Skip to main content
sharethis

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน รายงานสถานการณ์เสรีภาพและสวัสดิภาพของสื่อมวลชนทั่วโลกในปี 2011 พบสื่อถูกสังหารเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 16 เปอร์เซ็นต์ มีการปิดกั้นสื่อ 499 แห่ง และกว่า 68 ประเทศทั่วโลกมีการวางมาตรการปิดกั้นข่าวสาร พร้อมจัดอันดับ 10 พื้นที่อันตรายสำหรับสื่อมวลชน ตัวเลขของสื่อ บล็อกเกอร์และประชาชนที่ใช้อินเตอร์เน็ตซึ่งถูกคุกคามในปีที่ผ่านมา มีดังนี้ ผู้สื่อข่าวถูกสังหาร 66 ราย ( สูงขึ้น 16% จากปี 2010) ผู้สื่อข่าว 1,044 รายถูกจับกุม ผู้สื่อข่าว 1,959 ถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกคุกคาม สื่อ 499 แห่งถูกเซ็นเซอร์ ผู้สื่อข่าว 71 รายถูกลักพาตัว ผู้สื่อข่าว 73 รายต้องหนีออกนอกประเทศ พลเมืองออนไลน์ถูกสังหาร 5 ราย บล็อกเกอร์และพลเมืองออนไลน์ 199 ถูกจับ บล็อกเกอร์และพลเมืองออนไลน์ถูกทำร้ายร่างกาย 62 ราย 68 ประเทศทั่วโลก มีการออกมาตรการเซ็นเซอร์ ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า ปี 2011 เป็นปีที่หนักหน่วงสำหรับเสรีภาพสื่อ ปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” เป็นจุดศูนย์กลางความสนใจ ซึ่งตัวเลขผู้สื่อข่าวที่ถูกสังหารไปทั้งสิ้น 66 รายในปีที่ผ่านมานั้น มี 20 รายที่ถูกสังหารในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2010 ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวที่ถูกสังหารในตะวันออกกลางมีจำนวนเท่ากับที่ถูกสังหารในละตินอเมริกา ปากีสถาน เป็นประเทศที่มีผู้สื่อข่าวถูกสังหารถึง 10 รายในปีที่ผ่านมา ขณะที่ จีน อิหร่าน และเอริเทรีย (ทางตอนเหนือของแอฟริกาตะวันออก) ก็กำลังเป็นคุกขนาดใหญ่ของสื่อ ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนรวบรวมสถิติการคุกคามสื่อในรูปแบบต่างๆ ตามแต่ละภูมิภาคของโลกดังนี้ ภูมิภาค ถูกสังหาร ถูกจับ/ถูกควบคุมตัว ถูกคุกคาม/ทำร้าย ถูกปิดกั้น ถูกลักพาตัว อเมริกา 18 121 513 154 2 ตะวันออกกลาง 20 252 553 79 20 แอฟริกา 9 253 245 95 3 เอเชีย 17 119 347 93 34 ยุโรป 2 299 301 78 2 รวม 66 1044 1959 499 71 ปรากฏการณ์การอาหรับสปริงนั้นมีผลสร้างแรงบันดาลใจให้กับประเทศใกล้gคียงเช่น อาเซอร์ไบจัน ซูดาน รวมถึงการประท้วงบนท้องถนนที่เกิดขึ้นในหลายแห่งทั่งโลกเช่น กรีซ เบลารุส อูกานดา ชิลี และสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้มีผู้สื่อข่าวถูกจับกุมมากขึ้น คือ จากเดิมที่มีผู้ถูกจับกุม 535 คนในปี 2010 ก็เพิ่มขึ้นเป็น 1044 คน ในปี 2011 และมีผู้สื่อข่าวจำนวนมากถูกกีดขวางทางกายภาพด้วยเหตุที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เช่น ถูกกักขังในระยะสั้นๆ หรือถูกสอบปากคำ สถานการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลที่จะยับยั้งข้อมูลข่าวสาร เมื่อเทียบกับปี 2010 ผู้สื่อข่าวถูกทำร้ายร่างกายมากขึ้นถึง 43 เปอร์เซ็นต์ และพลเมืองอินเตอร์เน็ตถูกจับมากขึ้น 31 เปอร์เซ็นต์ โดยพลเมืองเน็ตที่เป็นเป้าหมายของการจับกุมก็คือคนที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเรียกร้องบนท้องถนนในขณะที่สื่อถูกปิดกั้นข่าวสารเหล่านั้น ประชาชนที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องบนท้องถนนถูกฆ่าตายไป 5 คนในปีที่ผ่านมา โดย 3 ใน 5 ถูกฆ่าตายในเม็กซิโก ตารางเปรียบเทียบการเพิ่ม-ลด ของการคุกคามสื่อในปี 2010 กับ 2011 ปี 2010 ปี 2011 เปรียบเทียบ (เพิ่ม-ลด) ผู้สื่อข่าวถูกฆ่า 57 66 +16 % ผู้สื่อข่าวถูกจับกุม 535 1044 +95 % ผู้สื่อข่าวถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกคุกคาม 1374 1,959 +43 % สื่อถูกเซ็นเซอร์ 504 499 -1 % ผู้สื่อข่าวถูกลักพาตัว 51 71 +39 พลเมืองออนไลน์ถูกสังหาร 1 5 บล็อกเกอร์และพลเมืองออนไลน์ถูกจับ 152 199 +31 % บล็อกเกอร์ถูกทำร้ายร่างกาย 52 62 +19 % ประเทศที่มีการเซ็นเซอร์ข่าวสาร 62 68 +10 % สำหรับพื้นที่อันตรายสำหรับสื่อมวลชนในปีที่ผ่านมา เรียงลำดับตามตัวอักษรของชื่อประเทศมีดังนี้ มานามา, บาห์เรน (Manama, Bahrain) รัฐบาลบาห์เรนทำทุกวิถีทางที่จะป้องกันไม่ให้นานาประเทศรับรู้เกี่ยวกับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในเมือมานามา เมืองหลวง โดยปฏิเสธให้สื่อมวลชนต่างชาติเข้าไปทำข่าว รวมถึงการคุกคามและทำร้ายร่างกายสื่อมวลชนต่างชาติ ขณะที่สื่อมวลชนโดยเฉพาะช่างภาพชาวบาร์เรนถูกคุมขังเป็นเวลาหลายชั่วโมงไปจนถึงหลายสัปดาห์ มีบล็อกเกอร์รายหนึ่งยังคงถูกจำคุกโดยศาลทหาร อาบิดจัน, ไอวอรี่ โคสต์ (Abidjan, Côte d’Ivoire) อาบิดจัน และเมืองรอบข้างล้วนกลายเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับสื่อในช่วงครึ่งปีแรก สื่อมวลชนต้องเผชิญการสอบสวนที่มีการใช้กำลัง หรือการทำร้ายร่างกาย สำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์แห่งชาติเป็นเป้าในการโจมตีทางอากาศ ในเดือนพฤษภาคม ผู้ประกาศของสถานีวิทยุกลายเป็นเหยื่อของการฆาตกรรมที่ไม่มีการลงโทษผู้กระทำผิด โดยผู้กระทำผิดคือเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพ การปะทะกันระหว่างกองกำลังที่สนับสนุนผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสองฝ่าย คือ โลรองท์ บากโบ กับอลัสซาน อูอัตทารานั้นส่งผลอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของผู้สื่อข่าว จัตุรัสตาฮีร์, กรุงไคโร, อียิปต์ (Cairo’s Tahrir Square, Egypt) ฝ่านเรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งสามารถโค่นฮอสนี มูบารักลงจากอำนาจได้ในที่สุดเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่ผ่านมานัน เริมต้นขึ้นในปลายเดือนมกราคมที่จัตุรัสตาฮีร์ สื่อมวลชนต่างชาติถูกทำร้ายอย่างเป็นระบบในเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากการรณงรงค์ต่อต้านสื่อมวลชนต่างชาติในระหว่างวันที่ 2-5 ก.พ. มีรายงานเหตุรุนแรงเกิดขึ้นกว่า 200 ครั้งสื่อมวลชนท้องถิ่นก็กลายเป็นเป้าหมายด้วย เหตุการณ์คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นอีกใน 6 เดือนให้หลัง คือช่วงวันที่ 19-28 พ.ย. และวันที่ 17-18 ธ.ค. ในระหว่างการการปราบปรามการชุมนุมรอบใหม่ซึ่งเรียกร้องให้สภาสูงสุดของกองทัพอียิปต์ลาออก มิสราตา, ลิเบีย (Misrata, Libya) หลังจากที่กลุ่มผู้ต่อต้านกัดดาฟีเข้ายึดเมืองมิสราตา ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเมืองใหญ่ของลิเบียได้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้สื่อข่าวตกอยู่ในความเสี่ยงของภาวะสงคราม ผู้สื่อข่าวสองคนเสียชีวิตในเมืองมิสราตา ในปีที่ผ่านมา โดยจำนวนผู้สื่อข่าวที่เสียชีวิตในลิเบียในปีที่ผ่านมามีทั้งหมด 5 คน เวอราครูซ, เม็กซิโก (Veracruz state, Mexico) เวอราครูซ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนอ่าวแม็กซิโก และเป็นศูฯย์กลางของอาชญากรรมนานาชนิด ตั้งแต่การค้ายา ค้ามนุษย์ ไปจนถึงค้าน้ำมันเถื่อน ในปีที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวสามรายถูกสังหาร 10 รายหนีออกจากประเทศ เนื่องจากการภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐเพิกเฉยหรือบางครั้งก็เป็นผู้ร่วมกระทำการคุกคามเสียเอง กุซดาร์, ปากีสถาน (Khuzdar, Pakistan) ผู้สื่อข่าวจำนวนมากถูกคุกคามและสังหารในเมืองกุซดาร์ และมีการคุกคามสื่อที่รุนแรงในพื้นที่นี้ โดยผู้สื่อข่าวนั้นอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างกองทัพของปากีสถานกับกองกำลังแบ่งแยกดินแดน กรณีล่าสุดคือ จาเว็ด นาซีร์ ริน อดีตผู้ช่วยบรรณาธิการของ เตวาร์ เดลี ซึ่งถูกพบศพเมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา หลังถูกลักพาตัวไปกว่า 3 เดือน ขณะที่กลุ่มต่อต้านการแบ่งแยกดินแดนที่เรียกตัวเองว่า บัลเลาะห์ มัสซาลาห์ เดฟา เผยรายชื่อสื่อมวลชน 4 รายที่เป็นเป้าหมายการสังหารเมื่อปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา มะนิลา, เซบู, คากายัน เดอ โอโร่, ฟิลิปปินส์ (The Manila, Cebu and Cagayan de Oro metropolitan areas on the islands of Luzon and Mindanao, Philippines) การสังหารและการทำร้ายร่างกายผู้สื่อข่าวในประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นใน 3 เมืองดังกล่าว โดยผู้ก่ออาชญากรรมนั้นคือกองกำลังส่วนบุคคลของนักการเมืองท้องถิ่นและกองกำลังทหาร รัฐบาลที่เพิ่งเข้ามาบริหารในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็ไม่ได้แสดงท่าทีที่น่าพึงพอใจใดๆ ต่อกรณีที่เกิดขึ้น กลุ่มกองกำลังต่างๆ ยังคงไม่ได้รับการลงโทษ เหล่านี้เป็นผลของการคอร์รัปชั่น ความเชื่อมโยงระหว่างนักการเมืองและการก่ออาชญากรรม และระบบยุติธรรมที่ไม่เป็นอิสระเพียงพอ โมกาดิชู, โซมาเลีย (Mogadishu, Somalia) โมกาดิชูเป็นเมืองแห่งความตายของผู้สื่อข่าว ซึ่งอาจจะเสียชีวิตได้จากระเบิด หรือการกราดยิง รวมไปถึงการที่สื่อออนไลน์ตกเป็นเป้าของกองกำลังทหาร ผู้สื่อข่าว 3 รายเสียชีวิตในโมกาดิชูในเดือน สิงหาคม ตุลาคม และธันวาคมตามลำดับ ช่างภาพชาวมาเลเซียถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสในเดือนกันยายนขณะที่เข้าไปในพื้นที่พร้อมกับเอ็นจีโอมาเลเซียเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เดราห์, ฮอมส์ และดามัสกัส, ประเทศซีเรีย (Deraa, Homs and Damascus, Syria) เดราห์ และฮอม เป็นสองศูนย์กลางการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด พื้นที่ทั้งสองนี้และเมืองดามัสกัดเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับสื่อมวลชนในปีที่ผ่านมา รัฐบาลของอัล อัสซาด ปิดกั้นข่าวอย่างเบ็ดเสร็จ ปฏิเสธการออกวีซาให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศและเนรเทศผู้สื่อข่าวต่างประเทศ คลิปวิดีโอการประท้วงของฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยนั้นถูกถ่ายและเผยแพร่โดยประชาชนธรรมดา ซึ่งการทำเช่นนั้นก็เสี่ยงภัยต่อชีวิตเช่นเดียวกัน หลายคนถูกจับกุม ลักพาตัว ทำร้ายและทารุณกรรม กองทัพไซเบอร์ถูกนำมาใช้เพื่อคุกคามสื่อมวลชน ความรุนแรงต่อร่างกายกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ บล็อกเกอร์และผู้สื่อข่าวจำนวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ คาดว่าขณะนี้มีผู้สื่อข่าวที่ถูกคุมขังอยู่ราว 30 คน จัตุรัสแห่งการเปลี่ยนแปลง เมืองซานา, เยเมน (Sanaa’s Change Square, Yemen) จัตุรัสแห่งการเปลี่ยนแปลง ในเมืองซานา ประเทศเยเมนเป็นศูนย์กลางการประท้วงต่อต้านประธ่นาธิดี อาลีอับดุลาห์ ชาเลห์ และกลายเป็นพื้นที่ของความรุนแรงและการละเมิดผู้สื่อข่าวด้วย มีผู้สื่อข่าว 2 คนเสียชีวิตขณะทำข่าวการประท้วงที่มีการเหตุปะทะกับกองกำลังทหารหลายครั้ง มีการใช้กำลังกับผู้สื่อข่าว ยึดอุปกรณ์การทำงาน ลักพาตัว ทำลายออฟฟิศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการใช้ความรุนแรงต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ ที่มา: The 10 most dangerous places for journalists

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net