คำถามถึง 'ขุนนางเอ็นจีโอ' ต่อกฎหมาย 'ภาคประชาชน' :วุฒิสมาชิกต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่?

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตยาธิปไตย กำหนดให้ประชาชนพร้อมรายชื่อ 10,000 ชื่อ ในการเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญ2540 กำหนดให้ 50,000 ชื่อ เมื่อหักลบตัวเลขแล้วน้อยกว่าถึง 40,000 รายชื่อ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ “ขุนนางเอ็นจีโอ” บางคน ใช้เป็นข้ออ้างให้กับ ”ภาคประชาชน” ส่วนหนึ่ง ให้พวกเขายอมรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ช่วงมีการรณรงค์รับร่างรัฐธรรมนูญ2550 กัน และอ้างว่ามีความก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ขณะนี้ “ภาคประชาชน” ส่วนหนึ่ง ได้เสนอกฎหมาย และก็มีกฎหมายหลายฉบับซึ่งเป็นกฎหมายที่ควรมี ผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็นมาอย่างรอบด้าน และผู้เขียนก็เห็นด้วยในการผลักดันกฎหมายเหล่านั้น ซึ่งเป็นทางเลือกให้เกิดการถกเถียงในสังคมขึ้น เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งกฎหมายนั้นจะมีความมั่นคง และมีภาคปฏิบัติที่มีกฎหมายรองรับ ไม่เหมือนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีอุปสรรคในภาคปฏิบัติจริง เนื่องเพราะข้าราชการเจ้าหน้าที่มักยึดอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเป็นหลัก อย่างเช่น กรณีโฉนดที่ดินชุมชน ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ชนนำมาสร้างภาพใหญ่โต แต่ทางปฏิบัติทำได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม กระบวนการผลักดันกฎหมายนั้น ต้องผ่านทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ตลอดทั้งวุฒิสมชิก ด้วย เพียงแต่กระบวนการ ขั้นตอน จะทำอย่างไร ? ให้กฎหมายเหล่านั้นปรากฏเป็นจริงตามเจตนารมณ์ ไม่ถูกบิดเบือน รวบรัด และประชาชนไม่มีส่วนร่วม เหมือนเช่น พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่ “ภาคประชาชน” ร่วมต่อสู้ผลักดันร่วม 20 กว่าปี โดยถูกกระทำให้บิดเบี้ยวไปในเนื้อหาสาระสำคัญ เช่น อำนาจยังคงรวมศูนย์อยู่ที่กรมป่าไม้ สมัยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอำนาจของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือ อำมาย์คมช. นั่นเอง เนื่องเพราะ สนช. ที่แต่งตั้งโดยอำมาตย์คมช. ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่ถูกฝังความคิดแบบรวมศูนย์อำนาจของระบบราชการ นิยมลำดับชั้นทางสังคม ข้าราชการชั้นผู้น้อยรับคำสั่งอย่างเดียว ประชาชนนอกระบบราชการไม่มีส่วนร่วม ประชาชนต่อรองไม่ได้เพราะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ได้เป็นผู้เลือกตั้ง จึงไม่เห็นความสำคัญของประชาชน ไม่ยอมรับปรัชญาที่ว่า “คนเท่ากัน” การเคลื่อนไหว พ.ร.บ.ป่าชุมชนที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย แม้สมัยที่นักการเมืองเป็นรัฐมนตรี ก็มักจะชั่งน้ำหนัก คำนึงถึงข้อเรียกร้องของประชาชน แต่ก็ไม่กล้าปฏิรูประบบราชการที่ครองอำนาจนำในสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยก่อกำเหนิดรัฐชาติ ในเงื่อนไขที่สังคมไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตย หรือ “เลือกผู้แทนได้ แต่ข้าราชการยังเป็นใหญ่อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน” นักการเมืองมักมีการประนีประนอมปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับกรมป่าไม้ในการแก้ไขปัญหามากกว่า การขับเคลื่อนเรื่อง พ.ร.บ. ป่าชุมชนที่ผ่านมาจึงเป็นเกมส์ที่ฝ่ายชาวบ้านและกรมป่าไม้ช่วงชิงนักการเมืองมาเป็นพวก ด้วยกลวิธีต่างๆ อย่างไรก็ตาม นักการเมืองก็ยังสนใจใยดีฝ่ายชาวบ้านมากกว่าสมัยสนช.ที่ได้อำนาจมาจากการลากตั้ง และมักมีกระบวนการโปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบ ถ่วงดุลย์ ได้มากกว่าสมัย สนช. .ในเชิงเปรียบเทียบ ตลอดทั้งมีการตั้งกรรมาธิการพิจารณากฎหมาย มักมีตัวแทนผู้เสนอกฎหมายเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กระบวนการออกกฎหมายต้องผ่านกระบวนการรัฐสภา ที่มิเพียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ยังมี วุฒิสภา ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายด้วย และเช่นเดียวกัน วุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งก็สนใจปัญหาของประชาชนมากกว่าวุฒิสมาชิกที่มาจากการลากตั้ง เพราะพวกเขามาจากการเลือกตั้งด้วยเช่นเดียวกับสส. จึงต้องคำนึงถึงความคิดเห็นและฐานคะแนนเสียงของประชาชน ด้วย ปัญหาจึงอยูที่ รัฐธรรมนูญ 2550 ของอำมาตยาธิปไตย ได้กำหนดให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งจำนวนถึง 76 คน โดย “ อำนาจตุลาการ” ไม่กี่คน ซึ่งไม่เชื่อมโยงกับประชาชนแต่อย่างใด และวุฒิสมาชิกที่ถูกลากตั้งมักเป็น ข้าราชการ ที่มีรากเหง้าวิธีคิดแบบรวมศูนย์อำนาจ ที่มองว่า “ชาวบ้านโง่” อยู่วันยันค่ำ ไม่ต่างกับ สนช. แต่อย่างใดเลย ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ผู้เขียนมิได้ปฏิเสธการรณรงค์กฎหมายต่างๆที่กระทำกันอยู่ และสนับสนุนเต็มที่ เพียงแต่อยากชวนคิดให้รอบครอบ ต้องมองอย่างเป็นองค์รวมรอบด้านไม่แยกส่วน ต้องมองทั้งกระบวนการออกกฎหมายทั้งหมด และปฏิเสธไม่ได้ว่าบทเรียนที่ผ่านมาบอกให้รู้ว่า ปัญหาอุปสรรคสำคัญและอนาคตในการผลักดันกฎหมาย อยู่ที่วุฒิสมาชิกสภาซึ่งไม่ต่างจากสนช.ลากตั้ง ด้วย ดังนั้น นอกจากรณงค์ให้รัฐบาลรับร่างผลักดันกฎหมายแล้ว ต้องผลักดันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านด้วย รวมถึงต้องพร้อมเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่วุฒิสมาชิกสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง เพื่อผลักดันให้กฎหมายต่างๆ ที่ปรารถนาให้ปรากฎเป็นจริง ไม่ถูกบิดเบือน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มิได้แก้กระทำเพื่อ “คนๆเดียว” อย่างที่ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยกล่าวหา แต่แก้เพื่อ “ทุกคน” ที่รักประชาธิปไตย เหมือนเช่นข้อเสนอของนิติราษฎร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงต้องสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 นอกเสียว่า พวกเขา”ขุนนางเอ็นจีโอ” มีวาระซ่อนเร้นหรือ ธงเคลื่อนไหว เพื่อ ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มากกว่าผลักดันกฎหมายต่างๆให้ปรากฎเป็นจริง ตราบเท่าที่ยังมีจุดยืนปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 กันอยู่ ??? และกระทำการเพื่อ “กลุ่มตน” เท่านั้นเอง ?

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท