Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

องค์กรนานาชาติ อาร์ติเคิล 19 (ARTICLE 19) เป็นองค์กรปกป้องสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ที่ทำงานรณรงค์กว่ายี่สิบปี เพื่อให้ประเทศต่างๆ เคารพและปฏิบัติตามหลักการมาตรา 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ มาตรา 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 

มาตรา 19 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็น และการแสดงออกสิทธินี้ รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความคิด โดยปราศจากความแทรกสอด และที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถืงเขตแดน (คำแปลฉบับ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.))

มาตรา 19 แห่ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 
1.     บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง

2.     บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภทโดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ ในรูปศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก

3.    การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค 2 ของข้อนี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิดังกล่าวอ่าจจะมีข้อจำกัดในบางเรือง แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นต่อ

     (ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น

     (ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศิลธรรมของประชาชน (คำแปลฉบับ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.))

ARTICLE 19 เป็นใคร?
ARTICLE 19 เป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนนานาชาติที่ทำงานเพื่อปกป้องและส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก ARTICLE 19 ได้ตั้งชื่อองค์กรและมุ่งมั่นในการปฏิบัติพันธกิจตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ได้ประกาศถึงสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออกรวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท

ในการนำเสนอความคิดเห็นครั้งนี้ต่อคดี พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 สำนักงานอัยการสูงสุด กับ นายสมยศพฤกษาเกษมสุข ARTICLE ได้นำเสนอข้อถกเถียงและเหตุผลประกอบจำนวน 60 ข้อ เพื่อให้ศาลไทยพิจารณา

ทั้งนี้ ARTICLE 19  ได้ระบุไว้ในความคิดเห็นครั้งนี้ว่า “ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ARTICLE 19 ได้เพิ่มพูนความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและสั่งสมประสบการณ์ในระดับนานาชาติเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน บ่อยครั้งที่ ARTICLE 19ได้ให้ความคิดเห็นในการพิจารณาคดีต่อศาล ทั้งในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชาติ หรือให้แนวทางและ/หรือทำงานร่วมกับทนายความท้องถิ่นเพื่อเตรียมคดีในกรณีที่จะต้องขึ้นศาลในประเทศ ข้อเสนอแนะของ ARTICLE 19 ตั้งอยู่บนมาตรฐานที่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน และการเปรียบเทียบกับกฎหมายอื่นที่ได้มาตรฐานเดียวกัน ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อให้การหนุนช่วยศาลในการตีความหมายที่เฉพาะเจาะจงในกรณีที่เป็นประเด็นเฉพาะของคดีที่ต้องตีความคำว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างถึงที่สุด

ความคิดเห็นของ ARTICLE 19 ต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ARTICLE 19 จำนนด้วยเหตุผลว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ว่าฉบับใดก็ตาม ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก เพราะว่ามันไม่สอดรับกับหลักการที่ให้อนุญาตจำกัดสิทธิได้ ตามที่ได้ชี้ให้เห็นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยิ่งกว่านั้น ARTICLE 19 ยังได้จำนนต่อเหตุผลอีกว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ว่าฉบับใดก็ตาม ไม่สอดรับกับหลักการแห่งมาตรา 19 วรรค 3 ของ ICCPR เพราะว่า มันบรรจุไว้ด้วยนัยยะที่ไม่จำเป็นและไม่สมเหตุสมผลต่อความจำเป็นที่จะต้องคุ้มครองภาพลักษณ์ชื่อเสียงของปัจเจกบุคคล รวมทั้งสมาชิกราชวงศ์และบุคคลสาธารณะ ในการสนับสนุนข้อถกเถียงในเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ARTICLE 19 อาศัยเอกสารประกอบจากการคำตัดสินคดีหลายคดีและจากถ้อยคำแถลงของศาลระหว่างประเทศและศาลภูมิภาค และจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ในการสนับสนุนข้อถกเถียงในเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ARTICLE 19 อาศัยเอกสารประกอบจากการคำตัดสินคดีหลายคดีและจากถ้อยคำแถลงของศาลระหว่างประเทศและศาลภูมิภาค และจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนข้อถกเถียงที่ว่าการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีความขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเสรีภาพในการแสดงออก

ARTICLE ได้ยกกรณีตัวอย่างของการตัดสินคดีหมิ่นพระประมุข และคดีหมิ่นประมาทในหลายกรณี

ในคดีหมิ่นประมาทพระประมุข ภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ARTICLE ได้ยกตัวอย่างกรณีของประเทศคองโกและประเทศสเปน เพื่อชี้ให้เห็นว่ากฎหมายนี้ขัดกับเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไร 

ในปี 2554 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (ECtHR) ได้มีคำตัดสินที่สอดคล้องกันนี้ในคดีของ Otegi Mondragon กับรัฐบาลสเปน ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและการปกป้องชื่อเสียงของกษัตริย์ ในกรณีนี้ ECtHR ตัดสินว่า การลงโทษผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมาย ด้วยข้อกล่าวหาว่าสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อกษัตริย์สเปน ขัดกับหลักแห่งเสรีภาพในการแสดงออกของเขา

การตัดสินนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่บนการเลือกข้างเพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านกษัตริย์ และไม่ได้เกี่ยวกับว่ามันเป็นเรื่องส่วนพระองค์ แม้ว่า ECtHR ยอมรับว่าข้อคิดเห็นของ Otegi Mondragon อาจจะเข้าข่ายก้าวร้าว แต่ศาลได้เน้นย้ำว่า เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ภายใต้บริบทแห่งการถกเถียงที่เป็นประเด็นความสนใจร่วมของสาธารณะ ที่จะโต้เถียงกันจนถึงระดับที่มีการกล่าวอ้างเกินจริงหรือจนกระทั่งก่อให้เกิดการยั่วยุทางอารมณ์ได้ ECtHR ตัดสินว่ากษัตริย์ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐ ไม่สามารถได้รับการยกเว้นจากการวิพากษ์วิจารณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นมันจะเป็นการคุ้มครองประมุขของประเทศจนสูงเกินความเหมาะสมตามวิถีการเมืองกษัตริย์

ECtHR ตั้งข้อสังเกตว่าข้อคิดเห็นของ Otegi Mondragon นั้นเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของสถาบันกษัตริย์ในฐานะสัญลักษณ์ประมุขของรัฐ รวมทั้งในฐานะที่เป็นพลังอำนาจที่ตามความเห็นของ Otegi Mondragon ได้กระทำการทรมานบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ความคิดเห็นเหล่านี้ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนและต่อประเด็นทางการเมืองที่อยู่นอกขอบเขตของ “แห่งเกียรติยศชื่อเสียงเฉพาะบุคคล” ของกษัตริย์ ECtHR ได้เน้นย้ำว่า การสั่งขังคุกต่อกรณีความผิดในประเด็นที่เก่ียวกับการถกเถียงแลกเปลี่ยนทางการเมือง ที่จำกัดสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออก ยอมให้กระทำได้เฉพาะในกรณีที่รุนแรงอย่างถึงที่สุดเท่านั้น อาทิเช่น การยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ทั้งนี้ไม่มีข้อกล่าวหาใดในคดีของ Otegi Mondragon ที่บ่งชี้ถึงความรุนแรงเช่นนั้น ความผิดของเขากับบทลงโทษจึงถือว่าไม่มีความสมเหตุสมผล

บทสรุปของ ARTICLE 19 
จากความคิดเห็นทั้งหลายทั้งมวลที่ได้กล่าวมาในเอกสารชิ้นนี้ ด้วยความเคารพ พวกเราขอเสนอแนะว่า ศาลควรจะยุติทุกคดีฟ้องร้องต่อนายสมยศ และสั่งให้ปล่อยตัวเขาออกจากเรือนจำโดยปราศจากเงื่อนไข ในการกระทำเช่นนี้ ศาลควรจะทำความเห็นออกมาด้วยว่า ศาลรัฐธรรมนูญของไทยควรจะมีการทบทวนบทลงโทษกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคดี และดำเนินการเพิกถอนโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติของไทย”

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net