ปันประสบการณ์จากญี่ปุ่น กรณีภัยพิบัติ ประชาชน และรัฐ และสื่อควรทำอย่างไรในภาวะวิกฤต

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ผู้เขียนซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 10 ปี และผ่านสถานการณ์วิกฤตกรณีสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดความเสียหาย และแพร่กัมมันตรังสีเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เขาเขียนสเตตัสบนเฟซบุ๊กเพื่อแชร์ประสบการณ์ที่ประชาชนและรัฐบาลญี่ปุ่นเผชิญกับภัยพิบัติในครั้งนั้น โดยตั้งข้อสังเกตคร่าวๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนของประชาชน และแนวทางการจัดการของรัฐบาล ประชาไทขออนุญาตนำขอความของเขาที่โพสต์ต่อเนื่องกันหลายวันมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่การทำความเข้าใจ และแนวทางการปฏิบัติตัวของประชาชนทั่วไป 000 : \การช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นฟื้น ไม่ใช่การไปเป็น\"อาสาสมัคร\" ทุกคน แต่ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด นักธุรกิจก็ทำธุรกิจ พ่อค้าก็ค้าขาย นักโฆษณาก็ชวนคนออกเที่ยว งานรื่นเริงก็ควรจัดตามปกติ คนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประสบภัยก็ควรดำเนินชีวิตตามปกติ หากประเทศโดยรวมเป็นปกติ เศรษฐกิจก็เดินได้ รัฐก็มีภาษีเข้า หากทุกคนไปเป็นอาสาสมัคร รัฐจะเดินไปได้อย่างไร งานต่างๆให้ข้าราชการ ทหาร ซึ่งรับเงินเดือนราชการลงไปทำ คนทั่วไปทำอาสาสมัครเท่าที่ไม่กระทบต่องานประจำก็พอ...เงินส่วนหนึ่งบริจาคแต่อีกส่วนหนึ่งก็นำไปเที่ยวตามปกติ หากทุกคนงดเที่ยวธุรกิจท่องเที่ยวก็เจ๊ง จะเอาภาษีไหนเข้ารัฐ : งานอาสาสมัครที่ผมทำอยู่ในญี่ปุ่นเพื่อช่วยเมืองไทย...เข้าไปคอมเมนท์กระทู้น้ำท่วมที่ญี่ปุ่น เขียนและบอกว่า\"น้ำไม่ได้ท่วมประเทศไทย\" \"น้ำท่วมบางจังหวัดและท่วมกรุงเทพบางส่วน\" อย่ายกเลิกทริปไปเที่ยวเมืองไทย ภาคใต้เรามีชายทะเลสวยงาม น้ำไม่ได้ท่วม อีสานก็มีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย หากกังวลเรื่องรถวิ่งได้ไม่ได้ก็เน้นนั่งเครื่องบินไปก็ได้...น้ำไม่ได้ท่วมทั้งประเทศไทย คือข้อความที่ผมบอกคนต่างชาติทุกคน... สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้จากสึนามิและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือ การนำเสนอภาพข่าวที่เจาะจงเฉพาะนิวเคลียร์ทำให้ผู้คนทั่วโลกต่างเข้าใจผิดคิดว่านิวเคลียร์ปกคลุมไปทั่วท้องฟ้าประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศ ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นเพียงแค่บางส่วนของประเทศญี่ปุ่น ความเข้าใจผิดของต่างชาติทำให้จังหวัดที่อยู่ห่างไกลออกไปเกือบ600กิโลเมตรก็ได้รับผลกระทบทางธุรกิจเพราะนักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางทั้งหมด ดังนั้นการประโคมข่าวเรื่องน้ำท่วมจนละเลยการนำเสนอสภาพเมืองที่ไม่ได้รับผลกระทบก็สามารถสร้างความเข้าใจผิดให้กับต่างประเทศได้เช่นกัน : ในภาวะวิกฤติสื่อมวลชนควรทำหน้าที่ \"นำเสนอข่าว\" ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็น \"หน่วยกู้ภัย\" เพราะการทำหน้าที่เป็น \"หน่วยกู้ภัย\" ทำให้สื่อมีแนวโน้มที่จะเสนอแต่เรื่องราวกิจกรรมของตัวเองหรือภาคธุรกิจที่มีความสัมพันธ์อันดีกับตัวเองเท่านั้น ทำให้ประชาชนได้ข่าวไม่ครบถ้วน...สื่อมวลชนทำหน้าที่ของตัวเองในการเสนอข้อมูลข่าวอย่างรอบด้าน ประชาชน อาสาสมัคร หน่่วยงานที่รับผิดชอบจะได้ทราบว่าที่ไหนกำลังขาดแคลนอะไรและต้องการอะไร และในสถานการณ์ปัจจุบันควรทำอะไร... : ในช่วงสึนามิ ญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้รถทั่วไปขึ้นทางด่วน เพราะจะสงวนเอาไว้สำหรับการส่งความช่วยเหลือ อาหารสิ่งของจำเป็น เข้าไปในพื้นที่ให้เร็วที่สุด รถที่จะอนุญาติให้เข้าไปในพื้นที่ต้องได้รับการอนุมัติทั้งหมดและจะติดป้ายพิเศษไว้ว่า\"รถขนสิ่งของสำหรับนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย\" : ในสภาวะวิกฤต ปากคนญี่ปุ่นก็บ่นรัฐบาลแต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล รัฐบาลสั่งให้อพยพมาแต่ตัว ห้ามเอาของออกมาและขึ้นรถที่กำหนด ทุกคนก็ยอมทำตามแม้จะไม่เห็นด้วย รัฐบาลอนุญาตให้กลับไปเก็บของได้คนละไม่เกินหนึ่งกระสอบทุกคนก็ทำตาม : ในสภาวะวิกฤตในการอพยพประชาชน ญี่ปุ่นจะเน้นอพยพกันเป็นชุมชน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับว่าใครอยากไปศูนย์ไหน ก็ได้และการช่วยเหลือ ก็จะให้การช่วยเหลือผ่านชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการประสานกับชุมชนและองค์กรอาสาสมัครและคอยรับคำสั่งจากรัฐบาลเพื่อกระจายสู่คนในชุมชน ในกรณีที่ไม่ไม่มีจุดลี้ภัยในเทศบาลตัวเองก็จะติดต่อไปยังพื้นที่ใกล้เคียงสรุปการเคลื่อนย้ายประชาชนจะทำเป็นชุมชนโดยเทศบาลเป็นหัวหน้าหลัก อาสาสมัครและทหารก็ทำงานตามกรอบที่เทศบาลนั้นวางไว้ : สาเหตุที่ท้องถิ่นต้องเป็นคนประสานงานหลัก เพราะท้องถิ่นมีรายชื่อลูกบ้านทุกคนและทำงานในท้องที่ และประชาชนมีความคุ้นเคยกับการติดต่อกับองค์กรปกครองท้องถิ่นอยู่แล้ว และข้าราชการขององค์กรปกครองท้องถิ่นคือกลุ่มคนที่รู้จักชุมชนในท้องถิ่นมากกว่า ข้าราชการส่วนกลางที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปตามระยะเวลาแล้วย้ายออกไป : ในสภาวะวิกฤตรัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้กองทัพเป็นแนวหน้าในการลงไปกู้ภัยเพราะกองทัพเป็นหน่วยงานรัฐที่สามารถเคลื่อนพลได้เร็วและมีความสามารถในการดูแลตัวเองได้ตั้งแต่เรื่องการกิน การถ่าย และที่พัก รวมทั้งมีอุปกรณที่เพรียบพร้อม กำลังพลไม่ต้องไปฝากท้องกับพื้นที่ประสบภัย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเห็นทหารมากกว่าพลเรือนที่ลงไปกู้ภัย เพราะกองทัพถูกฝึกมาในด้านนี้ แต่กองทัพก็จะทำงานตามคำสั่งของรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นเจ้าภาพใหญ่ ส่วนพลเรือนอาสาสมัครทุกคนก็มีความสำคัญไม่แพ้ทหาร เพียงแต่ทำงานกันคนละอย่าง สรุปก็คือในภาวะวิกฤติ ทุกฝ่ายก็ควรได้รับการชมเชย เพราะทุกฝ่ายต่างก็ทำหน้าที่หนุนกัน เพื่อให้ผ่านวิกฤต ทั้งทหาร ข้าราชการพลเรือน. อาสาสมัคร ทุกคนคือฮีโร่ที่ เท่ากัน : ปกติ หากประเทศชาติ สามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้. รัฐบาลจะได้หน้า. ในฐานะผู้บริหาร. รัฐบาลได้หน้า. ประชาชนของรัฐบาลนั้น ก็ได้หน้าเช่นกัน ...."

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท