[คลิป] เกษียร เตชะพีระ: ความ(ไม่)รู้เศรษฐศาสตร์ของนิธิ

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อภิปรายหัวข้อ "คุยกันฉันคนไม่รู้เศรษฐศาสตร์ – ว่าด้วยความ (ไม่) รู้เศรษฐศาสตร์ของอ.นิธิ" หนึ่งในหัวข้อการเสวนา "พลังแห่งความรู้แบบนิธิ" การเสวนาในโอกาสครบรอบ 72 ปี ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จัดโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ 28 พฤษภาคม 2555 ที่ห้อง HB5200 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การอภิปรายโดยเกษียร เตชะพีระ หัวข้อ "คุยกันฉันคนไม่รู้เศรษฐศาสตร์ – ว่าด้วยความ (ไม่) รู้เศรษฐศาสตร์ของอ.นิธิ" หนึ่งในหัวข้อการเสวนา "พลังแห่งความรู้แบบนิธิ" เมื่อ 28 พ.ค. 55 ที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ (ที่มา: ประชาไท)

วิดีโอคลิปการอภิปรายโดยเกษียร เตชะพีระ หัวข้อ "คุยกันฉันคนไม่รู้เศรษฐศาสตร์ – ว่าด้วยความ (ไม่) รู้เศรษฐศาสตร์ของอ.นิธิ" หนึ่งในหัวข้อการเสวนา "พลังแห่งความรู้แบบนิธิ" เมื่อ 28 พ.ค. 55 ที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

โดยเกษียร กล่าวถึงที่มาของหัวข้อการอภิปรายว่ามาจากการที่ "ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกป้อง จันวิทย์ ได้รวมบทความของนิธิ เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ แล้วพิมพ์ออกมา 3 เล่ม (ได้แก่ ความ(ไม่)รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพี้ยง เศรษฐสวดอนุบาล)

 
โดยเกษียรระบุว่าเล่มแรกตั้งชื่อว่าเก๋มากโดยใช้ชื่อว่า "ความ(ไม่)รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์: อ่านเศรษฐกิจไทย" ดังนั้นจึงอยากใช้หนังสือเล่มนี้คุยกับอาจารย์นิธิ ในฐานะคนไม่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ด้วยกันผ่านหนังสือเล่มนี้
 
โดยเกษียรระบุด้วยว่า เหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ต้องมาอภิปรายกันก็คือ ภาคส่วนเศรษฐกิจของสังคมสำคัญขึ้นมามากในโลกปัจจุบันซึ่งเราเรียกว่าโลกยุคโลกาภิวัฒน์ คือถ้าคุณรู้เกี่ยวกับพวกมาร์กซิสต์มันจะมีทฤษฎีอย่างหนึ่งคือ "Economic Determinism" คือความเชื่อที่ว่าภาคส่วนอื่นๆ ของสังคมทั้งการเมือง รัฐ หรือวัฒนธรรมก็ดี ที่เรียกว่าโครงสร้างส่วนบนล้วนถูกกำหนดโดยเศรษฐกิจซึ่งเป็น "โครงสร้างส่วนล่าง" ทั้งสิ้น ราวกับว่าข้อคิดอันนี้ซึ่งสมัยหนึ่งเคยเป็นข้อถกเถียง รับบ้างไม่รับบ้างในวงวิชาการ กลายเป็นข้อที่ผู้คนค่อนข้างเห็นด้วยอย่างกว้างขวางมาก โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักมาร์กซิสต์ก็ได้ในโลกปัจจุบันว่า ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ปัจจุบันเศรษฐกิจมันกำหนดทุกอย่างจริงๆ (ว่ะ)
 
ที่น่าสนใจก็คือว่าในโลกที่ดูเหมือนว่ามติของพวกมาร์กซิสต์ที่ว่าเศรษฐกิจกำหนดทุกอย่างของสังคม เครื่องมือมนุษย์ใช้เรียนรู้และเข้าใจเศรษฐกิจคือเศรษฐศาสตร์ มันเป็นอย่างไร แล้วผลการจัดการของมันเป็นอย่างไร ก็ออกมาฉิบหาย ตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ที่ลามไปถึงยุโรปแล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะเสร็จสิ้น ดังนั้นจึงสงสัยได้อย่างมีเหตุผลพอสมควรว่าความรู้ที่เรียกว่า "เศรษฐศาสตร์" ต้องมีปัญหา
 
โดยการอภิปรายของเกษียรแบ่งออกเป็น ส่วนแรก อะไรคือปัญหาของเศรษฐศาสตร์ในแง่ขององค์ความรู้ และในแง่ Methodology โดยมีห้าหัวข้อย่อยได้แก่ หนึ่ง ด้านดีของความรู้เศรษฐศาสตร์ สอง คิดแบบเศรษฐศาสตร์ คือ คิดแบบไทยๆ สาม ความน่ากลัวของคนไม่รู้เศรษฐศาสตร์ สี่ นักเศรษฐศาสตร์ที่ดีน่าจะเป็นอย่างไร ห้า จุดอ่อนของเศรษฐศาสตร์ และส่วนที่สอง นิธิมองเศรษฐกิจไทย ว่ามีปัญหาหลักๆ อะไรบ้าง ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดของการอภิปรายทั้งหมดประชาไทจะทยอยนำเสนอในโอกาสต่อไป
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท