตัวอักษรญาวี เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีภาคภูมิใจในความเป็นมาเลเซียที่แท้จริง” กล่าวเมื่อตอนเดินทางมามาเลเซียเมื่อ เพื่อวิจัยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอักษรญาวี

หากกล่าวไปแล้วชาวมาเลเซียสมัยนี้มีความคุ้นชินกับการเขียนด้วยตัวอักษรรูมี(โรมัน) และนี่นับได้ว่าเป็นปัจจัยแรกที่ทำให้การเขียนด้วยตัวอักษรญาวีถูกลืมไป

ศาสตราจารย์กยอง โซก กล่าวว่า ระบบการสะกดคำของญาวีปัจจุบันจำเป็นต้องนำกลับมาใช้ด้วยระบบการเขียนญาวีแบบซะบา (Sistem ejaan Jawi Za’ba) ที่สะดวกและง่ายต่อการเรียนการสอน

นี้เป็นพื้นฐานของระบบการเขียนญาวีแบบซะบา ที่มีพื้นฐานเดียวกันกับการเขียนญาวีโบราณ(Jawi Kuno) ที่มาจากตัวอักษรในอัล-กุรอาน

“ตัวเขียนญาวีปัจจุบันเป็นฐาน ส่วนตัวเขียนรูมีนั้น “วิ่ง” มาจากฐานเดิมที่เป็นญาวีโบราณ” เขากล่าว

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net