ศาลอียิปต์ตัดสินให้การจับผู้ประท้วง 'ตรวจพรหมจรรย์' มีความผิด

ศาลอียิปต์พิพากษาให้การจับผู้ประท้วง \ตรวจพรหมจรรย์\" ผิดกฏหมายและสั่งห้าม แต่หลายคนยังกังวลเรื่องการเอาผิดกับผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ นักสิทธิฯ เผยการกระทำ \"ตรวจพรหมจรรย์\" ชวนให้จับตาเรื่องความรุนแรงทางเพศต่อสตรีในอียิปต์ สำนักข่าว เดอะ การ์เดียน รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ที่ผ่านมา ศาลอียิปต์ได้ตัดสินว่าการบังคับให้มีการ \"ตรวจพรหมจรรย์\" ในเหล่าผู้ประท้วงเพศหญิงที่ถูกจับกุมตัวนั้น ถือว่ามีความผิดตามกฏหมาย และสั่งให้หยุดการกระทำเช่นนี้ มีนักกิจกรรมหลายร้อยคนเข้าฟังคำตัดสินของศาลในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ อลี เฟกรี กล่าวตัดสินว่า ทหารไม่สามารถทำการ \"ตรวจพรหมจรรย์\" ผู้หญิงที่ถูกกุมขังอยู่ในคุกของทางการทหารได้ หลังจากที่ได้พิจารณาคดีของ ซามีรา อิบราฮิม หนึ่งในเจ็ดสตรีผู้ถูกกระทำหลังจากถูกจับในการประท้วงที่จัตุรัสทาห์เรียเมื่อวันที่ 9 มี.ค. เฟกรี ประธานศาลปกครองของอียิปต์พิพากษาว่า สิ่งที่กระทำต่ออิบราฮิมและสตรีผู้ถูกจับอีก 6 รายนั้นถือเป็นเรื่องผิดกฏหมาย และหากเกิดกรณีที่คล้ายคลึงกันนี้ในอนาคตก็จะถือว่าเป็นเรื่องผิดกฏหมายเช่นเดียวกัน การที่ศาลออกคำสั่งห้ามและพิพากษาให้การ \"ตรวจพรหมจรรย์\" เป็นเรื่องผิดกฏหมาย ถือเป็นการเปิดทางให้กับการเรียกร้องค่าชดเชยในกรณีนี้ หลังจากการพิพากษาคดี อิบราฮิม สตรีวัน 25 ปี ก็โพสท์ข้อความลงในทวิตเตอร์ว่า \"ขอบคุณประชาชนทุกคน ขอบคุณจัตุรัสทาห์เรียที่ทำให้ฉันกล้าสู้ ขอบคุณการปฏิวัติที่สอนให้ฉันมุ่งมั่นต่อสู้\" อิบราฮิมมีอาชีพเป็นผู้จัดการด้านการตลาด เธอบอกว่าเคยถูกข่มขู่เอาชีวิตเมื่อเธอฟ้องร้องในคดีนี้ เธอบอกว่าความยุติธรรมบังเกิดแล้วในวันนี้ การ \"ตรวจพรหมจรรย์\" เป็นอาชญากรรมและขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญที่กล่าวถึงเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชาย และเธอจะไม่ยอมสูญเสียสิทธิในความเป็นสตรีหรือความเป็นมนุษย์ไป อิบราฮิมบอกว่า การที่เธอถูกกระทำโดยการ \"ตรวจพรหมจรรย์\" นั้นเป็นการจงใจทำลายภาพลักษณ์ของผู้ประท้วง \"ทหารทรมานฉัน ใส่ความว่าฉันเป็นหญิงขายบริการ และเหยียดหยามศักดิ์ศรีฉันด้วยการบังคับให้ฉันตรวจพรหมจรรย์ โดยการให้หมอผู้ชายเป็นคนตรวจ ฉันต้องเปลือยหมดทั้งตัวในขณะที่ทหารยังคงจ้องมองฉันอยู่\" หลังจากการดำเนินคดีในศาลจบลงแล้ว ตัวเธอและคนอื่นๆ รวมถึง โบไทนา คาเมล ผู้ลงสมัครเลือกตั้งปธน.และอดีตผู้ประกาศข่าวต่างก็เดินขบวนไปที่จัตุรัสทาห์เรีย ต่อมามีคนถ่ายภาพอิบราฮิมเอาไว้ได้ที่สะพาน คาเซอ เอล นิล ในขณะที่เธอชูนิ้วแสดงชัยชนะ อมีรา โนไวรา นักวิชาการและคอลัมนิสต์ชาวอียิปต์ กล่าวว่า \"ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องการตรวจพรหมจรรย์มาก่อน เป็นเรื่องดีที่ศาลสั่งห้ามการกระทำดังกล่าว ต้องมีคนถูกดำเนินคดีในกรณีนี้แต่ก็ยากในกระบวนการเอาผิด ใครกันที่เป็นผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบสูงสุดในเรื่องนี้\" \"ก่อนหน้านี้ทางทหารปฏิเสธว่าพวกเขาไม่ได้กระทำการตรวจพรหมจรรย์ จากนั้นพวกเขาก็บอกว่ามันเป็นกระบวนการโดยทั่วไปและมีข้อแก้ตัวมากมายเพื่อหาข้ออ้างในการกระทำ\" อมีรากล่าว ทหารโบ้ยให้แพทย์ที่ทำการตรวจเป็น 'แพะรับบาป' ? นายพล อาเดล มอร์ซี ประธานศาลทหาร กล่าวในหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลบอกว่า การตัดสินของศาลไม่สามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากไม่มีกฏหมายเกี่ยวกับเรือนจำของทหารในข้อใดที่ระบุห้ามการตรวจพรหมจรรย์ โดยอิบราฮิมจะต้องกลับมาขึ้นศาลอีกในเดือน ก.พ. ปีหน้าเพื่อยื่นอุทธรณ์ต่อศาลในข้อหาหมิ่นเจ้าพนักงานและเข้าร่วมการชุมนุมที่ไม่ได้รับอนุญาตในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา มีการประกาศว่า แพทย์ทหารที่กระทำการตรวจพรหมจรรย์จะต้องมารายงานตัวต่อศาลทหารภายในวันที่ 3 ม.ค. ปีหน้า เขาถูกตั้งข้อหากระทำอนาจารในที่สาธารณะและขัดคำสั่งกองทัพ แต่ไม่มีข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ ฮอสซัม บาห์กัด ประธานองค์กรเพื่อสิทธิส่วนบุคคลของอียิปต์ (EIPR) ให้ความเห็นต่อกรณีนี้ว่า การเรียกแพทย์มาสอบสวนถือเป็นการกระทำที่แสดงความไม่จริงใจของทหาร เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นการทารุณกรรมและการล่วงละเมิดทางเพศ \"แพทย์ทหารถูกจับเป็นแพะรับบาปเท่านั้น เนื่องจากทหารเหล่านี้แค่ปฏิบัติตามคำสั่ง และสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ต้องขังเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจในเรือนจำต้องรับผิดชอบ\" ฮอสซัมกล่าว นักกิจกรรมเผยการตรวจพรหมจรรย์ชี้ให้เห็นความรุนแรงทางเพศในชีวิตประจำวัน อิบราฮิม เคยเล่าถึงเหตุการณ์นี้ในคำให้การต่อองค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ว่า มีทหาร 2 นายเข้ามาในคุกที่มีผู้หญิงถูกขังรวมอยู่ แล้วถามว่ามีใครที่แต่งงานแล้วบ้าง จากนั้นก็บอกพวกเขาว่าจะมีการตรวจพรหมจรรย์เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเธอไม่ได้โกหก \"พวกเขานำตัวเราออกไปทีละคน ... พวกเขาพาฉันไปที่เตียงตรงทางเดินหน้าห้องขัง มีทหารอยู่แถวนั้นเป็นจำนวนมากและพวกเขาก็มองเห็นฉันได้\" \"ฉันขอร้องให้ทหารออกไปจากตรงนั้นได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่ที่นำตัวฉันไปก็เยอะเย้ยฉัน\" \"มีพัสดีผู้หญิงในชุดนอกเครื่องแบบยืนอยู่ที่หัวฉัน จากนั้นก็มีชายในชุดทหารมาสำรวจฉันโดยใช้มือเป็นเวลาหลายนาที มันเจ็บ เขาก็ใช้เวลาค่อยๆ ทำไป\" คดีนี้ถูกนำขึ้นศาลครั้งแรกใน ศาลสาขาที่ 1 ซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาคดีด้านสิทธิเสรีภาพ ผู้ฟ้องร้องคดีนี้คือกลุ่มสิทธิมนุษยชนสามกลุ่มได้แก่ กลุ่ม EIPR

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท