Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

กรณีนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตน เผยแพร่ความว่า [๑] \ที่ประชุมกรรมการบริหารมหาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยคณบดี ผู้อำนวยการสำนักสถาบันมีมติเอกฉันท์ว่ามหาลัยคณะสำนักสถาบันจะไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา 112 อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนีนการของมหาลัยหรือมหาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้\" หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองประการหนึ่ง ซึ่งจะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้คือ หลักความจำเป็น (Principle of Necessity) บนความคิดเบื้องหลังหลักการนี้มีอยู่ว่า \"ในระหว่างสิ่งที่เลวร้ายตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปที่จำต้องเลือก บุคคลควรเลือกสิ่งที่เลวร้ายน้อยที่สุด\" หลักการนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รับรองไว้ในมาตรา 29 วรรคหนึ่ง [๒] เราอาจเห็นภาพพจน์ได้ดียิ่งขึ้น และสอดคล้องกับเนื้อหาอย่างบริบูรณ์ สำหรับพิจารณาเทียบเคียงกรณี \"มติ\" ซึ่งนายสมคิดฯ เผยแพร่ ข้างต้น สมควรพิจารณาโดยอาศัยคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานศาลปกครองสูงสุดแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ปรากฏข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันและน่าสนใจยิ่ง ดังนี้ [๓] ศาลปกครองสูงสุดแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Conseil d'Etat) ได้ใช้หลักแห่งความจำเป็น บังคับแก่คดีพิพาทหลายคดี คำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานได้แก่ C.E.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net