ถอดประสบการณ์น้ำท่วม 2: มรภ.นครปฐม ที่พัก อาหาร สุขภาพ และจิตใจ คือหัวใจในการดูแลผู้ประสบภัย

ดูการจัดการศูนย์ดูแลผู้ประสบภัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐมที่ดูแลผู้ ประสบภัยครบวงจร ทั้งที่พัก อาหาร ข่าวสาร รวมไปถึงโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ประสบภัยสูงอายุและเจ็บป่วยเรื้อรัง ประชาไทลงพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งปรับตัวเป็นสถานที่ดูแลผู้ประสบภัยจำนวน 504 คน โดยมีผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป 52 คนเด็กแรกเกิด1 ปี 18 คน เด็ก 2-5 ปี 31 คน และเด็ก 6-10 ปี 22 คน ประชากรหลัก ราว 300 คนของศูนย์แห่งนี้ อพยพมาจากศูนย์อพยพ ที่ถูกน้ำท่วมไปก่อนหน้านี้ โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครปฐม ความสูง 4 ชั้นเพื่อรองรับผู้ประสบภัยทั่วไปและผู้สูงอายุ ขณะที่สวนหย่อมที่อยู่ติดกันนั้นปรับเป็นพื้นที่สำหรับผู้ประสบภัยที่อพยพสัตว์เลี้ยงมาอยู่ด้วย โดยผู้สบภัยส่วนหลังนี้ โดยผู้ประสบภียกลุมหลังจะได้นอนพักในเต้ท์สนามขนาดย่อมๆ สำหรับหนึ่งครอบครัว “ช่วงแรกเราเห็นความเดือดร้อนของผู้ประสบอุทกภัยแถบภาคกลางตอนบนว่าจะช่วยเขาได้อย่างไร เราก็ใช้ของบริจาค และจัดเป็นถุงยังชีพ ขณะนั้นจังหวัดนครปฐมยังไม่เดือดร้อนพอ พอน้ำเริ่มท่วมที่ปทุมธานี ก็เริ่มกระทบมาถึง พุทธมณฑล เราก็ปรับแผนช่วยเรื่องกรอกทราย โดยใช้บุคลากร นักศึกษาของเราไปแจก สู้ไม่ไหว ก็ส่งบุคลากรนักศึกษาไปช่วยย้ายของ พอช่วยย้ายของเสร็จ เราก็คุยกับเพื่อนๆ หลายคน ก็มีความคิดว่าตั้งศูนย์ที่นี่ เราก็คิดว่าจะช่วยตามมีตามเกิด แต่พอศูนย์อพยพที่มหาวิทยาลัยสงฆ์แตกมีคนประมาณ 700 คน พอน้ำมากเข้าๆ คืนก่อนสิ้นเดือน อพยพถึงตีสี่ครึ่งยังไม่หมด รถยีเอ็มซีก็เข้ายาก คืนนั้นมีผู้อพยพมากัน 300 คน สิ่งที่เราเห็นแล้วยิ่งทำให้เรามีจิตใจมีกำลังมากขึ้น ก็คือ มีคนแก่ มีเด็ก และคนแก่ช่วยตัวเองไม่ได้ เราก็คิดว่า ทำไมย้ายคนแก่มาให้กับเรามากขนาดนี้ แต่ก็ต้องคิดใหม่ว่าจะทำอย่างไร” ผศ.สมเดช นิลพันธุ์ อธิการบดี มรภ. นครปฐม เท้าความให้ฟังถึงเหตุการณ์วันแรกที่เปิดศูนย์ขึ้นในวันที่ 26 ต.ค. และนำมาสู่แนวคดหลักในการบริหารจัดการศูนย์แห่งนี้ “ขณะนั้น เราเตรียมอาหารไว้ทั้งคืน เด็กคนแก่มาถึงเที่ยงคืนตีหนึ่งตีสองตีสามยังไม่ได้กินข้าว มาถึงก็ให้ลงทะเบียนก่อน เตรียมที่พัก จากนั้นต้องคิดเรื่องอาหาร และดูเรื่องสุขภาพ และเสต็ปสุดท้ายคือจะฟื้นฟูจิตใจเขาอย่างไร เราคิด 4 เสต็ปท์” โจทย์เรื่องคนแก่ เด็ก และผู้เจ็บป่วยนำมาสู่การบริหารจัดการซึ่งพยายามทำให้ศูนย์แห่งนี้สามารถดูแลผู้อพยพอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียนเพื่อคัดแยกผู้อพยพ เช่น ผ้อพยพที่มีสัตว์เลี้ยงมาด้วย มีพื้นที่อยู่ในสนามหน้าอาคาร โดยผู้อพยพส่วนนี้กางเต้นท์นอน ผู้อพยพสูงอายุเพศหญิงจากบ้านพักคนชรา นอนรวมกันในห้องขนาดใหญ่บนชั้นสองของอาคาร ผู้อพยพทั่วไปที่ช่วยเหลือตัวเองได้ นอนในห้องรวมบนชั้นที่ 2 และ 3 ของอาคาร ศูนย์แห่งนี้ยังมีโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยอยู่ 11 ราย ขณะที่คาดว่าโรงพยาบาลสนามแห่งนี้จะสามารถรองรับผู้ป่วยได้ทั้งหมด 30 เตียง ห้องรองรับผู้อพยพสงอายุ ซึ่งมีผู้สูงอายุอยู่ราว 50 ราย โดยส่วนใหญ่มาจากบ้านพักคนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) มุมอ่านหนังสือสำหรับเด็ก และห้องปฏิบัติการสื่อ “ศูนย์ข่าวน้ำท่วมนครปฐม” ซึ่งเชื่อมโยงเครือข่ายสถานีวิทยุชุมชน 15 แห่งในพื้นที่ ทำหน้าที่ประมวลข่าว วิเคราะห์และรายงานสถานการณ์น้ำท่วม ทั้งในภาพรวมทั้งประเทศและเจาะลึกเฉพาะในพื้นที่จ.นครปฐม เพื่อให้ประชาชนได้ประกอบการตัดสินใจในการอพยพ เมื่อเดินเข้ามายังศูนย์อพยพแห่งนี้ สามารถพบเห็นกิจกรรมหลากหลายที่ช่วยส่งเสริมสภาพจิตใจของผู้อพยพ เช่น กิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก กิจกรรมสำหรับเยาวชน การเปิดดนตรีเพื่อขับกล่อมผู้ป่วยตลอดทั้งวัน รวมไปถึงการเล่นดนตรีสดโดยน.ศ. ของมรภ. นครปฐม ในช่วงเย็น ร.พ.สนาม และอาสาสมัครพยาบาล จุดเด่นของศูนย์อพยพแห่งนี้ คือการมีสถานพยาบาลอยู่ในศูนย์ ทั้งในการดูแลผู้ป่วยนอก ที่จะมีแพทย์จาก ร.พ.นครปฐม แวะเวียนมาทำการตรวจในวันจันทร์และวันพฤหัสฯ อีกทั้งมีโรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยติดเตียงโดยปรับสถานที่ของห้องสมุด ในอาคารของ โรงเรียนสาธิต มรภ. นครปฐม ที่เพิ่งสร้างเสร็จ จนกลายเป็นโรงพยาบาลสนามที่สามารถรองรับคนไข้ได้ 30 คน ขณะนี้ดูแลคนไข้ติดเตียงอยู่ 11 ราย จากโรงพยาบาลที่ถูกน้ำท่วมแล้ว รวมถึงการให้การดูแลรักษาเบื้องต้น และหากมีคนไข้หนักก็นำส่งต่อให้ร.พ.นครปฐม การดำเนินการนั้น มีเจ้าหน้าที่จากสาธารณสุขจังหวัด และจากร.พ.ที่ถูกน้ำท่วมไปแล้ว หมุนเวียนกันเข้ามาดูแลผู้ป่วย และมีทีมอาสาสมัคร นักศึกษา จากคณะพยาบาลศาสตร์ มรภ. นครปฐม จำนวน 57 คน ทำหน้าที่เป็นผู้พยาบาลผู้ป่วยติดเตียง โดยจัดเวรลงดูแลผู้ป่วยคราวละ 12 คน “โชคดีที่เป็นบุญของเราที่เปิดคณะพยาบาลเป็นปีที่สอง คณาจารย์และนักศึกษาที่ไม่ได้กลับบ้านก็ม่ช่วย ก็ทำให้นักศึกษาได้ฝึกงานเต็มรูปแบบ” ขณะเดียวกัน ก็ต้องประสานกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยหน่วยงานหลักคือ สาธารณสุขจังหวัด ซึ่งช่วยเหลือทั้งในแง่การประสานและการจัดหาอาสาสมัครด้านสาธารณสุขในส่วนของโรงพยาบาลบสนาม นอกจากนี้ยังสนับสนุนเวชภัณฑ์และสิ่งของจำเป็นต่างๆ ผู้บริหารพร้อมปรับตัว ความช่วยเหลือจากท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญ อธิการกล่าวว่า งบประมาณที่ใช้ดูแลผู้ป่วยขณะนี้ เขาปรับจากงบประมาณที่จะใช้ในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติในวันที่ 5 ธ.ค. ที่ตั้งไว้ 9 ล้านบาท โดยเขาบอกกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยว่า “เทหมดหน้าตัก” แต่ถ้าหมดจาก 9 ล้านบาทนี้แล้ว สิ่งที่เขากำลังคิดต่อไปคือ การระดมการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เพื่อช่วยสนับสนุนอาหารในแต่ละมื้อ โดยคาดการณ์ว่า จะต้องยืนหยัดดูแลผู้อพยพไปอีกราว 1 เดือนครึ่งถึง 2 เดือน “เราเดินหน้าดูแลท้องถิ่นอยู่แล้ว ผมชื่นชมคณาจารย์ บุคลากร เครือข่ายภาคประชาชน ช่วยกัน ผมอยากให้พลังแบบนี้เป็นการแก้ปัญหาทั้งประเทศ เพราะเราไปคอยให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแกปัญหาคงไม่ได้ ที่นี่ สสจ. องค์กรท้องถิ่นและจังหวัดเข้ามาช่วยกัน”

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท