Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

2. หลักประชาธิปไตยท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม (la démocratie locale participative) สิทธิในการมีส่วนร่วมของพลเมืองในกิจกรรมของท้องถิ่นถือเป็นสิทธิที่สำคัญประการหนึ่ง สิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐนั้นได้ถูกรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชนและได้รับการยืนยันอีกครั้งในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งได้กำหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิในการเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดทิศทางของกิจกรรมสาธารณะในประเทศของตนโดยอาจจะเป็นการมีส่วนร่วมทางตรงหรือผ่านทางผู้แทนที่ได้รับการเลือกมาอย่างอิสระ หลักการว่าด้วยการมีผู้แทนนั้นไม่ได้เป็นข้อกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชนแม้ว่าในบางกรณีประชาชนจะไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจไดโดยตรงแต่ประชาชนก็ยังมีสิทธิในการให้คำแนะนำหรือฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นเองอาจขอคำปรึกษาจากประชาชนได้เช่นในเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณเป็นต้น ในฝรั่งเศสข้อถกเถียงเรื่องประชาธิปไตยท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมนั้นได้เริ่มขึ้นในยุค60 โดย Groupes d'action municipale ข้อถกเถียงนี้นำมาซึ่งความลังเลในการตัดสินใจของสมาชิกรัฐสภาในยุคนั้นส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรอจนถึงยุค90 ในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นถูกจัดก่อตั้งขึ้นอย่างช้าๆโดยที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือประชาชนจะต้องเคารพในการตัดสินใจและข้อห้ามต่างๆที่ได้กำหนดโดยฝ่ายปกครอง อย่างไรก็ดีประชาชนนั้นก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของท้องถิ่นแล้วโดยเป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้ใช้บริการสาธารณะในทุกระดับตั้งแต่ระดับเทศบาลระดับจังหวัดจนถึงระดับภาคโดยที่บริการสาธารณะที่เขาเหล่านั้นเข้าไปเป็นผู้ใช้บริการนั้นเป็นบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนเป็นอย่างยิ่งเช่นการกำจัดขยะหรือการจัดการศึกษาโดยเทศบาล สำนักงานให้ความช่วยเหลือทางสังคมที่จัดโดยจังหวัดและการบริการกิจการในสถานศึกษาระดับสูงที่จัดโดยภาค จากความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจพูดได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการสาธารณะกับผู้จัดทำบริการสาธารณะเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะลูกค้า ดังนั้นกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในปี1982 [1] ได้ให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมของท้องถิ่นรวมถึงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆไว้ อย่างไรก็ตามในปี1978ได้มีการตรารัฐบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลของฝ่ายปกครอง [2] และยังรวมไปถึงการเข้าถึงเหตุผลและแรงจูงใจต่างๆของฝ่ายปกครองในการดำเนินกิจกรรมต่างๆด้วย [3] โดยที่กฎหมายสองฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต้องรอจนกระทั้งปี1992 และได้รับการบรรจุไว้ในส่วนที่สองของประมวลกฎหมายว่าด้วยท้องถิ่นที่ได้ก่อตั้งสิทธิในการรับรู้ข้อมูลและสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.1 สิทธิในการรับรู้ขอมูลของประชาชน ข้อมูลข่าวสารถือเป็นหัวใจสำคัญของปัญหาในการจัดการกับสังคมในทุกระดับชั้นมันเป็นการยากสำหรับพลเมืองที่จะทราบได้ว่าตนเองนั้นมีสิทธิประการใดนอกจากนั้นพลเมืองยังไม่รู้ถึงวิธีการในการใช้สิทธิตางๆที่เขาพึงมีเมื่อปราศจากการให้ข้อมูลแก่พลเมืองแล้วจึงเป็นการยากที่จะทำให้เขาเหล่านั้นสามารถใช้สิทธิต่างๆได้ในฐานะพลเมือง สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่ใช่เงื่อนไขประการเดียวของการเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นที่ดีหากแต่เป็นวิธีการขั้นต้นของการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี ในการบริหารงานขงท้องถิ่นนั้นหากมีการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารแล้วจะก่อให้เกิดภาพที่เรียกว่าการบริหารเบ็ดเสร็จโดยท้องถิ่น(monarchie locale)เมื่อการบริหารจัดการต่างๆถูกทำให้เป็นความลับ เพื่อหลีกเลี่ยงจากสภาพังกล่าวจึงทำให้การบริหารงานของท้องถื่นต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใสสิทธิในการได้รับแจ้งข้อมูลของประชาชนนั้นหากมองให้ดีแล้วจะพบว่าถูกจัดอยู่ในเรื่องของเสรีภาพตามกฎหมายบ้านเมือง(liberté publique)ซึ่งหมายความว่า ประชาชนมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลทุกอย่างยกเว้นแต่เป็นเรื่องถูกห้ามโดยกฎหมายและต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะเท่านั้น การเข้าถึงเอกสารหรือข้อมูลของประชาชนนั้นจะต้องทำได้โดยง่ายนอกจากนั้นประชาชนบังมีสิทธิในการเข้าร่วมรับฟังการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆของท้องถิ่นและรวมถึงการเข้าร่วมรับฟังในนโยบายต่างๆได้อีกด้วย 2.1.1 การเข้าถึงข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจของท้องถิ่น ในการเข้าถึงข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจของท้องถิ่นนั้นมีหลายระดับตั้งแต่การเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภาท้องถิ่นการได้รับข้อมูลทางวาจาและการได้รับการชี้แจงเหตุผลของการตัดสินใจ ในส่วนนี้จะกล่าวถึงระดับของการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ 2.1.1.1 สิทธิในการเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภาท้องถิ่น สิทธิในการเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภาท้องถิ่นถือเป็นสิทธิขั้นต้นในการรับข้อมูลขาวสารของประชาชนในท้องถิ่นซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมีหน้าที่ผูกพันในการจัดหาที่นั่งให้แก่ผู้ที่สนใจในการเข้าร่วมรับฟังการประชุมท้องถิ่นโดยที่ผู้ที่เข้าร่วมนั้นสามารถบันทึกการอภิปรายในท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตามสิทธิในการเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภาท้องถิ่นนั้นต้องรอจนกระทั่งมีการตรารัฐบัญญัติลงวันที่6 กุมภาพันธ์ 1992 แต่ก่อนหน้านั้นศาลปกครองแห่งเมืองเบอซงซง ได้เคยวินิจฉัยไว้ว่าการใช้เครื่องอัดเสียงสามารถกระทำได้นกรณีที่เป็นการอภิปรายสาธารณะ อย่างไรก็ตามสภาเทศบาลสภาจังหวัดหรือสภาภาคอาจขอให้มีการจัดอภิปรายเป็นการลับได้ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่มีการลงคะแนนเป็นการลับ(เช่นการลงคะแนนเลือกประธานสภาจังหวัดหรือสภาภาค)โดยการขอให้มีการอภิปรายเป็นการลับนั้นสามารถทำได้โดยนายกเทศมนตรี ประธานสภาจังหวัดหรือประธานสภาภาค หรืออีกกรณีคือมีการร้องขอโดยสมาชิกสภาท้องถิ่นโดยเทศบาลนั้นจะต้องมีสมาชิกสภาเทศบาลไม่น้อยกว่าสามคนร้องขอต่อนยกเทศมนตรีและห้าคนสำหรับสภาจังหวัดและสภาภาค แม้ว่าการอภิปรายจะจัดเป็นการลับแต่ประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงบันทึกวาจา(procès verbal)ของการอภิปรายลับนั้นได้โดยการใช้สิทธิในการขอดูเอกสารซึ่งจะได้กล่าวในส่วนต่อไป 2.1.1.2 สิทธิในการได้รับรู้การตัดสินใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องมีสิทธิในการได้รับรู้ถึงข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บันทึกวาจาของสภาท้องถิ่นนั้นจะต้องสามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับเทศบาลที่จะต้องนำเอารายงานการประชุมมาปิดประกาศไว้ที่ประตูของที่ทำการเทศบาลภายในแปดวันนับจากที่การอภิปรายสิ้นสุด รัฐบัญญัติลงวันที่6 กุมภาพันธ์ 1992 และรัฐกฤษฎีกาลงวันที่ 20 กันยายน 1993 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่การกระทำทางปกครองของเทศบาล จังหวัดและภาค ได้กำหนดว่าเทศบาลที่มีประชากรเกินกว่า3500คนจะต้องเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ข้อญัติท้องถิ่นที่ได้ทำลงไปในทุกๆสามเดือน สำหรับจังหวัดและภาคนั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องเผยแพร่กิจกรรมต่างๆรวมถึงการตัดสินใจต่างๆในทุกๆครึ่งปี โดยการเผยแพร่ดังกล่าวสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการแจกฟรีในลักษณะใบปลิวการลงประกาศในสือสิ่งพิมพ์และการให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสารวิธีการเหล่านี้ยังใช้กับองค์กรมหาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือระหว่างเทศบาล(établissements publics de coopération intercommunale:EPCI) การให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้าร่วมรับฟังการอภิปรายที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นนั้นมีประโยชน์สำหรับประชาชนในการที่จะเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ง่ายขึ้นซึ่งในปัจจุบันการเผยแพร่กิจกรรมต่างๆนั้นสามารถทำได้อีกช่องทางคือการเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเลคโทรนิค 2.1.1.3 การเข้าถึงเหตุผลในการตัดสินใจของฝ่ายปกครอง การเผยแพร่เหตุผลในการตัดสินใจของฝ่ายปกครองหรือเหตุผลของข้อบัญัติท้องถิ่นนั้นไม่มีความจำเป็นหากได้มีการเผยแพร่ไปแล้วในตัวเนื้อหาของข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือการตัดสินใจของฝ่ายปกครอง รัฐบัญัติลงวันที่ 11 กรกฎาคม 1979 ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐบัญญัติลงวันที่ 17 มกราคม 1986 กำหนดให้ในทุกๆมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดเสรีภาพของประชาชน การใช้มาตรการทางตำรวจ(police administrative) การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายหรือการปฏิเสธคำร้องขอของประชาชนนั้นต้องแสดงเหตุผลอย่างชัดเจนต่อประชาชน 2.2 การเข้าถึงเอกสารของฝ่ายปกครองโดยประชาชน เอกสารทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของฝ่ายปกครองนั้นจะต้องให้ประชาชนเข้าถึงได้เนื่องจากการปกปิดข้อมูลต่างๆเป็นความลับนั้นอาจก่อให้กิดปัญหาการคอร์รัปชั่นหรือก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคในการรับบริการสาธารณะ รัฐบัญัติลงวันที่ 11 กรกฎาคม 1978 ได้ยืนยันถึงสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงเอกสารของฝ่ายปกครอง ซึ่งก่อนหน้ารัฐบัญยัตินี้ฝ่ายปกครองไม่มีความผูกพันในการที่จะต้องเปิดเผยเอกสารต่อสาธารณะ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยลงวันที่ 17 ธันวาคม1997 ในเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ของฝ่ายปกครองในการเปิดเผยและเผยแพร่เอกสารต่อสาธารณะ นอกจากนั้นคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยลงวันที่ 16 ธันวาคม 1999 ในเรื่องเกี่ยวกับการเข้าถึงเอกสารและความเข้าใจง่ายของเอกสารว่าเป็นหลักที่คุณค่าในระดับรัฐธรรมนูญและยังเป็นหลกประกันหลักความเสมอภาคภายใต้กฎหมายของพลเมืองอีกด้วย สิทธิในการเข้าถึงเอกสารของฝ่ายปกครองนั้นค่อนข้างกว้างโดยอาจแยกเป็นประเด็นต่างๆได้ดังต่อไปนี้ 2.2.1 บุคคลที่สามารถเข้าถึงเอกสารได้ การเข้าถึงเอกสารของฝ่ายปกครองนั้นสามารถทำได้โดยผู้จัดทำบริการสาธารณะผู้ใช้บริการสาธารณะและประชาชนทั่วไปภายใต้ข้อจำกัดที่ว่าบุคคลที่กล่าวมาข้างต้นจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆเช่นชาวตำบลท่าโพธิ์ไม่สามารถเข้าถึงเอกสารของตำบลท่าทองได้เป็นต้น รัฐบัญญัติลงวันที่6 กุมภาพันธ์ 1992 ได้ให้สิทธิในการเข้าถึงเอกสารของฝ่ายปกครองไว้ว่าประชาชนและนิติบุคคลมีสิทธิในการเข้าถึงเอกสารของฝ่ายปกครองโดยไม่จำกัดว่าจะมีภูมิลำเนาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นหรือไม่แต่อย่างน้อยต้องมีส่วนในความสัมพันธ์กับท้องถิ่นนั้นๆ 2.2.2 การเข้าถึงเอกสารขององค์กรที่จัดทำบริการสาธารณะ มาตราL1611-4 ของประมวลกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดว่าทุกองค์กรที่จัดตั้งขึ้นไม่ว่าตามกฎมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชนที่มีส่วนในการจัดทำบริการสาธารณะนั้นจะต้องเปิดเผยข้อมูลต่างๆแก่สาธารณะโดยข้อมูลเหล่านั้นประกอบไปด้วยข้อมูลด้านการเงินงบประมานและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบริการสาธารณะทั้งนี้ยังขยายความรวมไปถึงองค์กรมหาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือระหว่างเทศบาลอีกด้วยเพื่อเป็นการแสดงความโปร่งใสในการดำเนินการขององค์กรเหล่านั้นในทางกลับกันองค์กรเหล่านั้นก็สามารถที่จะขอดูเอกสารต่างที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรมขององค์กรเหล่านั้นได้เช่นกัน 2.2.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง มาตราL2121-26ของประมวลกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้นิยามของเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ว่าประกอบไปด้วยบันทึกวาจา บัญชีและการคลังท้องถิ่นและคำวินิจฉัยของฝ่ายบริหารอย่างไรก็ตามศาลปกครองสูงสุดได้ตีความเพิ่มเติมถึงเกสารที่สามารถเข้าถึงได้ว่าประกอบไปด้วย เอกสาร รายงานการศึกษา ข้อวิจารณ์ บันทึกวาจา สถิติ แนวทางปฏิบัติ หนังสือเวียนและบันทึกข้อหารือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทรวงมหาดไทยโดยที่ประชาชนสามารถขอเข้าดูเอกสารและสามารถทำสำเนาได้ 2.2.4 วิธีการเข้าถึงเอกสารของฝ่ายปกครอง การเข้าถึงเอกสารของฝ่ายปกครองนั้นสามารถทำได้สามวิธีการด้วยกัน วิธีการแรกคือการเผยแพร่โดยฝ่ายปกครองเองเช่นการติดประกาศหรือการประกาศในสื่อสิ่งพิมพ์วิธีการที่สองเป็นเรื่องของเอกสารเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับ การคลังท้องถิ่นการจัดการบริการสาธารณะและการผังเมืองและสิ่งแวดล้อมจะไม่เผยแพร่เป็นการทั่วไปแต่ผู้ที่ต้องการสามารถมาขอเอกสารเหล่านี้ได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวิธีการที่สามเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองซึ่งเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่สามารถขอเข้าถึงเอกสารนี้ได้ ในตอนต่อไปจะเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมทางการคลังของท้องถิ่นเพื่อการบริหารงานที่โปร่งใส อ้างอิง: La loi du 2 mars 1982 La loi du 17 juillet 1978 sur l'accès aux document administratifs La loi n°79-587 du 11 juillet 1979 relative à la ,otivation des actes ad,inistratifs et...

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net