Skip to main content
sharethis

ปัง ปัง ปัง... ! สิ้นเสียงปืนรัว ร่างครูก็ร่วงลงกองบนพื้น รถยนต์มีแต่รูพรุน ผู้บาดเจ็บร้องโอดโอย กลุ่มชายฉกรรจ์ในเครื่องแบบผู้ลั่นไก ก็หนีไป ไม่ทันเจ้าหน้าที่ตัวจริงจะมาถึง ชาวบ้านก็ช่วยประคองร่างเหยื่อส่งโรงพยาบาลไปแล้ว จากนั้นก็เป็นภารกิจของหลายหน่วยงาน ส่วนพวกเพื่อนครูและนักเรียนเรียนก็ขวัญผวาตามๆ กันไป ภาพความโกลาหลเช่นนี้ มีมาตลอด 7 ปีต่อเนื่องกันของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยครูตกเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ถูกหมายเอาชีวิต แต่ครูก็ยังต้องอยู่ในพื้นที่ต่อไป เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นกับครู เกิดขึ้นเมื่อช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านละหาน ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส 11 คน ถูกกลุ่มคนร้ายดักยิงถล่มด้วยอาวุธสงครามบริเวณสามแยกเปาะลามะ หมู่ที่ 2 ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ ขณะเดินทางกลับบ้านด้วยรถยนต์ 2 คัน ครั้งนี้ มีครูได้รับบาดเจ็บ 5 คน สาหัส 3 ราย หนึ่งในนั่น คือ นายสิทธิชัย วรรณจิตจรูญ อายุ 51 ปี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านละหาน วันรุ่งขึ้น โรงเรียนบ้านละหานประกาศหยุดสอนทันที 1 วัน ตามมาด้วยกลุ่มโรงเรียนสุวารี-สามัคคีรวม 8 โรงเรียนประกาศหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวเป็นเวลา 10 วัน หรือจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 ขณะที่นายฮานาปี แวมิง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดือแลหะยี ตำบลสุวารี ในฐานะประธานกลุ่มโรงเรียนสุวารี-สามัคคี พร้อมผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูในอำเภอรือเสาะ 40 โรงเรียน ประมาณ 300 คน รวมกันตัวกันที่อาคารชมรมข้าราชการผู้สูงวัยอำเภอรือเสาะเพื่อหารือมาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ส่วนพล.ต.สุภัช วิชิตการ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (รอง ผอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้เรียกตัวแทนครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ที่อาคารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี กระทั่งได้ข้อสรุป 6 ข้อ โดยมีข้อสำคัญ คือ ในช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมามีการถอนกำลังหน่วยพัฒนาสันติออกจากพื้นที่อำเภอรือเสาะ ถึง 19 หน่วย ทำให้มีกำลังทหารไม่พอสำหรับการดำเนินแผนรักษาความปลอดภัยครู โดยเหตุผลหนึ่งของการการถอนกำลังทหารออกจากบริเวณโรงเรียนตั้งแต่เปิดเทอม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นมา คือ ไม่ต้องการให้นักเรียนเห็นเจ้าหน้าที่ถืออาวุธสงคราม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า จึงจะเพิ่มกำลังทหารพรานอีก 1 กองร้อยในพื้นที่อำเภอรือเสาะ ทำหน้าที่นำหน้าขบวนครูทั้งไปและกลับจากโรงเรียนทั้ง 44 โรงเรียนในอำเภอรือเสาะ ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 นายบุญสม ทองศรีพลาย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการการรักษาความปลอดภัยครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สวัสดิการที่เหมาะสมเพื่อให้ครูอยู่ในพื้นที่ต่อไป และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลผ่าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ประชุมแผนวางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตลอดก่อนเปิดภาคเรียนทุกครั้ง และมีการประชุมร่วมกับแม่ทัพภาคที่ 4 เดือนละ 1 ครั้ง เรื่องมาตรการคุ้มครองครูด้วย นายบุญสม ระบุว่า ทุกครั้งที่เกิดเหตุใหญ่ๆ ครูรู้สึกขวัญผวาเช่นกัน ไม่เฉพาะเหตุที่เกิดกับครูอย่างเดียว เช่น เหตุปะทะจะมีผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงต้องแจ้งเตือนครูด้วย เพราะมักจะตามมาด้วยการก่อเหตุกับครู แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้ครูก็ยังต้องอยู่ในพื้นที่ ด้วยอุดมการณ์ของความเป็นครู ทำไมยังทำร้ายครู ถามว่า ทำไมกลุ่มก่อความไม่สงบถึงยังต้อทำร้ายครู นายบุญสม ระบุว่า มี 4 ประเด็น คือ ขบวนการก่อความไม่สงบไม่สามารถกระทำต่อเป้าหมายหลัก คือ ทหารและตำรวจได้มากนัก จึงเลือกเป้าหมายที่อ่อนแอกว่า นั่นคือครู ในฐานะที่เป็นคนของรัฐเช่นกัน ประเด็นที่ 2 ครูเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ การทำร้ายครูเปรียบเสมือนการทำลายรัฐ เพราะครูเป็นบุคลากรทางศึกษา ประเทศจะเจริญได้ ประชากรก็ต้องมีการศึกษา ดังนั้นการทำร้ายครู คือ การทำลายความเจริญของรัฐ ประเด็นที่ 3 เป็นความขัดแย้งส่วนบุคคล และประเด็นสุดท้าย คือ การทำร้ายครู สามารถสร้างภาพความเลวร้ายแรงและน่ากลัวได้มาก ขณะที่นักวิชาการอย่าง ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานีวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อไม่นานมานี้ ได้กล่าวถึง “ชุดของความรุนแรง” ที่มักจะเริ่มด้วยการฆ่าครู จากนั้นตามมาด้วยเหตุการณ์อื่นๆ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ มองว่า ครูโรงเรียนสามัญ โดยเฉพาะครูไทยพุทธเปรียบเสมือนสัญลักษณ์และตัวแทนความเป็นรัฐไทย การยิงครู เป็นการทำลายตัวแทนรัฐไทยที่นำนโยบายรัฐไทยมาทำลายสังคมมลายู การฆ่าครูเป็นการเร่งสถานการณ์ให้เป็นกระแสข่าว ให้มีการเร่งเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับขบวนการ สอดคล้องกับที่นายสงวน อินทร์รักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในฐานะประธานอนุกรรมการเฉพากิจภาคใต้ประจำจังหวัดนราธิวาส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตั้งคำถามเวทีสาธารณะ วาระประชาชน : ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ห้องห้องประชุมอาคารวิทยนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2554 ว่า ครูถูกฆ่าเพราะอะไร ความจริงถ้าจะฆ่าครูวันหนึ่งเป็นร้อยคนก็ได้ ทำไมเขาต้องฆ่าทีละคน ถามว่าทำไมวันนี้ ต้องฆ่าประชาชน วันนี้ฆ่าครู วันนี้ระเบิดทหาร วันนี้ฆ่าพระ ต้องวิเคราะห์ให้ได้ คนไม่หวังดีต้องการอะไร “ผมเชื่อว่า คนไม่หวังดีมี 10% อีก 90% เป็นคนที่ต้องการความสงบ เพราะคน 90% ต้องผลักดัน ต้องเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐให้ได้ หลายคนบอกผู้นำในรัฐว่า เจรจากันเถอะ เจรจากันเถอะ วันนี้ตำรวจและผู้นำบอกว่า ไม่รู้จะเจรจากับใคร ผมไม่เชื่อ” คือคำยืนยันของนายสงวน ขณะที่ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 บอกว่า เชื่อว่ากลุ่มก่อความไม่สงบยิงครูเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจา แต่ไม่มีผลเพราะมวลชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการทำร้ายครูและผู้บริสุทธิ์ ส่วนในมุมมองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติอย่าง พ.อ.วิชา สิงห์สุรศักดิ์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ(ฉก.)ปัตตานี มองว่า เพราะภาพเหตุการณ์ที่เกิดกับครูทำให้สื่อมวลชนสนใจและให้ความสำคัญทันที ต่างจากชาวบ้านทั่วไป “เมื่อครูถูกทำร้าย สื่อมวลชนก็จะวิเคราะห์ถึงความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐตกต่ำ เพราะรัฐดูแลบุคคลทางการศึกษาไม่ดี ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านี้ได้ เป็นเหตุผลที่ครูตกเป็นเป้าหมายของเหตุการณ์ องค์กรครูต่างๆ เกิดความไม่พอใจและเกิดการประท้วงตามมา” ถึงกระนั้น พ.อ.วิชา ก็ยังระบุ บางเหตุการณ์ที่เกิดกับครู อาจมาจากปัญหาส่วนตัวของครูอยู่ด้วย โชคดีที่เหตุลอบยิงคณะครูครั้งล่าสุด ไม่ได้เพิ่มสถิติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบอยู่ที่ 149 ราย เชื่อว่าคงไม่มีใครต้องการเช่นนั้น เมื่อเสียงปืนสงบลงไปสิ้น ความโศกเศร้าเสียใจก็คงมลายหายไปด้วย แต่ครูก็ยังอยู่ในชายแดนใต้ ฉก.ปัตตานี เปิดมาตรการคุ้มครองครู พ.อ.วิชา สิงห์สุรศักดิ์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ(ฉก.)ปัตตานี อธิบายถึงการรักษาความปลอดภัยครู ดังนี้ “การรักษาความปลอดภัยครู เป็นหน้าที่ที่ต้องเน้นเป็นพิเศษกว่าการดูแลรักษาความปลอดภัยคนทั่วไป เริ่มจากขั้นเตรียมการ ได้แก่ การสำรวจจำนวนครูในพื้นที่ก่อนว่ามีกี่คน โดยจัดทำบัญชีชื่อครูและที่อยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องทราบ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ได้แก่ เส้นทางที่ใช้เดินทางและยานพาหนะที่ใช้ในกาเดินทาง เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว จะมีการประชุม 4 ฝ่าย คือทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองและครู เพื่อกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ทุกฝ่ายพอใจและรับได้ จากนั้นจะทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกัน โดยมีการแบ่งเขตรับผิดชอบให้แต่ละหน่วยกำลังให้ดูแล เช่น ฉก.ปัตตานี 21 รับผิดชอบเขตอำเภอยะรังและอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ฉก.ปัตตานี 22 รับผิดชอบเขตอำเภอปะนาเระและอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นต้น จากนั้นจะมีการซ้อมแผนเผชิญเหตุ ทั้งระหว่างการเดินทางและระหว่างครูกำลังสอน มาถึงขั้นปฏิบัติ สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่ต้องทำคือ ทำพื้นที่ให้ปลอดภัยก่อน ได้แก่ ตรวจสอบเส้นทาง โดยการเดินลาดตระเวน หากเป็นพื้นที่อันตรายเจ้าหน้าที่จะเข้ารักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง หลังจากส่งครูถึงที่หมายแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะเข้าประจำที่จุดตรวจ ระหว่างครูสอนอยู่ จะมีเจ้าหน้าที่จะเข้าไปพบปะกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสานสัมพันธ์และหาข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนอยู่ตลอดเวลา โดยมีกองกำลังประชาชน เช่น ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อาสาสมัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (อรบ.) ร่วมรักษาความปลอดภัยด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจนครบรอบของการปฏิบัติงานแล้ว จะเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อไป สิ่งที่เป็นปัญหา คือ เนื่องจากมีเส้นทางอยู่มาก การเฝ้าระวังอาจไม่เพียงพอ ทำให้คนร้ายสามารถก่อเหตุกับครูได้ ข้อสำคัญของบันทึกความเข้าใจคือ เมื่อครูจะไปไหนต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปคุ้มครอง แต่ส่วนใหญ่ครูหรือบุคลากรบางคนขี้เกรงใจ ไม่ยอมบอกเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก แม้ครูที่มักออกนอกเส้นทางตามที่ตกลงไว้ หรืออกไปไหนโดยไม่แจ้งให้ทราบไม่ค่อยมี แต่ถ้ามีก็ตกเป็นเป้าได้ง่าย และบางกรณีที่เกิดเหตุกับครู ก็เกิดในช่วงที่ครูเดินทางไปทำธุระส่วนตัว สำหรับครูที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่รับผิดชอบ จะมีการบันทึกประวัติบุคคล ยานพาหนะ เส้นทางที่เดินทางและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อไว้ด้วย เพื่อจะได้ประสานกับหน่วยที่จะรับช่วงต่อในการดูแลรักษาความปลอดภัยครูได้ นอกจากนี้ ครูทุกคนต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจในเขตรับผิดชอบด้วย บางหน่วยจะทำเป็นพวงกุญแจแจกให้ครูติดตัวตลอดเวลา หรือเป็นแผนผับแสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยไหน รวมทั้งยังพื้นที่ปลอดภัย หรือ SAFE Zone สำหรับการนัดพบเจ้าหน้าที่คุ้มครองครูระหว่างเดินทางไปโรงเรียน ส่วนครูเองก็ต้องให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ และต้องแจ้งสถานการณ์ประจำวัน หากเกิดเหตุร้ายก็จะมีแนวทางที่จะให้ครูปฏิบัติ ซึ่งทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและมีการทำตามแผน เหตุก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับครูได้” เปิดรายชื่อครูเหยื่อไฟใต้ 185 ชีวิตบุคลากรทางการศึกษา กาลเวลาผ่านเลยจนลุล่วงเกือบทศวรรษ เสียงกึกก้องกัมปนาทอันน่าสะพรึงกลัว ยังคงดังหวีดหวิวแสยงหัวใจของผู้ได้ยินอยู่ย่างต่อเนื่อง พร้อมเสียงร่ำไห้ระงมและหยาดน้ำตาของผู้สูญเสีย.... เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่ากังบุคคลที่ได้ชื่อว่าปูชนียบุคคลของชาติหรือครูของแผ่นดิน ศพแล้วศพเล่า มันตอกย้ำถึงความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าว ความข่มขื่นและความสูญเสียมิอาจลืมเลือนของผู้อยู่เบื้องหลัง.... คำบรรยายที่เหมือนกลั่นออกมาจากความรู้สึกเบื้องลึกเหล่านี้ คือส่วนหนึ่งของคำบรรยายความเป็นมาของงานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี เป็นการรำลึกถึงครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตรวม 137 คน ณ ขณะนั้น ปัจจุบันสถิติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบก็พุ่งไปถึง 149 คนแล้ว แต่หากรวมนักเรียนไปด้วยแล้ว ยอดพุ่งไปอยู่ที่ 185 กว่าคน รายชื่อครูเสียชีวิตจากความไม่สงบในชายแดนใต้ หมายเหตุ : ข้อมูลครูที่ได้รับผลกระทบกรณีเสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2553 จากหนังสืองานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554 ลำดับ วันเกิดเหตุ รายชื่อครูที่เสียชีวิต สังกัด สาเหตุ 1 7 มิ.ย.2547 นายใจ อินกะโผะ สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกลอบยิงเสียชีวิต 2 9 พ.ย.2547 นายอรุณ เพ็ญบูรณ์ สพท.ยะลา เขต 3 ” 3 25 พ.ย.2547 นายหะยีสะมะแอ หะยีดานิง สพท.ยะลา เขต 1 ” 4 30 พ.ย.2547 นายอัดนันท์ สะแลแม็ง สพท.ยะลา เขต 1 ” 5 14 ธ.ค.2547 นายภิญโญ วงศ์ฤคเวช สพท.นราธิวาส เขต 2 ” 6 21 ธ.ค.2547 นายมนูญ คชอ่อน สพท.ปัตตานี เขต1 ” 7 21 ธ.ค.2547 นายสุธี มีศรีสวัสดิ์ สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 8 28 ธ.ค.2547 นายประทีป สุพงษ์ สพท.ยะลา เขต 1 ” 9 29 ธ.ค.2547 นายสุรศักดิ์ พันธ์ศรีโรจน์ สพท.นราธิวาส เขต 2 ” 10 14 ม.ค.2548 นายต่วนแม โกตาบารู สพท.ยะลา เขต 2 ” 11 17 ม.ค.2548 นายมานะ สาแม สพท.ปัตตานี เขต1 ” 12 2 ก.พ.2548 นายสุธรรม สุขไพบูลย์ สพท.ยะลา เขต 1 ” 13 14 มี.ค.2548 นายรังษี จินดารัตน์ สพท.ปัตตานี เขต1 ” 14 10 พ.ค.2548 นายวิโรจน์ วรรณเสน สพท.ปัตตานี เขต1 ” 15 30 พ.ค.2548 นายสมชาย จันทสุวรรณ์ สพท.ปัตตานี เขต1 ” 16 3 มิ.ย.2548 นายเริ่ม สิงหะโรจน์ สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 17 17 มิ.ย.2548 นายกมล ชูเนตร สพท.ปัตตานี เขต1 ” 18 19 มิ.ย.2548 นายนิวัติ ชูแก้ว สพท.ยะลา เขต 1 ” 19 24 มิ.ย.2548 น.ส.กอบกุล รัญเสวะ สพท.นราธิวาส เขต 2 ” 20 15 ก.ค.2548 นายมานะ แซ่ภู่ สพท.นราธิวาส เขต 2 ” 21 15 ก.ค.2548 นายพงศา พิทักษ์วงศ์ สพท.นราธิวาส เขต 2 ” 22 18 ก.ค.2548 นายดุสิต เหล่าสิงห์ สพท.ปัตตานี เขต1 ” 23 16 ก.ค.2548 นายปราโมทย์ แก้วพรหมรัตน์ สพท.นราธิวาส เขต1 ” 24 14 ส.ค.2548 นายวาส โอชาอัมพวรรณ สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 25 19 ส.ค.2548 นายเชิดชัย ดาแก้ว สพท.นราธิวาส เขต 2 ” 26 24 ส.ค.2548 นายวิเชียร สุวรรณมณี สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 27 28 ส.ค.2548 นายอับดุลมาน๊ะ เจะซอ สพท.ยะลา เขต 1 ” 28 1 ก.ย.2548 นายอับดุลเลาะ มะลี สพท.ยะลา เขต 1 ” 29 27 ก.ย.2548 นายสุรเสน มามะ สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 30 12 พ.ย.2548 นายมะรีเป็ง แมดิงแว สพท.นราธิวาส เขต1 ” 31 29 ธ.ค.2548 นายวินิจ ชูมณี สพท.ยะลา เขต 1 ” 32 21 ม.ค.2549 นายทิพย์วารี ศรีพลอย สพท.ยะลา เขต 1 ” 33 27 ม.ค.2549 นายมาหะมะตายีดิง กลาแต สพท.ยะลา เขต 2 34 3 ก.พ.2549 นายทศพร นนทิการ สพท. สงขลา เขต 3 ” 35 7 ก.พ.2549 ว่าที่ ร.ต.รังกฤษฎ์ ดอกไม้ สพท.ยะลา เขต 1 ” 36 19 ก.พ.2549 นายเฉลิมเกียรติ ฝั้นขุ่น สพท.ยะลา เขต 1 ” 37 15 มี.ค.2549 นายมะดาโอ๊ะ ยะลาแป สพท.ยะลา เขต 1 ” 38 19 เม.ย.2549 น.ส. ฮัสนีย์ สุโขบุตร สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกสะเก็ดระเบิด 39 20 เม.ย.2549 นายลุกมาน สาแม กศน.นราธิวาส ” 40 9 พ.ค.2549 นายประดิษฐ์ ทองแดง กศน.ปัตตานี ถูกลอบยิงเสียชีวิต 41 10 พ.ค.2549 นางเบญจวรรณ พรหมมณี สพท.ปัตตานี เขต1 ถูกสะเก็ดระเบิด 42 10 พ.ค.2549 น.ส.นันทนิษฐ์ สิตะหิรัญ สพท.ปัตตานี เขต1 ” 43 24 ก.ค.2549 นายประสาน มากชู สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกคนร้ายบุกยิงในห้องเรียน 44 9 พ.ค.2549 นายปราบ แสงดารา สพท.ปัตตานี เขต1 ถูกยิงเสียชีวิต 45 13 พ.ค.2549 นายรอฮิง ดือราเต๊ะ สพท.ยะลา เขต 1 ” 46 15 พ.ค.2549 ว่าที่ ร.ต.หญิง กุลธิดา อินจำปา สพท.นราธิวาส เขต1 ” 47 23 พ.ค.2549 นายสุรเดช วาสแสดง สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 48 24 พ.ค.2549 นายนนท์ ไชยสุวรรณ สพท.ปัตตานี เขต2 ถูกยิงเสียชีวิต และเผารถยนต์ 49 2 ธ.ค.2549 น.ส.วรรณา องค์พลานุพัฒน์ สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกกราดยิงเสียชีวิตในบ้านพัก 50 21 ธ.ค.2549 นางชุติมา รัตนสำเนียง สพท.ปัตตานี เขต1 ถูกยิงเสียชีวิต 51 29 ธ.ค.2549 นางจำนง ชูพัฒนพงษ์ สพท.ยะลา เขต 1 ” 52 29 ธ.ค.2549 นายมนูญ ศรแก้ว สพท.ยะลา เขต 1 ” 53 8 ม.ค.2550 น.ส.จูหลิง ปงกันมูล สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกทำร้ายร่างกาย 54 10 ม.ค.2550 น.ส.ไซนะ มะยาแม สพท.ปัตตานี เขต1 ถูกยิงเสียชีวิต 55 11 ม.ค.2550 นายจำนง เล็มมณี สพท.ยะลา เขต 1 ” 56 20 กุ.พ.2550 นางพรทิพย์ ติยัพเสน สพท.นราธิวาส เขต 2 ” 57 20 กุ.พ.2550 นายอำเซาะ ยาการียา สพท.นราธิวาส เขต ” 58 25 พ.ค.2550 นายจิระ ชัยมงคล อศจ. ปัตตานี ถูกลอบยิง อาการสาหัส 59 11 มิ.ย.2550 นางทิพย์ภาภรณ์ ทรรศโนภาส สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกยิงในห้องสมุดโรงเรียน 60 11 มิ.ย.2550 น.ส.ยุพา เซ่งวัส สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกยิงในห้องสมุดโรงเรียน 61 11 มิ.ย.2550 นายสมหมาย เหล่าเจริญสุข สพท.นราธิวาส เขต3 ถูกถล่มยิง 62 11 มิ.ย.2550 นายอับดุลละหมาด สะหมะ สช. ถูกยิงเสียชีวิต 63 15 ก.ค.2550 นายมันโซ โซ๊ะปาเน๊าะ สช. ” 64 21 ก.ค.2550 นายหามะ หะยีบากา สช. ” 65 24 ส.ค.2550 นายนอง บุญศักดิ์ สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกยิงและเผาเสียชีวิต 66 27 ส.ค.2550 นางเกศินี ทิมเทพ สพท.ปัตตานี เขต 3 ถูกยิงเสียชีวิต 67 1 ก.ย.2550 นายสุวิชช วงศ์สนิท อศจ.ปน. ” 68 2 ก.ย.2550 นายฉลอง อาภากร สพท.ปัตตานี เขต 3 ถูกยิงเสียชีวิต หน้าบ้านพัก 69 23 ก.ย.2550 น.ส.กามาเรีย มะลี สพท.ปัตตานี เขต 3 ถูกยิงเสียชีวิต 70 25 ก.ย.2550 นายสมโชค ครองราชย์ อบจ.ปัตตานี ” 71 1 ต.ค.2550 นายยะโก๊ะ สาและ สพท.ปัตตานี เขต 3 ” 72 6 พ.ย.2550 นายสุวัจชัย เอกธนานนท์ สพท.นราธิวาส เขต1 ” 73 6 พ.ย.2550 นายมนตรี จารงค์ สพท.นราธิวาส เขต1 ” 74 19 พ.ย.2550 นายอิสเฮาะ หะยีสามะ สพท.ยะลา เขต 1 ” 75 24 ม.ค.2551 นายสุวิท บุญสนิท สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 76 6 พ.ค.2551 นายอับดุลมานะ มะแซ สพท.ยะลา เขต 1 ” 77 20 พ.ค.2551 นายสะอารอนิง สาเมาะ สพท.ยะลา เขต 1 ” 78 10 มิ.ย.2551 นายหฤทธิ์ สะอิ สพท.ยะลา เขต 2 ” 79 1 ก.ค.2551 นายเรวัติ แววสง่า สพท.ปัตตานี เขต 1 ” 80 2 ก.ค.2551 นายวีระ เหมือนจันทร์ สพท.ยะลา เขต 1 ” 81 24 ก.ค.2551 นายซัมรี เจ๊ะแว สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 82 31 ก.ค.2551 นายอาคม สุวรรรณวงศ์ สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 83 24 ส.ค.2551 น.ส.สุวรรณี สาแล๊ะ สช.นธ.2 ” 84 1 ก.ย.51 นายทศทิศ สมิตะมุสิค กศน. ” 85 18 ต.ค.2551 นายรอฮะ บิลเฮ่ม สพท.ปัตตานี เขต 1 ” 86 5 ธ.ค.2551 นายอดุลย์ แวอูเซ็ง สพท.นราธิวาส เขต3 ถูกสะเก็ดระเบิด 87 3 ก.พ.2552 นายไซกตรีย์ เจ๊ะเต๊ะ สพท.นราธิวาส เขต1 คนร้ายใช้อาวุธปืนลอบยิง 88 26 มี.ค.2552 นายภูวนาถ ยีจิ สพท.ปัตตานี เขต 2 คนร้ายลอบยิงเสียชีวิต 89 19 พ.ค.52 นายนัฐพล จะแน สพท.ยะลา เขต 2 ” 90 2 มิ.ย.2552 นางวารุณี นะวะกะ สพท.นราธิวาส เขต3 ” 91 2 มิ.ย.2552 นางอัจราพร เทพษร สพท.นราธิวาส เขต3 ” 92 6 มิ.ย.2552 นายมะตอแฮ ยามา สพท.นราธิวาส เขต1 ” 93 8 มิ.ย.2552 นายอาสรี เจ๊ะโน๊ะ สพท.นราธิวาส เขต3 คนร้ายกราดยิง 94 16 ก.พ.2552 น.ส.ฟารีด๊ะ สาเมาะ สพฐ. ” 95 16 มิ.ย.2552 น.ส.เลขา อิสระ สพท.ยะลา เขต 1 ถูกคนได้ร้ายประกบยิงเสียชีวิต 96 28 มิ.ย.2552 นางสุณี แก้วคงธรรม สพท.นราธิวาส เขต3 ถูกทำร้ายร่างกายด้วยของแข็ง 97 8 ก.ย.2552 นายอิสมาแอ สาและ สพท.ปัตตานี เขต 1 ถูกคนร้ายประกบยิงเสียชีวิต 98 5 ส.ค.2552 นายสิทธิชัย จันทร์อภิบาล สพท.ยะลา เขต 1 ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ 99 12 พ.ย.2552 นายพิชัย รัตน้อย สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกลอบยิงเสียชีวิต 100 8 ก.พ.2553 นายสัมฤทธิ์ พันธเดช สพท.ปัตตานี เขต 3 ถูกลอบยิงและเผา 101 24 เม.ย.2553 นายยงยุทธ วัชราภินชัย สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกคนร้ายลอบยิง 102 7 พ.ค.2553 นายภาส ลาภเจือจันทร์ สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 103 3 มิ.ย.2553 นายบุญนำ ยอดนุ้ย สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 104 12 มิ.ย.2553 นายสุนันท์ แก้วรัตน์ สพท.ยะลา เขต 1 ถูกสะเก็ดระเบิด 105 ก.ค.2553 นายวีระ ปานทน อศจ.ปน. ถูกยิงเสียชีวิต 106 17 ก.ย.2553 นายพิชัย เสือแสง สพท.ปัตตานี เขต 1 ” 107 17 ส.ค.2553 นายสรรค์ชัย อัครพงษ์พันธุ์ สพท.ปัตตานี เขต 1 ” 108 7 ก.ย.2553 นายวิลาศ เพชรพรหม สพท.นราธิวาส เขต1 ” 109 7 ก.ย.2553 นางคมขำ เพชรพรหม สพท.นราธิวาส เขต1 ” หลังวันที่ 7 กันยายน 2553 ยังมีครูเสียชีวิตจากเหตุไม่สงบอีก 6 คน ดังนี้ 1 15 ม.ค.2554 นายมาโนช ชฏารัตน์ ครูโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จ.ปัตตานี ถูกลอบยิงเสียชีวิต 2 9 ก.ค.2554 นายประหยัด ชูเพชร ครูโรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา บ้านลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา ” 3 3 ส.ค.2554 นายนพดล ศศิมณฑล ครูโรงเรียนบ้านตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี ถูกประกบยิงเสียชีวิต 4 9 ส.ค.2554 นายสมบูรณ์ จองเดิม ครูโรงเรียนกองทัพบกอุทิศบ้านดอนยาง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ถูกลอบยิงเสียชีวิต 5 6 ก.ย.2554 นายคณิต ลำนุ้ย พนักงานราชการโรงเรียนบ้านกือเม็ง อ.รามัน จ.ยะลา ถูกยิงแล้วเผา 6 6 ต.ค.2554 นายสกุล เอียดทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนร่มเกล้า อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ถูกลอบยิงเสียชีวิต บุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิตจากความไม่สงบในชายแดนใต้ หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 6 กันยายน 2553จากหนังสืองานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554 ลำดับ วันเกิดเหตุ รายชื่อผู้เสียชีวิต สังกัด สาเหตุ 1 16 มิ.ย.2547 นายมงคล สายแก้ว สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกลอบยิงเสียชีวิต 2 30 ก.ย.2547 นายธีรศักดิ์ สุวรรณกิจ สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 3 28 มิ.ย.2548 นายถนัด นิลวิสุทธิ์ อาชีวศึกษา ” 4 19 ก.ค.2548 นายบือราเฮง เจ๊ะโด สพท.นราธิวาส เขต2 ” 5 9 ส.ค.2548 นายมาหะมะ เมทารงค์ สพท.นราธิวาส เขต2 ” ๖ 21 ก.ย.2548 นายอภิเศก บุญทักษ์ สพท.ยะลา เขต 2 ” 7 5 ธ.ค.2548 นายอาแซ ดอเลาะ สพท.ปัตตานี เขต 1 ” 8 23 ม.ค.2549 นายรุ่ง แซ่สิม สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 9 23 ก.ค.2549 นายจิตต์ พวงบูระ สพท.ปัตตานี เขต 2 ” 10 27 ก.ย.2549 นายอำนวย นิลน้ำ สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกจ่อยิงบนรถโดยสารประจำ 11 7 พ.ย.2549 นายมะลาเฮ็ม เจ๊ะโซ๊ะ สพท.นราธิวาส เขต 1 ถูกลอบยิงเสียชีวิต 12 5 ธ.ค.2549 นายเชาวโรจน์ กิ่งรัตนะ สพท.ยะลา เขต 1 ถูกสะเก็ดระเบิด 13 9 ม.ค.2550 นายสิทธิชัย ฟุ้งนาครมรกต สพท.ยะลา เขต 2 ถูกลอบยิงเสียชีวิต 14 11 ม.ค.2550 นายสุรีร์ ลิมปิษเฐียร กศน.ปัตตานี ” 15 9 พ.ค.2550 นายฮาลิม สาระ สพท.ยะลา เขต 2 ” 16 17 ก.ย.2550 นายอับดุลรอซิน เจ๊ะนะ สพท.นราธิวาส เขต 2 ” 17 9 ก.ย.2550 นายพินันท์ คงศรีรอด สพท.นราธิวาส เขต 3 ” 18 21 ม.ค.2550 นายอัครเดช จือนือแร สพท.นราธิวาส เขต 1 ” 19 9 ก.พ.2551 นายมูซอ ลาโฮยา สพท.ยะลา เขต 2 ” 20 8 ก.ย.2551 นายสัญญา อนุบุตร สพท.ปัตตานี เขต 1 ” 21 5 พ.ย.2551 นายอัสนี กูเด็ง สพท.ยะลา เขต 1 ” 22 30 พ.ย.2551 นายดวง จันทร์แก้ว สพท.ปัตตานี เขต 3 ” 23 7 มี.ค.2552 นายอรุณ สุดมาฐ สพท.ปัตตานี เขต 1 ” 24 5 มิ.ย.2553 นายอรรถพร จันทรทอง อาชีวะปัตตานี ” 25 15 มิ.ย.2553 นายพร้อม วิเชียรรัตน์ สพท.ปัตตานี เขต 3 ” 26 23 มี.ค.2553 นายเชาว์ ทองพับ สช.ปัตตานี ” 27 11 ส.ค.2553 นายสายัณห์ ซุ้นสุวรรณ สพท.ปัตตานี เขต 1 ” 28 6 ก.ย.2553 นายมาหะมะ สาและ สพท.ปัตตานี เขต 3 ” นักเรียน/นักศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบในชายแดนใต้ หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553จากหนังสืองานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554 ลำดับ วันที่เกิดขึ้น ชื่อ-นามสกุล สังกัด สาเหตุ 1 24 ก.ค.2548 นายณรงค์ ดีบุญธรรม อาชีวะ 2 12 มิ.ย.2548 นายทวีวัฒน์ หวานจิตต์ อาชีวะ 3 16 ต.ค.2548 นายหาญณรงค์ คำอ่อง กศน.ปน. 4 16 พ.ย.2548 ด.ญ.ซูปียา อาแวบือซา นธ.1 5 28 พ.ย.2548 ด.ช.เจนนิพัฒน์ รัตนนิยม นธ.1 6 4 ก.พ.2548 ด.ช. วัยวุฒิ แซ่ม่า ยะลา2 7 15 มี.ค.2548 ด.ช.อีรฟาน ยะลาแป ยะลา1 8 27 มิ.ย.2548 นาสุทธิพงศ์ ยิ้มประเสริฐ อศจ. 9 27 พ.ย.2548 นายศักดา รักชนม์ นราธิวาส 2 10 นายธนากร ขันดำ อศจ.ยะลา 11 ด.ช.ธัญวิทย์ ทองบัว นธ.1 12 นายเกรียงศักดิ์ มีแวว อศจ.ยะลา ถูกยิงเสียชีวิต 13 น.ส.กนกกาญจน์ คุ้มแว่น อศจ.ยะลา ” 14 น.ส.สุกาญดา ศรีจันทร์ อศจ.ยะลา ” 15 14 มี.ค.2550 น.ส.วิลาสินี ชมพูทอง สพท.ยล.2 ถูกยิงบนรถตู้โดยสาร 16 14 มี.ค.2550 น.ส.กีรติ แซ่ลู่ สพท.สข.2 ” 17 30 เม.ย.2550 นายพันธ์พงษ์ โสภาศรี สกอ. ถูกสะเก็ดระเบิด 18 30 เม.ย.2550 ด.ช.ดุสิต นวลทอง สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกทุบด้วยของแข็ง 19 20 พ.ย.2550 นายวิชล สมใจ อศจ.ยะลา ถูกยิงเสียชีวิต 20 29 พ.ย.2550 ด.ญ.อมรทิพย์ ดังศรีเทศ สพท.สข.3 ถูกแรงระเบิด 21 17 มิ.ย.2550 นายวรรธนพงศ์ ทองคุปต์ สพท.นธ.2 ถูกยิงในบ้านพัก 22 27 มิ.ย.2550 น.ส.ณัชชา ขันทอง สพท.ยล.1 ถูกสะเก็ดระเบิด 23 4 ก.ย.2550 นายปิยรงค์ เพ็ชรเงิน สกอ. ถูกยิงเสียชีวิต 24 30 ต.ค.2550 ด.ญ.ปัทมา ปินชัย สพท.ยะลา1 ” 25 1 พ.ย.2550 นายอิสมาแอ มะและ สพท.ยะลา1 ” 26 7 พ.ย.2550 นายมันเดร์ สะเตาะ สพท.ยะลา1 ” 27 4 ธ.ค.2550 ด.ช.กฤษดา พรมแก้ว สพท.ปัตตานี เขต 1 ถูกสะเก็ดระเบิด 28 16 ธ.ค.2550 นายมาอูเซ็น โสะ สช. ถูกยิงเสียชีวิต 29 12 ส.ค.2551 ด.ญ.อำพรศิริ แก้วเมฆ สพท.นธ.1 ” 30 22 ก.ย.2551 นายสิริพงษ์ สมบัติ สพท.นธ.2 ถูกทำร้ายเสียชีวิต 31 5 ธ.ค.2551 ด.ช.ซารีฟ มะรอดิง สพท.นธ.3 ถูกสะเก็ดระเบิด 32 2 ก.ย.2552 ด.ช.กามารูดิง นิยามา ปัตตานี เขต 1 ถูกคนร้ายกระหน่ำยิง 33 6 ต.ค.2552 ด.ช.พีมพส อภิบาละนกิจ กทม. กลุ่มคนร้ายกราดยิง 34 9 ธ.ค.2552 น.ส.อารยา สะมะแอ สพท.นธ.2 ถูกสะเก็ดระเบิด 35 31 ม.ค.2553 ด.ช.อับดุลซาลาม วามะ สพท.ปัตตานี เขต 1 ถูกยิงเสียชีวิต 36 14 ก.พ.2553 ด.ญ. จีรภัทร แดงประเทศ สพท.ปัตตานี เขต 1 ” สรุปข้อมูลครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายเหตุ : ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 ถึง 24 ตุลาคม2553 จากหนังสืองานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554 บุคลากร ผลกระทบ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลา(3อำเภอ) รวม ร้อยละ เสียชีวิต ครู/อาจารย์ 36 43 31 1 109 21.25 บุคลากร 7 15 6 ๐ 28 5.46 นักเรียน 10 12 12 2 36 7.02 รวม 51 70 49 3 173 33.72 บาดเจ็บ ครู/อาจารย์ 33 30 37 3 103 20.08 บุคลากร 3 8 8 ๐ 19 3.70 นักเรียน 62 37 63 ๐ 162 31.58 รวม 98 75 108 3 284 55.36 ทรัพย์สินเสียหาย ครู/อาจารย์ 18 6 10 1 35 6.82 บุคลากร 3 ๐ 18 ๐ 21 4.09 รวม 21 6 28 1 56 10.92 รวมครูและบุคลากร เสียชีวิต 41 58 37 1 137 26.71 บาดเจ็บ 36 38 45 3 122 23.70 ทรัพย์เสียหาย 21 6 28 1 56 10.92 รวม 98 102 110 5 315 61.40 นักเรียน/นักศึกษา เสียชีวิต 10 12 12 2 36 7.02 บาดเจ็บ 62 37 63 ๐ 162 31.58 รวม 72 49 75 2 198 38.60 รวมทั้งหมด 170 151 185 7 513 100.00 ร้อยละ 33.14 29.43 36.06 1.36 100.00

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net