Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีในช่วงวิกฤติการณ์น้ำท่วม ไม่มีประเด็นเรื่องแรงงานข้ามชาติถูกบรรจุอยู่ในวาระการประชุม ไม่มีการร้องขอใดๆ เพื่อแรงงานข้ามชาติเป็นพิเศษ ไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าภาพที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานบังคับใช้กฏหมายติดตามเรื่องแรงงานข้ามชาติอย่างใกล้ชิด แน่นอนพวกเขารู้ดีว่า วิกฤติน้ำท่วมนี้มีผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไรบ้าง แรงงานข้ามชาติกว่า 200,000 คน จากประเทศพม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ต่างเคลื่อนย้ายกันในช่วงวิกฤติน้ำท่วม สำหรับคนไทยที่ได้รับผลกระทบ การหาที่พักอาศัยกับครอบครัว หรือในศูนย์พักพิงเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย แรงงานข้ามชาติต้องเจอกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่มีอุปสรรคที่เฉพาะเจาะจงหลายอย่างจึงถูกโยนใส่พวกเขาอย่างไม่เป็นธรรมเช่นกัน แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางเรื่องเช่นความกรุณาและการต้อนรับที่อบอุ่นจากนายจ้างบางคน และจากชุมชนบางแห่ง ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มีหนังสือเดินทางที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายของพวกเขาต้องถูกใช้เงินไปเป็นจำนวนมากเพื่อจ่ายให้กับนายหน้าที่ไม่ถูกควบคุมดูแลโดยรัฐสำหรับเป็นการช่วยชีวิตของพวกเขา หลายคนต้องเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางเพื่อให้เดินทางกลับบ้านของตนอย่างถูกกฎหมาย หรือเพื่อเดินทางไปหาที่พักอาศัยกับเพื่อนในพื้นที่อื่นๆ จนกว่าระดับน้ำจะลดลง และเมื่อสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย แรงงานที่กลับเข้ามาทำงาน ต้องเผชิญกับปัญหาความไม่ยืดหยุ่นและมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมากในกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อจัดการกับเรื่องการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และวีซ่าหมดอายุ สำหรับแรงงานข้ามชาติที่มีเพียงเอกสารใบเสร็จรับเงินการขึ้นทะเบียนแรงงานที่แสนจะบอบบาง (กว่าสองปีแล้วที่แรงงานส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน) หรือไม่มีเอกสารใดๆ เลย เราได้เห็นสิ่งเลวร้ายที่สุดของการบริหารจัดการการย้ายถิ่น เมื่อแรงงานกลุ่มนี้ที่เดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดที่ถูกน้ำท่วม นายหน้าผู้ฉวยโอกาส ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ รีดไถแรงงานเหล่านี้ เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายให้เดินทางออกนอกจังหวัดที่ถูกระบุไว้ว่าเป็นพื้นที่ทำงานที่ได้จดทะเบียนไว้ แรงงานเหล่านี้อัดกันแน่นถึง 150 คน ในรถหกล้อเช่า เดินทางไปยังชายแดนตอนกลางคืน ซึ่งชัดเจนว่าการเดินทางอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่รัฐที่ฉ้อฉล แรงงานเหล่านี้ถูกส่งกลับเพราะเป็นเหยื่อของภัยน้ำท่วม นี่ไม่ใช่การเดินทางฟรีๆ แต่พวกเขาต้องเสียค่าใช้จ่ายหัวละ 2,500-4,000 บาท หากแรงงานยังต้องการอยู่ในที่พักที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การให้ความช่วยเหลือแทบจะไม่มี และจะเจอกับการแบ่งแยกเชื้อชาติที่น่ารังเกียจ ในหลายๆ ชุมชนแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารใดๆ เลยและต้องการย้ายออกจากพื้นที่ จะมีพวกมาเฟียกักตัวให้อยู่ในตึกที่มีประตูล็อคไว้ เจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้าเข้าไปยุ่ง ยังมีรายงานอีกด้วยว่า บ่อยครั้งที่แรงงานข้ามชาติถูกปฏิเสธให้เข้าพักในศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงแรงงานยืนยันว่า ได้ตอบสนองต่อความเดือดร้อนของแรงงานข้ามชาติอย่างพอเพียงแล้ว ได้จัดบ้านพักอาศัยให้แรงงานข้ามชาติจำนวน 200-400 คน มีรายงานว่า รัฐบาลปฏิเสธที่จะใช้เงินจากภาษีอากรในการจัดบ้านพักอาศัยให้แรงงานข้ามชาติ ได้แต่อาศัยเงินบริจาค สถานทูตพม่าได้ออกเอกสารเป็นร้อยๆ ฉบับที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวฯ แต่เพราะไม่มีการตอบสนองในระดับนโยบาย เอกสารเหล่านี้จึงไม่ได้ถูกรับรองจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อมองกลับไปจะเข้าใจถึงปัญหาหลังเกิดเหตุการณ์ว่า ในขณะที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับแรงงานข้ามชาติผู้ประสบอุทกภัยจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่นั่นอาจเป็นการประชาสัมพันธ์ เพื่อดึงความสนใจออกจากประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติที่กำลังเผชิญอยู่ สื่อมวลชนไทยเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงบางสื่อ ไม่ได้รายงานเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แต่สื่อจากต่างประเทศกลับให้ความสนใจประเด็นสำคัญนี้ หน่วยงานสหประชาชาติหน่วยงานหนึ่งได้เข้ามาแทรกแซงอย่างแข็งขันในการสร้างความกดดันทางการทูต มองในแง่ดี วิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ และการขาดการตอบสนองต่อแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะ บวกกับการใช้อำนาจไปในทางผิดๆ และการละเมิดต่างๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐบางคน เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท่ามกลางวิกฤติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และในช่วงเวลาที่น่าจะเป็นเวลาที่ดีสำหรับการบริหารจัดการการย้ายถิ่นในประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงยิ่งกว่านั้น วิกฤติน้ำท่วมเพียงแค่ทำให้เห็นปัญหาการคอรัปชั่นได้ชัดเจนขึ้น การใช้อำนาจในทางที่ผิดยังคงฝังอยู่ภายใต้หน้าตาของศิลปะการทำการตกแต่งการเปลี่ยนแปลงการย้ายถิ่นในประเทศไทย ก่อนปี พ.ศ. 2554 แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ ไม่มีเอกสารใดๆ และกระบวนการจดทะเบียนยังเป็นสิ่งที่ไม่โปร่งใส เข้าใจยาก และมีระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ยุ่งยากสำหรับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง มีการจับกุมที่มีการใช้อำนาจอย่างผิดๆ แรงงานข้ามชาติต้องตกอยู่ในวังวนของการถูกรีดไถ และการถูกส่งกลับ กระบวนการขั้นตอนหรือแนวคิดของการจัดการการย้ายถิ่นแรงงานข้ามชาติไม่เคยประสบผลสำเร็จ ส่วนหนึ่งของการกล่าวยืนยันของหลักนิติธรรมในสองทศวรรษของการไม่มีระบบกฎหมายของการบริหารจัดการการย้ายถิ่นอย่างชัดเจน การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติล้มเหลวอย่างน่าเศร้าใจ เห็นได้จากหน่วยงานทางด้านสิทธิขององค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนระหว่างประเทศให้ความสนใจในเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ประเด็นการค้ามนุษย์ในเรื่องแรงงานข้ามชาติ ที่นำไปสู่การกดขี่แรงงานและการกดขี่ทางเพศไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ในระหว่างปี พ.ศ. 2554 มีหลักฐานของการพัฒนาในทางบวก มีการผลักดันการเข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติจากใต้ดินให้ขึ้นมาสู่บนดินโดยนายจ้างนำมาขึ้นทะเบียนเกือบถึง 2 ล้านคน แม้จะยังเป็นการทำให้ถูกกฎหมายที่เอนเอียงไปทางนายจ้างได้ประโยชน์ และหลังจากลังเลที่จะเข้าร่วมในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทาง มีความพยายามที่จะทำให้ถูกต้องจากสิ่งที่กระทำการแบบผิดกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของแรงงานข้ามชาติเกือบ 750,000 คน (ส่วนใหญ่มาจากประเทศพม่า) ที่ขณะนี้ได้เป็นเจ้าของหนังสือเดินทางแบบชั่วคราว กระบวนการพิสูจน์สัญชาติมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายให้กับนายหน้าที่ไม่ได้ถูกควบคุมให้อยู่ในระบบซึ่งเป็นตัวเชื่อมต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐของทั้งสองฝั่งเขตแดน กระบวนการไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ประการใดกับระบบการจดทะเบียนประชากรในประเทศต้นทาง กระบวนการนี้ ทำให้แรงงานข้ามชาติมีอิสระในการเดินทาง (แม้จะยังไม่ได้รับสิทธิในการเปลี่ยนนายจ้าง) มีสิทธิในการขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ และมั่นใจมากขึ้นในสถานภาพที่ดีขึ้นของตัวเอง กระบวนการพิสูจน์สัญญชาตินับเป็นทางออกอีกทางหนึ่งซึ่งยังเป็นสิ่งที่พอจะยอมรับได้ของสถานการณ์ที่เลวร้ายและระดับของการคอรัปชั่นที่ฝังรากลึกทำให้พัวพันอยู่ในกระบวนการ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 รองรัฐมนตรีด้านแรงงานของประเทศพม่า ได้เดินทางมายังประเทศไทยสองครั้ง เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองแรงงาน ท่านรัฐมนตรีมีความกระตือรือร้นในการให้ความมั่นใจว่า แรงงานจากประเทศพม่าทุกคนกลายเป็นแรงงานถูกกฎหมายผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ จะมีการเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติเพิ่มอีก 5 ศูนย์ในประเทศไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและลดต้นทุนในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 มีเจ้าหน้าที่สถานทูตที่ทำงานเรื่องนี้โดยเฉพาะในสถานทูตพม่า ประจำกรุงเทพมหานคร ในช่วงวิกฤติน้ำท่วมหนัก รัฐบาลพม่าได้เปิดสะพานมิตรภาพแม่สอด-เมียวดี เพื่ออำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่ประสบภัยน้ำท่วมและมีความประสงค์อยากกลับบ้าน และถูกกระทำจากทั้งสองฝ่าย ปัจจุบัน ประเทศไทยและประเทศพม่าให้ความสำคัญและความสนใจร่วมกันกับการนำเข้าแรงงานอย่างถูกกฎหมาย โดยตั้งเป้าไปที่แรงงานจำนวนมากจากประเทศพม่า ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้ได้นำไปสู่การมีส่วนช่วยทำให้การลักลอบขนคนในรอบ 2 ทศวรรษลดลง การที่นายจ้างต้องพึ่งพิงแรงงานเป็นล้านๆ คน และผู้กำหนดนโยบายไม่ได้ให้ความสำคัญกับช่องทางการย้ายถิ่นอย่างถูกกฎหมายเพื่อทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นประโยชน์และสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ก็ไม่เป็นไปตามระเบียบแบบแผน เรื่องราวการถูกเอารัดเอาเปรียบที่น่าตกใจของลูกเรือประมงชี้ว่า แรงงานในภาคนี้ยังต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด อุตสาหกรรมประมงยังคงปฏิเสธปัญหา ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่ดีที่จะนำไปสู่การสิ้นสุดของการเอารัดเอาเปรียบ อุตสาหกรรมประมงของไทยถูกมองว่าต้องพึ่งพิงการค้ามนุษย์เพื่อให้เรือออกทะเล การเพิ่มการคุ้มครองด้านสังคมให้กับแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายยังไม่ประสบความสำเร็จ แรงงานส่วนใหญ่ ไม่สามารถเข้าถึงการประกันสุขภาพ เพราะนายจ้างไม่ได้ขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ ผลคือเมื่อมีการตายเกิดขึ้น หลังจาก 5 ปีของการรณรงค์ให้มีการจ่ายค่าทดแทนอุบัติเหตุในการทำงานให้แก่แรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติเหตุ แม้จะมีการแทรกแซงโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การสหประชาชาติก็ตาม แต่มีการพัฒนาในเรื่องนี้น้อยมาก แรงงานข้ามชาติยังคงถูกปฏิเสธสิทธิในการจัดตั้ง เจ้าหน้าที่การบังคับใช้กฎหมายและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการย้ายถิ่นยังคงทำทุกวิถีทางที่จะขูดรีดเงินจากแรงงานข้ามชาติและจากนายจ้างของพวกเขา ประเทศไทยน่าจะถูกจัดให้อยู่ใน “ระดับ 3” (ระดับ 3 หมายถึง ประเทศต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำโดยสมบูรณ์และไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างมีนัยสำคัญที่จะดำเนินการดังกล่าว) ในรายงานการค้ามนุษย์ประจำปีพ.ศ.2554 ที่จัดทำโดยสำนักงานและติดตามตรวจสอบกับการค้ามนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากไม่สามารถดำเนินนโยบายที่ร่วมมือกันป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์และลงโทษผู้กระทำผิด ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติด้านการค้ามนุษย์ Joy Ezeilo ในปีพ.ศ.2554 ได้ประเมินสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยไว้อย่างร้ายแรง ซึ่งก็ไม่ผิดไปจากความจริง แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการตอบสนองที่จริงใจใดๆ เกิดขึ้น การบริหารจัดการการย้ายถิ่นในประเทศไทย มีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านๆ มา แต่เมื่อมองลึกไปจากผิวหน้า การกระทำความผิดที่ไม่มีการลงโทษ และการใช้อำนาจอย่างผิดๆ ยังคงฝังรากลึก รอคอยที่จะปรับตัวไปตามการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยยังขาดนโยบายที่ผ่านการคิดอย่างรอบคอบ นโยบายระยะยาว ที่สนับสนุนความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงของมนุษย์ สำหรับแรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และชุมชนไทยอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสร้างสรรค์ให้เกิดองค์กรการบริหารจัดการการย้ายถิ่นที่มีประสิทธิภาพ มีอิสระ และเป็นองค์รวม ควรมีการจัดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติและการนำเข้าแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และสามารถติดตามการถูกการเอารัดเอาเปรียบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ผู้กำหนดนโยบายยืนยันอย่างน่าชื่นชม ในเรื่องของความโปร่งใส ถูกกฎหมาย และคุ้มครองสิทธิ การขยายบทบาทของประเทศพม่าในการจัดการการย้ายถิ่น จะถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดในปีพ.ศ. 2555 นี้ หากเกิดกรณีของการล่วงละเมิดในระบบการรับสมัครสำหรับการนำเข้าแรงงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องตอบสนองต่อประเด็นดังกล่าวอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะฝังรากลึกอย่างกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ก็ยังคงมีท่าทีนิ่งเฉยต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นกับแรงงานของพวกเขาซึ่งพวกเขาควรต้องดำเนินการเช่นเดียวกันด้วย สื่อภายในประเทศ ควรเริ่มทำความเข้าใจประเด็นในเรื่องแรงงานข้ามชาติให้ชัดเจนและเป็นกลางมากขึ้น นักการทูตควรเตรียมความพร้อมในการเล่นบทบาทการเจรจาต่อรองทางการค้าต่อประเด็นในเรื่องของการละเมิดสิทธิของแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะการบังคับใช้แรงงาน และการค้ามนุษย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมประมง ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านควรเป็นผู้นำ เคียงคู่ไปกับประเทศฟิลิปปินส์ ในการผลักดันประเด็นแรงงานข้ามชาติ เข้าสู่กรอบการทำงานของประเทศสมาชิกในกลุ่ม ASEAN เพื่อให้มีการหาทางออกของความท้าทายของการย้ายถิ่นในระดับภูมิภาคอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งขณะนี้คงมีแค่ระดับของการตอบสนองที่อ่อนแอของความร่วมมือแบบทวิภาคีเท่านั้น แรงงานข้ามชาติจากพม่ากำลังเตรียมการวางแผนที่จะกลับบ้านซึ่งพวกเขาหวังว่ามันกำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้านี้ ประเทศไทยอาจจะต้องต่อสู้กับปัญหาการกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษที่ฝังรากลึกที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการย้ายถิ่นมาอย่างยาวนานเพื่อดำรงแรงงานที่เป็นส่วนสำคัญเหล่านี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้เป็นแรงงานต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net