Skip to main content
sharethis

รายงานพิเศษจาก \ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน\" นานาทัศนะต่อนโยบายแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนประถม 1 เมื่อประเทศไทยมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม หนึ่งในนโยบายที่ผู้นำประเทศต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆก็คือเรื่องการศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนตั้งความหวังเอาไว้ ว่าสิ่งนี้จะทำให้ประเทศชาติหลุดพ้นจากความล้าหลังทุกข์ยากไปได้ หากคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ฉะนั้นในแต่ละปีรัฐบาลไทยจึงตั้งงบประมาณเพื่อระบบการศึกษาราว1 ใน 5 ของงบประมาณทั้งหมด เช่นเดียวกับผู้นำใหม่อย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จำเป็นต้องดำเนินโครงการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนระดับชั้น ป.1ทุกคนในประเทศตามที่เคยลั่นวาจาไว้เมื่อครั้งหาเสียง ถึงแม้บางคนจะมองว่าเป็นการดำเนินนโยบายแก้บนก็ตาม แต่เป็นที่แน่นอนว่ารัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไว้เบื้องต้นแล้วจำนวน3 พันล้านบาทเพื่อซื้อเครื่องแท็บเล็ตไม่รวมโปรแกรมเพื่อแจกนำร่องในต้นปีหน้า แน่นอนว่าจะต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เปเห็นด้วย แท็บเล็ตคืออะไร เชื่อว่าคนค่อนประเทศ โดยเฉพาะผู้มีอายุเป็นเลขหลายหลัก น้อยนักที่จะรู้ว่าแท็บเล็ตคืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไรหรือกระทั่งหน้าตามันเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายอย่างรวบรัดว่า แท็บเล็ต ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง มันสามารถถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์บันทึกงานต่างๆได้ จะต่างกันตรงที่มันไม่มีแป้นพิมพ์ ไม่มีเม้าส์ให้คลิก อยากทำอะไรให้กดๆลูบๆถูๆที่จอเอา และที่สำคัญยังสามารถมันใช้มันท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ซึ่งจากความสามารถที่มีมากมายมหาศาลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยนี้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นกังวลว่าจะไม่รู้จักและเท่าทันทันมากพอนั่นก็คือครูที่จะต้องสอนใช้เครื่องนี้ให้กับเด็กๆ หากเป็นครูรุ่นใหม่วัยมันส์คงไม่เป็นปัญหามากนัก แต่สำหรับครูอย่าง ระพีพร ชูเสน ครูวิทยาศาสตร์วัยใกล้เกษียณของโรงเรียนบ้านท่าบ่อ ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ยอมรับว่า ใจหนึ่งก็ดีใจที่นักเรียนจะได้รับสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆแต่ใจหนึ่งก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้จะให้ประโยชน์ต่อเด็กได้แค่ไหน โดยเฉพาะตัวครูเองที่ใช้เครื่องนี้ไม่เป็น และไม่รู้จะเก็บรักษายังไงจึงอยากให้ผู้ออกนโยบายได้มาศึกษาบริบทของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ด้วยว่าพวกเขาจะมีความสามารถมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะใช้สื่อรูปแบบใหม่นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้แท็บเล็ตให้ได้ประโยชน์ต้องรักการอ่าน อีกประเด็นเกี่ยวกับการใช้งานแท็บเล็ตนี้หากอยากได้ประโยชน์ต้องอาศัยการอ่าน ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี2554 พบว่าเด็กไทยมีสถิติการอ่านหนังสือลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 2 เล่มต่อปี ถ้าเทียบกับเด็กสิงคโปร์ที่ว่ากันว่าหัวดีกว่าเราเพราะเขามีสถิติการอ่านหนังสือสูงถึง50-60 เล่มต่อปี เช่นเดียวกับเด็กเวียดนามที่มีสถิติการอ่านหนังสือสูงถึง 60เล่มต่อปี และที่สำคัญเด็กระดับ ป.1อ่านหนังสือได้เป็นตุเป็นตะแล้วหรือ นางนิตยา เกลียวทอง ครูระดับชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านท่าบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี บอกว่า ทุกวันนี้เวลาสอนเด็กๆระดับชั้น ป.1 ต้องคอยประกบเป็นคนๆไป เพื่อสอนให้เขาอ่านตัวหนังสือไปทีละคำ หากจะให้ไปอ่านแบบเอาเรื่องนั้น ไม่มีทาง เช่นเดียวกับ นางสุธาพร ศรีเมือง ครูโรงเรียนเดียวกันบอกว่า ถ้าหากจะแจกให้กับเด็กชั้น ป.1 นั้นไม่เหมาะเพราะเขายังอ่านหนังสือไม่ออก รักษาของไม่เป็น ซึ่งระดับที่เหมาะน่าจะเป็นชั้น ม.1 มากกว่า คุณเห็นด้วยหรือไม่กับแนวนโยบายนี้ อ.ทรงพล อินทเศียร อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี “มันเป็นนโยบายที่น่าสนใจมาก มันเป็นนวัตกรรมใหม่ๆที่มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เรามีรัฐบาลใหม่ แต่ก็ต้องดูอีกทีว่าการออกนโยบายกับการนำไปปฏิบัติใช้นั้น มันจะสอดคล้องกันหรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้แม้กระทั่งหนังสือเรียนในบางแห่งก็ยังขาดแคลนอยู่” เฉลิมพงษ์ อูปแก้ว เจ้าหน้าที่ห้องแล็บคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ไม่เห็นด้วย คิดว่าเด็กในระดับนี้น่าจะใช้กระดาษแบบเดิมมากกว่า เพื่อที่จะได้ฝึกทักษะบางอย่าง เช่น การอ่าน การเขียนถ้าหากเปลี่ยนมาใช้สื่อการสอนแบบใหม่ทักษะพวกนี้ก็จะถูกลืมไป” ผศ.ดร.จิรัฐญา ภูบุญอบ รองคณบดีฝ่ายบริหาร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ยุคนี้เป็นยุคไอที คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เด็กจะต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว ฉะนั้นหากเราส่งเสริมอย่างสร้างสรรค์เติมเนื้อหาที่เหมาะสมลงไป มันก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กซึ่งสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดด้วย” นก นิรมล เมธีสุวกุล พิธีกรรายการทุ่งแสงตะวัน “คิดว่าไม่อยากไปให้ความสำคัญกับนโยบายนี้ เพราะเชื่อว่านโยบายแจกแท็บเล็ตไม่น่าใช่เรื่องหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากที่จะต้องทำ พี่นกเสนออยากให้ไปดูเรื่องการศึกษาทางเลือกและโรงเรียนขนาดเล็กที่กำลังจะถูกยุบ จะแจกหรือไม่แจกไม่ใช่เรื่องสำคัญ” ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ โฮงเฮียนสืบสานล้านนา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net