Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

การเผชิญหน้าระหว่างอิหร่านกับสหรัฐและอิสราเอล ที่สืบเนื่องจากการลอบสังหาร นายมุสตาฟา อาห์มาดี-โรชาน นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอิหร่าน ซึ่งเป็นรายที่สี่นับตั้งแต่มีการวางระเบิดสังหารรถยนต์สังหารนักวิทยาศาสตร์อิหร่านตั้งแต่ปี 2553 ทำให้มีความกังวลว่าจะนำไปสู่การทำสงครามระหว่างกัน ความขัดแย้งนี้สืบเนื่องจากการพัฒนาโครงการโรงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิหร่านที่ Bushehr สหรัฐและอิสราเอลเชื่อว่าอิหร่านต้องการใช้สำหรับพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ต่อมาค้นพบโรงงานไฟฟ้าปรมาณูอีก 2 แห่งที่ Arak และ Natanz ทำให้มีข้อสงสัยมากขึ้น ด้านอิหร่านได้ลงนามในสนธิสัญญาป้องกันแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ (Nonproliferation Treaty) หรือ NPT ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาและยืนยันสิทธิของรัฐในจุดยืนที่ถูกต้อง ในการพัฒนาพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ รวมทั้งไม่มีหลักฐานว่าอิหร่าน ได้ละเมิดสนธิสัญญา NPT โครงการโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อิร่าน อาจจะเป้าหมายแฝงเร้นในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แต่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เหมือนที่ นอม ชอมสกี้ กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยคำพูดของ Martin van Creveld นักประวัติศาสตร์การทหารอิสราเอลชั้นนำคนหนึ่งว่า หลังจากสหรัฐรุกรานอิรักแล้ว “ถ้าอิหร่านไม่พยายามสร้างอาวุธนิวเคลียร์ พวกเขาต้องเป็นพวกบ้าบอ” [1] ในการทำความเข้าใจถึงการพัฒนาและความซับซ้อนของสถานการณ์นี้ จะเริ่มจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ Bushehr และอีกสองแห่งของอิหร่าน ที่รวบรวมโดย Mark Gaffney นักวิจัยและนักเคลื่อนไหวต่อต้านสงคราม เตาปฏิกรณ์ที่ Bushehr โรงงานไฟฟ้าปรมาณู Bushehr มีประวัติยาวนาน โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2517 โดยชาห์ เรซา ปาลาวี แผนงานดั้งเดิมเป็นการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ขนาด 1200 - 1300 เมกกะวัตต์ทางชายฝั่งทะเลทางใต้ ผู้รับเหมา คือ บริษัทซีเมนต์ ที่มีชื่อเสียงของเยอรมัน เมื่อเกิดการปฏิวัติอิหร่านในปี 2522 โครงการได้เสร็จสิ้นไปประมาณ 85% และโครงงานนี้ต้องหยุดชะงักจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองจากการปฏิวัติครั้งนี้ ต่อมาช่วงระหว่างสงครามกับอิรัก เตาปฏิกรณ์ที่สร้างไม่เสร็จนี้ ได้ถูกทิ้งระเบิดซ้ำและเสียหายอย่างรุนแรง หลังจากสงครามยุติอิหร่านพยายามเรียกบริษัทซีเมนต์ มาทำการก่อสร้างให้เสร็จสิ้น แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากสหรัฐเข้ามาขัดขวางและกดดันอย่างรุนแรงต่อรัฐบาลเยอรมัน จนกระทั่งปี 2538 อิหร่านได้ลงนามสัญญามูลค่า 800 ล้านเหรียญกับ Minatom ของรัสเซียในการสร้างเตาปฏิกรณ์ - 1 และได้ทำงานที่โรงงานตั้งแต่นั้นมา โครงการพบปัญหาทางเทคนิคและล่าช้า วิศวกรรัสเซียถูกบังคับให้ ปรับปรุงการออกแบบเดิมของเยอรมัน แต่ปัญหาทั้งหมดได้ปรากฏออกมา เตาปฏิกรณ์ - 1 ได้ลดขนาดลงเล็กน้อยเป็น 1000 เมกกะวัตต์ และเสร็จสมบูรณ์ โดยจะสามารถเดินเครื่องได้ในเดือนธันวาคม 2546 เตาปฏิกรณ์ - 1 เป็นเพียงจุดเริ่มต้น อิหร่านมีแผนเพิ่มเตาปฏิกรณ์ขนาด 1000 เมกกะวัตต์อีก 5 ชุด อิหร่านได้รับเทคโนโลยีนิวเคลียร์จาก จีน รัสเซีย และชาติอื่นๆ อีกหลายชาติ แต่รัสเซียเป็นผู้ส่งมอบหลักตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 รัสเซียต่อต้านความกดดันของสหรัฐที่ให้ยกเลิกโครงการ รัสเซียอ้างว่าต้องการเงินตราต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของ Minatom อ้างว่า โครงการนี้สร้างงานให้ชาวรัสเซีย 20,000 คนตามสัญญาที่จะมีมากขึ้น รัสเซียมุ่งไปสู่การขยายความสัมพันธ์ด้านนิวเคลียร์และปฏิเสธคำเรียกร้องของสหรัฐ โดยรัสเซียจะให้ความเคารพอย่างชัดเจนกับการค้ากับอิหร่าน ในฐานะชาติที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี รัสเซียปฏิเสธความต้องการของสหรัฐสำหรับการตรวจสอบพิเศษด้วย รัสเซียชี้ว่าเตาปฏิกรณ์จะได้รับการตรวจสอบ จากสำนักงานพลังงานปรมาณูนานาชาติ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) IAEA เยี่ยม Bushehr และสถานที่สงสัยอื่นหลังจากสงครามอ่าวครั้งแรก และล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 พร้อมกับรายงานว่าไม่มีการละเมิด แต่สหรัฐยังไม่ยอมรับ IAEA จึงต้องการตรวจสอบโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิหร่านเพิ่มเติม แต่อิหร่านปฏิเสธ ขณะที่ รัสเซียเห็นด้วยกับการตัดวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ของข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยี gas centrifuge โดยใช้เตาปฏิกรณ์ light water ที่จะใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมเสริมสมรรถนะต่ำ (low enriched uranium) หรือ LEU ที่ส่งมอบโดยรัสเซีย เชื้อเพลิง LEU ไม่เหมาะสมกับการสร้างระเบิด รัสเซียมีอีกข้อเสนอ คือ ส่งคืนเตาปฏิกรณ์เดิมไปเก็บไว้ในรัสเซีย นี่จะเป็นการลดความเสี่ยงของแพร่กระจายพลูโตเนียม (Christine Kucia, “Russia, Iran Finalize Spent Fuel Agreement,” Arms Control Today, January/February 2003) ตั้งแต่การรื้อฟื้นโครงการนี้ในปี 2538 อิหร่านต้องตอบโต้กับข้อสงสัยในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ประธานาธิบดีอิหร่าน อาลี อักบา ราฟซันจานี บอกกับสำนักข่าว ABC ว่าอิหร่านไม่ได้แสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ ราฟซันจานีท้าทายผู้วิจารณ์ให้เสนอหลักฐานโครงการระเบิดลับ จนกระทั่งเดือนธันวาคม 2545 ประธานาธิบดีอิหร่าน โมฮัมหมัด คาตามิ ระบุว่าประเทศของเขามีความมุ่งหวังในการเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิง ไปยังรัสเซียเพื่อแสดงความเชื่อมั่นที่ดี และแสดงว่าประเทศของเขาไม่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เจ้าหนาที่อิหร่านเน้นหนักว่า เตาปฏิกรณ์ Bushehr เป็นความจำเป็นเร่งด่วนในเสริมความขาดแคลนกำลังการผลิตไฟฟ้า อิหร่านเหมือนกับประเทศอื่น ที่ต้องการไฟฟ้าสำหรับการพัฒนา อิสราเอลและสหรัฐไม่ได้ระงับโทสะ เจ้าหน้าที่อิสราเอลตั้งคำถามว่า ทำไมอิหร่าน ซึ่งมีน้ำมันอย่างเหลือเฟือ จึงต้องการเตาปฏิกรณ์ในการผลิตไฟฟ้า ถ้าพวกเขาเชื่อว่า พลังงานนิวเคลียร์เป็นคำตอบในระยะยาวสำหรับความจำเป็นของเขา พลังงานนิวเคลียร์ไม่มีความเหมาะสมกับอิหร่าน ด้วยเหตุผลเดียวกันว่า ไม่มีความเหมาะสมกับรัฐใดๆ รวมถึงสหรัฐ ทั้งนี้รวมถึงความเสี่ยงของอุบัติเหตุ และการก่อการร้าย ปัญหาการจำกัดกากนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม เชื้อเพลิงปรมาณูสามารถดัดแปลงสำหรับกระบวนการใหม่และการสร้างระเบิด อิหร่านจำเป็นต้องเข้าใจว่าความเบี่ยงเบนเช่นนี้จะนำไปสู่การคุกคาม Arak และ Natanz เมื่อเดือนสิงหาคม 2545 กลุ่มต่อต้านสาธารณรัฐอิสลาม National Council of Resistance of Iran (NCRI) ได้เปิดการแถลงข่าวในวอชิงตันดีซี รายงานว่ามีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์นิวเคลียร์อีก 2 แห่งในอิหร่านที่ไม่ทราบมาก่อนหน้านี้ แห่งแรกที่ Arak ห่างจากเตหะรานไปทางใต้ 150 ไมล์ เชื่อว่าเป็นโรงงานสำหรับผลิต heavy-water อีกแห่งที่ Natanz ประมาณ 100 ไมล์ทางเหนือของ Esfahan อาจจะเป็นโรงงานยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ (uranium-enrichment) ทั้ง 2 แห่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง การวิเคราะห์ภาพสถานที่ของ Natanz จากดาวเทียมแสดงว่า บางส่วนของโรงงานกำลังก่อสร้างระดับในดิน และหุ้มด้วยกำแพงคอนกรีตหนา หลายวันต่อมา เจ้าหน้าที่อิหร่านยอมรับสถานที่นั้น พวกเขาแถลงว่าเป็นแผนระยะยาว สำหรับการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ครบวงจร ในอีกความหมาย อิหร่านมุ่งมั่นในการพัฒนาสมรรถนะกระบวนการเชื้อเพลิงของตัวเอง ประเทศนี้มีแร่ยูเรเนียมดิบมากมาย ในเดือนมีนาคม 2546 เจ้าหน้าที่อิหร่านแถลงว่า โรงงานผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ Natanz ใกล้ Esfahan เสร็จแล้ว และจะเริ่มการผลิตในไม่ช้า (Paul Kerr, “IAEA ‘Taken Aback’ By Speed Of Iran's Nuclear Program,” Arms Control Today, April 2003) ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความมุ่งมั่นด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน heavy-water ใช้เป็นตัวกลางของเตาปฏิกรณ์บางประเภท ปัญหาคือ เตาปฏิกรณ์ประเภทนี้ใช้ในการผลิตพลูโตเนียมสำหรับการสร้างระเบิดได้ อิสราเอลทราบถึงการสร้างพลูโตเนียมสำหรับปืนใหญ่นิวเคลียร์จากเตาปฏิกรณ์ประเภทนี้ ขณะที่ เตาปฏิกรณ์ที่ Bushehr ได้รับการออกแบบพิเศษเพื่อใช้ light-water เพื่อทำให้การฟื้นเป็นพลูโตเนียมยากขึ้น ทำไมอิหร่านยังมีความต้องการ heavy-water เมื่อเตาปฏิกรณ์ light-water สามารถให้ไฟฟ้าตามความต้องการได้โปร่งใสกว่า? โรงงาน heavy-water แสดงนัยว่ามีเตาปฏิกรณ์ heavy-water เพียงแต่ยังไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน เช่นเดียวกัน ทำไมอิหร่านต้องการโรงงานยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ในขณะที่รัสเซียจะให้เชื้อเพลิง LEU สำหรับเตาปฏิกรณ์ Bushehr และสามารถทำแบบเดียวกันกับเตาปฏิกรณ์ในอนาคต? ทำไมการสร้างที่ Natanz เป็นการสร้างใต้ดิน? ทำไมพวกเขาเสริมความแข็งแรง? ความจริง คือ ถ้าอิหร่านกำลังสร้างโรงงานยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ หมายความว่าอิหร่านมีเทคโนโลยี gas centrifuge แล้วใครเป็นผู้ส่งมอบ? ขณะที่ไม่มีหลักฐานว่าอิหร่านละเมิดสนธิสัญญา NPT แต่ความจริง NPT กำหนดให้ผู้ลงนามแต่ละรายต้องทำตามกฎของ IAEA สถานที่ตั้งนิวเคลียร์ทั้งสองที่เปิดเผยจึงเป็นเป้าหมายในการตรวจสอบของ IAEA อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงกับอิหร่าน IAEA ไม่ต้องการตรวจสอบโรงงานใหม่จนกระทั่ง 6 เดือนก่อนที่วัตถุดิบนิวเคลียร์มาถึงครั้งแรก โรงงานที่ Arak และ Natanz ยังห่างจากการสร้างเสร็จสมบูรณ์มากกว่า 6 เดือนในขณะที่เป็นข่าวออกมา ดังนั้น จึงไม่เป็นละเมิดข้อตกลงนี้ แต่ยังคงมีคำถามว่า ทำไมอิหร่านไม่รายงานให้ IAEA เกี่ยวกับโรงงานเหล่านี้ แต่มาจาก NCRI ความจริงถ้าอิหร่านมุ่งสู่การสร้าง LEU ด้วยตัวเองจะสร้างความโปร่งใสมากกว่าปัญหา ถึงแม้ว่า Natanz ได้รับการตรวจตามปกติ อะไรจะหยุดอิหร่านจากพัฒนายูเรเนียมเสริมสมรรถนะเป็นระดับอาวุธได้ เช่น มากกว่า 90% อยู่ในสถานที่ซ่อนเร้น? ผู้นำอิหร่านกำลังเล่นเกมอันตรายอย่างชัดเจนที่ยืนอยู่ตามตัวอักษรของ NPT แต่กำลังสร้างโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์ ที่สามารถใช้สร้างระเบิดได้ในอนาคต [2] ความพยายามโจมตีทางทหารของอิสราเอล อิสราเอลเป็นชาติที่ระเบิดนิวเคลียร์มากถึง 100 - 200 ลูกในปี 2546 ซึ่งมากกว่าฝรั่งเศสและอังกฤษ ระบบการโจมตี ได้แก่ เครื่องบิน F-15 และ F-16 ขีปนาวุธพื้นดิน Jericho และขีปนาวุธ Harpoon จากเรือดำน้ำ นักวิจัยตะวันตกประมาณว่า อิสราเอลมีขีปนาวุธ Harpoon 120 ลูกที่สามารถยิงจากเรือดำน้ำ จึงมีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ต่อชาติอาหรับ 12 ตุลาคม 2546 สำนักข่าว Haaretz อ้างข้อมูลจาก Der Spiegel ฉบับ 10 ตุลาคม 2546 ที่รายงานว่า อิสราเอลเตรียมตัวโจมตีอิหร่านต่อสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศ ตามรายงานนี้กล่าวว่า เจ้าหน้าอิสราเอลกลัวว่า โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้มีการวิจัยในระดับสูง และหน่วยพิเศษ Mossad ได้รับคำสั่งให้จัดทำแผนการโจมตี โรงงานของโครงการอาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่าน ตามรายงาน Mossad เชื่อว่า อิหร่านมีความสามารถผลิตอาวุธระดับ ยูเรเนียม และได้สั่งหน่วยพิเศษเมื่อ 2 เดือนก่อนในเตรียมแผนด้านลึก และรายละเอียดสำหรับการโจมตี นิตยสารได้อ้างคำพูดของนักบินเครื่องบินรบ บอกว่า ภารกิจมีซับซ้อน แต่ทางเทคนิคเป็นไปได้ รายงานได้กล่าวอีกว่า อิสราเอลมีสารสนเทศเกี่ยวกับ โรงงานนิวเคลียร์ 6 แห่งในอิหร่าน ซึ่ง 3 แห่งไม่เคยทราบมาก่อน และแผนเป็นการใช้เครื่องบิน F16 โจมตีโรงงานทุกแห่งพร้อมกัน [3] อิสราเอลเคยทิ้งระเบิดทำลายโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ Osirak ใกล้กรุงแบกแดด ในอิรัก ในปี 2524 ด้วยความกังวลต่อการนำไปพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ จึงไม่น่าแปลกใจถ้าอิสราเอลจะใช้ปฏิบัติการทางทหารกับอิหร่าน ภายหลังการทดลองขีปนาวุธ Shahab-3 พิสัย 1,250 ไมล์ของอิหร่าน Rupert Cornwell ของ The Independent อังกฤษ เสนอบทวิเคราะห์ในเดือนกรกฎาคม 2551 มีความเป็นได้ว่า อิสราเอลอาจจะโจมตีในช่วงปลายปี เนื่องจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Ehud Olmert กำลังเผชิญกับข้อหาคอร์รัปชัน การโจมตีอิหร่านอาจจะเป็นทางออก [4] ปัจจุบัน รัฐบาลของ Benjamin Netanyahu กำลังเผชิญกับท้าทายของประชาชนอิสราเอลอย่างรุนแรง ในเดือนกรกฎาคม 2554 มีการเดินขบวนและชุมนุมที่จัดทั่วประเทศในประเด็นความยุติธรรมของสังคมที่ได้ดึงประชาชนหลายแสนคนมาบนท้องถนนในหลายเมือง มีการชุมนุมและปักหลักตั้งเต็นท์ยืดเยื้อประมาณ 5 สัปดาห์ และยุติลงเนื่องจาก การโจมตี Eilat ทางภาคใต้ของฉนวนกาซา จึงเกรงว่าการตั้งเต็นท์ประท้วงต่อไปอาจจะไม่ปลอดภัย [5] ในเดือนกันยายน ชาวอิสราเอลประมาณ 430,000 คนได้ออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมของสังคม ค่าครองชีพต่ำ และรัฐบาลต้องตอบสนองชัดเจนกับความกังวลที่บีบคั้นชนชั้นกลาง [6] การชุมนุมนี้อาจจะได้รับแรงบันดาลมาจาก “ฤดูใบไม้ผลิในอาหรับ” และ “ฤดูใบไม้ร่วงในชิลี” เพราะแกนการเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่งคือ สหภาพนักศึกษาอิสราเอลแห่งชาติ (National Union of Israeli Students) ด้านสหรัฐมีปฏิบัติการลับยาวนานในการแทรกแซงอิหร่าน โดยเน้นไปที่กลุ่มชาวคูร์ด (Kurds) อัสซูรี่ (Azeris) ซึ่งเป็นเชื้อสายของ มูซาวี่ ผู้สมัครแข่งขันประธานาธิบดีครั้งที่แล้วที่นำการเคลื่อนไหว “เขียว” และบาลูชิส (Baluchis) ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในอิหร่านเพื่อสร้างขบวนการต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน [7] ปฏิบัติการอิหร่านที่ยังไม่เกิดขึ้นมีคำอธิบายว่ามาจากความกังวล “ผลกระทบอิหร่าน” นอม ชอมสกี้ อ้างรายงานการศึกษาของ “ผลกระทบอิหร่าน” โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้าย Peter Bergen และ Paul Cruickshank โดยการใช้ข้อมูลของรัฐบาลและ Rand Corporation การรุกรานอิรักได้นำไปสู่การเพิ่มการก่อการร้าย 7 เท่า “ผลกระทบอิหร่าน” อาจจะผลกระทบมากกว่าและยาวนาน Corelli Barnett นักประวัติศาสตร์การทหารอังกฤษเตือนว่า “การโจมตีอิหร่านจะมีผลทำให้เกิดสงครามโลก” [8] แต่การโจมตีอิหร่านจะทำให้อิหร่านหยุดยั้งการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้จริงหรือ จากรายงานของผู้ตรวจสอบอาวุธอิรักพิเศษของสหประชาชาติ ภายหลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปี 2533 กลับพบหลักฐานว่า ซัดดัม ฮุสเซน ได้มีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างลับๆ ตลอดมา หลังจากอิสราเอลทิ้งระเบิดทำลายโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ในกรณีของอิหร่าน เชื่อว่าไม่สามารถหยุดยั้งได้เช่นกัน ผลต่อเนื่องจากการลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์อิหร่าน สำนักข่าว YNET ของอิสราเอลรายงานว่า อิหร่าน กล่าวหาว่า สหรัฐและอิสราเอลเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารครั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน Ali Akbar Salehi กล่าวว่า ประเทศของเขาได้รับ “เอกสารน่าเชื่อถือที่พิสูจน์ว่าการโจมตีครั้งนี้มีการวางแผน ควบคุม และสนับสนุนโดยซีไอเอ” นอกจากนี้ เขาได้ทำหนังสือประท้วงอย่างเป็นทางการต่อสถานทูตสวิสในอิหร่าน ซึ่งดูแลกิจการสหรัฐในพื้นที่นี้ รวมทั้งกล่าวหาอังกฤษว่ามีส่วนร่วม โดยอ้างว่าการลอบสังหารเกิดขึ้นในช่วงอันสั้น หลังจากอังกฤษประกาศเองว่า “ได้เริ่มต้นปฏิบัติการข่าวกรองต่อต้านอิหร่าน...” ทางด้านสหรัฐ Tommy Vietor โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า สหรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้ นอกจากนี้ Vietor เพิ่มเติมว่า สหรัฐประณามการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ประธานาธิบดีอิสราเอล Shimon Peres ได้ให้ความเห็นกับเหตุการณ์นี้ ผ่าน CNN Spanish ว่า ในการรับรู้ของเขา อิสราเอลไม่เกี่ยวข้องกับการลอบสังหาร [9] สหรัฐเรียกร้องนานาชาติคว่ำบาตรอิหร่านด้านเศรษฐกิจ ด้วยการเลิกซื้อน้ำมันอิหร่าน แต่ประเทศในเอเชีย คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยังไม่มีความกระตือรือร้น ขณะเดียวกัน สหรัฐยังไม่มีการเคลื่อนไหวทางทหารมากนักที่จะก่อสงคราม ขณะนี้มีเพียง เรือบรรทุกเครื่อง 2 ลำ USS Carl Vinson และ USS John Stennis พร้อมเรือสนับสนุนที่ลาดตระเวนบริเวณนั้น และทหารในคูเวต 15,000 นาย ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำสงครามกับอิหร่าน สงครามอิรักในครั้งที่แล้ว สหรัฐใช้ทหารมากถึง 150,000 นาย ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันกลางเห็นว่า อิสราเอลพยายามกระตุ้นให้อิหร่านโกรธและเป็นฝ่ายโจมตีก่อน Robert Baer อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเออาวุโส ผู้ทำงานในตะวันออกกลางนาน 21 ปี ได้พูดในรายการ “Hardball” ของ MSNBC เมื่อคืนวันที่ 12 มกราคม เขาเชื่อว่าอิสราเอลการลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์อิหร่านเป็นความพยายามกระตุ้นอิหร่านให้โจมตีกลับและดึงสหรัฐเข้าสู่สงครามเต็มรูปแบบ ในวันเดียวกัน Baer ได้พูดถึงเรื่องเดียวกันกับ Guardian/UK โดย Baer โต้แย้งว่า ผลกระทบของตัวโครงการนิวเคลียร์เองมีน้อยมาก ไม่น่าจะนำมาสู่เป้าหมายการรณรงค์ลอบสังหาร “นี่เป็นกระตุ้น” เขากล่าวว่า “ทฤษฎีของผมคือ อิสราเอลไม่สามารถทำให้ทำเนียบขาวเห็นด้วยกับการทิ้งระเบิด นี่ไม่ใช่การแทรกแซงน่าพึงพอใจ ดังนั้น อิสราเอลกำลังพยายามกระตุ้นอิหร่านให้เปิดการโจมตีด้วยขีปนาวุธและเริ่มสงคราม” [10] ผลกระทบกับประเทศไทย ประเทศไทย ได้ตอบสนองต่อคำเตือนเรื่องการก่อการร้ายในประเทศไทยของสหรัฐในทันที ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ด้วยการแถลงข่าวจับกุมผู้ก่อการร้ายฮีสบันเลาะห์ ชาวเลบานอน พร้อมกับการขยายผลด้วยการตรวจค้นอาคารเก็บปุ๋ยที่เป็นวัตถุดิบผลิตระเบิด กลุ่มฮีสบันเลาะห์เป็นกลุ่มที่อิหร่านสนับสนุน ปฏิบัติการของกลุ่มย่อมได้รับการประเมินว่าเชื่อมโยงกับอิหร่าน ข่าวการก่อการร้ายในประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐและอิสราเอลแหลมคม เรื่องนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง จึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ประการแรก ชาวเลบานอนไม่ใช่สมาชิกกลุ่มฮิสบันเลาะห์ทุกคน สหรัฐก็มีความสัมพันธ์กับซุนหนี่จิฮัด เลบานอนที่เชื่อมโยงกับอัลกออิด๊ะ (ในรายงานของซีไอเอ) ที่ร่วมมือกันปฏิบัติงานในดินแดนอิหร่านอยู่ด้วยเช่นกัน [11] ถ้าสหรัฐจะส่งกลุ่มนี้มาปฏิบัติการในไทยย่อมเป็นได้เช่นกัน ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อลดความชอบธรรมของอิหร่าน ประการต่อมา การป้องกันตัวจากการก่อการร้ายนั้น ไม่หลักประกันในความสำเร็จ 100% เรายังพบว่าเกิดระเบิดในยุโรปหลายครั้ง ทั้งที่มีการป้องกันเข้มแข็ง สำหรับกรณีนี้ การป้องกันที่ดีคือ รักษาสมดุลท่ามกลางความขัดแย้ง ดังนั้น ท่าทีควรเป็น “เราไม่เคยเป็นศัตรูกับใคร ดังนั้น ไม่ควรจะมีใครจะมาก่อเหตุในประเทศของเรา” ภายใต้สถานการณ์ซับซ้อน รัฐบาลควรจะตอบสนองกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม แม้กระทั่ง จำเลยของอิหร่าน ยังตอบว่า “ไม่เกี่ยวข้อง” ถ้า ร.ต.อ.เฉลิม ต้องการแสดงบทบาทด้านความมั่นคงแล้ว ไม่ควรจะมีบทบาทในสถานการณ์อันซับซ้อนเช่นนี้ แต่ควรแสดงบทบาทด้านความมั่นคงด้านอื่นที่ไม่ซับซ้อน เช่น ตามจับ “พวกหมิ่นสถาบัน” ก็พอแล้ว อ้างอิง [1] Noam Chomsky, \Preemptive War on Iran\"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net