ทดลองซ้ำยืนยัน นิวทรีโนยังคงเดินทางเร็วกว่าแสง

จากเมื่อสองเดือนที่แล้ว ห้องแล็บของเซิร์นและห้องแล็บของแกรนแซสโซ ได้ทำการทดลองส่งผ่านอนุภาคนิวทรีโนและตรวจวัดเวลาได้ว่าสามารถเดินทางไวกว่าแสง สร้างความฉงนสงสัยแก่วงการฟิสิกส์ จนต้องมีการทดลองอีกครั้งเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจจะมาจากการทดลอง ซึ่งผลออกมายังคงยืนยันว่านิวทรีโนเป็นอนุภาคที่เดินทางไวกว่าแสง นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทำลองอนุภาคที่เดินทางไวกว่าแสงที่ชื่อนิวทรีโนเป็นครั้งที่ 2 และได้ผลการทดลองว่านิวทรีโนสามารถเดินทางไวกว่าแสงโดยการทดลองครั้งนี้ได้ลบล้างตัวแปรวัดผลที่ผิดพลาดจากครั้งแรกได้ (แฟ้มภาพ/ที่มาของภาพ: : Cern/Science Photo Library) เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2011 สำนักข่าวเดอะ การ์เดียน รายงานว่านักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทำลองอนุภาคที่เดินทางไวกว่าแสงที่ชื่อนิวทรีโนเป็นครั้งที่ 2 และได้ผลการทดลองว่านิวทรีโนสามารถเดินทางไวกว่าแสงโดยการทดลองครั้งนี้ได้ลบล้างตัวแปรวัดผลที่ผิดพลาดจากครั้งแรกได้ ผลการทดลองในครั้งนี้ที่ 2 นี้มีการนำมาเผยแพร่ในเว็ยไซต์ Arxiv.org เมื่อตอนเช้าของวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา และมีการส่งเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการประเมินทางวิชาการ (peer review) ชื่อ Journal of High Energy Physics โดยก่อนหน้านี้มีการรับรองการวัดผลจากการทดลองส่งอนุภาคดังกล่าวทางใต้ผืนโลกจากห้องแล็บของเซิร์นในเจนีวา ไปยังห้องทดลองแกรนแซสโซในอิตาลีในระยะห่าง 720 กม. ซึ่งอนุภาคนิวทรีโนนี้จะสามารถเดินทางได้ไวกว่าแสงเสมอ เดอะ การ์เดียน ระบุอีกว่าการทดลองอนุภาคนิวทรีโนนี้อาจสร้างการสั่นสะเทือนแก่กฏเกณฑ์ทางฟิสิกส์ ไม่เพียงแค่ว่าเป็นผลการทดลองที่ขัดกับทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์เท่านั้น แต่หากการทดลองมีความถูกต้องแม่นยำก็อาจเปิดช่องทางความเป็นไปได้ในการส่งข้อมูลย้อนกลับไปในอดีต บดเบลอเส้นแบ่งระหว่างอดีตกับปัจจุบัน และทำลายหลักการพื้นฐานเรื่องเหตุและผล แต่ก็มีบางคนที่ไม่เชื่อถือการทดลองดังกล่าว อย่างเช่นศาตราจารย์ จิม อัล-คาลิลี นักฟิสิกส์และพิธีกรรายการทีวีจากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์พูดเย้ยว่า หากผลการทดลองสามารถพิสูจน์ได้ว่านิวทรีโนสามารถเดินทางไวกว่าแสงจริง เขาจะยอมกินกางเกงบ็อกเซอร์ของเขาออกทีวี ผลการทดลองก่อนหน้านี้พบว่า นิวทรีโนจะเดินทางได้เร็วกว่าแสง 60 นาโนวินาที (นาโนวินาที = 0.0000000001 วินาที) จากการเดินทางผ่านสูญญากาศ นักวิทยาศาสตร์รายอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าการทดลองในครั้งแรกมีตัวแปรที่สามารถสร้างความผิดพลาดคือการที่จังหวะการส่งอนุภาคของเซิร์นนั้นห่างเกินไป โดยวางระยะห่างการส่งไว้ที่ครั้งละ 10 ไมโครวินาที (ไมโครวินาที = 0.0000001 วินาที) ทำให้การวัดผลการมาถึงของอนุภาคนี้ในแกรน แซสโซ อาจเกิดความผิดพลาดได้สูง เพื่อแก้ไขตัวแปรที่เสี่ยงต่อความผิดพลาดนี้ ในการทดลองครั้งล่าสุดระยะห่างการส่งอนุภาคจากเซิร์นจึงถูกลดลงหลายพันเท่าจนเหลือระยะห่างอยู่ราว 524 นาโนวินาทีต่อครั้ง ซึ่งจะสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่แกรนแซสโซวัดเวลาการมาถึงของนิวทรีโนได้แม่นยำขึ้น แมทท์ สตราสเลอร์ นักฟิสิกส์ทฤษฎีจากมหาวิทยาลัยรัทเจอร์ส อธิบายเหตุผลว่าที่ต้องเว้นระยะห่างการส่งอนุภาคให้สั้นลงนั้นเพื่อให้ผู้วัดผลไม่ต้องวัดรูปร่างและช่วงลำของอนุภาค \มันเหมือนกับการส่งเสียงคลิกเดียวๆ ต่อๆ กัน แทนการส่งเสียงแตรยาวๆ ไป\" แมทท์กล่าว \"ถ้าเป็นอย่างหลัง คุณก็ต้องวัดด้วยว่าเสียงแตรเริ่มและหยุดเมื่อใด แต่ในอย่างแรก คุณแค่คอยฟังเสียงคลิกแล้วก็จบไป พูดอีกอย่างคือหากมีอัตราการส่งที่สั้นคุณไม่จำเป็นต้องวัดรูปร่างของห้วงจังหวะ (pulse shape) แต่จะวัดแค่เวลา\" \"แล้วคุณก็ไม่จำเป็นต้องวัดนิวทรีโนนับพันเพื่อสร้างห้วงจังหวะซ้ำๆ เมื่อคุณวัดช่วงหัวและช่วงท้ายได้ถูก คุณก็ต้องการแค่จำนวนเล็กน้อย อาจจะแค่ 10 อนุภาคเพื่อเช็คเวลาของห้วงจังหวะที่นิวทรีโนเข้ามาในห้องทดลอง OPERA\" แมทท์กล่าว ในการทดลองครั้งล่าสุดมีการวัดนิวทรีโน 20 ครั้งที่แกรนด์แซสโซ ตรงตามการส่งมาจากเซิร์น นักวิทยาศาสตร์สรุปการวัดผลครั้งล่าสุดว่านิวทรีโนดูจะมาถึงก่อนเวลาอันควรเช่นเคย \"จากเครื่องเร่งอนุภาคของเซิร์นที่สร้างลำอนุภาคใหม่ทำให้พวกเราสามารถวัดผลเวลาการมาถึงของนิวทรีโนได้อย่างแม่นยำ อนุภาคต่ออนุภาค\" ดาริโอ ออเทียโร จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (CNRS) กล่าว \"พวกเราวัดผลนิวทรีโน 20 อนุภาค ด้วยความแม่นยำที่มากกว่าการทดลองครั้งก่อนหน้านี้ถึง 15

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท