Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

หมายเหตุ: วันนี้ (9 เม.ย.) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์สถานะลงในเฟซบุคตั้งค่าการเข้าถึงสาธารณะ หลังจากที่ลักขณา ปันวิชัย หรือ "คำ ผกา" ประกาศก่อนเข้ารายการ “คิดเล่น เห็นต่าง” ทางวอยซ์ทีวี ซึ่งคำ ผกา เป็นผู้ดำเนินรายการว่าจะหยุดออกอากาศรายการเป็นเวลา 1 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 เมษายน นี้ และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2555 โดยให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ต้องหยุดออกอากาศชั่วคราวเนื่องจากต้องการแสดงความรับผิดชอบ และขอขมาต่อพระรัตนตรัยรวมทั้งขอกราบขอโทษต่อมหาเถรสมาคม และองค์กรพุทธทั่วประเทศ ที่รายการได้กล่าวล่วงเกินซึ่งออกอากาศในวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม ในประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องการสวดมนต์ข้ามปี (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

โดยความเห็นของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มีรายละเอียดดังนี้

000

นี่ผม "ช็อค" มากเลยนะ

ผมไม่ทราบว่า คุณแขก Kiku Nohana มีเหตุผลอะไรเรื่อง "ขอขมา" และ "พักรายการ 1 เดือน" นะครับ และขอย้ำว่า ทีเขียนต่อไปนี้ ไม่ได้เป็นการพูดถึงหรือวิจารณ์คุณแขก โดยตรง

แต่ทีคุณแขก พูดไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคม มันเป็น "สาธารณะ" ไปแล้ว (เหมือนงานเขียน หรือการพูดในทีสาธารณะของใครก็ตาม) และก็มีปฏิกิริยา จากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกรณี พระมหาโชว์ ("นมเหียว" "หัวนมดำ") เป็นประเด็นสาธารณะไปแล้วเช่นกัน

บอกตรงๆว่า รู้สึกไม่ดีมากๆเลย กับการที่เรื่องมาลงเอยแบบนี้

คุณแขก พูดไปตอนแรก เมื่อวันที่ 10 มีนา จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ยังไงก็ตาม ก็ควรถือเป็นเรืองถกเถียง

ต่อให้ คนที่ไม่เห็นด้วย ก็เถียงกัน ดีเบตกัน แม้แต่ "ดีเบต" แย่ๆ แบบพระมหาโชว์ ตอนแรก ก็ยังดี

ที่ไม่ดี คือ เริ่มไป "ดึง" อำนาจรัฐ เข้ามาเกียวข้อง ด้วยการยื่นหนังสือต่อ กมธ.สภา นันแหละ

และทีตอนนี้ ผมเห็นว่า ไม่ดีมากๆ ก็คือการลงเอยแบบนี้แหละ

.............

ผมไม่ได้ตั้งใจจะโยงอะไร แต่ถ้าใครติดตามที่วันก่อนผมไป "ดีเบต" กับ คุณ ศาสดา ประเด็นมันอันเดียวกันนันแหละ

ประเทศนี้ "พื้นที่อ่อนไหว" (sensitive areas) หรือ "พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์" (sacred areas) มันมากเกินไป

และสังคมไทยควรต้องเรียนรู้ที่จะ

(ก) ลดทอน "ความศักดิ์สิทธิ์" ทังหลายลง ให้กลายเป็นเรื่องความเห็น ความรู้สึกส่วนตัว ในแง่ "คำสอน" อะไรเฉยๆ ไมใช่อะไรที่มัน "ศักดิ์สิทธิ์" (ไหนๆ พุทธ เองก็ชอบอ้างไมใช่หรือ เรื่อง เป็นวิทยาศาสตร์ ไมใช่เรืองศักดิ์สิทธิ์)

และ (ข) ต่อให้ บางคนจะยังรู้สึกว่า มีบางอย่าง "ศักดิ์สิทธิ์" ก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนอื่นที่ เห็นว่า สิ่งนัน ไม่เพียงไม่ศักดิ์สิทธิ์ ยัง "ดาษๆ" (profane) หรือ ตรงข้ามกับความ "ศักดิ์สิทธิ์" นั้น ด้วย

ความจริง ผมนึกจะเขียนเรือ่งนี้ อยู่พอดี เมื่อเช้า ทีเห็น "ปางแม็คโดนัลด์" น่ะ นึกไม่ถึงว่า จะมาเจอกรณีนี้ให้เขียน โดยโยงกับประเด็นนี้

000

ก่อนอื่น ขอให้ผมย้ำว่า ผมถือว่า ที่ "ดีเบต" กับคุณ ศาสดา มัน "จบ" แล้ว (ไม่ได้แปลว่า ไม่ยินดีจะดีเบตอีกในประเด็นเดียวกันนะ) และผมไม่เคยมองว่า มันเป็นเรือ่ง "แพ้-ชนะ" อะไร และจริงๆ ก็ไม่แฮปปี้เท่าไร ทีหลายคน ล้อเล่น เป็นเรือ่งทำนองนั้น (แต่ก็เข้าใจว่า เป็นความเคยชินทีจะเฮฮาแบบนัน)

ทีผมยกเรือ่งนี้ขึ้นมาอีกก็เพราะจะย้ำว่า

ทำไม วันก่อน ผมจึง "เอาเป็นเอาตาย" "เอาจริงเอาจัง" กับประเด็นนั้นมาก

เพราะผมมองในเรื่อง "นัยยะ" ทีมันกว้างออกไป ถึงปัญหา ซึงผมเห็นว่าสำคัญมากๆ และเป็นเรื่องร่วมสมัยมากๆ คือ

เราควร "จัดการ" อย่างไร กับปัญหาเรื่อง "ความศักดิ์สิทธิ์" ในสังคมสมัยใหม่ ไมว่าจะเป็นเรื่องทีเกียวกับ ศาสนา หรือ เกี่ยวกับ กษัตริย์

ผมมองว่า กรณีล่าสุดเรือ่งรายการของคุณแขก Kiku Nohana ก็เป็นเรื่องนี้

คือ เริ่มจาก มีบางคน (คุณแขก) แสดงความเห็นบางอย่างหรือแสดงออกบางอย่างออกไป

แล้วมีคนอีกส่วนหนึง (ต่อให้เป็น "ส่วนใหญ่" หรือ จำนวนมากกว่า ผมไม่คิดว่าเป็นประเด็น) ที ไม่พอใจ หาว่าเป็นการ "ละเมิดความศักดิ์สิทธิ์" บางอย่าง

ผมยืนยัน เหมือนกับทียืนยันในการ "ดีเบต" กับคุณศาสดา ว่า

ในสังคมสมัยใหม่ เราต้องเริ่มต้นจากหลักการทีว่า

แต่ละคนมีสิทธิทีจะคิด และแสดงความเห็นอย่างเสรี ไม่รุนแรง

และ ความเห็นแต่ละคน หรือบางคน อาจจะไปในทางตรงกันข้ามแบบสุดๆ เลย กับสิ่งทีคนอื่น หรือคนจำนวนมากเชื่อกันอยู่

ทางออกคือ ต้องส่งเสริมวัฒนธรรมทีรู้จัก "อดทน อดกลั้น" หรือทีเรียกว่า "ขันติธรรม" (tolerance) ต่อความเห็นทีไม่เหมือนกับเรา

และจะอ้าง เรื่อง "จำนวน" เรื่อง "เสียงส่วนใหญ่" อะไร มากดทับ มาบังคับ ไมให้ คนทีเป็น "ส่วนน้อย" กระทัง เป็นเพียงคนๆเดียวในสังคม ไม่ได้

เราต้องเริ่มต้น จากการยอมรับว่า ในสังคมสมัยใหม่ มีความหลากหลายทางความคิด มากๆ 

สิ่งเดียวกัน ทีบางคน (แม้แต่ "คนส่วนใหญ่") เห็นว่า "ศักดิ์สิทธิ์" "แตะต้องไม่ได้" ก็มีบางคน (แม้แต่ แค่ คนเดียว) ทีจะเห็นตรงข้ามเลยก็ได้ คือ ไม่เพียง "ไม่ศักดิ์สิทธิ์" อาจจะเห็นว่า "ล้อเลียนได้" "ประณามได้" ด้วย

000

วันก่อนระหว่าง "ดีเบต" กับคุณ ศาสดา ผม "แตะ" หรือยกตัวอย่างสั้นๆ ถึงกรณี การ์ตูนที่ฝรังเดนมาร์ก คนหนึง เขียนล้อเลียนพระศาสดาของอิสลาม อันทีจริง มีอีกตัวอย่างทำนองเดียวกัน คือเรื่อง "ซัลมาน รุสดิ" ในนิยายเรื่อง The Satanic Verses

(หรือ ทีผมยกซ้ำแล้วซ้ำอีก ในเรื่องเกียวกับ สถาบันกษัตริย์ไทย เรื่อง "พ่อ" อะไรนี่แหละ)

ผมขอย้ำว่า ผมเองไม่เห็นด้วยกับการ์ตูน นสพ. เดนมาร์ก ที่วา และต้องการจะบอกว่า ฝรั่งจำนวนมาก รวมทั้งชาวเดนมาร์ก เอง ก็ไม่เห็นด้วย กรณี รุสดิ ก็เช่นกัน คนอังกฤษ หรือคนฝรังเอง จำนวนไม่น้อย ก็ไม่ชอบที รุสดิ เขียน

แต่ปัญหาคือ สังคมที่ "mature" หรือ มี "วุฒิภาวะ" ทางด้านวัฒนธรรม อย่างในกรณีเดนมาร์ก หรือ อังกฤษ เขาจุัดการเรือ่งนี้ คนละแบบกับสังคม ที่ไม่ยอมบรรลุ วุฒิภาวะ อย่างประเทศไทย หรือประเทศแถบนี้หลายประเทศ

นันคือ เขาถือว่า นี่เป็น "ความเห็น" ของเอกชน คนหนึง ที่มีสิทธิจะแสดงออกได้ และได้รับการคุ้มครอง การแสดงออกนั้น ตามหลักประชาธิปไตยของเขา

หลายคนชี้ให้เห็นด้วยว่างาน "ศิลปะ" หรือ "ศิลปิน" หรือ นักคิดนักเขียน ปัญญาชน นั้น มีลักษณะอย่างหนึงทีเลี่ยงไม่ได้เสมอ คือ offend ("ก่อให้เกิดความระคายเคืองใจ") ต่อคนอื่นๆ อยู่เป็นปรกติอยู่แล้ว เพราะนี่เป็น ธรรมชาติ ของงานศิลปะ หรือ ธรรมชาติ ของการแสดงออกของการคิด การตั้งคำถาม ซึงเป็นการสะท้อน ความอุดมสมบุรณ์ของวัฒนธรรมในสังคมทีเสรี

ถ้าการแสดงออกของ "เอกชน" คนใด อย่างกรณีนักวาดการ์ตูน หรือ กรณีรุสดิ ไป offend ความรู้สึกใครเข้า คนที่รู้สึกถูก offended ก็สามารถตอบโต้ ประณาม ได้

แต่ที่ไม่ควรทำมากๆคือ การไปสร้างการ "กดดัน" ให้เอกชนนั้น ต้อง ยุติ หรือต้อง "ถอน" หรือบังคับห้ามการแสดงออกนั้น

ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ไมควร จะใช้การข่มขู่ หรือ กดดัน ด้วยกฎหมาย ด้วยอำนาจรัฐ เด็ดขาด (รุสดิ ถูก "หมายหัว" เป็นเวลาหลายปี ทางการอังกฤษ ซึงก็ไม่ได้แชร์ ทัศนะ ของรุสดิ ก็ยังให้ความคุ้มครองชีวิตให้)

มีแต่ต้องใช้ท่าที หรือ ทางออกแบบนี้ เท่านั้น จึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมสมัยใหม่ที่ (ก) มีความหลากหลายทางความคิด และ (ข) แต่ละคนมีสิทธิ์ เท่าเทียมกัน ทีจะคิดตามแบบของตัวเอง

000

เอ้า เชิญดู-ฟังกันเองอีกครั้ง หรือ โหลดเก็บไว้ เผื่อจะถูกลบหายไป

รายการ "คิดเล่นเห็นต่าง" 

วันที่ 10 มีนาคม 2555

http://www.youtube.com/watch?v=V1D5WWKI6do

วันที่ 11 มีนาคม 2555

http://www.youtube.com/watch?v=rJQQBd36dBg

และอันนี้ มีคนตัดตอนเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง

http://www.youtube.com/watch?v=9JZJNZSvrVQ

000

บอกตรงๆว่าผม upset กับเรื่องนี้มากๆ

ความเห็นของคุณแขก Kiku Nohana ใน "คิดเล่นห็นต่าง" วันที่ 10 - 11 มีนาคม จะถูกผิดยังไง ก็เถียงกันได้

แต่ผมมองไม่ออกเลยว่า จะถือเป็นการ "ล่วงเกินพระพุทธศาสนา" ได้อย่างไร? อะไรคือ "ล่วงเกินพระพุทธศาสนา"?? การตีความนโบายและโครงการบางอย่างของรัฐและองค์การสงฆ์ แม้กระทั่งการปฏิบัติบางอย่างของชาวพุทธ ที่ต่างกับการตีความขององค์กรสงฆ์ หรือ "ชาวพุทธส่วนใหญ่"? ความเห็นในเรื่องแบบนี้ ใช้ "เสียงส่วนใหญ่" หรือจำนวนคน หรือองค์กรศาสนา มาตัดสิน กดดันบังคับ ความเห็นของเอกชน แม้แต่คนเดียวได้หรือ?

ยิ่งมองไม่ออกเลยว่า คุณแขก มีอะไรทีต้อง "ขอขมาต่อพระรัตนตรัย" หรือ องค์กรสงฆ์ต่างๆ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net