Skip to main content
sharethis

เมื่อนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ทำการวิจัยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอาการเข้าไม่ถึงจุดสุดยอด โดยการใช้เครื่องสแกนสมองสำรวจการทำงานของสมองในช่วงที่ถึงจุดสุดยอด โดยใช้สีแทนความเข้มข้นของการทำงานของสมอง 14 พ.ย. 2554 - เดอะ การ์เดียน รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ได้เผยแพร่ผลการสแกนคลื่นสมองของผู้หญิงในช่วงที่มีประสบการณ์ถึงจุดสุดยอดและช่วงหลังจุดสุดยอด โดยภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกได้แสดงให้เห็นถึงการทำงานของสมองในส่วนที่ต่างกัน ซึ่งค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งลดความเข้มข้นของการทำงานลงอย่างนุ่มนวล ในการบันทึกภาพเคลื่อนไหวครั้งนี้ นักวิจัยได้ใช้เครื่องสแกนสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (functional magnetic resonance imaging หรือ fMRI) สแกนสมองของผู้ทดสอบหญิงขณะที่ให้เธอกระตุ้นเร้าทางเพศด้วยตัวเอง การวิจัยชิ้นนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าสมองจะทำงานสอดประสานกันนำไปสู่ช่วงถึงจุดสุดยอดของผู้หญิง จากการศึกษาเรื่องการถึงจึดสุดยอดนั้น ศาตราจารย์ แบร์รี่ โคมิซารุก นักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยรัทเจอส์ รัฐนิวเจอร์ซี และลูกทีมของเขามีเป้าหมายต้องการทราบว่า มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับชายและหญิงที่ไม่สามารถถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ภาพเคลื่อนไหวเป็นภาพเรียงลำดับการสแกนสมองของแนน ไวส์ นักศึกษาปริญญาเอกและนักเพศบำบัดอายุ 54 ปีจากศูนย์ทดลองของโคมิซารุก โดยไวส์บอกว่า งานชิ้นนี้เป็นปริญญานิพนธ์ของเธอเอง ภาพยนตร์ 5 นาทีเผยให้เห็นว่าการทำงานของสมองใน 80 ส่วนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง โดยมีการบันทึกภาพแบบสแนปช็อตทุกๆ 2 วินาที ภาพเคลื่อนไหวมีการใช้มาตราสีแบบ \hot metal\" ซึ่งเริ่มจากสีแดงเข้มไปเป็นสีส้ม สีเหลือง และสีขาวในช่วงที่มีการทำงานเข้มข้นที่สุด \"เป้าหมายทั่วไปของการวิจัยนี้คือการเรียนรู้ว่าการสร้างอารมณ์ไปจนถึงจุดสุดยอดมาจากการกระตุ้นเร้าทางเพศได้อย่างไร และสมองส่วนไหนบ้างที่ถูกใช้งานและช่วยสร้างอารมณ์ไปจนถึงจุดสุดยอด\" ศจ. โคมิซารุกกล่าว เขานำเสนองานชิ้นนี้เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา ณ การประชุมประจำปีของสมาคมประสาทวิทยา วอชิงตัน ดีซี งานชิ้นนี้ยังไม่ถูกตีพิมพ์ในวารสารประเมินค่าทางวิชาการ เมื่อภาพเคลื่อนไหวเริ่มเล่น การทำงานของสมองก็ก่อตัวขึ้นในสมองเปลือกนอกส่วนที่ใช้รับความรู้สึกทางเพศ มีการตอบสนองการสัมผัสในจากสมองในส่วนดังกล่าว จากนั้นการทำงานก็ขยายเข้ามาสู่ระบบลิมบิก (Limbic System) ส่วนที่รวบรวมโครงสร้างของสมองที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำระยะยาว เมื่อถึงจุดสุดยอดแล้ว การทำงานของสมองก็พุ่งสูงขึ้นในสองส่วนคือส่วน ซีรีเบลลัม (Cerebellum) และ สมองส่วนหน้า (Frontal Cortex) อาจจะเนื่องจากว่ามีการบีบตัวของกล้ามเนื้ออย่างมาก ในช่วงที่ถึงจุดสุดยอดนั้นการทำงานของสมองจะถึงจุดสุงสุดในส่วน ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งจะมีการหลั่งสารอ็อกซีโตซินทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจทางผัสสะและกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว นอกจากนี้การทำงานยังถึงจุดสูงสุดในส่วนของนิวเคลียสแอคคัมเบน (nucleus accumbens) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมกับการได้รางวัลและความพึงพอใจอีกด้วย หลังจากถึงจุดสุดยอดแล้ว การทำงานในส่วนต่างๆ เหล่านี้ก็ค่อยๆ ลดลงไป \"มันเป็นระบบที่สวยงามมากสำหรับการศึกษาความเกี่ยวโยงกันของสมอง\" โคมิซารุกกล่าว \"พวกเราหวังว่าภาพยนตร์นี้ซึ่งเป็นการนำเสนอการทำงานอย่างต่อเนื่องของสมองไปจนถึงจุดสุดยอด และเมื่อมีการประเมินผลแล้วก็จะทำให้เราเข้าใจพยาใหม่ธิสภาพของผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงจุดสุดยอดได้ โดยการเน้นดูที่สมองส่วนใดในกระบวนการนี้ที่ทำงานบกพร่อง\" ด้วยเทคนิควิธีใหม่ที่พัฒนาโดยโคมิซารุก คนที่ถูกสแกนสมองจะสามารถมองเห็นการทำงานของสมองตนเองได้ในแทบจะทันที จาก \"ผลสะท้อนทางระบบประสาท\" นี้ ทำให้โคมิซารุกวิเคราะห์ได้ว่าคนทั่วไปสามารถเรับรู้ได้ว่าสมองของพวกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งอาจนำมาใช้รักษาอาการได้หลายอย่างทั้ง ความวิตกกังวล

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net