Skip to main content
sharethis

เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อธิบายลักษณะสิ่งที่เรียกว่า “เอ็นจีโอ/ประชาสังคม” ในไทย พร้อมชี้ให้เห็นข้อจำกัด และอธิบายว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะเปลี่ยนแปลงประชาสังคมแบบไทยๆ ไปสู่ “ไม้เกี๊ยะ” ของการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมาที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการเสวนาหัวข้อ \6 ทศวรรษ กับการเปลี่ยนแปลงในสังคมท้องถิ่นล้านนา\" เนื่อง ในโอกาสเกษียณอายุราชการ ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง โดยในช่วงหนึ่งมีการอภิปรายโดย ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้อภิปรายถึงลักษณะของ “ประชาสังคมไทย” โดยมีรายละเอียดการอภิปรายต่อไปนี้ 000 การอภิปรายโดยเวียงรัฐ เนติโพธิ์ เมื่อ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาัลัยเชียงใหม่ ในงาน \"6 ทศวรรษ กับการเปลี่ยนแปลงในสังคมท้องถิ่นล้านนา\" เวียงรัฐ เนติโพธิ์ \"ประการสำคัญที่ทำให้ (ประชาสังคมไทย) แตกต่างจาก Civil Society ของตะวันตก คือ ต้นทุนทางสังคมของประชาสังคมของไทย เป็นต้นทุนทางสังคมที่ผูกพันกับลักษณะเครือญาติและลักษณะพรรคพวก หรือ Family and Kinship ที่ลักษณะของ ฝรั่งเรียกว่า “Backward Society” ที่เป็นสังคมก่อนสมัยใหม่ และเอา Element นี้มาใช้รวมคน มันไม่ใช่รวมกันในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมหนึ่งที่จะรวมกันเพื่อปกป้อง สิทธิทางการเมืองของตัวเอง แต่เป็นการรวมกันในเครือข่ายแบบเครือญาติ พรรคพวก เพราะมีความเป็นไทยปนอยู่ด้วย ซึ่งไม่แตกต่างจาก Hegemony หลักของรัฐนิยม หรือราชาชาตินิยมของไทย\" การอภิปรายในวันนี้จะพยายามอธิบายเอ็นจีโอว่าเป็นอย่างไรในฐานะนักรัฐศาสตร์ และ จะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในอายุราชการของอาจารย์ธเนศวร์ (เจริญเมือง) ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Civil Society แบบใหม่ ที่เป็นการเมือง และการเปลี่ยนแปลงนั้นได้นำไปสู่อะไร หรือเป็นไม้เกี๊ยะของการปฏิวัติอย่างไร ซึ่งขอออกตัวว่าอาจจะพูดให้ดูง่าย และสองอาจจะ Stereotype เหมารวม เอ็นจีโอมีความหลากหลาย วิธีคิดแบบปฏิวัติมีความหลากหลาย นิยามของ Civil Society มีความหลากหลายการศึกษาหลายเรื่อง อาจจะขอข้ามไปหรือไม่ได้ทบทวน โดยจะถือว่าพูดในฐานะที่มาจุดประกายทางความคิด 000 มายาภาพของประชาสังคม ‘ไทยๆ’ จากคนนอกที่มองคำว่าประชาสังคม อาจจะมีปัญหานิดหน่อย การพูดในวันนี้ขอใช้คำว่า \"Civil Society\" คือส่วนรวมนอกภาครัฐ ที่ไม่ใช่อยู่ในภาครัฐ ซึ่งอาจารย์อัจฉราอธิบายว่าตอนนี้องค์กรนอกภาครัฐ กำลังจะไปรวมกับภาครัฐ หรือองค์กรที่ต่อต้านภาครัฐ จะเป็น Civil Society หรือไม่ องค์กรที่มีการใช้ความรุนแรงจะเป็น Uncivil Society เป็นองค์กรของการปฏิวัติหรือไม่ จะไม่ขอแจกแจง คำว่า Civil Society ที่ใช้ในเมืองไทย มีการใช้มาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ 1990 และต่อเนื่องมาในทศวรรษที่ 2000 ต้นๆ มันมีพลังในการอธิบายการเคลื่อนไหวและเครือข่ายของเอ็นจีโอ Civil Society ไม่เคยรวม อสม. เครือข่ายแม่บ้าน หัวคะแนน นักปฏิวัติที่ซ่อนเร้นที่สักวันหนึ่งอาจลุกขึ้นมาทำการปฏิวัติ ไม่เคยรวมพวกที่มีจิตใจฝักใฝ่ชาตินิยมทั้งชาตินิยมแบบราชาชาตินิยม และแบบไม่ราชาชาตินิยม คำว่า \"ประชาสังคม\" ที่ใช้ในเมืองไทย จึงไม่รวมนิยามพวกนี้ จึงทำให้ตกหล่นไป แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ประชาสังคมที่มีพลังในสังคมไทย หมายถึงอะไรบ้าง ดิฉันคิดว่า หลักๆ เลยหมายถึง เอ็นจีโอ และกิจกรรมของเอ็นจีโอ จากการสังเกต ปฏิบัติการของเอ็นจีโอ มีลักษณะเป็นเครือข่ายที่ทำกับผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ไม่ใช่เครือข่ายที่ทำกับประชาชนกับประชาชน แต่เป็นเครือข่ายที่ผู้ปฏิบัติงานในภาคเหนือจะร่วมมือกับเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานในภาคอีสาน เครือข่ายเอ็นจีโอภาคใต้ ในรูปแบบต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดังนั้นเราจึงมี \"ผู้ใหญ่เอ็นจีโอ\" คือคนที่สามารถประสานรวมเอาเอ็นจีโอเชียงใหม่ไปคุยกับเอ็นจีโออีสาน ไปคุยกับเอ็นจีโอทางใต้ได้ ข้อสังเกตก็คือ แกนนำหรือคนที่มีบทบาทในเอ็นจีโอ ในเกือบทุกองค์กรคือคนเดือนตุลา ทั้ง 14 ตุลา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net