Skip to main content
sharethis

เสวนา “ปรีดี พนมยงค์ กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เกษียร เตชะพีระระบุ “ไม่ต้องกลัวธรรมศาสตร์ เท่าที่ผมทราบไม่มีใครในธรรมศาสตร์คิดล้มเจ้า ไม่แม้แต่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แต่สิ่งที่คนในธรรมศาสตร์ควรมีสำนึกทางศีลธรรมและประวัติศาสตร์ที่จะล้ม คือล้มการเมืองที่ใช้เจ้าเป็นเครื่องมือไล่ล้างทำลายคนดีไปจากแผ่นดินไทย”

วันนี้ (3 ก.พ. 55) วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์จัดการเสวนาหัวข้อ “ปรีดี พนมยงค์ กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” วิทยากรประกอบด้วย พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มธ. เกษียร เตชะพีระ จากคณะรัฐศาสตร์ มธ. และธำรงศักดิ์ เพ็ชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ดำเนินรายการ มรกต เจวจินดา ไมเยอร์

มรกตกล่าวว่า ระยะหลังนี้มีประเด็นว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยต่อสังคมควรจะเป็นอย่างไร บางสื่อก็บอกว่ามีการห้ามไม่ให้แสดงความคิดเห็นในมหาวทิยาลัยเกี่ยวกับบาง มาตราอาจจะนำไปสู่ 6 ตุลา การเสวนาวันนี้จึงเป็นการอภิปรายในประเด็นเป้าหมายการก่อตั้งธรรมศาสตร์ 70 ปี

โดยเกษียร เตชะพีระกล่าวถึงความขัดแย้งในสังคมไทยที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเกิดความรุนแรง ว่า สิ่งที่น่ากลัวขณะนี้ไม่ใช่ความรุนแรงจากการจัดตั้ง หากแต่เป็นความรุนแรงที่ไม่ได้จัดตั้งแต่มาจากการปลุกกระแสความเกลียดชังผู้ ที่มีความคิดต่าง

 

ราษฎรโง่หรือไม่

เกษียรกล่าวถึงกรณีที่ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ที่ระบุว่าคนลาวโง่เหมือนคนไทย ซึ่งเป็นแรงดันดาลใจให้เขาคิดถึงคำประกาศคณะราษฎรใน 3 ประเด็น คือ ราษฎรโง่หรือไม่ ความเสมอภาคและจิตใจความเป็นเจ้าของชาติ

ใช่ที่ว่าจุดหมายยังไม่ถึง
ใช่ที่ว่าเป็นฝันซึ่งยังต้องสร้าง
รัฐธรรมนูญยิ่งใหญ่ใส่พานวาง
แต่ทวยราษฎร์เป็นเบี้ยล่างเสมอมา
แต่หากไร้คณะนิติราษฎร์สู้
ราษฎรคงยังอยู่เป็นไพร่ข้า
ก้าวแรกการแก้ปมสมบูรณาฯ
เป็นก้าวสั้นแต่ทว่ายั่งยืนยาว.....

เกษียรเริ่มต้นด้วยบทกวีที่เขาแต่งให้กับกลุ่มนิติราษฎร์ จากนั้นจึงกล่าวถึงโพสต์ของ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ในเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 24 ม.ค. เวลา 8.17 น. ว่า “คนลาวมันก็โง่เหมือนคนไทย ที่ไม่รู้ว่าเปลือกนอกแม้วที่ดูเก่งดูคล่องขายฝัน สร้างความเจริญ สุดท้ายทรัพยากรและความมั่งคั่งจะตกอยู่กับแม้ว ทิ้งให้ลาวจนกรอบ เจริญแต่วัตถุ สังคมฟอนเฟะ ดูพี่ไทยเป็นตัวอย่างก็แล้วกัน น้องลาวที่รัก”

“คือผมก็รู้หมอตุลย์เขาไม่ชอบคุณทักษิณ แต่ผมติดใจประโยคแรก “คนลาวมันก็โง่เหมือนคนไทย” แล้วหมอตุลย์เป็นคนชาติอะไร เริ่มจากหมอตุลย์ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ คือเรื่องการเปลี่ยนแปลง 2475 มันเกิดจากแนวคิดที่ว่า ราษฎรโง่ จึงต้องให้เจ้าปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช”

เกษียรยกคำประกาศคณะราษฎร์ที่พระยาพหลฯ อ่านในวันเปลี่ยนแปลงการปกครองตอนหนึ่งว่า

“รัฐบาลของกษัตริย์ได้กล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้ พวกเจ้าได้กินว่า ราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ คำพูดของพวกรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้น ไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคน”

ซึ่งอาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ก็ได้ทำการศึกษาหัวข้อการรุ่งเรืองขึ้นและล่มจมลงของระบอบสมบูณาญาสิทธิ ราชย์ของสยาม มีการกำหนดเช่นนั้จริงๆ คือในสมัยรัชการที่ 5 มีโรงเรียนฝึกราชการทหาร ปี 2452 มีการออกระเบียบ โรงเรียนนี้...ลูกหลานเจ้านายรวมทั้งเจ้านายผู้้ใหญ่บางตระกูลรวมทั้งลุกนาย ทหารเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าเรียนได้ พวกที่เหลือให้เข้าเรียนชั้นปีที่ 4 ยังมีการจัดชั้นเรียนพิเศษสำหรับเจ้านายชั้นพระเยาว์”

สรุปว่าอาจารย์ปรีดี โต้ว่าถ้าราษฎรโง่เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ข้อความสั้นๆ นี้ มีนัยยะสามประการ

 

หนึ่ง คนเราเสมอภาคกัน ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่

ถ้าเราคิดประโยคนี้ดีๆ น่าสนใจ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ปัจจัยอะไรที่ทำให้เสมอภาค - คือความเป็นไทยที่เท่าเทียมกัน “เวลาเราบอกวาคนเราเท่ากัน เราให้คำอธิบายเหตุปัจจัยที่ใหคนเท่ากันได้ต่างๆ นานา เช่นถ้าผมพูดบอกว่า เพราะเป็นคนเหมือนกัน มันมี Common Unity อีกแบบคือ ถ้าวรเจตน์โง่ สมคิดก็โง่ เพราะเป็นธรรมศาสตร์ หรือเพราะเป็นนิติศาสตร์เหมือนกัน นี่ก็คือข้อเสนอเหมือนเดิม แต่อาจารย์ปรีดีพูดอีกแบบคือ มันมีอะไรบางอย่างแฝงฝังอยู่ในแก่นแท้สารัตถะของความเป็นชาติไทยหรือความ เป็นไทย แต่อะไรบางอย่างนั้นทำให้คนเท่าเทียมเสมอภาคกัน ไม่มีใครดีวิเศษหรือเลวร้ายกว่ากัน ชาติไทยในฝันของอาจารย์ปรีดีคือชาติไทยที่เท่าๆ กัน เป็นความป็นไทยที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งผมคิดว่าความเป็นไทยแบบนี้หายไปจากคนไทยปัจจุบันมาก”

สอง เมื่อคนเท่ากันมารวม ด้วยกัน ก็ต้องปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เพราะเมื่อคนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข ตัวเลขมากกว่ามีอำนาจมากกว่า ตัวเลขน้อยกว่ามีอำนาจน้อยกว่า อันนี้ทำให้ประชาธิปไตยไม่ดีน่ะ (หัวเราะ)

“ผมติ๊งต่างว่า ถ้าเราขึ้นรถเมล์ที่ขับโดยโชเฟอร์ตีนผี ขับแข่งกันไปมา เบรกกระทันหัน จอดก็หวาดเสียว ระหว่างที่ขึ้นรถก็คิดว่ากูขึ้นรถเมล์หรือรถขนสัตว์ กระเป๋าบอกจะลงให้รีบเตรียมตัว เวลาเราอยู่กับรถเมล์หรือรถสองแถวไปนานๆ เราก็อยากเอาปืนฉีดน้ำไปจ่อสมองโชเฟอร์ เราก็เป็นผู้โดยสาร เราคุมอะไรไม่ได้ เราไม่มีอำนาจห่าเหวอะไรเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พอนึกภาพออกไหมครับ ฉันท์ใด ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ฉันนั้น “

เกษียรกล่าวว่าระบอบการเมืองเหล่านั้นคือผู้โดยสารที่ไม่มีอำนาจ ในความหมายนี้ระบอบประชาธิปไตยคือระบอบที่ผู้โดยสารน่าจะทำอะไรได้มากกว่า นั้น เช่น ดุ ผู้โดยสารไปขับเอง แต่นึกออกไหม ถ้าจะขับรถเองผู้โดยสารก็ต้องขับรถเป็น

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็สอนให้คนขับรถเมล์ ก็เลยตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ก็เลยสอนวิชากฎหมายการเมือง วิชาที่จำเป็นสำหรับการปกครองบ้านเมือง ให้ราษฎรที่ไม่เคยมีโอกาส ให้ได้เรียนวิชาขับรถคุณจะได้สามารถขับรถได้เอง สามารถถือหางเสือรัฐนาวาสยามได้

ในประเด็นเดียวกันนี้ 'อัศวพาหุ' เคยเขียนเรื่องรัฐนาวา ว่าเราอยู่ในเรือลำเดียวกัน เพราะฉะนั้นหน้าที่จะต้องช่วยกันพาย ถ้าจะพาย ก็พาย ถ้าไม่พายก็ขึ้นไปจากเรือเสียอย่าเถียงนายท้าย ถ้าเราต้องการของหนักสำหรักถ่วงเรือก็เอาก้อนหินดีกว่า เพราะมันไม่มีเสียง

สาม จิตใจเป็นเจ้าของชาติ "ผมคิดว่ามีความรู้สึกใหม่หลังการเปลี่ยนแปลง 2475 คือ จิตใจเป็นเจ้าของชาติ คือชาตินิยมแบบพลเรือน คือรักชาติเพราะชาตเป็นของเรา รักชาติเพราะชาติเป็นประชาธิปไตย คือบางทีชาติไม่ค่อยน่ารัก ถ้าโดนดุ แต่ถ้าชาติเป็นประชาธิปไตยมันเลยน่ารัก"

บันทึกเนติบัณฑิตหญิงคนแรกของไทย คุณหญิงแร่ม พรมหมโมบล บันทึกว่า เป็นเรื่องที่ประหลาดจริงๆ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองการปกครองแล้ว ไม่ทราบว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บัณฑิตเนติบัณฑิตรุ่นเดียวกันคือ 2473 และรุ่นถัดไปรวมใจและคบกันได้อย่างสนิทสนมและมีความคิดเป็นอย่าง เดียวกันว่าจะช่วยประเทศชาติทุกวิถีทาง “ถามว่าเราเดือดร้อนอะไรในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เราจะตอบทันทีว่าเรารักในหลวง เราไม่เดือนร้อนอะไรเลย แต่การให้ราษฎร มีสิทธิ์เลือกตั้งด้วยนั้น ทำให้เรากระหยิ่มยิ้มย่อง....”

แปลว่า เส้นแบ่งระหว่างระบอบเก่าก่อน 2475 กับหลัง หาใช่ความรู้สึกต่อสถาบันกษัตริย์ แต่ความแตกต่างที่แท้ระหว่างก่อนและหลัง คือ ราษฎรมีสิทธิออกสัยง มีส่วนรับผิดชอบในชาติ หรือนัยหนึ่งราษฎรได้มีจิตใจเป็นเจ้าของชาติ ขณะที่ก่อนหน้านั้นชาติไม่ใช่ของเรา อำนาจอธิปไตยไม่ใช่เป็นของประชาชนหากเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน

แต่ความหัศจรรย์ของระบอบประชาธิปไตยปัจจุบันคือผู้คนจำนวนมากใน สังคมกลับมีความคิดความเข้าใจเสมอเหมือนอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทำให้เกิดความสับสนปนเประหว่างพื้นที่การเมือง พื้นที่สาธารณะ กับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

“อาจารย์อเนก เหล่าธรรมทัศน์ใช้คำว่าสองนคราประชาธิปไตย ผมใช้คำว่า สองนคราประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่สำหรับผม ผู้คนจำนวนไม่น้อยมีความคิดหรือความเข้าใจราวกับว่าอยูในระบอบสมบูรณราญา สิทธิราชย์ ทำให้คนพยายามดึงสถาบันอันเหมือนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิมาเป็นเครื่องมือแก้ ปัญหา ทำให้สถาบันกษัตริย์เข้าไปอยู่ในวังวนของความขัดแย้ง"

“พูดง่ายๆ คือคิดว่าพูดถึงสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ เพราะยังคิดกับสถาบันกษัตริย์ราวกับอยู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทำให้ กฎหมายมาตราสามเลขนั้นมีปัญหามาก ดังนั้นเมื่อเขาได้ยินคนใช้สิทธิตามโครงสร้างระบอบประชาธิปไตยเขาโกรธทันที

“เมื่อเกิดความเดือนร้อนหรือความขัดแย้ง ก็เอาพระบารมีเป็นที่พึ่ง ผมเองก็ไม่ปลื้มคุณทักษิณ ผมว่าแกตลกๆ แต่เมื่อมีความขัดแย้งกับคุณทักษิณ คุณก็เอาพระบารมีเป็นที่พึ่ง เอาสถาบันกษัตริย์มาเกลือกกลั้วกับการเมือง และอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์เอง มันไม่ยากนะครับ มันน่าจะเข้าใจได้ แต่ผมงงมากว่าคนจำนวนมากไม่เข้าใจ กลายเป็นว่าคนที่พูดเรื่องนี้กลายป็นคนที่จะล้มเจ้าไปหมด ท่านคิดได้อย่างไรครับเนี่ย แสดงว่าท่านยังไม่ออกไปจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำให้เกิดปัญหากับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุข”

เกษียรกล่าว พร้อมอ่านบทกวีของเฉินซันเปนการส่งท้ายการอภิปรายว่า

พ่อนำชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี
พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ

 

“ทำไมเมืองไทยไม่ต้องการอาจารย์ปรีดี จนท่านต้องลี้ภัยการเมืองไปพำนักอยู่ต่างแดนจนสิ้นชีวิต เพราะเมืองไทยถูกหลอกให้หลงเชื่อคำโจมตีใส่ร้ายป้ายสีว่าปรีดี ฆ่าในหลวงจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ประศาสน์การ หรืออดีตอธิการบดีป๋วย อึ๊งภากรณ์ ล้วนเคยตกเป็นเหยื่อข้อกล่าวหาเลื่อนลอย มีการไปตะโกนในโรงหนัง โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพรรคฝ่ายค้านปัจจุบัน

“กรณีอาจารย์ป๋วย ก็มีคนมาพูดในวิทยุยานเกราะว่าในบรรดามหาวิทยาลัยในเมืองไทย,มีแห่งหนึ่งรับ แผนโซเวียตมา หรือตอนหกตุลาก็เริมต้นด้วยละครหมิ่นรัชทายาท จนผู้ประศาสน์การและอาจารย์ป๋วยอยู่เมืองไทยไม่ได้ จนมหาวิทยาลัยถูกล้อม เผา ถูกนักเรียนอาชีวะบุก ผมยกเรื่องพวกนี้มาทำไม นี่เป็นพันธะและความรับผิดชอบทางศีลธรรมและประวัติศาสตร์ที่ชาวธรรมศาสตร์ ทั้งมวลพึงมีเพื่อป้องกันใม่ให้เกิดเรื่องเช่นนี้ในแผ่นดินไทยอีก น่าเสียใจที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในปัจจุบันลืมและละทิ้งความรับผิดชอบทาง ศีลธรรมและประวัติศาสตร์ ลืมได้ยังไง ทั้งหมดมันเกิดมาด้วยวิธีการเดียวกัน

“ไม่ต้องกลัวธรรมศาสตร์ เท่าที่ผมทราบไม่มีใครในธรรมศาสตร์ ไม่มีใครในธรรมศาสตร์คิดล้มเจ้า ไม่แม้แต่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แต่สิ่งที่คนในธรรมศาสตร์ควรมีสำนึกทางศีลธรรมและประวัติศาสตร์ที่จะล้ม คือล้มการเมืองที่ใช้เจ้าเป็นเครื่องมือไล่ล้างทำลายคนดีไปจากแผ่นดินไทย “

เกษียร ยังกล่าวถึงปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความแตกต่างทางความคิดด้วยความเกลียดชังด้วยว่า “ถ้าจะโกรธกรุณาอย่าใช้ Hate Speech และ อย่าใช้ภาษาสงครามเช่น สงครามครั้งสุดท้าย และผมไม่เห็นด้วยกับผู้บริหารมากๆ เลยที่ว่าปัจจุบัน ไม่เหมือน 6 ตุลาคม เพราะเราโดดเดี่ยวสจากชาติมหาอำนาจอื่นๆ

สองคือ เอาเข้าจริง รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ แม้จะมีเสียงเยอะในรัฐบาล ความชอบธรรมก็บกพร่องเพราะพี่ใหญ่แทรกแซงไม่หยุดเลย เดี๋ยวก็มีคำชี้แนะ เดี๋ยวก็มีคนบินไปหา ประสิทธิภาพตอนน้ำท่วมที่ผ่านมา ก็เป็นรัฐบาลที่คลอนแคลน ฉะนั้นรัฐบาลก็ต้องใช้เวลาตัดสินใจมากเรื่อง ม.112 และสุดท้ายตัดสินใจไม่ทำอะไร และเมื่อไม่ทำอะไรผลคือมีกระแสมวลชนขึ้นมา รัฐบาลทีต้องอ่อนแอแบบนี้ โดยตัวเองก็ต้องใช้กำลัง และเรื่องใหญ่ที่สุดของชนชั้นนำไทยปัจจุบัน คือแก้น้ำท่วม สำหรับความรุนแรงถ้าจะเกิดขึ้นนั้นปกติจะเป็นความรุนแรงจากการจัดตั้ง แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือความรุนแรงที่ไม่ได้จัดตั้งเพราะจุดความโกรธเกลียด กันมากเกินไป

เกษียรกล่าวด้วยว่าข้อขัดแย้งในสังคมไทยที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความกลัวว่าจะ ล้มเจ้า แต่กลัวว่าจะไม่ได้ใช้เจ้าต่อไป และแพร่เชื้อความเกลียดนี่ออกไป ซึ่งนี่ต่างหากที่น่ากลัว

นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ มธ. กล่าวถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัยด้วยว่า หากกลัวความขัดแย้งจะบานปลาย มหาวิทยาลัยก็ควรทำหน้าที่เปิดพื้นที่สำหรัยบการถกเถียง

“ถ้าผู้บริหารใจใหญ่ จัดสิ แล้วจะทำให้บ้านเมืองเย็นลง แล้วจะมีการพูดกันเรื่องนี้โดยไม่ต้องตราหน้าด่ากัน”

 

ธำรงศักดิ์ เพ็ชรเลิศอนันต์: ธรรมศาสตร์กับการเมือง
การก่อตั้งธรรมศาสตร์ที่แยกไม่ขาดกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ธำรงศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อเข้ามาสู่ธรรมศาสตร์ เขาพบป้ายที่เขียนว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน”

“ผมก็คิดว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ต้องบ๊องๆ บ้าๆ แน่ๆ เลย และวันแรกที่เข้าธรรมศาสตร์ก็ถูกยื้อแย้งให้เป็นมวลชนสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือสิงห์แดงแข็งขัน คือความพยายามเมาตอนเย็นทุกเย็น การอบรมบ่มเพาะคือการทำให้หน้ามันแดงขึ้นๆ อีกส่วนหนึ่งก็แย่งตัวไปเป็นมวลชนฝ่ายประท้วงรัฐบาล งานประท้วงชิ้นแรกที่ผมทำคือการประท้วงการสร้างเขื่อยน้ำโจน เพื่อนบอกว่าประท้วงเสร็จก็จะได้กินข้าวห้องแอร์ที่ฝั่งศิริราช ผมก็ว้าวุ่นใจมาก เพราะขณะหนึ่งก็บอกว่ารักประชาชน ผมก็ถูกยื้อแย้งโดยมวลชนสองฝ่าย นี่คือชีวิตของความเป็นสิงห์แดง”

ธำรงศักดิ์กล่าวถึงประวัติของ ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อเริ่มก่อตั้ง เป็นการเรียนการสอนแบบสุโขทัยบวกรามคำแหง เมื่อสอบก็มีการจัดสอบในจังหวัดต่างๆ เก็บค่าเล่าเรียนเพียงปีละ 20 บาท

เขากล่าวว่า โดยประวัติศาสตร์การก่อตั้งตามเจตนารมณ์ของผู้ประศาสน์การภารกิจของผู้ สำเร็จการศึกษาต้องสนับสุนและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยไปยัง หมู่ประชาชน และสิ่งที่ปรีดี พนมยงค์ปรารถนาคือสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 ระบอบประชาธิปไตยคือคนทุกคนอยูใต้กฎหมายเดียวกัน รวมถึงผู้นำของระบอบนี้นด้วย ปรีดดี พนมยงค์ไม่เคยถกเถียงเรื่องประชาธิปไตยแต่ถกเถียงเรื่องคำสามคำ คือสิทธิ เสรีภาพ และเสมอภาค

“สิทธิ เสรีภาพเราพูดได้ แต่เสมอภาคเราพูดไม่ได้ เราก็ข้ามมันไป วันนี้ถ้าปรีดีกลับมาได้ ปรีดีก็คงตะลึงกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น”

ธำรงศักดิ์กล่าวต่อไปว่า คำถามที่พบบ่อยจากนักศึกษาคือ ทำไมต้องเกิดคณะราษฎรขึ้น ถ้าไม่เกิดเราจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบเหมือนภูฏาน “ซึ่งผมคิดว่า องค์ประมุขของภูฏานนนั้นเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ไทยมากเลยเพราะท่านบอกว่า ประชาธิปไตยต้องค่อยๆ เรียนรู้ ผมก็ไม่รู้ว่าภูฏานเลียนแบบไทย หรือไทยเลียนแบบภูฏาน นี่คือสิ่งที่คนรุ่นใหม่ๆ มักพูดกัน คือทำไมต้องมีการปฏิวัติ 2475 ผมก็บอกว่าเพื่อรวบรัดที่สุดว่าทำไมต้องมี 2475 ผมว่าเผลอๆ ตอนนี้เหมือนเป็นสิ่งที่ทำให้อาหารเป็นพิษในสังคมไทยพอๆ กับ 112”

ธำรงศักดิ์กล่าวว่า การเกิดขึ้นของการปฏิวัติ 2475 นั้นไม่สามารถ ที่จะแยกออกจากกระแสโลกได้เลย โลกเดิมนั้นปกครองโดย Monarchy ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าอะไรเราเรียก Monarchy ไปก่อน แล้ววันหนึ่งมีการล้ม Monarchy โดยฝรั่งเศส และอเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษ และโลกตะวันตกก็มากับอาณานิคม และ Democracy เกาะหลังอาณานิคมมาด้วย เหมือนกับ Communism ซึ่งหวังทำลาย Colonialism กับ Democracy

หลังจากรัชกาลที่ 5 สวรรคต รัชกาลที่ 6 เพียงปีแรกที่ขึ้นครองราชย์ ก็ถูกนักศึกษานายร้อยทหารบกได้เตรียมการและพร้อมจะยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 6 เพื่อเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย นี่คือ กบฏ ร.ศ.130 ปี พ.ศ.2454 ปีเดียวกับที่จีนมีกบฏเช่นกัน คือให้หลังเพียงสิบกว่าปีที่ ร. 5 สถาปนาการปกครองแบบรวมศูนย์

“แสดงว่ากลุ่มทหารที่เป็นกำลังสำคัญรุ่นนั้นอายุ 19-23 คือคนที่จบ จากโรงเรียนนายร้อย คนอายุเจเนอเรชั่นนี้ควบคุมลำบากมากเพราะเขามีวิธีคิดอีกแบหนึ่ง นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าพลังของ Democracy เป็นพลังที่เข้ามามีผลเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยแน่นอน แต่หลังจากนั้นอีก 20 ปีต่อมา ก็สามารถบรรลุความสำเร็จในการเปลี่ยนระบอบการเมือง”

“เมื่อคณะราษฎรเริ่มต้นคิดเปลี่ยนระบอบนี้ ก่อนหน้านั้น 6 ปี เขารวมตัวกัน 7 คน รวมตัวกันที่ฝรั่งเศส และคนเจ็ดคนอายุสูงสุด 29 ปี ต่ำสุด 26 ปี คนที่อายุ 29 คือ ร้อยโทแปลก ทีระสังขะ ทีตอมาเรารู้จักในนาม ป. พิบูลสงคราม อีกคนคือปรีดี อายุ 26 ปี คน 7 คน คุยกันว่าบ้านเมืองเราไม่ศิวิไลซ์ เมื่อเราเทียบเคียงกันกับทหารหนุ่มที่เรียกว่ากบฏหมอเหล็ง กับคณะราษฎร มีความคิดเหมือนกันเลย คือ ความคิดที่บอกว่าราฎรเป็นเจ้าของประเทศชาติร่วมกัน ระบอบ Monarchy กับ Democracy เขาเถียงกันประเด็นเดียวแล้วฆ่ากัน คือ “แผ่นดินนี้เป็นของใคร” และประการต่อมาคือ “เราต้องทำให้แผ่นดินนี้ศิวิไลซ์” คือการมองไปยังตะวันตก แล้วผู้ปกครองสมัยรัชกาลที่ 5-6 ไม่ศิวิไลซ์หรือ นั่นคือความศิวิไลซ์ทางชนชั้น แล้วอะไรคือตัวแทนความศิวิไลซ์ ก็คือรัฐธรรมนูญ เจ้าของประเทศคือราษฎร และผู้ปกครองอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หลัก 6 ประการของปรีดี มีเพื่อประกันความศิวิไลซ์เหล่านี้”

ธำรงศักดิ์ กล่าวว่าสำหรับหลักเอกราชของปรีดี นั้นอาจจะมีคนโต้แย้งว่าไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ไทยขณะนั้นเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในทางศาล เมื่อแก้ไขได้ จึงสถาปนาอนุสาวรีย์อันหนึ่งเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการมีเอกราชอันสมบูรณ์ นั่นคืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยบนถนนราชดำเนินกลาง และในปีที่เขาลงหลักปักหมุดกันเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475 นั้น ประกาศว่าวันนี่คือวันชาติ เป็นวันชาติและเฉลิมฉลองเอกราชอันสมบูรณ์ 3 วัน 3 คืน แต่ประเทศนี้ไม่มีอะไรแน่นอน วันชาติก็ตายได้

สอง หลักความปลอดภัย สาม หลักเศรษฐกิจ อันนำไปสูเค้าโครงเศรษฐกิจที่ปรีดี ถูก ‘เล่น’ เป็นคนแรก เขาถูกเล่นโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา คนทั่วไปมักเข้าใจว่า การรัฐประหารครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2476 แต่ขอให้ทุกท่านเชื่อผม ผลงานทีผมทำมื่อ 20 ปีที่แล้ว ไม่มีใครอ่านเลย คือ คนที่ทำรัฐประหารครั้งแรกคือนักกฎหม่ายที่จบจากอังกฤษ คือพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เม.ย. 2476 “เรามักจะพูดว่า 2475 เป็นการปฏิวัติที่ไม่นองเลือด แต่มันนองเลือดกันมาหลังจากนั้น สังคมไทยเป็นสังคมที่น่ากลัว เขาสามารถฆ่าคนกลางถนนได้ มือถือคัมภีร์ แล้วก็ถือเอ็ม 16 ต้องระวัง”

ประเด็นต่อมาคือ สิทธิเสรีภาพเสมอภาคนั้นคือหลักการที่ปรีดี พนมยงค์พยายามบ่มเพาะนักศึกษาธรรมศาสตร์เมื่อแรกตั้งคือการผลิตมนุษย์ยุค ใหม่เพื่อเข้าสู่ระบอบการเมืองใหม่ ผลิตคนเข้าสู่ระบอบการเมืองและนักการเมือง จึงมีคนที่เข้าไปอยู่ในท้องถิ่น องค์ความรู้ใหม่ๆ จะไปพร้อมกับคนรุ่นใหม่ ปรีดี จึงสถาปนาชื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างท้าทายมากว่านี่คือมหาวิทยาลัยวิชาธร รมศาสตณ์และการเมือง เพื่อบอกว่านักศึกษาทุกคนต้องยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่ว่าจะปรารถนาหรือไม่ ที่ตราธรรมจักรนั้นปรีดีใส่พานรัฐธรรมนูญเอาไว้ ดังนั้นนักศึกษาธรรมศาสตร์จึงต้องยืนยันหลักการทางการเมืองต่อไป

 

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องตีสองหน้า แต่ถ้าเล่นบทถูกกดดันแล้วมากดดัน นั่นแปลว่าท่านสวามิภักดิ์แล้ว

ธำรงศักดิ์กล่าวเสริมประเด็นสิ่งที่ตกค้างอยูในความเชื่อและความกลัว จากกรณี 2475 โดย เขาเคยถามนักศึกษาว่า อะไรคือมรดกตกทอดจาก 2475 สิ่งที่นักศึกษาตอบคือ รัฐธรรมนูญ ซึ่งน่าสนใจมากว่ารัฐธรรมนุญไทยมี 18 ฉบับ แต่คนเริ่มต้นคือคณะราษฎร “ผมก็ถามนักศึกษาต่อ ว่า 10 ธ.ค.คือวันอะไร นักศึกษาตอบว่าวันรัฐธรรมนูญ แต่ปฏิทินรุ่นใหม่ เขียนว่า “วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ” แต่ปฏิทินแบบฉีกเป็นใบๆ อย่างที่ออกมาจากเยาวราชยังไม่เปลี่ยน เพราะว่าไม่ได้เปลี่ยนบล็อกพิมพ์”

“ผมถามต่อว่า วันรัฐธรรมนูญนั้นมีครูพาไปดูพลุไหม มีผู้นำของประเทศสปีชให้ฟังไหม นักศึกษาตอบว่าหยุดซักผ้า กลายเป็นวันหยุดที่ต่างคนต่างอยู่เงียบๆ แต่ผมถามว่าทำไมไม่เลิก ก็จะถูกชี้หน้าว่าอ๋ออยากเป็นเผด็จการใช่ไหม ฉะนั้นเราก็อยู่กันแบบนี้แหละ”

อีกสิ่งหนึ่งที่นักศึกษาตอบรองลงมา มรดกของคณะราษฎร คือ ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่จนถึงวันนี้

นี่คือมรดกสองอย่าง แต่อีกอย่างที่ตามมา คือ การอภิวัฒน์ 2475 นั้นทำให้เกิดการรัฐประหารตามมามากมาย

“แล้วความรุนแรงล่ะ ความรุนแรงที่ผ่านมาถูกยุติโดยพระมหากรุณาธิคุณ การที่สังคมไทยจะก้าวข้ามความรุนแรง โดยเฉพาะตัวเลขสามตัว (มาตรา 112) ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมไทยจะต้องมองให้มาก คือปัจจัยใดจะยุติความรุนแรง

“หากมีกรณีนิติราษฎร์แล ะม. 112 เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยแห่งอื่นจะเกิดเหตุการณ์แบบวันนี้แบบที่นี่หรือไม่ คำตอบของผมก็คือไม่ เพราะมันเกิดไม่ได้ตั้งแต่นิติราษฎร์ เพราะสปีชีของที่นี่แบบที่นี่เป็นสปีชีแบบพิเศษของสังคมจริงๆ พวกนิติราษฎร์ไม่สามารถจุติได้ที่ไหนเลย คือเป็นคนๆ แต่รวมตัวกันเป็นก๊กเป็นเหล่าขนาดนี้มันสั่นสะเทือนมหาวิทยาลัยอย่างมาก มันก็ต้องเกิดที่นี่แหละ คือทุกรุ่นต้องเผชิญหน้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกือบ 80 ปี มีเส้นทางชีวิตโคตรทรหดคือ มีชีวิตรุ่งโรจน์อยู่ประมาณ 15 ปีแรก หลังจากนั้นเริมรุ่งริ่ง ต่อมา อีก 65 ปี ไอ้ที่รุ่งโรจน์เพราะปรีดีขึ้นสู่อำนาจ ลองคิดดูเด็กธรรมศาสตร์จะคิดอย่างไร เขาก็เห็นปรีดีเป็นแบบอย่าง แต่พอมันเริ่มรุ่งริ่ง หลัง 2490 การคัมแบ็กของหลายสิ่งหลายอย่างเด็กธรรมศาสตร์ก็เริ่มถอย เส้นทางหลัง 2490 เป็นเส้นทางที่ธรรมศาสตร์ต้อบงต่อสู้เพื่อรักษาความอยู่รอด เช่น เกือบถูกย้ายไปอยู่ทุ่งบางกะปิกับไอ้ขวัญและอีเรียม คือเรื่องเริ่มจากบฏแมนฮัตตัน รบกันไปมาสุดท้ายยึดธรรมศาสตร์ หรือการเป็นการ์ดรักษามหาวิทยาลัยพร้อมไม้หนึ่งด้าม

“แต่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปของสังคมไทย ที่มีการกำจัดกันระหว่างทหารแต่ละกลุ่ม ธรรมศาสตร์ยุคนี้ เป็นยุคของการค่อยๆ เป็นฐานกำลังในการกำจัดอำนาจของทหาร พื้นที้ของธรรมศาสตรฺเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอภิปรายทางวิชาการ เพื่อวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร เปิดเวทีให้นายควง และ ม.ร.ว.เสนีย์มาพูด เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ เผด็จการทหาร เพราะฉะนั้นเวทีธรรมศาสตร์คือเวทีที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ในสังคมไทยตลอดมา และเมื่อจะเกิดสิ่งใหม่คุณต้องเจ็บปวด คนที่เคลื่อนไปเพื่อพิทักษ์ให้มหาวิทยาลัยอยู่รอด เรากลับเห็นส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาไม่ใช่อาจารย์ อาจารย์ส่วนใหญ่อยู่ในห้องแล้วลุ้นให้ลูกศิษย์ไปสิๆ แต่ตอนนี้อาจารย์ออกหน้า มันแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างหรือเป็นเพราะนักศึกษาส่วนใหญ๋ ใช้เวลาในการปลูกข้าวที่ทุ่งรังสิต”

ธำรงศักดิ์กล่าวว่า หลังรัฐประหาร 2519 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ สองคน คนหนึ่งคือพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กับนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นเหมือนเกราะบางประการ หากมีอำนาจของข้างนอกกดดันมา ผู้นำหรือผู้บริหารธรรมศาสตร์จะบอกว่านี่เป็นสถาบันการศึกษา นักศึกษาก็ต้องเถียงกัน บทบาทผู้บริหาร มธ. เล่นบทนี้มาตลอด

“คือท่านต้องได้รับการกดดันแน่ๆ ผมอยากจะบอกว่าท่านต้องเล่นสองหน้า เพราะท่านต้องถูกกดันแน่ๆ แต่ถ้าเล่นบทเดียวคือถูกกดดันแล้วมากดดันต่อนั่นแสดงว่าท่านสวามิภักดิ์เสีย แล้ว”

ท้ายที่สุดธำรงศักดิ์กล่าวถึงความรุนแรงทางการเมืองที่หลายฝ่ายแสดงความวิตกกังวลว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมร่วมกันผลิต

 “ความรุนแรงนั้นเราร่วมผลิตด้วยกัน แล้วก็ต้องโดนตีกบาลกันทุกคน หากเราไปถึงจุดนั้น เรามีปัญหาทีเดียว คือเราตีกบาลกันในประเด็นที่ไม่ใช่ที่สาระสำคัญอะไรทั้งสิ้น แต่ตีกบาลกันเพราะตัวเลขสามตัว แต่มีปรากฏการณ์หนึ่งคือเมื่อสอนนักศึกษาหลายคณะ พบว่ามีนักศึกษาจำนวนมากไม่ได้รู้เรื่อง 112 จริงๆ คือสังคมไทย “เสพ” ประเด็นนี้กันสักเท่าไหร่ เสพกันในเฟซบุ๊ก ในโทรทัศน์ ในสื่อสิ่งพิมพ์ เราจะประมาณกันอย่างไร เราจะประมาณว่าคนในสังคมจะลุกขึ้นตีกันทั้งหมดหรือไม่ แต่ผมคิดว่างานนี้เป็นการฆ่ากันระหว่างคนชั้นกลางกับคนชั้นสูง

 

พนัส ทัศนียานนท์ : ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความท้าทายของธรรมศาสตร์
หากแต่เป็นความท้าทายของสังคม

ในฐานะนักกฎหมายขอตอบคำถามแรกก่อนว่า สถานที่ราชการ เป็นของใคร ซึ่งถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินคือสถานที่ซึ่งเป็นของราชการ รัฐบาลเป็นเจ้าของ เพราะฉะนั้นก็คงต้องพิจารณาว่าธรรมศาสตร์นีเป็นส่วนหนึ่งของราชการหรือเปล่า ก็ต้องตอบว่าใช่ แต่ขณะเดียวกัน ในสถานาที่ราชการก็เป็นพื้นที่สาธารณะและแตกต่างจากสาถนที่ราชการอื่นๆ เช่นกระทรวงกลาโหม แต่ไม่มีพื้นที่สาธารณะ ใครจะเข้าไปเฉยๆ คงไม่ได้ ที่เป็นประเด็นคือ เสรีดภาพทางวิชาการ สมัยท่านอาจารย์ปรีดี ในคำกล่าวรายงานเปิดมหาวิทยาลัย อาจารย์ปรีดีใช้คำว่าเสรีภาพทางการศึกษา แต่คำว่าเสรีภาพทางวิชาการ นั้นได้มีการรับรองอย่างเป็นทางการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในฉบับปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นประเด็นที่จะต้องคิดว่าความหมายของมันแค่ไหน เหตุที่พูดเช่นนี้เพราะในยุคปัจจุบันนี้อาจจะเป็นวิกฤตธรรมศาสตร์ ก็จะมีคนใช้เดียวกันแต่ความหมายที่แต่ละคนใช้มีความหมายแตกต่างโดยสิ้นเชิง

เช่น คำว่าประชาธิปไตย เดี๋ยวนี้ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นวาทกรรมเมื่อปี 2475 คือ คณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม คือประเทศไทยเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชน ราษฎรชาวไทยยังไม่มีความพร้อม ไม่มีความเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ไปเอามาจากฝรั่ง รัฐธรรมนูญคืออะไร ชาวบ้านไม่รู้จัก แต่อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า ความจริง ณ เวลานั้นสภาวะทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีการศึกษาค่อนข้างสูง ผมรู้สึกว่าในยุคนั้นน่าจะมีเสรีภาพทางความคิดและมีความเป็นประชาธิปไตย มากกว่าในยุคปัจจุบันด้วยซ้ำ

ผมมีโอกาสอ่านเอกสารการประชุมสภาฯ นั้นสมัยนั้น ผมยังทึ่งว่า ถ้าพูดกันแบบนั้นในสมัยนี้คงติดคุกกันระนาว ส.ส. ทีอภิปรายในสภาใช้คำที่รุนแรงมาก และคนหนึ่งที่เป็นดาวสภาและผมประทับใจจริงๆ เป็นบิดาของเพื่อนคนหนึ่งของผม ท่านนายก พล.อ.สุรยุทธ์ เช่นเดียวกับอาจารย์ชาญวิทย์ที่ไม่มา เราเรียนสวนกุหลาบรุ่นเดียวกัน คุณพ่อของ พล.อ.สุรยุทธ์คือคุณโพยม จุลานนท์ เป็นดาวสภาในยุคนั้นและการอภิปรายนั้นดุเดือดรุนแรงมาก

“ผมเข้ามาเมื่อปี 2502 ตอนนั้นธรรมศาสตร์เขาเป็นยุคสายลมแสงแดด เป็นยุคที่นักศึกษาธรรมศาสตร์ถ้าไม่คิดอะไรเลยจะมีความสุขมากๆ คนทีตระหนักในกีฬาก็ซ้อมกีฬากันทั้งวัน ยกน้ำหนัก รักบี้ เพาะกล้าม ผมไม่ตระหนักกีฬาพวกนี้ ไปเล่นกีฬาในร่ม คือมีโต๊ะบิลเลียด ตกเย็นก็ตั้งวง และมีการจัดไปเที่ยว แต่เมื่อกลับมาพวกหัวหน้านักศึกษาลบชื่อหมดเลย โทษฐานฝ่าฝืนคำสั่ง เท่าที่เอามาเล่าซุบซิบกันคือบรรดาผู้นำนักศึกษามีกิจกรรมใต้ดินทางการเมือง เพราะยุคผมไม่มีการอ้างว่าธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว และสิ่งที่ใฝ่ฝันคือกิจกรรมฟุตบอลประเพณี เพื่อไปประกาศศักดา ขับรถตระเวนรอบเมืองตำรวจก็ไม่ทำอะไร เราถือว่ามีเสรีภาพมาก แต่จริงๆ แล้วคือเอกสิทธิ์ และอีกอย่างคือ บอลล์ คือ งานราตรีสโมสร สมัยนั้นต้องมีการเต้นรำ การจัดงานใหญ่ต้องไปสวนลุมพินี วงดนตรีสุนทราภรณ์ และวันสำคัญมากๆ คือวันรับปริญญา เราไปแสดงความยินดี รืนเริง ได้เป็นบัณฑิตแล้ว อย่างน้อยเราก็มีฐานะไม่เหมือนคนอื่นเพราะเรามีปริญญา เพราะในยุคผมนั้นคนมีใบปริญญาน้อยมาก เราเหมือนเป็นอภิสิทธิ์ชน มันเกิดขึ้นโดยเราไม่รู้สึกตัวหรอก แต่เราก็เป็นอภิสิทธิ์ชนแบบ 2nd Class เพราะมหาวทิยาลัยอีกแห่งเขาเป็ฯ 1st Class ฉะนั้นการเรียนมหาวิทยาลัยอีกนัยยะหนึ่งก็คือความเป็นอภิสิทธิ์ชน”

สำหรับเสรีภาพทางวิชาการยุคนั้นไม่มีเลยโดยเด็ดขาด แสดงออกได้บ้างสำหรับการล้อเลียนในวันฟุตบอลประเพณี แต่ในยุค 2502 ผู้ ที่เป็นอธิการบดี คือจอมพลถนอม กิตติขจร มีความพยายามแปลงสภาพธรรมศาสตร์ดั้งเดิม อันดับแรกคือยึดทรัพย์สินของธนาคารที่อาจารย์ปรีดีตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็น แหล่งสนับสนุนด้านการเงินให้กับมหาวิทยาลัย ชื่อว่าธนาคารเอเชีย ต่อมามีการออกกฎหมาย อันที่จริงธรรมศาสตร์ตอนเปิดมาครั้งแรกไม่ใชข่มหาวิทยาลัยของรัฐ มีเงินจากธนาคารเอเชียและเงินค่าเล่าเรียน แต่มาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเมื่อมีการออกกฎหมาย และให้ไปขึ้นกับสำนักนายกฯ แต่ช่วง 2490-2500 ที่จอมพลสฤษดิ์เข้ามาปฏิวัติยึดอำนาจ

“มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมศาสตร์มากจริงๆ และเกิดการต่อสู้ของนักศึกษาในรุ่นก่อนหน้า ส่วนยุคของผมนั้นไม่มีเสรีภาพแม้แต่กระผีกเดียว”

อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ เล่าว่าในยุคนั้นมีกิจกรรมของนักศึกษา แต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และประเด็นก็เป็นประเด็นเดิมๆ ฝ่ายที่เป็นอนุรักษ์นิยมและยังโลดแล่นถึงยุคนี้ และยังไม่จากไปไหน เช่น ดร. อุกฤษ มงคลนาวิน รหัส 2501 กล่าวหาว่านักกิจกรรมนักศึกษาหัวรุนแรง มักพูดเรื่องสันติวิธี ต่อต้านสหรัฐ และทำให้เกิดเงื่อนไขทางการเมืองถึงขนาดที่ในที่สุดจอมพลสฤษดิ์ เข้ามายึดอำนาจจากจอมพล ป. ทำให้ธรรมศาสตร์ถูกกวาดล้างอย่างที่สุด ความเป็นธรรมศาสตร์ที่สืบทอดกับอาจารย์ปรีดี ถูกล้างออกไปหมด

ผมบอกตรงๆ เลยว่าสมัยผมนั้นผมเรียนจบไปก็มุ่งมั่นจะมาสอนที่คณะ คณะผมนั้นคณบดีเป็นพระยา ซึ่งไม่เคยเห็นหน้าเลย และมีอาจารย์ประจำท่านเดียว นอกนั้นมาจากกระทรวงยุติธรรม ผู้พิพากษา อธิบดีอัยการ หรือกระทรวงการต่างประเทศและกฤษฎีกา ผมจบไปก็มุ่งมั่นจะสอบเนติบัณฑิต ผมสอบเนติ์ได้พร้อมกับคุณชวน หลีกภัย ผมอายุไม่ถึง ก็ไปสอบเป็นอัยการ เข้าสู่โลกของพวกอำมาตย์โดยแท้จริง การหล่อหลอมการปลูกฝังต่างๆ คือการเป็นขุนนางระดับสูง มีสิทธิพิเศษมากกว่าคนอื่นๆ เรพาะข้าราชการอัยการ-ตุลาการ สูงกว่าราชการพลเรือนทั่วไป

จากนั้นคุณชวนหลีกภัย ก็มาชักชวนไปเลือกตั้ง แต่ผมก็เป็นอัยการเรื่อยมา ไม่ได้คิดเรื่องการบ้านการเมือง 14 ตุลา ผมอยู่ที่กรมอัยการ เราก็ไม่รู้เรื่องอะไรมาก เป็นเรื่องของรุ่นน้องๆ ผมก็มีกำลังบำรุงบ้างตามสมควร ผมยังเชื่ออยู่ว่าบ้านเมืองมันแย่เพราะมันคอร์รัปชั่น ที่เห็นตำตาในสมัยที่ผมทำงานคือในกระบวนการยุติธรรม ถามว่าคอร์รัปชั่นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ผมไม่รู้ แต่มันคอร์รัปชั่นกันน่าดูเลย มีมานานแล้ว

และสิ่งที่ผมเป็นอัยการและมีความอยากรู้เรื่องหนึ่งที่ตอน นี้กลัมาเป็นประเด็นมากขึ้นเรื่อยๆ คือ อัยการคนไหนที่เป็นคนทำคดีสวรรคต อธิบดีกรมอัยการคนหนึ่งลาออกเพราะไม่ยอมทำคดีสวรรคต ผมเข้าไปเป็นเสมียนที่กรมอัยการ คุณเล็กเป็นอธิบดี ผลจากที่ท่านเป็นคนทำคดีนีก็ทำให้ท่านก้าวหน้าข้ามาเป็นรัฐมนตรี แต่เพื่อนที่สนิทกับท่าน ดร.หยุด แสงอุทัย เป็นเพื่อนซี้กันมาก และดร.หยุด คือมือกฎหมายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม

“ผมคิดว่าในประเด็นปัญหาที่กำลังเกิดในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ท้าทายธรรมศาสตร์มากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคิดแบบนักกฎหมายก็คงต้องมากำหนดว่าเสรีภาพในทางวิชาการ ต้องมีขอบเขต ประชาธิปไตย ต้องเป็นเสรีภาพที่มีขอบเขคในทางวิชาการ เสรีภาพที่ไม่มีขอบเขตคืออนาธิปไตย แต่คำถามคือ ขอบเขตเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ควรจะมีมากน้อยแค่ไหรน อย่างน้อยที่มีการประกาศว่าธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว คือเสรีภาพมีทุกเรื่องยกเว้นเรื่องเดียวคือ ตัวเลขสามตัว”

“แล้วเรื่องนี้จะสามารรถนำมาพูดกันได้แค่ไหนอย่างไร ผมคิดว่านี่ไม่ใช่ประเด็นที่ท้าทายเฉพาะมหาวิทยาลัยธรรทศาสตร์แต่ท้าทาย สังคมไทย แต่อย่างน้อยที่สุดจุดเริมต้นก็เกิดขึ้นที่ธรรมศาสตร์ ซึ่งอาจารย์กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งจุดประกายขึ้นมา ผมเรียนว่าผมก็ภูมิใจว่าอย่างน้อย คณะนิติศาสตร์ไม่เคยสูญสิ้นความเป็นธรรมศาสตร์ที่อาจารย์ปรีดีได้มอบไว้แก พวกเรา”

 

ความขัดแย้งเกิดจากอิทธิพลของสื่อโดยแท้

พนัส ทัศนียานนท์ กล่าวว่า ในยุคสายลมแสงแดดนั้นต่างจากปัจจุบัน คือยุคของเขาเป็นเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเลย เป็นเผด็จการทหารเตมรูปแบบ แต่ยุคนี้เป็นประชาธิปไตยแต่มีสำนึกเผด็จการ

“ปัญหาคือสื่อ เป็นอิทธิพลของสื่อโดยแท้ ไม่ว่าข้อเสนอจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ ฝ่ายที่เขาคิดว่าพวกนี้คือพวกที่ล้มเจ้า เขาบอกว่าเขาไม่สนมราจะไปทำความเข้าใจ นี่เป็น Mentality ในยุค สมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิธีการหลีกเลี่ยงความรุนแรง ไม่ใชเรื่องของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรทมศาสตร์เท่านั้น และโยเฮพาะอย่างยิ่งกับสื่อผมว่ารัฐบาลต้องทำความเข้าใจ ในเมื่อประเด็นมันแหลมคมมากๆ จะไม่ทำอะไรเลยไม่ได้ จะไปกลัวว่าสื่อเขาจะบอกว่าริดรอนเสรีภาพของสื่อ เพราะการนำเสนอของสื่อต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ ไม่ใช่เหมือนกับว่าเอาน้ำมันไปราดลงบนรกองไฟ เท่าที่ผมพยายามดูสื่อบางสื่อที่ผมไม่อยากดูอยู่แล้ว มันเท่ากับช่วยกัน ทุกคนก็รู้ดี โดยผู้เสนอเขาไม่ได้มีเจตนาร้ายอะไร ปัญหาคือถ้าจะจัดการกันในวงกว้างให้เกิดความเข้าใจกันโดยทั่วหน้า จะมีวิธีการอย่างไรที่ดีที่สุดที่จะสื่อไปถึงประชาชน ผมเองคนขับรถก็ยังถามอยู่เรื่อยๆ เพราะเขาฟังสื่อก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างกับเขา เขาก็ย่อมเข้าใจง่ายๆ ตาม Mentality ที่ตกค้างอยู่ ก็ย่อมคิดว่า คนพวกนี้เป็นปัญหาแน่ ๆ”

อนึ่ง เวทีเสวนาได้รับการรายงานโดยสื่อในเครือผู้จัดการด้วย โดยกลับอ้างว่าเวทีเสวนาดังกล่าวจัดโดยกลุ่ม “นิติราษฎร์” โดยพาดหัวว่า “นิติราษฎร์” ไม่จำนน โบ้ยมติ มธ.แค่ร่างทรง “สมบูรณาญาสิทธิราชย์”

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net