งานวิจัยเผยหนุ่ม 'แมนๆ' จะยอมรับเพศสัมพันธ์ที่มีการป้องกันมากกว่า

กลุ่มนักวิจัยจาก ม. มิชิแกน ทำการสำรวจและทดสอบวัดระดับฮอร์โมนของกลุ่มตัวอย่างชายหนุ่มอายุ 18-19 ปี พบว่าคนที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนหรือฮอร์โมนเพศชายสูงกว่าจะยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความปลอดภัย (Safe sex) มากกว่า เว็บไซต์ LiveScience เผยแพร่บทความงานวิจัยที่ระบุว่า ชายหนุ่มที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน หรือฮอร์โมนเพศชายสูงกว่า จะยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความปลอดภัย (Safe sex) มากกว่า ซารี วอน แอนเดอร์ส นักวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์เชิงฮอร์โมน จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวว่า งานวิจัยดังกล่าวสำรวจจากกลุ่มประชากรเพศชายอายุ 18-19 ปี หรือช่วงปีแรกของอุดมศึกษา ที่เป็นช่วงเริ่มต้นของการใช้ชีวิตทางเพศ งานวิจัยพบว่า ผู้ชายที่มีฮอร์โมนเพศเทสโทสเทอโรนสูงกว่า จะมีโอกาสยอมรับทัศนคติเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยและการมีสัมพันธ์ทางเพศอย่างปลอดภัยมากกว่า แอนเดอร์สกล่าวว่าสำหรับชายหนุ่มวัยอุดมศึกษาแล้ว การมีเพศสัมพันธ์โดยป้องกันมีความท้าทายต่อสภานภาพทางสังคมมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน \งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า คนเรามองการมีพฤติกรรมการเพศสัมพันธ์แบบป้องกันและคนที่ทีเพศสัมพันธ์แบบป้องกันในเชิงลบ\" แอนเดอร์สกล่าว เธอบอกอีกว่า ดังนั้นการยืนยันว่าจะใช้ถุงยางอนามัยซึ่งมี 'ความท้าทายทางสังคม' จำเป็นต้องใช้ความกล้าหาญและความมั่นใจมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน กล้าที่จะถูกมองว่า 'เสี่ยง' ฮอร์โทนเทสโทสเทอโรน มีส่วนเกี่ยวโยงกับความกล้าหาญและความมั่นใจ รวมถึงการตัดสินใจเสี่ยง เช่นการวางเดิมพันทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง แต่แอนเดอร์สก็บอกว่าแนวคิดเรื่องความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นทางวัฒนธรรม ในกรณีของเพศสัมพันธ์แล้ว ความเสี่ยงที่แน่นอนคือการตั้งครรภ์และการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ (STI) แอนเดอร์สบอกว่าสำหรับบางคนแล้วความเสี่ยงเหล่านี้ดูไกลตัวและคิดว่าโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่ขณะเดียวกันการยืนยันว่าจะใช้ถุงยางฯ ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกคู่นอนมองว่าเป็นคนเชื่อใจไม่ได้หรืออาจจะติดเชื้อแล้ว \"คุณเป็นห่วงเรื่องความเสี่ยงในการติดโรคทางเพศหรือไม่ ซึ่งผู้คนดูจะคิดว่ามันมีโอกาสเกิดน้อย ไม่ว่าจะพยายามให้การศึกษาเรื่องนี้มากเท่าไหร่ก็ตาม หรือคุณเป็นกังวลมากกว่าว่าคู่นอนคนปัจจุบันของคุณจะคิดในทางลบกับคุณ\" แอนเดอร์สกล่าว โดยเสริมเรื่องแนวคิดทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งตรงจุดนี้เองมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอย่างเทสโทสเทอโรน แอนเดอร์สและเพื่อนร่วมงานวิจัยได้ทำการศึกษาเรื่องฮอร์โมนและพฤติกรรมดังกล่าวโดยการซักถามผู้ชาย 78 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรักเพศตรงข้าม (heterosexual) และมาจากครอบครัวที่มีรายได้ดี โดยมีการถามเกี่ยวกับสุขภาพ กิจกรรมทางเพศ ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัย จากนั้นจึงใมีการตรวจน้ำลายของกลุ่มตัวอย่างทุกคน เพื่อวัดหาระดับของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน จากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46 เคยมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักแล้ว ส่วนที่เหลือยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากผู้วิจัยต้องการศึกษาเรื่องทัศนคติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไม่ใช่ศึกษาทางด้านพฤติกรรม ผู้ที่เข้าร่วมเป้นกลุ่มตัวอย่างจึงไม่จำเป็นต้องมีประสบการณฺ์ทางเพศมาก่อน แล้วฮอร์โมน 'แมนๆ' เกี่ยวกับอะไรกับเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ผลการทดลองเผยว่าผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนสูงกว่าจะมีทัศนคติในทางบวกต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยมากกว่า พวกเขาจะเป็นฝ่ายบอกว่าจะใช้ถุงยางฯ แม้จะมีอุปสรรคอย่างเช่นการถูกมองจากสังคมในแง่ลบ ส่วนผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนน้อยกว่าจะยอมรับการใช้ถุงยางฯ น้อยกว่า และมีโอกาสน้อยกว่าที่พวกเขาจะเป็นฝ่ายขอใช้ถุงยางในสถานการณ์ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกติดขัด หรือลำบากใจ แอนเดอร์สกล่าวถึงผลการสำรวจอีกว่า ผู้ชายที่เคยมีประสบการณ์ทางเพศมาแล้ว จะมีทัศนคติเน้นการป้องกันตอนมีเพศสัมพันธ์มากกว่า ซึ่งน่าจะมาจากอุปนิสัยของเจ้าตัวเอง แต่ในประเด้นนี้ยังต้องมีการวิจัยกันต่อไป \"เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลการทดลองนี้คือ นี่เป็นการทดลองแรกที่พบว่าฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนสุงกว่ากลับทำให้คนตัดสินใจทำในเรื่องที่เสี่ยงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเรื่องอื่นๆ\" แอนเดอร์สกล่าว อย่างไรก็ตาม แอนเดอร์สเตือนว่า สภาพแวดล้อมรอบตัวสามารถทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงได้ จึงยังไม่อาจสรุปแบบขวานผ่าซากว่าเทสโทสเทอโรนทำให้เกิดทัศนคติการมีสัมพันธ์ทางเพศอย่างปลอดภัย มีความเป็นไปได้ว่าผู้ชายที่มีสัมพันธ์ทางเพศโดยป้องกันจะทำให้มีอีโก้และระดับเทสโทสเทอโรนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าตนมีความรู้เรื่องเพศและมีสถานะทางสังคมที่ดีขึ้น หรืออาจเป็นเพราะว่าตัวกิจกรรมทางเพศเองทำให้เทสโทสเทอโรนเพิ่มสูงขึ้น ฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนเกี่ยวโยงกับสถานะและการได้รับรางวัล นักวิจัยกล่าวว่าการทดลองนี้เป็นการทดลองขั้นต้นเท่านั้น พวกเขาจะทดลองต่อไปอีกว่าฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมจริงๆ ไม่เพียงแค่ทัศนคติเท่านั้นใช่หรือไม่ พวกเขายังสนใจทดลองความเกี่ยวข้องระหว่างเทสโทสเทอโรนกับสัมพันธ์ทางเพศที่ปลอดภัยกับกลุ่มตัวอย่างที่หลากหลายมากกว่านี้ด้วย \"เป็นไปได้ว่า สำหรับชายหนุ่มในระดับอุดมศึกษาที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตทางเพศนั้น การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยดูเป็นเรื่องท้าทายและเกี่ยวข้องกับสถานภาพ\" แอนเดอร์สกล่าว \"อาจจะมีความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างอื่นที่การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยไม่จำเป็นต้องอาศัยความกล้าหาญก็เป็นได้ ดังนั้นตัวตนทางสังคมดูจะเป็นปัจจัยใหญ่\""

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท