Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ผมรับฟังข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยความสนใจอย่างยิ่ง แล้วก็ต้องผิดหวังอย่างยิ่ง ที่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญซี่งมาจากการเลือกตั้ง กลับบอกว่า จะไม่แตะต้องรัฐธรรมนูญ หมวด1 (บททั่วไป) และหมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ทั้งนี้ หากไม่ใช่ผู้ที่บอดใบ้ไร้เดียงสาทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยจนเกินไปนัก ก็คงจะตระหนักแก่ใจว่า ปัญหาสำคัญที่ทำให้สังคมไทยยังคงย่ำเป็น “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ไม่ใช่ “ประชาธิปไตย” ที่เอื้อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ ก็คือ ปัญหาที่มีที่มาจาก หมวด 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยเนื้อหา แทบจะไม่เคยเปลี่ยนแปลงมานานนับ 20 ปีทีเดียว ดังนั้น วาทกรรม “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่แตะ หมวด 1 และหมวด 2” จึงเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพราะเท่ากับไม่ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตรงจุดที่เป็นปัญหาใหญ่สุดนั่นเอง ประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้เป็นประจักษ์พยานว่า ในการรัฐประหารทุกครั้ง ได้มีการอ้างว่าทำเพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกครั้งทุกครา ซ้ำๆ ซากๆ โดยทุกฝ่ายไม่สนใจที่จะป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก มีการเข่นฆ่าและปลุกเร้าความเกลียดชังกันระหว่างคนไทยด้วยกันอย่างป่าเถื่อนและโหดเหี้ยมถึง 3 เหตุการณ์ นั่นคือ กรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล, กรณี 6 ตุลาคม 2519 และ กรณีวิกฤติทางการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต และถูกละเมิดสิทธิต่างๆมากมาย กลุ่มปีกซ้ายพฤษภาฯ มีความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 1 และ 2 (รวมทั้ง “อารัมภบท”) ดังนี้ อารัมภบท พอกันที กับ อารัมภบท ที่เป็นภาษาศัพท์แสงโบร่ำโบราณ อ่านไม่รู้เรื่อง และที่สำคัญที่สุด ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของปัญหาสังคมการเมืองไทย เป็นไปได้อย่างไรที่ “อารัมภบท”ของรัฐธรรมนูญไทย ไม่มีการกล่าวถึง การโค่นล้มระบอบเผด็จการ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี พ.ศ.2475 , ไม่มีการกล่าวถึงการรัฐประหารโดยเหล่าเผด็จการทหารรุ่นแล้วรุ่นเล่า, ไม่มีการกล่าวถึงการต่อสู้และการเสียสละของประชาชนเลย โครงเรื่องของ “อารัมภบท” ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กลับห่างไกลจากความเป็นจริง (อาจจะโดย เจตนา) กลายเป็นนิทาน หรือเทพนิยาย ว่า “พระมหากษัติย์” ทรงมีพระราชดำริ … “พระมหากษัตริย์” ทรงโปรดให้…. ภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเพียง “สัตว์ผู้ยาก” ที่รอรับความเมตตาจากพระมหากษัตริย์ แทนที่จะเป็น “เสรีชน”อย่างที่สังคมประชาธิปไตยทั้งมวลพึงเป็น… “อารัมภบท”ของรัฐธรรมนูญ ควรสะท้อนถึงจิตวิญญาณประชาธิปไตย และมุ่งเพิ่มพลังอำนาจของประชาชน และควรกล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าความเมตตาของพระมหากษัตริย์ และควรกล่าวถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมา หมวด1 : บททั่วไป “……..มาตรา ๑ (รูปแบบรัฐ) ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ มาตรา ๒ (รูปแบบการปกครอง) ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา ๓ (อำนาจอธิปไตย) อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม มาตรา ๔ (ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา ๕ (ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย) ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน มาตรา ๖ (กฎหมายสูงสุดของประเทศ) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ มาตรา ๗ (การอุดช่องว่างในรัฐธรรมนูญ) ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข……..” หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ในหมวดนี้มีจุดที่ควรปรับปรุงเพื่อให้ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ดังนี้ 1) ควรใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” หรือ “ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา” แทนที่คำว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งสะท้อนถึงความหวาดกลัวต่อสถาบันพระมหากษัตริย์(หรือ ความหวาดกลัวที่จะถูกกล่าวหาว่า “ไม่จงรักภักดี” – ไม่ว่าจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ก็ตาม) ที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วง 6 ตุลาคม 2519 การใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” กลางๆ จะน้อมนำให้ประชาชนและสถาบันกษัตริย์ใกล้ชิด และผูกพันกันด้วยความรักมากกว่าความหวาดเกรงอย่างที่ปรากฏอยู่ 2) มาตรา 3 อันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยนั้น ควรแก้ไข เพื่อยืนยันหลักการที่สำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย นั่นคือ หลักการ “ประชาชนเป็นผู้ถือครองอำนาจสูงสุด” ( - ไม่ว่าประมุขจะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดีก็ต้องยึดถือหลักการนี้เสมอ) ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนเป็น “อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นตามเจตน์จำนงของประชาชนส่วนใหญ่ ผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” 3) มาตรา7 (ซึ่งมักถูกผู้ฝักใฝ่ในระบอบเผด็จการ และผู้ต้องการทำลายสถาบันกษัตริย์ นำมาอ้างโดยมุ่งหวังในการทำลายระบอบประชาธิปไตยเสมอ – ดังที่ปรากฏในตอนต้นปี 2549 จนองค์ประมุขต้องทรงออกมาปฏิเสธ) ควรเปลี่ยนแปลง เพื่อมิให้แอบอ้างเอาธรรมเนียมป่าเถื่อนประเพณีเลวทรามของสังคมการเมืองไทยในอดีตมาใช้ทำลายระบอบประชาธิปไตย ดังนี้ “เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามหลักประชาธิปไตยสากล รวมถึงหลักปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย” 4) รัฐธรรมนูญควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ และระบอบการปกครองได้ โดยกระบวนการที่สันติและภายใต้รัฐธรรมนูญ (โดยไม่ต้องใช้กำลังอาวุธ หรือ เข่นฆ่ากันอย่างในอดีตที่ผ่านมา) จึงควรเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งมาตราในหมวดนี้ ดังนี้ “การเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ และระบอบการปกครองตามที่กำหนดในหมวด ๑ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ สามารถกระทำได้โดยผ่านกระบวนการทำประชามติ แต่ทั้งนี้จักต้องได้รับคะแนนเห็นชอบสองในสามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” หมวด 2: พระมหากษัตริย์ “…..มาตรา ๘ (ฐานะของพระมหากษัตริย์) องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ มาตรา ๙ (พระมหากษัตริย์กับศาสนา) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก มาตรา ๑๐ (จอมทัพไทย) พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา ๑๑ (พระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์) พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มาตรา ๑๒ (คณะองคมนตรี) พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา ๑๓ (การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๑๔ (ข้อห้ามสำหรับองคมนตรี) องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ มาตรา ๑๕ (สัตย์ปฏิญาณขององคมนตรี) ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ \ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ\" มาตรา ๑๖ (การพ้นจากตำแหน่งองคมนตรี) องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๑๗ (ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์) การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย มาตรา ๑๘ (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ มาตรา ๑๙ (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๘ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง หรือในระหว่างที่ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคสอง ประธานองคมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นประธานองคมนตรีมิได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน มาตรา ๒๑ (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมรัฐสภาด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ \"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ (พระปรมาภิไธย) และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ\" ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาตามมาตรานี้ มาตรา ๒๒ (การสืบราชสมบัติ) ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓ การสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดำริประการใด ให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีดำเนินการแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการรับทราบตามวรรคสอง มาตรา ๒๓ (การสืบราชสมบัติ) ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา ๒๒ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ในการนี้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการรับทราบตามวรรคหนึ่งหรือให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง มาตรา ๒๔ (การสำเร็จราชการแทนชั่วคราวระหว่างไม่มีผู้สืบราชสมบัติ) ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา ๒๓ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงในระหว่างที่ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้ตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ หรือระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ๆ แล้วแต่กรณี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งไว้และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไปตามวรรคหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ในกรณีที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่งหรือทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐ วรรคสาม มาใช้บังคับ มาตรา ๒๕ (การปฏิบัติหน้าที่ขององคมนตรี) ในกรณีที่คณะองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๒๓ วรรคสอง หรือประธานองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือมาตรา ๒๔ วรรคสอง และอยู่ในระหว่างที่ไม่มีประธานองคมนตรีหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะองคมนตรีที่เหลืออยู่เลือกองคมนตรีคนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ประธานองคมนตรีหรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี….” ปัญหาในหมวด 2 มีมากมาย ทั้งในแง่ของการตีความ และ โดยเนื้อหา ซึ่งควรได้รับการร่างใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อความสอดคล้องต้องกันระหว่างหลักการประชาธปไตย กับสถานะของพระมหากษัตริย์ภายในระบอบนี้ 1) ข้อความที่ว่า “….เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้….” มีความหมายกว้างขวางเพียงใด ควรได้รับการวิเคราะห์ ทั้งในเชิงกฎหมายและสังคมวัฒนธรรม ในความเห็นของผู้เขียน วลีนี้ ไม่รวมถึง การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต และเป็นสิทธิที่ประชาชนนั้นมีมาแต่สมัยสมบูรณญาสิทธิราชย์แล้ว อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันก็เคยทรงตรัสรับรองไว้ (แน่นอนว่าย่อมไม่รวมการวิจารณ์เรื่องส่วนพระองค์ หรือการซุบซิบนินทาที่ชนชั้นกลางนิยมทำกัน) 2) “….ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้…” ข้อความนี้ตีความได้ 2 ประการ คือ ก) กล่าวหาหรือฟ้องร้องไม่ได้เลยโดยสมบูรณ์ หรือ ข) กล่าวหาหรือฟ้องร้องได้เมื่อทรงพ้นจากการครองราชย์สมบัติแล้ว ดังปรากฏในบางสังคม ถ้าประมุขของชาติกระทำความผิดร้ายแรง เช่น ทรยศต่อชาติ ฯลฯ ประมุขนั้นจะต้องถูกถอดออกจากตำแหน่งก่อน จึงจะพิจารณาโทษได้ (ไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เป็นเช่นนี้ สำหรับผู้เขียนเองตีความตามข้อ ข) แต่ก็ยังไม่มั่นใจนัก คงยกให้อาจารย์ทางนิติศาสตร์ได้พิจารณา 3) การขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน เมื่อแรกทรงขึ้นครองราชย์ ก็ทรงได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเช่นกัน) และควรจัดให้ทรงปฏิญาณตนต่อรัฐสภาก่อนขึ้นครองราชย์ด้วย 4) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ควรเป็นอำนาจของรัฐสภา เพื่อป้องกันความสับสนและป้องกันการแอบอ้างแต่งตั้ง 5) ควรกำหนดการพ้นจากราชสมบัติในรัฐธรรมนูญด้วย ดังอาจวางเกณฑ์ไว้ดังนี้ ก) สวรรคต ข) ทรงสละราชสมบัติ(ต้องทรงได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน) ค) ทรงสละการเป็นพุทธมามกะ และ/หรือ ไม่อาจทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ง) ทรงมีสภาพเป็นคนไร้ความสามารถโดยเหตุวิกลจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๒๘ จ) ทรงมีสภาพเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๒ ฉ) ทรงหายสาบสูญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๑ ช) ทรงกระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ – ๑๑๗ และ มาตรา ๑๑๙ – ๑๒๒ และ มาตรา ๑๒๗ – ๑๒๙ (จากข้อ ง) ถึง ข้อ ฉ) ให้รัฐสภา เป็นผู้ดำเนินการจนสิ้นกระบวนการ) ซ) เมื่อรัฐธรรมนูญสิ้นผลบังคับใช้ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม (ด้วยเหตุที่พระมหากษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ จึงเท่ากับทำให้ “สถาบันกษัตริย์”สิ้นสุดลงด้วยทุกครั้ง หากจะให้พระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์ต่อ ก็จะต้องเริ่มกระบวนการใหม่จึงจะถูกต้อง - ว่าที่จริงข้อนี้ ไม่จำเป็นต้องบัญญัติในรัฐธรรมนูญก็ได้ เพราะเป็นไปตามสามัญสำนึกอยู่แล้ว - แต่บัญญัติไว้ก็ดี เพราะผู้ทำรัฐประหารล้วนเป็นผู้ที่ปราศจากสามัญสำนึกทั้งสิ้น !!!) 6) ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับองคมนตรีในรัฐธรรมนูญให้หมดสิ้น ต้องขอเรียนว่า ผู้เขียนมิได้มุ่งหมายให้ยกเลิกองคมนตรี แต่เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่า การแต่งตั้งองคมนตรี (หรือที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์) เป็นพระราชอำนาจโดยบริบูรณ์ขององค์พระมหากษัตริย์อยู่แล้ว จึงไม่ควรถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ อำนาจที่นอกเหนือจากการเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ ต้องตกเป็นของรัฐสภาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net