Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

“การพัฒนา” ในทัศนะนักสตรีนิยมบางสานักคิดโดยเฉพาะวิธีคิดใหม่ๆ เช่น “ประกอบสร้างนิยม” (constructionism) ก็ดี หรือ “หลังโครงสร้างนิยม” (post-structuralism) “หลังทันสมัยนิยม” (post-modernism) ก็ดี มองว่าเป็น “การประกอบสร้างทางสังคม” และเป็น “วาทกรรม” ที่ถูกผลิตขึ้นมาโดย “ระบบอำนาจ – ความรู้” ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ณ กาลเวลาหนึ่งๆ ถ้ามองในแนวทางนี้ “การพัฒนา” จึงเป็นสิ่งประกอบสร้างของ “ระบบอำนาจ – ความรู้” ที่อ้างว่าเป็น “ประชาธิปไตย” เป็น “ทุนนิยมแข่งขันเสรี” และเป็น “วิทยาศาสตร์ + เทคโนโลยี” ที่เป็นชุดความรู้ที่แท้จริง ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ “การพัฒนา” ในความหมายนี้ที่เรียกกันว่า “การพัฒนากระแสหลัก” (mainstream) ส่วนนักสตรีนิยมส่วนใหญ่เรียกว่า “กระแสชาย” (malestream) จึงต้องต่อสู้ขัดขืนด้วยการ “ถอดรื้อ” (deconstruction) การประกอบสร้างและหรือวาทกรรมนั้นๆ วิธีการ “ถอดรื้อ” ทาอย่างไรจะต้องไปว่ากันอีกทีหนึ่งในตอนหลัง

อย่างไรก็ตาม นักสตรีนิยมส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในวันนี้ในระดับสากลและในเมืองไทยด้วยมีวิธีคิดในแบบ “โครงสร้างนิยม” ไม่ว่าจะเป็นสตรีนิยมเสรีนิยม สตรีนิยมสังคมนิยม สตรีนิยมมาร์กซิสม์ สตรีนิยมถึงรากเหง้า (radical feminism) สตรีนิยมวัฒนธรรม สตรีนิยมนิเวศวิทยา (eco-feminism) และอื่นๆ จึงโต้เถียงต่อต้านขัดขืนโดยใช้ภาษา (ศัพท์แสง วิธีคิด การเขียน การพูด ฯลฯ) ภาษาเดียวกันกับการพัฒนากระแสหลัก ตัวอย่างเช่น การถกเถียงเรื่องโครงสร้างการเมืองแบบประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างไร โครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแข่งขันก็ดี วิทยาศาสตร์ – เทคโนโลยีที่ทางานให้กับทุนนิยมโดยเฉพาะทุนนิยมอุตสาหกรรม เกษตรกรรมแบบอุตสาหกรรมไม่ดีหรือมีผลเสียหรือมีด้านลบอย่างไรต่อผู้หญิงในฐานะที่เป็นเพศ/เพศภาวะ (เพศสภาพ) เป็นต้น ดังนั้นเราจึงเห็นการใช้มโนทัศน์หรือแนวคิดเรื่อง “ปิตาธิปไตย” ใส่เข้ามาในการวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาที่มีมิติ/วิธีคิดแบบสตรีนิยมแนวทางต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่เรียกว่า “ปิตาธิปไตย” หรือ “patriarchy” นั้นเป็นมโนทัศน์หลักเฉพาะของนักสตรีนิยมเท่านั้น นักวิชาการสาขาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและแม้กระทั่งมานุษยวิทยาซึ่งเป็นสาขาวิชาหรือชุดความรู้ที่ใช้แนวคิดนี้มาก่อน นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่ก็ไม่ใช้หรือลังเลที่จะใช้ยกเว้นนักมานุษยวิทยาหญิงที่เป็นนักสตรีนิยมบางคน เพราะฉะนั้นเมื่อนักสตรีนิยมนำมาใช้จึงถูกโต้อยู่เสมอทั้งจากนักวิชาการเหล่านั้น เช่น นักรัฐศาสตร์ก็จะโต้เถียงว่า “ประชาธิปไตยคือประชาชนทุกคนเป็นใหญ่” ในความหมายว่า “ปัจเจก” ทุกคน ในภาษากฎหมายใช้คำว่า “บุคคล” ซึ่งสะท้อนให้เห็นใน “ภาษา” (ไทย) ที่ใช้ในกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง เป็นต้น แต่นักสตรีนิยมไทยจานวนหนึ่งได้ร่วมกันผลักดัน (หลังจากถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน) ให้ใส่ข้อความไว้ใน หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน (เน้นโดยผู้เขียน) ... ทั้งนี้ก็เพื่อตอกย้าว่า “บุคคล” เป็นคำทั่วไป แต่ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม “บุคคล” แตกต่างกันถูกกีดกัน ถูกเลือกปฏิบัติบนฐานของเพศ/เพศภาวะและอื่นๆ เช่น ชาติพันธุ์ ศาสนา “ชาติกำเนิด” (เจ้า ผู้ดี ไพร่) ฐานะทางเศรษฐกิจ สภาวะทางร่างกายและจิตใจ (พิการ/ไม่พิการ) และอื่นๆ อีกด้วย อ้อ! อย่าลืมว่าผู้ชายไทยไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักการเมือง นักธุรกิจ อาจโต้เถียงโดยใช้ประสบการณ์ว่า “ใครว่าผู้ชายเป็นใหญ่...ดูผมซิเมียดุจะตาย!” อย่างนี้ก็มี

ความเป็น “สากล” กับความเป็น “ไทย” ของ “การพัฒนา” และสตรีนิยม

ประเด็นนี้วงวิชาการสายสังคมศาสตร์ – มนุษยศาสตร์ถกเถียงกันมานานนับแล้วเกือบห้าสิบปี เสร็จแล้วก็เลิกรากันไปแล้ว แต่สังเกตไหมว่า ในวงการวิทยาศาสตร์กลับไม่มีการถกเถียงว่า ชีวะ เคมี ฟิสิกส์ เป็น “ไทย” หรือไม่ มีแต่พูดกันและเชื่อกันว่าเป็น “ชุดความรู้สากล” คนที่ระมัดระวังหน่อยก็ใช้ว่า “วิทยาศาสตร์ตะวันตก” หรือ “western sciences” ในหมู่แพทย์ที่ไม่ค่อยวางใจวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นฐานรากของวิชาแพทย์ศาสตร์ที่สอนกันเป็นสถาบันที่ทรงอำนาจของเมืองไทยก็มีเหมือนกันที่ใช้คำว่า “การแพทย์ตะวันตก” ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในความเป็นจริงมี “การแพทย์” หรือ “การรักษาพยาบาล” แบบอื่น ๆ เช่น อายุรเวชของอินเดีย การแพทย์แผนจีน การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แบบชนเผ่าดารงอยู่ด้วย

คำถามคือ “การพัฒนา” แบบไทยกับ “ทัศนสตรีนิยมแบบไทย” มีหรือไม่ ถ้าไม่มีหรือมีลักษณะเป็นอย่างไร และจะเกิดผลอะไรต่อการสร้างความรู้ การถกเถียงของนักสตรีไทย?

การหาคำตอบให้กับคำถามข้างบนต้องย้อนกลับไปดูรากเหง้าของ “ประชาธิปไตย เสรีนิยม” “ทุนนิยมแข่งขันอย่างเสรี” และ “วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี” ที่เป็นทั้งวิธีคิดและกลไกในการผลักดัน “การพัฒนา” ให้เป็นปฏิบัติการแบบ “โลกาภิวัต” นั้นมีที่มาจากไหน? คำตอบคือ “ตะวันตก” หรือบางทีเราก็เรียกว่ามาจาก “ฝรั่ง” สตรีนิยมก็เช่นกัน อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย “ความเป็นแดง” ในเชิงวิธีคิดเช่น สังคมนิยมก็มาจากตะวันตก!

ผมขอถามจริง ๆ เถอะว่า “ประชาธิปไตย” ทั้งในระบบวิธีคิด ทฤษฎีและระบบการเมือง มีมาก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 หรือ? หรือว่ามีแต่ “ระบบศักดินา” แม้กระทั่งมโนทัศน์หลักเรื่อง “สิทธิ” “เสรีภาพ” และ “ความเสมอภาค” “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และอื่น ๆ อีกมากที่เราใช้กันอยู่คล่องปาก จึงล้วนเป็น “สิ่งนาเข้า” ทั้งสิ้นใช่หรือไม่? แน่นอนข้อเท็จจริงว่า ทาสหนีนาย ไพร่หนีเกณฑ์ “ผู้หญิงแกร่ง” นั้นมีอยู่แต่ไม่ถือว่า “อยู่ในจารีต”

ด้วยเหตุนี้ “ความเป็นไทย” จึงเป็นสิ่งประกอบสร้างขึ้นมาตามระบบอำนาจความรู้ในแต่ละยุคสมัย และแต่ละที่ (คำตอบแนวนี้คือ แนวฟูโก ก็ “นาเข้า” เช่นกัน)

สิ่งที่ต้องตั้งเป็นข้อสังเกตไว้คือ ถ้าจะตอบคำถามข้างบนให้ได้ ต้องตั้งโจทย์กับ “ความเป็นไทย” ด้วยว่าคืออะไร เป็นอย่างไร? ...ตัวอย่างเช่นคำว่าหรือสิ่งที่เรียกว่า “เพลงไทยเดิม” …โปรดเน้นที่คำว่า “เดิม” ก็จะได้คำตอบที่น่าฉงนคือ เราจะรู้จักเพลง เขมรไทรโยค ลาวดวงเดือน แขกต่อยหม้อ มอญดูดาว จีนราพัด ว่า “นี้แหละคือเพลงไทยเดิม” เป็นต้น… แล้วจะมาถกเถียงเรื่อง “ความเป็นไทยไม่เป็นไทย” ของนักสตรีนิยมกันไปทาไม? ในเมื่อ “ความเป็นไทย” เป็น “อัตลักษณ์” ที่ประกอบสร้างขึ้นและแปรเปลี่ยนหรือเลื่อนไหล แถมยังกระจัดกระจายเป็นชิ้นเป็นส่วน

เอาล่ะ! ถ้าพูดว่า “นักสตรีนิยมไทย” ก็อาจต้องนิยามกันว่าเป็นนักคิด นักปฏิบัติการที่เป็น “คนไทย” แต่อาศัยวิธีคิดตะวันตกมาประยุกต์ใช้ดัดแปลง หรือปรับให้เข้ากับบริบทของ “สังคมไทย” ในเวลานั้นๆ และเนื่องจากสตรีนิยมเป็นวิธีคิด เช่นเดียวกับประชาธิปไตย ดังนั้น วิธีคิดนี้จึงไม่ผูกติดอยู่กับเพศหรือเพศภาวะ (เพศสภาพ) ของคนหรือกลุ่มคน (เครือข่าย ฯลฯ) ที่ใช้วิธีคิดนั้น ๆ

ด้วยเหตุนี้นักวิชาการก็ดี นักเคลื่อนไหวก็ดี นักการเมือง นักบริหาร นายกรัฐมนตรี จะเป็นนักสตรีนิยมด้วยหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับวิธีคิดไม่เกี่ยวกับเพศหรือเพศภาวะ

เมื่อมาถึงขั้นนี้คงต้องตะล่อมสรุปชั่วคราวว่า การจะวิเคราะห์วิพากษ์นโยบายพัฒนาสตรีและกองทุนพัฒนาสตรีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือการจะออกมาปกป้อง ผลักดัน และนาไปสู่ปฏิบัติการก็ดี ต้องอย่ามุ่งไปที่ “นโยบายการพัฒนาสตรี” และ กองทุนพัฒนาสตรีอย่างทันทีทันใด ผู้วิเคราะห์วิพากษ์หรือผู้ป้องกัน ผลักดัน สนับสนุน ถ้ามีความจริงใจและมีอิสระพอ ควรต้องมองการพัฒนาสตรี กองทุนพัฒนาสตรี ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” ซึ่งเป็นผลผลิตของการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีตะวันตก เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์วิพากษ์ในที่นี้คือ “สตรีนิยม” ซึ่งก็มาจากตะวันตก แต่มาปรับให้เข้ากับสภาวะเงื่อนไขหรือบริบทของสังคมไทย ที่ “การพัฒนา” ถูกประกอบสร้างขึ้นมาโดยระบบอำนาจความรู้ (power regime) ของแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดนิ่ง

เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจตามที่เขียนมาข้างบนก็จะพบว่า ถ้าจะวิเคราะห์วิพากษ์รวมไปถึง “ถอดรื้อ” นโยบายการพัฒนาสตรีและกองทุนฯ ก็จะต้อง วิเคราะห์ การเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี โดยใช้มิติมุมมองที่หลากหลาย แตกต่างและขัดแย้งของสตรีนิยม จะเถียงกันไปแบบ “ด้น”(impromptu) เรื่อยเปื่อยโดยใช้ “โวหาร” คงไม่ได้ ถ้าจะ “ด้น” ก็ต้องทาแบบ “ด้นกลอน” คือมีหลักเกณฑ์ที่เรียกว่ามี “ฉันทลักษณ์” ไม่อย่างนั้นแล้วมันก็จะเกิดภาวะ “มีความสามารถที่จะพูดกันไม่รู้เรื่อง” หรือ “incommensurability” หรือภาษาไทยที่พอรับได้หน่อยคือ “พูดกันคนละเรื่องเดียวกัน” จากนั้นก็จะเกิดภาวะ “อนาธิปไตย” หรือ “anarchy” ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็นสภาพสับสนอลหม่านไม่มีขื่อไม่มีแป (อนึ่งภาวะนี้นักสตรีนิยมบางคน บางแนวคิดไม่ได้เห็นว่าเป็นด้านลบเสมอไป)

เอาเป็นว่า “เรา” ไม่สามารถวิเคราะห์,วิพากษ์ นโยบายการพัฒนาทุกนโยบายของรัฐ รวมทั้งนโยบายพัฒนาสตรีและกองทุนพัฒนาสตรีได้โดยไม่มองการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

หนึ่ง การเมือง (Politics)

เคท มิลเล็ตต์ (Kate Millett) นักสตรีนิยมคนหนึ่งนิยามการเมืองไว้สั้นๆว่า ความสัมพันธ์ใดๆ ก็ตามที่มีการจัดโครงสร้างอำนาจในลักษณะที่คนกลุ่มหนึ่งถูกควบคุมโดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง (Humm, 1995:210) นิยามนี้ไม่ได้ทำให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอ้างอย่างง่ายๆ ว่าเป็น “การเมืองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” อย่างที่เราถูกสอนให้เชื่ออย่างนั้นหลุดรอดจากการถูกวิพากษ์ไปได้ นักสตรีนิยมส่วนใหญ่หรือทั้งหมดก็ว่าได้ มีความเห็นตรงกันในเรื่องนี้ กล่าวคือ การเมืองที่เป็นมาทั้งในสากลและในสังคมไทย เป็นการเมืองที่ “ผู้มีเพศภาวะชาย” ควบคุม “ผู้ที่มีเพศภาวะหญิง” พร้อมกันนั้นก็บอกว่า แม้จะอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย แต่แท้จริงแล้วเป็นปิตาธิปไตย ซึ่งนักสตรีนิยมหากจะถกเถียงกันในเรื่องการเมืองก็ดี การพัฒนาและกองทุนพัฒนาสตรีหรือไม่อย่างไรต้องทาความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า “อำนาจ” เสียก่อน

อำนาจ (power) เป็นมโนทัศน์สำคัญทางสังคมวิทยาที่มองว่าเป็นหัวใจของการทาความเข้าใจสังคมที่มีการแบ่งเป็นช่วงชั้น (stratification) เช่น “ชนชั้น” “สถานภาพ” กลุ่ม พรรคพวก พรรคการเมือง การวิเคราะห์อำนาจในแนวนี้มีมานานแล้วในสังคมวิทยา กรณีนี้คือ การนิยามและอธิบาย “อำนาจ” ของแม็กซ์ เวเบอร์ ในบทความชิ้นแรกๆของเขาเรื่อง “The Distribution of Power within the Political Community: Class, Status, Party” (พิมพ์ใน Economy of Society, 1922) นับเวลาถึงตอนนี้ก็ย่างเข้าเก้าสิบปีมาแล้ว Weber นิยามว่าในความหมายทั่วไป อำนาจหมายถึงความเป็นไปได้ที่คนจานวนหนึ่งหรือ กลุ่มต่างๆสามารถที่จะทำให้ความต้องการหรือเจตนารมณ์ของพวกเขา พวกเธอให้เกิดผลขึ้นมาได้ แม้จะถูกคัดค้านโดยคนกลุ่มอื่นๆ ตรงนี้ควรตั้งข้อสังเกตว่า “อำนาจ” จึงเป็นความสัมพันธ์ทางสังคม ในทัศนะของเวเบอร์ การกระจายอำนาจอย่างแตกต่างย่อมนำมาสู่สถานการณ์นี้ คือ “โอกาสต่างๆ ในชีวิต” (life-chances) ถูกกระจายอย่างแตกต่างตามไปด้วย กล่าวคือ ความสามารถที่จะได้รับหรือเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกันด้วย (Marshall,G, 1998: 514) อย่างไรก็ตามนักสังคมวิทยาก็ยังมองว่าโอกาสที่จะพัฒนามโนทัศน์เพิ่มเติมจากที่เวเบอร์เสนอไว้ (ซึ่งที่จริงแล้วละเอียดกว่าที่ผู้เขียนนำมาอ้างในที่นี้) ต่อไปได้อีกมาก เช่น

อำนาจในทัศนะนักสตรีนิยมคลื่นลูกที่สอง ประมาณทศวรรษที่ 1970 นักสตรีนิยมเริ่มนิยามอำนาจในฐานะที่เป็นการเมืองเรื่องเพศ (sexual politics) โดยโต้แย้งว่าดุลอำนาจในสังคมเอียงกระเท่เร่ไปทางผู้ชาย (เช่น ทัศนะของเคท มิลเล็ตต์, 1970) อำนาจของผู้หญิง (female power) มักจะอยู่ภายในกรอบของอำนาจในแบบ “authority” คือเป็นอำนาจที่ได้รับการมอบหมาย (delegated power) ตรงนี้ผู้เขียนขอขยายความว่าเช่น อำนาจที่ได้รับการมอบหมายมาให้ทาหน้าที่โดย “เจ้านาย” “หัวหน้าพรรคการเมือง” “หัวหน้ารัฐบาล” ส่วนนายกรัฐมนตรีที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร ยึดอำนาจก็สามารถปกครองบริหารประเทศผ่านระบบราชการได้โดยอ้างว่ามี “อำนาจ” แบบ “power” ที่ได้จากการ “ยึด”เอามา สาหรับนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งก็สามารถอ้างได้ว่า ได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชนก็ได้อีกเหมือนกัน โดยให้เหตุผลว่าประชาชนให้อำนาจมาทาหน้าที่ปกครองบริหารประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากใช้ทัศนะสตรีนิยมคลื่นลูกที่สองมาจับก็จะเห็นได้ว่าไม่ว่า “ประชาชนเลือกมา” หรือ “ยึดอำนาจมา” ก็ล้วนเป็นอำนาจแบบผู้ชายหรือของผู้ชายทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงก็ดี มีรัฐมนตรี มีส.ส. มีผู้พิพากษา อัยการ มีนายพลหญิง นักธุรกิจเป็นผู้หญิง ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงเหล่านั้นหลุดพ้นจากอำนาจแบบปิตาธิปไตย การพัฒนาสตรีที่เป็นนโยบายและกองทุนพัฒนาสตรีในวิธีคิดของนักสตรีนิยมคลื่นลูกที่สองจึงเป็นนโยบายและปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบอำนาจแบบผู้ชาย ประเด็นนี้สำคัญมากเพราะวิธีคิดแบบสตรีนิยมจะนาไปสู่การวิพากษ์ “ประชาธิปไตย” กันเลยทีเดียว! ซึ่งจะพูดถึงในโอกาสต่อๆ ไป

คราวนี้ลองดูการจาแนกประเภทอำนาจของนักสิทธิสตรีนิยมรุ่นปัจจุบันดูบ้าง คริส คอร์ริน (Chris Corrin) เห็นว่า โดยปกติแล้วอำนาจถูกแยกแยะให้เห็นความแตกต่างเป็นห้ารูปแบบคือ อำนาจที่ได้รับการมอบหมาย (authority) การบีบบังคับ (Coercion) กาลัง (Force) การจัดการโดยใช้เล่ห์เหลี่ยม (manipulation) และการชักจูงทำให้เชื่อ (persuasion) ซึ่งเธอมีความเห็นว่าการบีบบังคับและการจัดการโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือ “การจัดการ” เฉยๆ มักถูกมองอย่างไม่ค่อยโต้เถียงขัดแย้งกันว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของอำนาจ (แต่ผู้เขียนเองเห็นว่า การชักจูงทำให้เชื่อหรือการอ้อนวอนหรือ “ตื้อ” ให้ไปลงคะแนนเสียงให้ หรือให้เชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นอำนาจที่มักถูกมองข้ามไม่นำมาถกเถียงกันมากนัก) ในทัศนะของcoercion เธอเห็นว่า นักสตรีนิยมหรือผู้หญิงที่เธอเรียกว่า “นักปลดปล่อยผู้หญิง” หรือ “Women’s liberationist” หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า “Women’s lib.” มองว่าอำนาจอยู่ในการควบคุมของผู้ชาย เธออ้างว่านักมานุษยวิทยาที่เป็นนักสตรีนิยมด้วยได้พิจารณา อำนาจ (power) อำนาจที่ได้รับมอบหมาย (authority) และอิทธิพล ดูแล้วได้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงใช่ว่าจะไม่มีอำนาจในรูปแบบใดๆ เลย ก็หาไม่ (พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้หญิงมีอำนาจอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น การมีอิทธิพลบางอย่าง -ผู้เขียน) เธอ(coercion) อ้างแอนนา ยีทแมน (Anna Yeatman) ผู้พิจารณาความสัมพันธ์ที่ไม่กระจ่างชัด (ไม่ฟันธง ไม่ระบุแบบ ใช่-ไม่ใช่ ขาว-ดา -ผู้เขียน) ของสตรีนิยมกับมโนทัศน์แนวคิดเรื่องอำนาจและกลั่นกรองออกมาว่า อำนาจมีอยู่สามเส้น หรือสามสาย(พันธุ์) คือ “อำนาจในฐานะการบีบบังคับ”(power as coercion) อำนาจในฐานะการคุ้มครอง(power as protection) และอำนาจในฐานะพลังความสามารถ(power as capacity) (Shanley and Narayan 1997:145, อ้างใน Corrin, 1999:244) coercion ยังบอกด้วยว่า ด้านต่างๆ (aspects) ของวิธีคิดเรื่องอำนาจเหล่านี้ปรากฏอยู่ในวิธีคิดของนักสตรีนิยมหลายสาย

เมื่อมาถึงจุดนี้ต้องขอตั้งขอสังเกตว่า เมื่อการพัฒนาสตรีและกองทุนพัฒนาสตรีที่ไต้เถียงกันอยู่ในหมู่นักสตรีนิยมไทยหรือผู้ที่อ้างว่าทางานเพื่อผู้หญิง ควรมีความเห็นร่วมกันว่า การพัฒนาสตรีก็ดี กองทุนพัฒนาสตรีก็ดีเป็นเรื่อง “การเมือง” อย่างแน่นอน และเมื่อการเมืองเป็นเรื่องของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถกเถียงพูดคุยกันเรื่อง “อำนาจ” ในทัศนะสตรีนิยมซึ่งยืนยันว่า อำนาจมีมากมายหลายรูปแบบ แต่อำนาจเหล่านั้นอยู่ในกรอบวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตยหรือไม่? การหยุดหรือมุ่งประเด็นไปสู่เพียงการโต้เถียงว่า “รัฐบาลเป็นประชาธิปไตย เพราะได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชน” เท่านั้นไม่พอ นอกจากนั้นยังต้องถกกันถึงรูปแบบต่างๆ (forms) ของอำนาจด้วยว่าเป็นอำนาจแบบไหน การได้มาซึ่งอำนาจรัฐใช้วิธีการของอำนาจรูปแบบใดจึงได้อำนาจมา อย่างนี้เป็นต้น

ขั้นตอนต่อไปเห็นทีจะหนีไม่พ้นการถกเถียงเรื่องปิตาธิปไตย

ปิตาธิปไตย (Patriarchy) หรือระบอบชายเป็นใหญ่ เดิมทีใช้ในความหมายว่า “ปกครองโดยพ่อ” (rule by the father) ปัจจุบันนักสตรีนิยมใช้เพื่อหมายความถึง การใช้อำนาจและการใช้อำนาจในทางที่ผิด (a buse of power)โดยผู้ชาย รวมทั้งการใช้ความคิดความเห็นต่างๆ ที่เป็นความคิดความเห็นและสถาบันต่างๆ ที่มีลักษณะชายเป็นใหญ่เหนือผู้หญิงและเหนือกว่าดีกว่าความคิดที่มีลักษณะเป็นหญิง(feminine ideas) และวิถีทางของการทางานในแบบหญิง (feminine ways of working) นักสตรีนิยมบางคนเสนอว่าน่าจะใช้คำว่า “ความสัมพันธ์แบบปิตาธิปไตย” หรือ “patriarchal relations” เพื่อประโยชน์ของนักสตรีนิยมผู้ต้องการที่จะทาแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นถึงการตัดผ่านกันของรูปแบบการกดขี่ที่หลากหลาย (Brah 1996, อ้างใน Corrin 1999: 244)

เพื่อความเข้าใจนิยามของปิตาธิปไตยที่ยกมาข้างบนนักสตรีนิยมที่เพิ่งเริ่มต้น หรือเรียกตนเองว่าเป็น “นักสตรีนิยม” ควรตั้งข้อสังเกตว่าในนิยามข้างบนมีการใช้คาต่อไปนี้ที่มีความหมายต่างกัน เช่น

พ่อในที่นี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “the father” ตรงนี้ประเด็นสำคัญมีว่า “ปิตาธิปไตย” เมื่อนักมานุษยวิทยาใช้มาก่อนนักสตรีนิยมนั้น พวกเขาและเธอใช้บรรยายสังคมชนเผ่าหรือ “tribal societies” ว่าเป็นสังคมที่ปกครองโดย “พ่อ” ซึ่งเป็น “ผู้ชาย” เช่นเดียวกันก็เสนอว่าจากการศึกษาของนักมานุษยวิทยามีสังคมชนเผ่าที่ปกครองโดย “แม่” หรือ “ผู้หญิง” อยู่บ้างเหมือนกันแต่มีน้อยกว่า สังคมในแบบหลังนี้เรียกว่าเป็นสังคมแบบ “มาตาธิปไตย” หรือ “matriarchy”... เอาย่อๆ แค่นี้ก่อน แต่เมื่อนักสตรีนิยมตะวันตกนำมาใช้นั้น พวกเธออาจหมายถึงอำนาจของ “the father” ที่เป็นนามธรรมก็ได้ด้วย เนื่องจากในภาษาอังกฤษ การใช้คำว่า “father” ใช้ได้หลายความหมาย เช่น เป็นผู้ให้กำเนิดของปรัชญาความรู้หรือสานักทางศิลปะก็ได้ ถ้าใช้ “the Father” หมายถึงพระผู้เป็นเจ้า(God) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้ชายก็ได้ ดังนั้นปิตาธิปไตยจึงหมายถึงอำนาจของคนที่เป็น “ผู้ชาย” หรือมี “เพศเป็นชาย” ก็ได้ หรือว่าหมายถึงอำนาจเชิงนามธรรมแต่มีการใส่ความหมายเพื่อสื่อนัยว่าอำนาจนั้นเป็น “ผู้ชาย” ก็ได้

“ลักษณะที่เป็นผู้ชาย” หรือ “masculine” กับ “ลักษณะที่เป็นผู้หญิง” หรือ “feminine” ตรงนี้นับว่าเป็นปัญหาใหญ่สาหรับคนที่ไม่ได้เป็นนักสตรีนิยมสายวิชาการ กระนั้นก็ตาม บ่อยครั้งที่นักสตรีนิยมในสายนี้ก็ใช้คำว่า “ผู้ชาย” ซึ่งบ่งบอกความหมายในทางกายภาพ นักสตรีนิยมไทยบางคนใช้คำว่า “เพศสรีระ” และคำว่า “ผู้หญิง” ที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “woman, women, female” ปนเปหรือข้ามไปข้ามมากับ “ลักษณะชาย” กับ “ลักษณะหญิง” ซึ่งนอกจากจะมีนัยบอกถึงเพศทางชีววิทยาหรือเพศสรีระแล้วยังมีความหมายว่าเป็นลักษณะหรือมีคุณสมบัติที่ถูกสังคม-วัฒนธรรมนั้นๆ ในเวลานั้นถือว่าเป็น “ลักษณะชาย” กับ “ลักษณะหญิง” ในความหมายหลังนี้ “ลักษณะหญิง” หรือในภาษาไทย เราพูดว่า “เป็นผู้ยิ้งผู้หญิง” เช่น ศิลปินเพศชายบางคนเขียนภาพออกมา “หวาน” ก็อาจถูกวิจารณ์ว่าเป็น “ผู้ยิ้งผู้หญิง” ในขณะที่ศิลปินเพศหญิงบางคนผลิตงานออกมาแล้ว คนวิจารณ์บอกว่า “หนักแน่น ดุเดือดยังกับผู้ชาย”

ดังนั้น แนวความคิดต่างๆ(ideas) สถาบันต่างๆ(institutions) ซึ่งสถาบันในความหมายทางสังคมวิทยา หมายถึงความสัมพันธ์หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่ถือว่าสำคัญในชุมชนหรือในสังคมหนึ่งๆ ณ กาลเวลาหนึ่ง สถาบันในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสถาบันการศึกษา เช่น ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็น “สถาบัน” ในความหมาย “institute” ดังนั้น เมื่อนักสตรีนิยม พูด/เขียนว่า ความคิดต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นผู้หญิง เช่น สันติภาพ สันติวิธี “พูดกันดีๆ ก็ได้” เป็นตัวอย่างหนึ่งของ “แนวความคิดที่มีลักษณะ feminine” หรือ “ลักษณะหญิง” แต่ถ้าพูด/เขียนว่า “การแก้ปัญหานี้มีวิธีเดียวคือ ต้องตบหน้ามัน” หรือ “อย่างนี้ต้องเตะสั่งสอน” แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังคาพูดคาจาหรือภาษานั้นๆ เป็น “แนวคิดที่มีลักษณะ masculine” หรือ “คิดแบบผู้ชาย” ไ เพราะบอกให้ใช้ “ความรุนแรง” ไม่ว่าถ้อยคา/ภาษาเหล่านั้นจะออกมาจากปากหรือปากกาของผู้มีเพศเป็นหญิงหรือมีเพศเป็นชาย ก็ถือว่าวิธีคิดแนวคิดและแบบแผนความสัมพันธ์แบบแผนพฤติกรรม(สถาบัน) เข้าลักษณะ “เป็นผู้ชาย” ตัวอย่างที่ปรากฏในสังคมไทย เช่น ความคิด/ความเชื่อว่า “นักการเมืองต้องเป็นนักเลง” การแก้ปัญหายาเสพติดด้วยการทาวิสามัญฆาตกรรม การแก้ปัญหาภาคใต้ โดยใช้วิธีการและแนวคิดแบบทหาร (ปราบลูกเดียว) เช่นในกรณี กรือเซะ ตากใบ และการใช้กาลังตอบโต้ของอีกฝ่าย การปราศรัยในเวทีต่างๆ รวมทั้งในรัฐสภาด้วย แต่มีลักษณะก้าวร้าวชวนคนให้ใช้ความรุนแรง แต่ในขณะเดียวกันก็บอกว่า “เราพูดกันด้วยเหตุผล” หรือ “เราชุมนุมอย่างสันติ” เหล่านี้ก็บ่งชี้ว่าการเมืองไทยเป็น “ปิตาธิปไตย” ในความหมายของนักสตรีนิยม

สุดท้ายแล้วบทความตอนนี้จะกลับมาสู่หัวข้อการพัฒนาสตรีและกองทุนฯ ที่ว่าอย่างไร...? คำตอบที่สั้นที่สุดคือ ต้องดูว่าการเมืองและเศรษฐกิจแบบใช้อำนาจในรูปแบบที่ทำให้เกิดการแข่งขัน กดดัน เบียดขับ เลือกปฏิบัติ “ลับ ลวง ล่อ” ทำลาย(สิทธิมนุษยชน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ) ย่อมไม่ใช่การพัฒนาในทัศนะสตรีนิยม แม้ว่าการพัฒนาและกองทุนฯ นั้น จะมาจากรัฐบาลที่มีนายกฯ เป็นเพศหญิง หรือแม้กระทั่งมี ค.ร.ม. ทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีผู้รับผิดชอบเป็นเพศหญิงก็ตามที

16 มีนาคม 2555

 

 

หมายเหตุ:

  • บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับสภาบันใดๆ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net