Skip to main content
sharethis

mso-bidi-language:TH">ปาฐกถา “ประวัติศาสตร์อันตราย” ในอุษาคเนย์ โดยธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน เมื่อวันที่ mso-bidi-language:TH">28 มี.ค. 55 ณ การประชุมวิชาการ “อาเซียน: ประชาคมในมิติวัฒนธรรม ความขัดแย้ง และความหวัง” จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

000

mso-bidi-language:TH">เคยคิดไหมว่า มีปรากฏการณ์น่าสนใจอันหนึ่งที่เราจะอธิบายมันอย่างไรดี ประวัติศาสตร์เป็นวิชาน่าเบื่อวิชาหนึ่ง เวลาสอบก็สุมหัว เร่งท่อง เร่งจำ เพื่อสอบให้มันผ่านๆ ไป เป็นวิชาที่ไม่ได้สำคัญเท่าไหร่ แต่ครั้นพอโตขึ้นมา เวลามีความขัดแย้งเรื่องประวัติศาสตร์ จะเป็นจะตายกันให้ได้ เวลาขัดแย้งเขาพระวิหาร ทุกคนเป็นผู้รู้ดีกันหมดเลย ใครที่ชอบประวัติศาสตร์เป็นคนที่แปลกมาก

mso-bidi-language:TH">คนที่ตีความประวัติศาสตร์ต่างไปจากที่เคย เราจะเป็นเดือดเป็นแค้นได้ คือเป็นความรู้ที่เราไม่ต้องรู้ดีแต่ก็สามารถอวดรู้ได้ ใครๆ ก็สามารถบอกตัวเองว่ารู้ประวัติศาสตร์ เป็นความรู้ที่สามารถเข้าถึง เป็นเดือดเป็นแค้น โดยไม่ต้องมีความรู้อะไรเลย เพราะเอาเข้าจริงประวัติศาสตร์ที่เราพูดถึงกันไม่ใช่เรื่องความรู้ แต่เป็นเรื่องความเชื่อ ความสามารถที่จะเข้าใจลักษณะทางจิตวิญญาณได้อย่างกว้างๆ ปกติไม่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เมื่อไหร่ที่มีคนแย้ง หรือท้าทายขึ้นมา เราจะรู้สึกถูกลบหลู่ เป็นเดือดเป็นแค้น

mso-bidi-language:TH">ความรู้นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบเป็นอัตลักษณ์ เป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา บ่อยครั้งเราเรียกอันนี้ว่าเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ แต่เอาเข้าจริง สองอย่างนี้ เป็นประวัติศาสตร์คนละชนิด ไม่รู้ว่าสองอย่างนี้แตกต่างกันขนาดไหน แต่เราเรียกสองอย่างนี้ว่าประวัติศาสตร์เหมือนกัน โดยด้านหนึ่ง ประวัติศาสตร์คืออัตลักษณ์ของเรา อีกอย่างหนึ่งคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ บ่อยครั้ง สองอย่างนี้ปะปนกัน

อย่างหนึ่งเป็นความเชื่อที่เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ ชีวิต วัฒนธรรม ขาดไม่ได้ ซึ่งเราก็เน้นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจ เป็นตัวของตัวเอง เห็นด้านที่เป็นคุณมาก แต่เราลืมพูดถึงด้านที่เป็นอันตรายของประวัติศาสตร์ชนิดนี้ ก็คือว่า เมื่อไหร่ที่ถูกกระทบ ถูกท้าทาย เราจะรู้สึกเดือดร้อน คาดแค้น เพราะเราขาดมันไม่ได้

mso-bidi-language:TH">กับอีกอย่างหนึ่งเป็นเครื่องมือทางปัญญาในการคิดและวิเคราะห์ ยิ่งยึดเอาประวัติศาสตร์ในการคิดวิเคราะห์มากขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้กลายเป็นคนเชื่ออะไรยากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นว่าสองอย่างนี้มันต่างกัน อย่างหนึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่เป็นอุดมการณ์ทางสังคมการเมือง อีกอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเป็น skeptics

mso-bidi-language:TH">ประวัติศาสตร์ที่เป็นความเชื่อส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ของเรา โดยไม่ใช่ด้วยรายละเอียด แต่ด้วยโครงเรื่อง เช่น ถึงแม้ว่าเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ไทยมากนัก แต่เรารู้ว่าสังคมไทยเวลาเกิดปัญหา มักจะมีวีรบุรุษ วีรสตรีมากอบกู้ และสามารถทำให้เราเดินหน้าได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น แต่จริงหรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างนั้น

mso-bidi-language:TH">ประวัติศาสตร์นี้ไม่ได้อยู่ด้วยรายละเอียดของเหตุการณ์หนึ่งๆ แต่อยู่ด้วยสาระเรื่องเล่าที่เล่าซ้ำๆ กัน เช่น เรารู้ว่ามีชาวบ้านบางระจัน เมื่อไหร่ ที่ไหน เราไม่รู้ แต่เรารู้ว่ามีเพราะมันสอดคล้องกับโครงเรื่องหลักๆ

mso-bidi-language:TH">เหตุการณ์ mso-bidi-language:TH">6 ตุลา 14 ตุลา เป็นอะไรไม่รู้ แต่เราเรียก 16 ตุลาก็ได้ เพราะสุดท้ายโครงเรื่องมัน match กัน รายละเอียดคือการตอกย้ำโครงเรื่องซึ่งเหมือนๆ กัน ให้เป็นอย่างที่เรารู้ เชื่ออย่างที่มันเป็น ตอกย้ำที่เป็นมาตรฐานความเชื่อจำนวนหนึ่ง ในแง่นี้ สำหรับประวัติศาสตร์อย่างนี้เราจึงไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียด ไม่จำเป็นต้องรู้อย่างวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ต้องรู้ใจความสำคัญก็ได้ ขอให้จับสาระที่เป็นจิตวิญญาณของสังคมหรือของชาตินั้นๆ ได้  ขอให้เรามั่นใจได้ว่า รายละเอียดนั้นตอกย้ำโครงของซ้ำๆ ซากๆ ที่เป็นสปิริตของสังคมนั้นก็พอ

mso-bidi-language:TH">ส่วนประวัติศาสตร์ที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ จะทำให้เราไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ หรือไม่เชื่ออะไรเลย เคยตั้งข้อสังเกตว่าคนสอนประวัติศาสตร์ไทยในที่หนึ่งๆ จะมีนักประวัติศาสตร์ที่สังกัดชนิดแรกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเพื่อนร่วมงานที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินนั้น ไม่ว่าจะแนวอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยม ล้วนแต่เป็น mso-bidi-language:TH">skeptic กันทั้งนั้น ทำให้คิดว่า ทั้งสองอย่างสมาทานประวัติศาสตร์ในแง่ที่เป็นความรู้คนละชนิดกัน

mso-bidi-language:TH">ขออ้างถึงงานของนักเขียนคนหนึ่งชาวฝรั่งเศส ที่เขียนบทความคลาสสิค What is the Nation? เมื่อปี 1882 กล่าวว่า มีของ 2 สิ่ง ซึ่งประกอบเข้าเป็นหลักการหรือเป็นจิตวิญญาณของชาติหนึ่งๆ อันหนึ่งคือ การที่เป็นเจ้าของมรดกอันร่ำรวยกับสังคมนั้น อันที่ 2 คือความเห็นร่วมกันในปัจจุบันโดยมีการขยายความว่า

การลืมนั้น เป็นปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับการก่อร่างสร้างชาติขึ้นมา การหลงลืมเป็นความจำเป็นก็เพราะว่า ยิ่งการศึกษาประวัติศาสตร์ยิ่งคืบหน้าไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อหลัก soul และ spirit ของชนชาตินั้น

mso-bidi-language:TH">ประวัติศาสตร์ความเชื่อ-อัตลักษณ์ โดยปกติเป็นชีวประวัติของสังคมหรือชาติหนึ่ง มักจะมีสาระสำคัญอยู่ mso-bidi-language:TH">2-3 อย่างเท่านั้น คือ อย่างที่หนึ่ง บอกเล่าความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ถือเอาตัวเองเป็นใหญ่ และถูกเสมอ อย่างที่สอง บอกเล่าเรื่องราวการถูกรังแก ความเจ็บปวด และการเอาตัวรอดมาได้ และอย่างที่สาม ปกปิดเรื่องราวเลวๆ อัปยศคือตัวเองเคยทำกับคนอื่นเอาไว้ แทบทุกประเทศในอาเซียนมีเรื่องราวทำนองนี้ และแตกต่างกันในรายละเอียด

mso-bidi-language:TH">อย่างแรก เป็นประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราว ขยายอำนาจเมื่อไหร่ เป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่เมื่อไหร่ จริงๆ การขยายอำนาจหมายถึงการทำให้คนอื่นเจ็บปวด เช่นการตีเอาปัตตานีมาเป็นของตัวเอง เป็นความยิ่งใหญ่ที่เราเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก เราลืมไปว่ามันเป็นความเจ็บปวดของคนอื่น mso-bidi-language:TH">

mso-bidi-language:TH">ส่วนเรื่องราวที่ถูกรังแก ถูกกระทำย่ำยี อับอายจากผู้อื่น เช่น ประวัติศาสตร์การเสียดินแดน ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ หรือเป็นมายาคติหรือไม่ แต่มันเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นอัตลักษณ์ของเรา คือต้องให้รู้ว่าเราถูกรังแกในสมัยก่อน ส่วนประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องอัปยศ ก็เช่นเรื่อง 6 ตุลา ไม่สามารถจะมาพูดได้ เพราะถ้าพูดขึ้นมาก็เป็นเรื่องขายขี้หน้ากันทุกฝ่ายอย่างมโหฬาร

mso-bidi-language:TH">ประเทศในกลุ่มอาเซียนเรามีประวัติศาสตร์ทั้ง 3 ชนิด อย่างลาว เขมร ก็บอกว่าเขาก็เสียดินแดน ทุกคนบอกตัวเองเสียดินแดน ตามหลักฟิสิกส์ คืออะไรที่หายไปมันต้องไปอยู่อีกที่ แต่กลายเป็นว่าดินแดนเป็นสิ่งหนึ่งที่เสียไปแล้วหายไปเลย ทุกคนบอกตัวเองเสียหมด และก็เน้นการถูกรังแกเช่นการตกเป็นอาณานิคม

mso-bidi-language:TH">นอกจากนี้ ก็เน้นความยิ่งใหญ่ของตัวเองเหมือนกัน ทั้งๆ ที่ความยิ่งใหญ่ของตัวเองได้มาด้วยความเจ็บปวดของคนอื่น ยกตัวอย่าง การสร้างอนุสาวรีย์ที่แสดงถึงช่วงยิ่งใหญ่ที่สุด เช่น พม่า มีอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ คือ พระเจ้าอโนรธา พระเจ้าบุเรงนอง และพระเจ้าอลองพญา ทำในยุคที่รุ่งเรือง ที่ลาวก็มีฟ้างุม ไซเชษฐาธิราช แต่ก็มีพระเจ้าอนุวงษ์ เป็นยุคที่ไม่ยิ่งใหญ่แต่เพื่อบันทึกความเจ็บปวดของตัวเองด้วย

ประเทศในอาเซียนมีประวัติศาสตร์ที่เน้นเรื่องยิ่งใหญ่ และเจ็บปวดไม่ต่างกัน หากเราเอาประวัติศาสตร์ของทุกประเทศมาเรียงกัน เราจะเจอว่า ประวัติศาสตร์ของประเทศเหล่านั้นปะทะกัน ขัดแย้งกัน ฉะนั้น ทางที่คือต่างคนต่างอยู่ เพราะฉะนั้นในขณะที่อาเซียนเราเน้นอะไรร่วมกัน แม้จะบอกว่าเราสามารถเรียนรู้จากกันได้ เรามีด้านที่น่ารัก แต่คิดว่ามีบางส่วนที่สำคัญ อาจจะพอๆ กับอธิปไตยเหนือดินแดน คือ เรื่องอธิปไตยของประวัติศาสตร์ ก็คือต่างคนต่างอยู่ mso-bidi-language:TH">

เพราะหากเอาประวัติศาสตร์มาแชร์กัน มาทำให้ลงรอยกัน มีหวังได้ทะเลาะกัน เราไม่สามารถสูญเสียอธิปไตยทางประวัติศาสตร์ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว ที่เมื่อย้อนไปสามสี่ปีไทยกับพม่าก็ทะเลาะเรื่องนี้ เช่นเดียวกัน เรื่องประวัติศาสตร์ไม่มีใครถอยให้แก่ใครแม้แต่ก้าวเดียว TH">

mso-bidi-language:TH">ในประเทศต่างๆ ก็มีประวัติศาสตร์ที่ตัวเองต้องปกปิดความอพยพของตัวเองเอาไว้ เพราะถ้ารื้อขึ้นมาจะเป็นบาดแผลที่เจ็บปวดและยังเน่าเฟะอยู่ เช่น ในอินโดนีเซียปี 1965  มาเลเซียปี 1969 ในเวียดนาม มีการปราบปรามชนกลุ่มน้อยทางด้านศาสนาชาติพันธุ์ ส่วนไทยก็มีเดือนตุลาทั้งหลาย และกำลังจะเพิ่มพฤษภาอีกสองรายการ

mso-bidi-language:TH">ประวัติศาสตร์แบบนี้ อันตราย เพราะอยู่บทความเชื่อ อยู่บนความแข็งแกร่งยาวนานที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ แต่จะถูกท้าทายจากประวัติศาสตร์ที่วิพากษ์วิจารณ์ตลอดเวลา เรามักคิดว่าประวัติศาสตร์ที่วิพากษ์วิจารณ์แบบนั้นที่เป็นอันตราย อย่างที่เรนัลด์บอก ยิ่งการศึกษาประวัติศาสตร์ยิ่งก้าวหน้ามากเท่าไร การศึกษาแบบวิพากษ์วิจารณ์ยิ่งเป็นอันตรายต่อความเชื่อที่เป็นจิตวิญญาณของชาติ

เมื่อเราคิดกลับกัน เราจะเห็นว่าเพราะประวัติศาสตร์แบบแรกต่างหากที่เป็นอันตรายยิ่งกว่า เพราะจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อต้องให้คนในชาตินั้นๆ มีความเชื่อทำนองหนึ่งไปเรื่อยๆ เมื่อถูกสั่นคลอนด้วยเหตุด้วยผล หลักฐาน ประวัติศาสตร์แบบแรกจะเกิดความสั่นคลอนในอัตลักษณ์ของตัวเองทันที

ประวัติศาสตร์ก็เหมือนความเชื่อศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสังคม ที่ความเชื่อที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่อันตราย เพราะไม่มีความรู้ความเชื่ออันไหนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างถาวร mso-bidi-language:TH">

mso-bidi-language:TH">ประเทศในอาเซียน เรามีประวัติศาสตร์แบบที่เป็นความเชื่อ ประกอบเป็นอัตลักษณ์ค่อนข้างมาก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย อันนี้ต่างหากถือว่าเป็นอันตราย วันนี้ ดร.สุรินทร์ฯ บอกว่าเราสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ แต่ผมอยากให้เห็นถึงข้อจำกัดเชิงประวัติศาสตร์ พอพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์ เราหยุด ปิดประตู และตั้งด่านทันที

ทำให้เราจะต้องเก็บประวัติศาสตร์ไว้เป็นอย่างหลังๆ ในบรรดาอาชีพที่อนุญาตให้ข้ามไปข้ามมาได้ คือไม่ใช่แค่ภาษาดอกไม้ ภาษาหรูๆ เท่านั้นที่เราพูดว่าเรียนรู้ร่วมกันได้ แต่อยากให้กรุณาตระหนักถึงข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ และเราต้องข้ามพ้นให้ได้ ไม่เช่นนั้นประชาคมอาเซียนก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้

mso-bidi-language:TH">แต่ก็ไม่ใช่ว่าให้ทุกประเทศมีประวัติศาสตร์เหมือนกัน หรือต้องลืมประวัติศาสตร์ตัวเอง ผมคิดว่าเราต้องจัดการปัญหาประวัติศาสตร์แห่งชาติ เราอาจจะกล่าวว่ายุโรปเองก็มีปัญหาเหล่านี้ เขาก็ยังอยู่กันได้ แต่จริงๆยุโรปได้ก้าวข้ามวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ถือเอาประวัติศาสตร์เป็นอัตลักษณ์ของตัวเองอย่างยึดมั่น ไปสู่ประวัติศาสตร์ในฐานะเครื่องมือสร้างความรู้ ความเข้าใจปัจจุบันอย่างวิพากษ์วิจารณ์

mso-bidi-language:TH">ผมคิดว่าทุกวันนี้ประวัติศาสตร์มี 2 ชนิด มีการเรียนรู้คนละอย่าง มันคือ culture of history mso-bidi-language:TH">คือ วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ หมายความว่าเราจะมีชีวิตร่วมกับ หรืออยู่กับอดีตอย่างไร ใช้อดีตอย่างไร มีระยะห่างอย่างไร มี critical distance mso-bidi-language:TH"> หรือ mso-bidi-language:TH">detachment

mso-bidi-language:TH">เราจะถืออดีตเป็น “ประเทศอื่น” ประเทศหนึ่งได้แค่ไหน การมีชีวิตอยู่ประจำวัน ประวัติศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งอย่างไรในชีวิตของเราในปัจจุบัน

mso-bidi-language:TH">การที่ชาติต่างๆ ถือเอาประวัติศาสตร์เป็นปริมณฑลที่ละเมิดไม่ได้ ที่อาจารย์สุรินทร์ได้กล่าวกรณีไทย กับ กัมพูชาขัดแย้งกัน ถ้าหากเราไม่ย้อนกลับไปยุคก่อนอาณานิคม เราก็ต้องถือว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว เราจะมีท่าทีอย่างไรกับสิ่งที่ผ่านไปแล้วที่เป็นมรดกส่วนหนึ่งของปัจจุบันด้วย เรามีมรดกของพ่อแม่อยู่ในตัวเรา แต่เราก็ยังสามารถมีท่าทีต่อมรดกเหล่านั้นได้ ไม่ได้บอกว่าต้องเดินตามรอยของพ่อแม่เราทั้งหมด

mso-bidi-language:TH">สิ่งที่เสนอต่อไปนี้อาจดูเป็นอุดมคติและ living aspiration คือเป็นความปรารถนาที่มีชีวิต

TH">1. เรายอมรับได้ไหมว่าความรู้ประวัติศาสตร์ไม่มีวันจบสิ้น คำถามใหม่ๆ ทางประวัติศาสตร์มีตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ท้าทายได้ เปลี่ยนได้ ไม่มีปริมณฑลที่ห้ามละเมิด ในโลกที่มีวุฒิภาวะทางวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ไม่มีคำตอบตายตัว ไม่ว่าจะในระดับรายละเอียดหรือโครงเรื่อง หรือในระดับจิตวิญญาณของชาตินั้นๆ สามารถถูกท้าทายได้ตลอดเวลา เราจะยอมรับประวัติศาสตร์แบบนั้นได้หรือไม่ ถ้าหากรับไม่ได้ประวัติศาสตร์จะยังอันตรายอยู่ แต่ถ้ายอมรับได้ก็เป็นการถอดชนวน เอาประวัติศาสตร์ไว้ศึกษา แต่ไม่ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่จำเป็นต้องถือว่าตัวเองถูกเสมอ มี detachment คือ ระยะห่างที่เป็นตัวของเราเองในปัจจุบัน

TH">2. ต้องใช้ชื่อหนังสือเล่มหนึ่งของ Prasenjit Duara คือ Rescuing History from the Nation เราจะกอบกู้ประวัติศาสตร์จากชาติได้หรือยังให้ประวัติศาสตร์คือเรื่องอดีต ไม่ได้ผูกพันกับชาติ ชาติไม่ได้เป็นเจ้าของประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอดีตเป็นอะไรก็สามารถเถียงกันได้ วิจารณ์ได้ วัฒนธรรมข้อ ๒ ที่ผมคิดว่าส่งเสริมคือ ทำให้ประวัติศาสตร์เป็นประวัติศาสตร์ มีระยะห่างและเป็นอิสระจากชาติเสีย แน่นอนว่ามันมีผลต่อความเป็นชาติ ตามที่เราเคยได้เรียนรู้มาในฐานะความรู้ชุดหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเดินตามมันอย่างที่เคยเป็นมา เราสามารถใช้วิจารณญาณเข้าไปตัดสินได้

TH">3. ประวัติศาสตร์เป็นความรู้ที่ทำให้เราคิดเป็น ปรับตัวได้ เรารู้ว่าปัจจุบันเป็นผลของอดีต อย่างไรก็ตามเราเป็นอิสระ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีมรดก แต่ในความหมายที่ว่าเรามีระยะห่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นตายร้ายดีไปกับประวัติศาสตร์ของชาติ ประวัติศาสตร์มีไว้คิด ไม่ได้มีไว้ให้ใช้ ไม่ได้มีไว้ให้เกิดความภูมิใจ ฉะนั้นต้องส่งเสริมให้ประวัติศาสตร์ที่คนรู้จักคิด และใช้ในการคิดอย่างเป็นตัวของตัวเอง

TH">4. ต้องอนุญาตให้ประวัติศาสตร์ทุกอย่างแบกันบนโต๊ะให้หมด รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ท้าทาย ประวัติศาสตร์ที่แย้ง เพราะการที่ถูกท้าทายในโลกที่มีคนหลากหลาย เหตุการณ์หนึ่งมีคนสูญเสียมีคนได้ มีคนเสียใจก็มีคนดีใจ เช่น เราจะไปกักเก็บประวัติศาสตร์เรื่องเดือนตุลาคม พฤษภาคม หรือเรื่องปัตตานีไว้ทำไมกัน ต้องอนุญาตให้เขาแบออกมา ถ้าเราเก็บกดเอาไว้จะยิ่งทำให้ลึกลับซับซ้อน และทำให้ประวัติศาสตร์เหล่านั้นมีพลังจนเกินเหตุ ต้องให้แบออกมา และถกเถียงกันโดยต้องมีระยะห่าง และทำให้อยู่ในที่เปิดเผย

mso-bidi-language:TH">เราจะไม่มีวันเห็นอะไรร่วมกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์เพราะมนุษย์เป็นอย่างนั้น ซึ่งถ้าเราทำให้ประวัติศาสตร์แบออกมาได้ซึ่งมาจากหลายทิศทางและผลประโยชน์

mso-bidi-language:TH">ผมเชื่อว่าในอนาคต สังคมเราจะเดินไปสู่สังคมที่รู้จักคิด มีวุฒิภาวะและเปิดกว้างขึ้นเรื่อยๆ ในภาวะเช่นนี้ อัตลักษณ์จะหลากหลายปนเปจนนับไม่ถ้วน จะไม่ต้องการ single narrative mso-bidi-language:TH"> อีกต่อไป อัตลักษณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีหลายเรื่องราวประกอบขึ้นด้วยกัน

สังคมที่มีวุฒิภาวะ จะต้องให้ประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราวหลากหลายเหล่านั้นอยู่ด้วยกัน ใครจะภูมิใจ ดีใจ หรือเสียใจประวัติศาสตร์นั้น ก็ให้เขายึดถืออย่างนั้นได้ ไม่ใช่ว่าพูดกันแต่ภาษาดอกไม้ ลดการทำสงครามให้หมดและประเทศอาเซียนจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ใช่ เป็นประวัติศาสตร์ที่แบกันให้หมด จะรบกี่ครั้ง จะอัปยศเมื่อปีไหน ก็แบออกม ใครยังมีอายุความอยู่ก็จัดการตามกฎหมาย ใครที่หมดแล้วก็ให้เป็นประวัติศาสตร์กันไป เราก็มีระยะห่างกับมัน แม้กระทั่งลูกของผมก็ไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องตุลาแบบเดียวกับผม ยิ่งคนที่ไม่ได้ผูกพันทางสายเลือด ก็ยิ่งไม่ต้องใหญ่

mso-bidi-language:TH">สังคมที่กำลังต้องการสภาวะเปิด เราต้องการวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์แบบนั้น เราจะอยู่รวมกันได้เป็นประชาคม เราต้องการประชากรที่สามารถยินดีอยู่ร่วมกับคนที่มีประวัติศาสตร์ต่างๆ นานา ต้องเคารพเขาในด้านอัปลักษณ์ของทั้งเราและเขาด้วย นั่นคือประวัติศาสตร์ที่ยอมรับความจริง ในเงื่อนไขอย่างนี้เราจึงต้องการสังคมที่สามารถเปิดให้มีเสรีภาพ แบกันออกมาได้ ยิ่งมีความหลากหลาย ก็จะยิ่งลดความน่าอันตรายลงไป โดยที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ spirit of nation

mso-bidi-language:TH">ผมคิดว่าอาจจะยาก แต่เชื่อว่าสังคมเรา และหลายสังคมในอาเซียน มีวุฒิภาวะพอที่จะฟังกันได้ ไม่ได้หมายความว่าต้องให้เป็นได้ช่วงข้ามคืน เพราะวัฒนธรรมประวัติศาสตร์แบบเดิมมันฝังมานาน ผมเชื่อว่าเราต้องเริ่มต้น ไม่ใช่ปล่อยให้อาเซียนเป็นประชาคมทางธุรกิจ หรือการลงทุนกันอย่างเดียว

การที่จะให้คนมีความอดกลั้นต่อกัน จะต้องมีต่อกันในทางประวัติศาสตร์ด้วย ย้ำว่าไม่ใช่แค่พูดภาษาดอกไม้ แต่ต้องปล่อยให้ประวัติศาสตร์เลวร้าย อัปยศแค่ไหน โผล่ออกมา โดยไม่เอาตัวเองเข้าไปโกรธแค้นกับสิ่งนั้น ต้องฟังได้อย่างมีวิจารณญาณ นี่ต่างหากที่จะสามารถสร้างประชากรที่มีคุณภาพ ที่ประชาคมอาเซียนจะมีอุดมคติอย่างไรก็แล้วแต่ ผมขอให้มีวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ชนิดใหม่

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net