เผยพลเรือนในรัฐฉานอยู่ในภาวะวิกฤตรุนแรง-หลังทหารพม่าเปิดฉากโจมตีต่อเนื่องนับตั้งแต่มีนาคม

นักสิทธิมนุษยชนเผย ประชาชนกว่า 3 หมื่นในรัฐฉาน ซึ่งต้องอพยพจากการโจมตีของทหารพม่า กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง ประชาชนที่หลบซ่อนตามป่าเขาเริ่มขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ยา และที่พักอาศัย และเริ่มมีผู้เสียชีวิตจากอาการท้องร่วงและมาลาเรีย แผนที่แสดงปฏิบัติการทางทหารของกองทัพพม่า ในพื้นที่รัฐฉาน ระหว่างวันที่ 2 ก.ค. ถึง 4 ส.ค. 54 สีแดงคือพื้นที่ซึ่งมีการปะทะทางทหาร สีม่วงคือพื้นที่ซึ่งมีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารพม่า (ที่มาของภาพ: มูลนิธิสิทธิมนุษยชนรัฐฉาน - SHRF) แผนที่แสดงพื้นที่ซึ่งมีผู้ลี้ภัย หลังปฏิบัติการทางทหารของกอง ทัพพม่า ในพื้นที่รัฐฉาน ระหว่างวันที่ 13 มี.ค. ถึง 10 ส.ค. 54 โดยที่อำเภอเกซี มีผู้อพยพออกจากหมู่บ้านของตัวเองขณะนี้มากกว่า 1 หมื่นคนแล้ว (ที่มาของภาพ: มูลนิธิสิทธิมนุษยชนรัฐฉาน - SHRF) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน เผยแพร่รายงานเมื่อวานนี้ (10 ส.ค.) เปิดเผยตัวเลขจำนวนพลเรือนที่ต้องอพยพหนีจากการกระทำที่โหดร้ายของกองทัพรัฐบาลทหารพม่าซึ่งได้เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 กว่าคน ในช่วงระหว่างที่กองทัพรัฐบาลทหารพม่าโจมตีต่อกองทัพรัฐฉานภาคเหนือที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้พลเรือนในภาคเหนือของรัฐฉานต้องเผชิญกับวิกฤตอย่างแสนสาหัส ในรายงานระบุว่า ระหว่างเดือนกรกฎาคม กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้เคลื่อนพลทหารกว่า 4,000 นายจาก 42 กองพัน รวมทั้งใช้เครื่องบินรบเข้าโจมตี เพื่อที่จะยึดกองบัญชาการรัฐฉานภาคเหนือ ที่อยู่บ้านไฮ อำเภอเกซี โดยเพิ่มกองกำลังทหารล้อมรอบหลายๆหมู่บ้าน กองทัพทหารพม่าได้กระทำทารุณกรรมอย่างกว้างขวางต่อประชาชน รวมทั้งฆ่า ข่มขืนและทำร้ายทุกรูปแบบ ในเดือนที่ผ่านมานี้ มีชายชาวบ้านคนหนึ่งถูกฆ่าโดยญาติรับศพที่ถูกตัดแขนและขาอย่างละข้าง ชาวบ้านประมาณ 31,700 คน จาก 9 อำเภอได้หนีจากการประหัตประหารตั้งแต่มีการโจมตีจากกองทัพทหารพม่าในวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าได้ละเมิดข้อตกลงการหยุดยิงที่ได้ทำไว้กว่า 22 ปีกับ กองทัพรัฐฉาน (เหนือ) ชาวบ้านบางส่วนได้หลบหนีไปในตัวเมืองอำเภอที่ใกล้เคียง บางส่วนหลบหนีไปยังเขตพื้นที่ควบคุมของกองทัพสหรัฐว้า หรือตามแนวชายแดนประเทศจีน บ้างหลบหนีไปยังชายแดนประเทศไทย แต่ส่วนมากได้หลบซ่อนอยู่ตามป่าเขาใกล้หมู่บ้านของตัวเอง พลเรือนที่หลบซ่อนอยู่ตามป่าเขาได้ประสบกับการขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ยาและไม่มีทีพักอาศัยที่ปลอดภัย ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากยิ่งขึ้น ในเดือนที่ผ่านมา เฉพาะในบริเวณบ้านไฮ ชาวบ้านที่ไร้ที่อยู่อาศัยจำนวน 24 คน เสียชีวิตจากอาการท้องร่วงและไข้มาลาเรีย โดยส่วนใหญ่เด็กและคนชรา การช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศไปไม่ถึงชุมชนเหล่านี้ และหน่วยงานบรรเทาทุกข์ที่ให้ความช่วยเหลือนานาชาติที่ทำงานอย่างเป็นทางการในประเทศพม่า ถูกปฎิเสธจากทหารพม่าไม่ให้เข้าไปยังพื้นที่มีการสู้รบ องค์กรชุมชนไทใหญ่เรียกร้องให้ประชาคมนานาชาติและหน่วยงานบรรเทาทุกข์ความช่วยเหลือนานาชาติ ให้การสนับสนุนทีมงานที่ทำงานสงเคราะห์เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้อพยพเหล่านี้ “เนื่องจากการที่รัฐบาลทหารพม่าควบคุมองค์กรต่างๆในประเทศพม่าอย่างเข้มงวด เพราะฉะนั้นการช่วยเหลือข้ามพรมแดนเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้” นางแสงมล ผู้ประสารงานเครือข่ายปฎิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่กล่าว “เราเรียกร้องให้รัฐบาล และองค์กรนานาชาติ ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านจากสถานการณ์วิกฤตินี้ ก่อนที่จะมีการสูญเสียชีวิตไปมากกว่านี้” เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แม้ว่ากองทัพรัฐบาลทหารพม่าจะถอนกองกำลังที่เคยเพิ่มเข้าไปใน บ้านไฮ หลังจากมีการสูญเสียกับทางฝ่ายทหารพม่าจากการสู้รบอย่างหนักตลอดเวลาห้าเดือนที่ผ่านมา แต่กองทัพรัฐบาลทหารพม่ายังคงล้อมรอบกองทัพรัฐฉาน (SSA) เหนือ อย่างเข้มงวดและการสู้รบยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต และในช่วงอาทิตย์นี้ กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้ส่งรถบรรทุกที่เต็มไปด้วยพลทหารกว่า 40 คันเพื่อเป็นการเพิ่มกำลังพล จากเมืองล่าเสี้ยว และสี่ป้อ หมายเหตุ: สรุปรายละเอียดสถานการณ์การสู้รบ และการละเมิดสิทธิมนุษย์ พร้อมแผนที่จากเดือนทีผ่านมาและวิดีโอเกี่ยวกับการผู้ลี้ภัยพลัดถิ่นภายในภาคเหนือของรัฐฉาน สามารถรับชมได้ที่ www.shanhumanrights.org, www.shanwomen.org

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท